ชำแหละรายได้"ชาวนา"ในวันที่ข้าวราคาตกต่ำ
https://www.pptvhd36.com/news/เศรษฐกิจ/160262
ปัญหาราคาข้าวตกต่ำ เป็นปัญหาใหญ่ที่เกษตรกรทั่วประเทศกำลังเผชิญ แม้รัฐบาลจะมีนโยบายประกันราคาข้าวออกมาช่วยเหลือ แต่พบว่าการจ่ายเงินในหลายพื้นที่ล่าช้า และแม้ว่าจะจ่ายเงินไปให้ชาวนา ก็พบว่า เงินที่ได้ อาจไม่ได้ช่วยทำให้ชาวนามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น หลายคนเริ่มคิดว่าอาจจะหยุดปลูกข้าวเพื่อหันไปทำอาชีพอื่นก่อน
สภาพทุ่งนาที่อ.บางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา ตอนนี้อยู่ระหว่างที่ชาวนากำลังฉีดยาเพื่อคลุมดิน ก่อนที่จะหว่านข้าวในฤดูการเก็บเกี่ยวถัดไปในอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้ นาย
เสรี มัดตอเฮด หนึ่งในชาวนาอ.บางน้ำเปรี้ยว ที่ทำหน้าที่เป็นเลขาสมาคมการค้าเครือข่ายชาวนาไทย พาทีมข่าวเดินดูนาข้าว ซึ่งตอนนี้กำลังจะเริ่มหว่านข้าวรอบใหม่
นาย
เสรี บอกว่าเมื่อวานชาวนาที่นี่เพิ่งได้รับเงินประกันรายได้จากรัฐบาล แต่เงินที่ได้ ก็อาจไม่ได้ทำให้ชีวิตสบายขึ้น เพราะ เดือนนี้ชาวนาต้องจ่ายหนี้ธกส. และ กำลังต้องลงทุนการปลูกข้าวรอบใหม่
นาย
เสรี แจกแจงรายได้ให้ฟังว่า ปลูกข้าวรอบนี้ เขาขายข้าวได้ 9.5 ตัน ได้เงินมาประมาณ 63,650 บาท เฉลี่ยขายได้ตันละแค่ 6,700 บาท จากปกติจะขายได้ ตันละไม่ต่ำกว่า 9,000 บาท
ส่วนเงินประกันรายได้ รัฐบาลให้เขา 1,969 บาท ข้าว 9.5 ตัน นายเสรี ได้เงินประกันรายได้ รวม 18,705 บาท รวมปลูกข้าวรอบนี้เขามีรายได้ 82,355 บาท
ส่วนรายจ่าย นาย
เสรี กู้เงินจากธกส.มาทำนา 100,000 บาท ต้องจ่ายดอกเบี้ยต่อปี 10,000 บาท ค่าปุ๋ย ค่ายาฆ่าแมลง ค่าน้ำมัน ค่าเตรียมแปลงนาค่าแรงหว่ายปุ๋ย ฉีดยาและค่าอื่นๆ รวมการปลูกข้าวรอบนี้ เขามีรายจ่าย 46,500 บาท หักลบกลบหนี้ เหลือเงิน 35,855 บาท ซึ่งระยะเวลาปลูกข้าว 1 รอบ เฉลี่ยอยู่ที่ 120 วัน (4 เดือน) ถ้าเทียบรายได้เป็นเงินเดือน เฉลี่ย 1 เดือน นายเสรี ได้เงิน แค่ 8,963 บาท
จากสถิติปี 2563 อ.บางน้ำเปรี้ยว ถือเป็นอำเภอที่มีการทำนามากที่สุดในประเทศไทย แต่ล่าสุดชาวนาหลายคนพูดคุยกันว่า หากราคาข้าวต่ำแบบนี้ ฤดูการรอบหน้า ชาวนาหลายคน อาจจะไม่ทำนาแล้ว เพราะ แม้ว่ารัฐบาลจะออกมาตรการช่วยเหลือ แต่นายเสรี บอกว่า ชาวนาส่วนใหญ่มองว่า มาตรการไม่ได้เอื้อประโยชน์ให้ แต่เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น
สถานการณ์ที่ชาวนาเผชิญ กลับมาตรการที่รัฐบาลออกมารองรับ ไม่ได้เอื้อให้ชาวนาสามารถพัฒนาสายพันธุ์ข่าวได้ พันธุ์ข้าวที่ชาวนาปลูกมีหลายสายพันธุ์ แต่ข้าวเปลือกเจ้าที่ได้ราคาดี มักจะมีอายุการปลูกยาวนานถึง 130 วัน ทำให้เพื่อนชาวนาบางคนแอบเอาสายพันธุ์ข้าวจากประเทศเพื่อนบ้านมาปลูก ซึ่งใช้ระยะเวลาสั้นกว่า 1 เดือน
ด้าน รศ.
สมพร อิศวิลานนท์ นักวิชาการอาวุโส สถาบันคลังสมองของชาติ ให้ความเห็นว่า นโยบายประกันรายได้เกษตรกรที่เพาะปลูกข้าว ถูกใช้หาเสียง และเป็นนโยบายที่ทั้งนักการเมืองและชาวนาชื่นชอบ เพราะ เป็นนโยบายตรงไปตรงมา จ่าย-จบ แต่ส่วนตัวอ.
สมพร มองว่า เป็นนโยบายที่ไม่ยั่งยืน เปรียบเสมือนแช่แข็งเกษตรไม่ให้ต่อยอดต่อจากอาชีพ
รศ.
สมพร ย้ำว่าสิ่งสำคัญตอนนี้ประเทศไทยยังไม่มีตลาดกลางข้าว ทำให้ต้องอิงจากราคาที่รัฐบาลประกาศ หากเกษตรกรขายข้าวได้ราคาต่ำมาก เพดานส่วนต่างระหว่างราคาขายกับราคาอ้างอิงที่รัฐประกาศจะสูงขึ้น ทำให้รัฐต้องจ่ายส่วนต่างให้เกษตรกรเยอะขึ้น คาดการณ์ว่าเป็นแบบนี้ต่อไปไม่ถึง 10 ปี นโยบายต้องล้มลง
ส่วนสาเหตุหลักของราคาข้าวตกต่ำครั้งนี้ มาจากเหตุการณ์น้ำท่วม ตัวความชื้นที่เพิ่มขึ้น 1% ทำให้ราคาตกลง 5,000-6,000 บาท
สำหรับภาพรวมการส่งออกข้าวของประเทศไทยปีนี้ รศ.
สมพรให้ข้อมูลว่าในเวลา 9 เดือน ส่งออกไปแล้วจำนวน 3.82 ล้านตัน หากเวลาที่เหลืออีก 3 เดือน ได้ 5 แสนล้านตัน จะรวมเป็น 5.3 ล้านตัน แสดงให้เห็นว่าลดลงทั้งจำนวนและมูลค่า แสดงให้เห็นว่าไทยสู่ภาวะถดถอยของวงการข้าว
เศรษฐกิจยุคโควิด งานกฐินวัดดังบุรีรัมย์ สุดเงียบเหงา คนจองทำบุญไม่ถึง 20 กอง
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6725967
เศรษฐกิจยุคโควิด งานกฐินวัดดังบุรีรัมย์ สุดเงียบเหงา คนจองทำบุญไม่ถึง 20 กอง หลวงพ่อเจ้าอาวาส ระบุ เห็นใจ และเข้าใจชาวบ้าน
วันที่ 11 พ.ย.64 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศในห่วงการทอดกฐินที่จังหวัดบุรีรัมย์ ไม่คึกคักเท่าที่ควร หลายวัดไม่มีคณะกฐินมาจอง ไม่มีบุตรหลานคนในหมู่บ้าน มาจองกฐินเหมือนทุกปีที่ผ่านมาเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้คนไม่มีงานทำ รวมถึงการเดินทางและการรวมกลุ่มต้องใช้ความระมัดระวังตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข
อย่างเช่นที่วัดสำโรง หมู่ 4 ต.ถลุงเหล็ก อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ ซึ่งจะมีการทำบุญกฐินประจำปี ในวันที่ 14 พ.ย.ที่จะถึงนี้ โดยก่อนหน้านี้ ชาวบ้านมีความตั้งใจที่จะทำบุญกฐินประจำปี และตั้งกองกฐินไว้ที่กองละ 999 บาท ไม่รวมกับประธานกองกฐินที่จะเข้ามาร่วม แต่ปรากฏว่า มีชาวบ้านมาจองกองกฐินไม่ถึง 20 กอง หรือประมาณ 20,000 บาทเท่านั้น
พระครูสุเมธ ธรรมวิจารณ์ เจ้าวาวาสวัดสำโรง และเจ้าคณะตำบลถลุงเหล็ก กล่าวว่า ทางวัดต้องการบูรณะซ่อมแซมกุฎิหลังใหม่ ซึ่งจะต้องใช้งบประมาณ 1.5 ล้านบาท แต่ยังไม่มีงบประมาณ ทางวัดเห็นใจในช่วงเศรษฐกิจที่ตกต่ำ จึงไม่คิดจะทำบุญในเชิงบริจาค แต่ได้มีชาวบ้านมาร้องขอ ให้ตั้งกองกฐิน กองละ 999 บาท จึงตอบรับชาวบ้านไปว่า “
แล้วแต่กำลังศรัธรา”
พอมาถึงตอนนี้รู้เลยว่าเศรษฐกิจในยุคโควิด-19 ไม่ดีจริงๆ ทั้งนี้ไม่ได้จะต้องการให้ชาวบ้านมาตั้งกองกฐินเพิ่ม หรือบีบให้หาเงินเข้าวัดแต่อย่างใด ทุกอย่างเป็นกลไกของเศรษฐกิจ ใครมีน้อยทำบุญน้อย ใครมีมากทุกบุญมาก
ด้านนาง
สัมพันธ์ ปาโสม อายุ 56 ปี ชาวบ้านในหมู่บ้าน บอกว่า ยอมรับว่าเห็นใจวัด เพราะสภาพเศรษฐกิจไม่ดี ร้านค้าขายของไม่ได้ ทำให้ไม่มีเงินหมุนเวียน จริงแล้วอยากให้ผู้ที่มีกำลัง มาช่วยประคับประคองการบูรณะศาลาเก่าแก่ ให้เดินต่อไปเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจของชาวบ้าน
คลิปหญิงหมดสติ ณ จุดฉีดวัคซีนซิโนแวค จนท.ต้องหามส่ง รพ.
https://ch3plus.com/news/program/265459
วานนี้ (10 พ.ย.) ผู้ใช้ติ๊กต็อกชื่อ @Namtip Arsasit โพสต์คลิปขณะที่ตนเองได้เดินทางไปเข้ารับการฉีดวัคซีนสถานที่แห่งหนึ่ง ซึ่งระหว่างที่เธอกับประชาชนคนอื่นๆ กำลังนั่งรอฉีดวัคซีนนั้น ปรากฎว่ามีหญิงสาวคนหนึ่งหมดสติไม่รู้สึกตัว เจ้าหน้าที่รีบช่วยกันยกตัวขึ้นรถวีลแชร์ ก่อนที่เจ้าหน้าที่รายหนึ่งจะพูดออกไมค์โครโฟนว่า “ตามรถโรงพยาบาลด่วน” และบอกให้นำตัวหญิงคนดังกล่าวนอนหงาย
จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้ช่วยกันหามตัวหญิงคนดังกล่าว ออกจากจุดฉีดวัคซีนขึ้นรถไปโรงพยาบาล ขณะที่ประชาชนทั้งผู้สูงอายุ วัยกลางคน คนหนุ่มสาวที่นั่งเก้าอี้รออยู่นั้นต่างพากันนั่งมองอย่างใจหวิว ทั้งนี้ผู้โพสต์คลิประบุข้อความสั้น ๆ ว่า “
ซิโนแวควันนี้”
ทั้งนี้ ผู้โพสต์ไม่ได้ระบุหรืออธิบายข้อมูลที่ชัดเจนว่าเกิดจากผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนหรือไม่ โดยคลิปนี้มีคนเข้าไปดูและแชร์จำนวนมาก พร้อมแสดงความคิดเห็นว่า “
เห็นแบบนี้ไม่กล้าไปฉีดวัคซีน” และสอบถามอาการหญิงคนดังกล่าวด้วยความเป็นห่วง
ผู้สื่อข่าวพยายามสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมจากผู้โพสต์โดยทักข้อความไปสอบถาม ยังไม่มีการตอบรับ แต่ก่อนหน้านั้นผู้โพสต์คลิปได้ตอบคอมเม้นต์คนที่เข้าไปแสดงความคิดเห็นต่อคลิปนี้ บอกว่า “รอคิวเห็นแล้วเกือบกลับบ้านไม่กล้าฉีด” พร้อมระบุว่า “เจ้าหน้าที่พาไปโรงพยาบาลไม่แน่ใจเป็นอะไรมากหรือไม่”
รับชมผ่านยูทูบได้ที่ :
https://youtu.be/5NeK8n9ggFI
JJNY : ชำแหละรายได้"ชาวนา"│กฐินวัดดังบุรีรัมย์ สุดเงียบ│คลิปหญิงหมดสติ ณ จุดฉีดซิโนแวค│นัดเคาะซักฟอก 15 พ.ย.นี้
https://www.pptvhd36.com/news/เศรษฐกิจ/160262
ปัญหาราคาข้าวตกต่ำ เป็นปัญหาใหญ่ที่เกษตรกรทั่วประเทศกำลังเผชิญ แม้รัฐบาลจะมีนโยบายประกันราคาข้าวออกมาช่วยเหลือ แต่พบว่าการจ่ายเงินในหลายพื้นที่ล่าช้า และแม้ว่าจะจ่ายเงินไปให้ชาวนา ก็พบว่า เงินที่ได้ อาจไม่ได้ช่วยทำให้ชาวนามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น หลายคนเริ่มคิดว่าอาจจะหยุดปลูกข้าวเพื่อหันไปทำอาชีพอื่นก่อน
สภาพทุ่งนาที่อ.บางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา ตอนนี้อยู่ระหว่างที่ชาวนากำลังฉีดยาเพื่อคลุมดิน ก่อนที่จะหว่านข้าวในฤดูการเก็บเกี่ยวถัดไปในอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้ นายเสรี มัดตอเฮด หนึ่งในชาวนาอ.บางน้ำเปรี้ยว ที่ทำหน้าที่เป็นเลขาสมาคมการค้าเครือข่ายชาวนาไทย พาทีมข่าวเดินดูนาข้าว ซึ่งตอนนี้กำลังจะเริ่มหว่านข้าวรอบใหม่
นายเสรี บอกว่าเมื่อวานชาวนาที่นี่เพิ่งได้รับเงินประกันรายได้จากรัฐบาล แต่เงินที่ได้ ก็อาจไม่ได้ทำให้ชีวิตสบายขึ้น เพราะ เดือนนี้ชาวนาต้องจ่ายหนี้ธกส. และ กำลังต้องลงทุนการปลูกข้าวรอบใหม่
นายเสรี แจกแจงรายได้ให้ฟังว่า ปลูกข้าวรอบนี้ เขาขายข้าวได้ 9.5 ตัน ได้เงินมาประมาณ 63,650 บาท เฉลี่ยขายได้ตันละแค่ 6,700 บาท จากปกติจะขายได้ ตันละไม่ต่ำกว่า 9,000 บาท
ส่วนเงินประกันรายได้ รัฐบาลให้เขา 1,969 บาท ข้าว 9.5 ตัน นายเสรี ได้เงินประกันรายได้ รวม 18,705 บาท รวมปลูกข้าวรอบนี้เขามีรายได้ 82,355 บาท
ส่วนรายจ่าย นายเสรี กู้เงินจากธกส.มาทำนา 100,000 บาท ต้องจ่ายดอกเบี้ยต่อปี 10,000 บาท ค่าปุ๋ย ค่ายาฆ่าแมลง ค่าน้ำมัน ค่าเตรียมแปลงนาค่าแรงหว่ายปุ๋ย ฉีดยาและค่าอื่นๆ รวมการปลูกข้าวรอบนี้ เขามีรายจ่าย 46,500 บาท หักลบกลบหนี้ เหลือเงิน 35,855 บาท ซึ่งระยะเวลาปลูกข้าว 1 รอบ เฉลี่ยอยู่ที่ 120 วัน (4 เดือน) ถ้าเทียบรายได้เป็นเงินเดือน เฉลี่ย 1 เดือน นายเสรี ได้เงิน แค่ 8,963 บาท
จากสถิติปี 2563 อ.บางน้ำเปรี้ยว ถือเป็นอำเภอที่มีการทำนามากที่สุดในประเทศไทย แต่ล่าสุดชาวนาหลายคนพูดคุยกันว่า หากราคาข้าวต่ำแบบนี้ ฤดูการรอบหน้า ชาวนาหลายคน อาจจะไม่ทำนาแล้ว เพราะ แม้ว่ารัฐบาลจะออกมาตรการช่วยเหลือ แต่นายเสรี บอกว่า ชาวนาส่วนใหญ่มองว่า มาตรการไม่ได้เอื้อประโยชน์ให้ แต่เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น
สถานการณ์ที่ชาวนาเผชิญ กลับมาตรการที่รัฐบาลออกมารองรับ ไม่ได้เอื้อให้ชาวนาสามารถพัฒนาสายพันธุ์ข่าวได้ พันธุ์ข้าวที่ชาวนาปลูกมีหลายสายพันธุ์ แต่ข้าวเปลือกเจ้าที่ได้ราคาดี มักจะมีอายุการปลูกยาวนานถึง 130 วัน ทำให้เพื่อนชาวนาบางคนแอบเอาสายพันธุ์ข้าวจากประเทศเพื่อนบ้านมาปลูก ซึ่งใช้ระยะเวลาสั้นกว่า 1 เดือน
ด้าน รศ.สมพร อิศวิลานนท์ นักวิชาการอาวุโส สถาบันคลังสมองของชาติ ให้ความเห็นว่า นโยบายประกันรายได้เกษตรกรที่เพาะปลูกข้าว ถูกใช้หาเสียง และเป็นนโยบายที่ทั้งนักการเมืองและชาวนาชื่นชอบ เพราะ เป็นนโยบายตรงไปตรงมา จ่าย-จบ แต่ส่วนตัวอ.สมพร มองว่า เป็นนโยบายที่ไม่ยั่งยืน เปรียบเสมือนแช่แข็งเกษตรไม่ให้ต่อยอดต่อจากอาชีพ
รศ.สมพร ย้ำว่าสิ่งสำคัญตอนนี้ประเทศไทยยังไม่มีตลาดกลางข้าว ทำให้ต้องอิงจากราคาที่รัฐบาลประกาศ หากเกษตรกรขายข้าวได้ราคาต่ำมาก เพดานส่วนต่างระหว่างราคาขายกับราคาอ้างอิงที่รัฐประกาศจะสูงขึ้น ทำให้รัฐต้องจ่ายส่วนต่างให้เกษตรกรเยอะขึ้น คาดการณ์ว่าเป็นแบบนี้ต่อไปไม่ถึง 10 ปี นโยบายต้องล้มลง
ส่วนสาเหตุหลักของราคาข้าวตกต่ำครั้งนี้ มาจากเหตุการณ์น้ำท่วม ตัวความชื้นที่เพิ่มขึ้น 1% ทำให้ราคาตกลง 5,000-6,000 บาท
สำหรับภาพรวมการส่งออกข้าวของประเทศไทยปีนี้ รศ.สมพรให้ข้อมูลว่าในเวลา 9 เดือน ส่งออกไปแล้วจำนวน 3.82 ล้านตัน หากเวลาที่เหลืออีก 3 เดือน ได้ 5 แสนล้านตัน จะรวมเป็น 5.3 ล้านตัน แสดงให้เห็นว่าลดลงทั้งจำนวนและมูลค่า แสดงให้เห็นว่าไทยสู่ภาวะถดถอยของวงการข้าว
เศรษฐกิจยุคโควิด งานกฐินวัดดังบุรีรัมย์ สุดเงียบเหงา คนจองทำบุญไม่ถึง 20 กอง
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6725967
เศรษฐกิจยุคโควิด งานกฐินวัดดังบุรีรัมย์ สุดเงียบเหงา คนจองทำบุญไม่ถึง 20 กอง หลวงพ่อเจ้าอาวาส ระบุ เห็นใจ และเข้าใจชาวบ้าน
วันที่ 11 พ.ย.64 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศในห่วงการทอดกฐินที่จังหวัดบุรีรัมย์ ไม่คึกคักเท่าที่ควร หลายวัดไม่มีคณะกฐินมาจอง ไม่มีบุตรหลานคนในหมู่บ้าน มาจองกฐินเหมือนทุกปีที่ผ่านมาเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้คนไม่มีงานทำ รวมถึงการเดินทางและการรวมกลุ่มต้องใช้ความระมัดระวังตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข
อย่างเช่นที่วัดสำโรง หมู่ 4 ต.ถลุงเหล็ก อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ ซึ่งจะมีการทำบุญกฐินประจำปี ในวันที่ 14 พ.ย.ที่จะถึงนี้ โดยก่อนหน้านี้ ชาวบ้านมีความตั้งใจที่จะทำบุญกฐินประจำปี และตั้งกองกฐินไว้ที่กองละ 999 บาท ไม่รวมกับประธานกองกฐินที่จะเข้ามาร่วม แต่ปรากฏว่า มีชาวบ้านมาจองกองกฐินไม่ถึง 20 กอง หรือประมาณ 20,000 บาทเท่านั้น
พระครูสุเมธ ธรรมวิจารณ์ เจ้าวาวาสวัดสำโรง และเจ้าคณะตำบลถลุงเหล็ก กล่าวว่า ทางวัดต้องการบูรณะซ่อมแซมกุฎิหลังใหม่ ซึ่งจะต้องใช้งบประมาณ 1.5 ล้านบาท แต่ยังไม่มีงบประมาณ ทางวัดเห็นใจในช่วงเศรษฐกิจที่ตกต่ำ จึงไม่คิดจะทำบุญในเชิงบริจาค แต่ได้มีชาวบ้านมาร้องขอ ให้ตั้งกองกฐิน กองละ 999 บาท จึงตอบรับชาวบ้านไปว่า “แล้วแต่กำลังศรัธรา”
พอมาถึงตอนนี้รู้เลยว่าเศรษฐกิจในยุคโควิด-19 ไม่ดีจริงๆ ทั้งนี้ไม่ได้จะต้องการให้ชาวบ้านมาตั้งกองกฐินเพิ่ม หรือบีบให้หาเงินเข้าวัดแต่อย่างใด ทุกอย่างเป็นกลไกของเศรษฐกิจ ใครมีน้อยทำบุญน้อย ใครมีมากทุกบุญมาก
ด้านนางสัมพันธ์ ปาโสม อายุ 56 ปี ชาวบ้านในหมู่บ้าน บอกว่า ยอมรับว่าเห็นใจวัด เพราะสภาพเศรษฐกิจไม่ดี ร้านค้าขายของไม่ได้ ทำให้ไม่มีเงินหมุนเวียน จริงแล้วอยากให้ผู้ที่มีกำลัง มาช่วยประคับประคองการบูรณะศาลาเก่าแก่ ให้เดินต่อไปเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจของชาวบ้าน
คลิปหญิงหมดสติ ณ จุดฉีดวัคซีนซิโนแวค จนท.ต้องหามส่ง รพ.
https://ch3plus.com/news/program/265459
วานนี้ (10 พ.ย.) ผู้ใช้ติ๊กต็อกชื่อ @Namtip Arsasit โพสต์คลิปขณะที่ตนเองได้เดินทางไปเข้ารับการฉีดวัคซีนสถานที่แห่งหนึ่ง ซึ่งระหว่างที่เธอกับประชาชนคนอื่นๆ กำลังนั่งรอฉีดวัคซีนนั้น ปรากฎว่ามีหญิงสาวคนหนึ่งหมดสติไม่รู้สึกตัว เจ้าหน้าที่รีบช่วยกันยกตัวขึ้นรถวีลแชร์ ก่อนที่เจ้าหน้าที่รายหนึ่งจะพูดออกไมค์โครโฟนว่า “ตามรถโรงพยาบาลด่วน” และบอกให้นำตัวหญิงคนดังกล่าวนอนหงาย
จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้ช่วยกันหามตัวหญิงคนดังกล่าว ออกจากจุดฉีดวัคซีนขึ้นรถไปโรงพยาบาล ขณะที่ประชาชนทั้งผู้สูงอายุ วัยกลางคน คนหนุ่มสาวที่นั่งเก้าอี้รออยู่นั้นต่างพากันนั่งมองอย่างใจหวิว ทั้งนี้ผู้โพสต์คลิประบุข้อความสั้น ๆ ว่า “ซิโนแวควันนี้”
ทั้งนี้ ผู้โพสต์ไม่ได้ระบุหรืออธิบายข้อมูลที่ชัดเจนว่าเกิดจากผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนหรือไม่ โดยคลิปนี้มีคนเข้าไปดูและแชร์จำนวนมาก พร้อมแสดงความคิดเห็นว่า “เห็นแบบนี้ไม่กล้าไปฉีดวัคซีน” และสอบถามอาการหญิงคนดังกล่าวด้วยความเป็นห่วง
ผู้สื่อข่าวพยายามสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมจากผู้โพสต์โดยทักข้อความไปสอบถาม ยังไม่มีการตอบรับ แต่ก่อนหน้านั้นผู้โพสต์คลิปได้ตอบคอมเม้นต์คนที่เข้าไปแสดงความคิดเห็นต่อคลิปนี้ บอกว่า “รอคิวเห็นแล้วเกือบกลับบ้านไม่กล้าฉีด” พร้อมระบุว่า “เจ้าหน้าที่พาไปโรงพยาบาลไม่แน่ใจเป็นอะไรมากหรือไม่”
รับชมผ่านยูทูบได้ที่ : https://youtu.be/5NeK8n9ggFI