‘ธปท.’ มองแนวโน้ม ‘หนี้เสีย’ ทยอยเพิ่มขึ้น-เผยสินเชื่อแบงก์ไตรมาส 3/64 โต 5.6%
https://www.isranews.org/article/isranews-news/104132-bot-thai-FinancialInstitutions-Proformance-Q3-2564-NPL-news.html
‘แบงก์ชาติ’ เผยยอดปล่อยสินเชื่อแบงก์พาณิชย์ไตรมาส 3/64 ขยายตัว 5.6% สะท้อนความต้องการสินเชื่อที่เพิ่มขึ้น
หลังรัฐผ่อนมาตรการคุมโควิด-เปิดประเทศ แต่มองแนวโน้ม ‘หนี้เสีย’ ทยอยเพิ่มขึ้น
................................
เมื่อวันที่ 12 พ.ย. น.ส.
สุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยผลการดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์ไตรมาส 3/2564 ว่า ระบบธนาคารพาณิชย์มีความเข้มแข็ง โดยมีเงินกองทุน เงินสำรองและสภาพคล่องอยู่ในระดับสูง สามารถทำหน้าที่เป็นกลไกสำคัญในการช่วยเหลือลูกหนี้และสนับสนุนความต้องการสินเชื่อเพื่อรองรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะต่อไปที่ยังมีความไม่แน่นอนสูงจากผลกระทบของโควิด-19
ทั้งนี้ มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้และการผ่อนปรนเกณฑ์การจัดชั้น ช่วยชะลอการด้อยลงของคุณภาพสินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ อย่างไรก็ตาม ยอดคงค้างสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL หรือ stage 3) ในช่วงไตรมาส 3/2564 อยู่ที่ 546.3 พันล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวมที่ 3.14% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับ ไตรมาส 2/2564 ที่สัดส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ 3.09%
สำหรับแนวโน้มสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL) ในระยะต่อไป หลังสิ้นสุดมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ น.ส.
สุวรรณี กล่าวว่า ธปท.สนับสนุนให้สถาบันการเงินช่วยเหลือลูกหนี้ โดยการปรับโครงสร้างหนี้ระยะยาว เช่น ให้ลูกหนี้ผ่อนชำระค่างวดตามสอดคล้องกับรายได้ในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งมาตรการนี้จะมีระยะเวลาไปจนถึงปี 2566 แต่ลูกหนี้คงไม่สามารถรอดไปได้ทุกราย และเมื่อมองจากแนวโน้ม NPL ในช่วงที่ผ่านมา คาดว่าในระยะต่อไป NPL มีแนวโน้มทยอยเพิ่มขึ้น
“ถ้าเราดูแนวโน้ม NPL จากตลอดที่ผ่านมา เราพบว่าแนวโน้ม NPL จะค่อยๆทยอยเพิ่มขึ้น แต่เราจะพยายามไม่ให้เพิ่มขึ้นเป็น cliff (หน้าผา) คือ อยู่ๆ NPL เพิ่มตูมขึ้นมา เพื่อทำให้การบริการจัดการของธนาคารพาณิชย์และตัวลูกหนี้สามารถทำได้ และแม้ว่าปกติเราไม่ได้มีการเปิดเผย หรือคาดการณ์ตัวเลข NPL แต่จะมีการจับตาดูอยู่อย่างใกล้ชิด ดูแนวโน้ม ดูการรับเรื่องร้องเรียนจากลูกค้าว่า ได้รับความช่วยเหลือหรือไม่
พร้อมทั้งมีกลไกบริหารจัดการ หากเป็นหนี้เสีย เช่น ลูกหนี้ที่กำลังจะถูกฟ้องร้องหรือบังคับคดี เรายังมีกระบวนการไกล่เกลี่ยหนี้ก่อนเข้าศาล หรือหลังเข้าศาลด้วย ซึ่งเป็นกลกที่เราสร้างขึ้นมา เพื่อให้ลูกหนี้ไปให้รอดมากที่สุด แต่ต้องยอมรับว่าคงไม่ใช่ทุกคนที่จะรอดได้” น.ส.สุวรรณี กล่าว และย้ำว่า “สิ่งที่เราเห็น NPL คงจะค่อยๆทยอยเพิ่มขึ้น แต่ว่าไม่เป็น cliff เพื่อให้อยู่ในวิสัยที่ตัวสถาบันการเงินและลูกหนี้บริการจัดการได้”
น.ส.
สุวรรณี ระบุว่า ณ เดือน ก.ย. 2564 มีลูกหนี้ที่ยังได้รับการช่วยเหลือจากสถาบันการเงิน 6.7 ล้านบัญชี ยอดหนี้รวม 3.82 ล้านล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้รายย่อย ทั้งนี้ หากเทียบกับเดือน ก.ค.-ส.ค.2564 พบว่ามีลูกหนี้เข้ารับการช่วยเหลือฯเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลจากมาตรการพักชำระหนี้ 2 เดือนในช่วงที่มีการล็อกดาวน์ แต่ลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับระดับสูงสุดในเดือน ก.ค.2563 ที่มีลูกหนี้เข้ารับความช่วยเหลือฯ 12.52 ล้านบัญชี ยอดหนี้รวม 7.19 ล้านล้านบาท
ส่วนความคืบหน้าการปล่อยสินเชื่อฟื้นฟูนั้น ล่าสุดเมื่อวันที่ 8 พ.ย.2564 มีการอนุมัติสินเชื่อฟื้นฟูแล้ว 124,836 แสนล้านบาท จำนวนผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือ 39,095 ราย คิดเป็นวงเงินอนุมัติเฉลี่ย 3.2 ล้านบาท/ราย ขณะที่โครงการพักทรัพย์พักหนี้ มียอดอนุมัติเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 24,374 ล้านบาท จำนวนผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือ 168 ราย และมีการสภาพคล่องเพิ่มเติมจาก ธปท. คิดเป็นยอดสินเชื่อ 10,224 ล้านบาท จำนวนผู้ได้รับความช่วยเหลือ 82 ราย
สำหรับผลการดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์ไตรมาส 3/2564 มีรายละเอียดดังนี้
ระบบธนาคารพาณิชย์มีเงินกองทุนทั้งสิ้น 3,024.8 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS ratio) ที่ร้อยละ 19.9 เงินสำรองอยู่ในระดับสูงที่ 872.0 พันล้านบาท โดยอัตราส่วนเงินสำรองที่มีต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL coverage ratio) อยู่ที่ร้อยละ 155.0 และอัตราส่วนสินทรัพย์สภาพคล่องเพื่อรองรับกระแสเงินสดที่อาจไหลออกในภาวะวิกฤต (Liquidity Coverage Ratio: LCR) อยู่ที่ร้อยละ 186.8
ภาพรวมการเติบโตของสินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 3 ปี 2564 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 3.7 ทั้งนี้ สินเชื่อยังคงขยายตัวต่อเนื่อ งแม้หักผลของสินเชื่อที่ให้แก่ภาครัฐและมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
สินเชื่อธุรกิจขยายตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 6.3 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน จากการขยายตัวของสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ ในเกือบทุกประเภทธุรกิจ รวมถึงสิ
เชื่อที่ให้แก่ภาครัฐ สะท้อนความต้องการเงินทุนของภาคธุรกิจภายหลังการทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดและแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังการเปิดประเทศ ขณะที่สินเชื่อธุรกิจ SMEs ขยายตัวต่อเนื่อง จากมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูเป็นสำคัญ
สินเชื่ออุปโภคบริโภคขยายตัวที่ร้อยละ 4.2 เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน ลดลงจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 5.7 โดยสินเชื่อรถยนต์หดตัวสอดคล้องกับยอดขายรถยนต์ในประเทศที่หดตัว สินเชื่อบัตรเครดิตหดตัวตามปริมาณการใช้บัตรเครดิตที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมการระบาด
สินเชื่อที่อยู่อาศัยขยายตัวชะลอลงตามอุปสงค์ต่อที่อยู่อาศัยที่ปรับลดลง ขณะที่สินเชื่อส่วนบุคคลขยายตัวในอัตราที่ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน สอดคล้องกับความต้องการสภาพคล่องของครัวเรือน
คุณภาพสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ไตรมาส 3 ปี 2564 ยังคงได้รับผลจากมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้และการผ่อนปรนเกณฑ์การจัดชั้นลูกหนี้ โดยยอดคงค้างสินเชื่อด้อยคุณภาพ (Non Performing Loan: NPL หรือ stage 3) เพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 546.3 พันล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวมที่ร้อยละ 3.14 ขณะที่สัดส่วนสินเชื่อที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความเสี่ยง
ด้านเครดิตต่อสินเชื่อรวม (Significant Increase in Credit Risk: SICR หรือ stage 2) อยู่ที่ร้อยละ 6.69 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ร้อยละ 6.34
ระบบธนาคารพาณิชย์มีกำไรสุทธิในไตรมาส 3 ปี 2564 จำนวน 38.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 45.1 โดยหลักจากค่าใช้จ่ายกันสำรองที่ลดลงจากการกันสำรองในระดับสูงในปีก่อน ประกอบกับการควบคุมค่าใช้จ่าย ขณะที่รายได้ดอกเบี้ยสุทธิปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยตามการเติบโตของสินเชื่อ
ทั้งนี้ หากเทียบกับไตรมาสก่อน กำไรสุทธิลดลงจากรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยในส่วนของรายได้เงินปันผลที่ลดลงจากฐานเงินปันผลที่สูงในไตรมาสก่อน รวมถึงค่าใช้จ่ายสำรองที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (Return on Assets: ROA) ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 0.69 จากไตรมาสก่อนที่ร้อยละ 1.09 ขณะที่อัตราส่วนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิต่อสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ดอกเบี้ยเฉลี่ย (Net Interest Margin: NIM) ทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.47
สหพันธ์ขนส่งฯ เปิด 4 เส้นทาง จัดคาราวานรถบรรทุก 500 คันบุกกระทรวงพลังงาน 16 พ.ย.นี้
https://www.matichon.co.th/politics/news_3038401
สหพันธ์ขนส่งฯ เปิด 4 เส้นทาง จัดคาราวานรถบรรทุก 500 คันบุกกระทรวงพลังงาน 16 พ.ย.นี้
เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน รายงานข่าวจากสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย ระบุว่า ในเวลา 09.00-17.00 น. วันที่ 16 พฤศจิกายนนี้ จะจัดกิจกรรมแสดงออกเชิงสัญลักษณ์พลังของคนรถบรรทุก (Truck Power) ซีซั่น 2 จำนวน 4 เส้นทางดังนี้
1. ถนนสายเอเชีย เริ่มต้นจากสถานีตรวจสอบน้ำหนักบางปะอิน ขาเข้า-ผ่านแยกมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์-รังสิต-ดอนเมือง-แยกหลักสี่-เซ็นทรัลลาดพร้าว-ยูเทิร์นห้าแยกลาดพร้าว-กระทรวงพลังงาน
2. ถนนสุขุมวิท เริ่มต้นจากลานหน้าประตู 2 ท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรี เส้นทางสุขุมวิทมุ่งหน้า อ.ศรีราชา เลี้ยวขวาทางเลี่ยงเมืองหนองมน เส้นทางถนนข้าวหลามมุ่งหน้าบายพาสชลบุรี ใช้ทางลาดเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 34 บางนา-ตราด และมุ่งหน้าสมทบที่จุด กม.ที่ 15
รายงานข่าว ระบุอีกว่า
3. ถนนบางนา-ตราด รวมพล ณ บางนา-ตราด กม.12-วิ่งขึ้นทางด่วนบางนา-กระทรวงพลังงาน ถนนวิภาวดีรังสิต
และ 4. ถนนกาญจนาภิเษก เริ่มต้นจากแมคโคร จ.นครปฐม ถนนเพชรเกษม เข้าถนนบรมราชชนนี เลี้ยวซ้ายที่แยกบางพลัด เพื่อเข้าสู่ถนนจรัญสนิทวงศ์ ผ่านวงศ์สว่าง ถนนรัชดาภิเษก เลี้ยวซ้ายเข้าห้าแยกลาดพร้าว เลี้ยวซ้ายเข้าแคราย และเลี้ยวซ้ายเข้าถนนกาญจนาภิเษก ในวันเดียวกันช่วงเวลา 13.30 น. จะมีกิจกรรมแถลงข่าว ณ บริเวณหน้ากระทรวงพลังงาน ถนนวิภาวดีรังสิต จตุจักร กรุงเทพฯ ซึ่งระหว่างที่แถลงข่าวจะมีรถบรรทุกจอดอยู่ริมถนนวิภาวดีรังสิต ทั้งฝั่งขาเข้าและขาออกจำนวน 500 คัน
รายงานข่าวฯ ระบุอีกว่า สำหรับการจัดกิจกรรมครั้งนี้ เนื่องจากสหพันธ์ฯ ได้เข้าพบนาย
สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เพื่อนำเสนอปัญหาและข้อเสนอแนะต่างๆ มาตรการแนวทางแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันแพง แจ้งเพื่อทราบถึงมาตรการข้อเรียกร้อง หาแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนเชิงบูรณาการในทุกมิติ เมื่อวันที่ 18 ตุลาคมที่ผ่านมา
รายงานข่าวฯ ระบุอีกว่า นอกจากนี้ ได้ยื่นหนังสือถึง พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา แต่ยังไม่ปรากฎว่าได้นำข้อเรียกร้องไปพิจารณาทบทวนหรือได้ประชุมหารือร่วมกันแต่อย่างใด จึงจัดกิจกรรมดังกล่าว เพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ในพื้นที่ทุกภูมิภาคของประเทศไทย ให้ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และสื่อสาธารณะได้รับทราบถึงผลกระทบความเดือดร้อนของประชาชน ผู้บริโภคน้ำมัน และผู้ประกอบการขนส่ง ทั้งนี้ การจัดกิจกรรมจะปฏิบัติตามกฎหมาย พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 และ พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558
JJNY : ‘ธปท.’มองแนวโน้ม‘หนี้เสีย’ทยอยเพิ่ม│สหพันธ์ขนส่งฯเปิด4เส้นทางคาราวาน│เพื่อไทยฟังปัญหาประมงไทย│ต้าเหลียนเผชิญโควิด
https://www.isranews.org/article/isranews-news/104132-bot-thai-FinancialInstitutions-Proformance-Q3-2564-NPL-news.html
‘แบงก์ชาติ’ เผยยอดปล่อยสินเชื่อแบงก์พาณิชย์ไตรมาส 3/64 ขยายตัว 5.6% สะท้อนความต้องการสินเชื่อที่เพิ่มขึ้น
หลังรัฐผ่อนมาตรการคุมโควิด-เปิดประเทศ แต่มองแนวโน้ม ‘หนี้เสีย’ ทยอยเพิ่มขึ้น
เมื่อวันที่ 12 พ.ย. น.ส.สุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยผลการดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์ไตรมาส 3/2564 ว่า ระบบธนาคารพาณิชย์มีความเข้มแข็ง โดยมีเงินกองทุน เงินสำรองและสภาพคล่องอยู่ในระดับสูง สามารถทำหน้าที่เป็นกลไกสำคัญในการช่วยเหลือลูกหนี้และสนับสนุนความต้องการสินเชื่อเพื่อรองรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะต่อไปที่ยังมีความไม่แน่นอนสูงจากผลกระทบของโควิด-19
ทั้งนี้ มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้และการผ่อนปรนเกณฑ์การจัดชั้น ช่วยชะลอการด้อยลงของคุณภาพสินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ อย่างไรก็ตาม ยอดคงค้างสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL หรือ stage 3) ในช่วงไตรมาส 3/2564 อยู่ที่ 546.3 พันล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวมที่ 3.14% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับ ไตรมาส 2/2564 ที่สัดส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ 3.09%
สำหรับแนวโน้มสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL) ในระยะต่อไป หลังสิ้นสุดมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ น.ส.สุวรรณี กล่าวว่า ธปท.สนับสนุนให้สถาบันการเงินช่วยเหลือลูกหนี้ โดยการปรับโครงสร้างหนี้ระยะยาว เช่น ให้ลูกหนี้ผ่อนชำระค่างวดตามสอดคล้องกับรายได้ในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งมาตรการนี้จะมีระยะเวลาไปจนถึงปี 2566 แต่ลูกหนี้คงไม่สามารถรอดไปได้ทุกราย และเมื่อมองจากแนวโน้ม NPL ในช่วงที่ผ่านมา คาดว่าในระยะต่อไป NPL มีแนวโน้มทยอยเพิ่มขึ้น
“ถ้าเราดูแนวโน้ม NPL จากตลอดที่ผ่านมา เราพบว่าแนวโน้ม NPL จะค่อยๆทยอยเพิ่มขึ้น แต่เราจะพยายามไม่ให้เพิ่มขึ้นเป็น cliff (หน้าผา) คือ อยู่ๆ NPL เพิ่มตูมขึ้นมา เพื่อทำให้การบริการจัดการของธนาคารพาณิชย์และตัวลูกหนี้สามารถทำได้ และแม้ว่าปกติเราไม่ได้มีการเปิดเผย หรือคาดการณ์ตัวเลข NPL แต่จะมีการจับตาดูอยู่อย่างใกล้ชิด ดูแนวโน้ม ดูการรับเรื่องร้องเรียนจากลูกค้าว่า ได้รับความช่วยเหลือหรือไม่
พร้อมทั้งมีกลไกบริหารจัดการ หากเป็นหนี้เสีย เช่น ลูกหนี้ที่กำลังจะถูกฟ้องร้องหรือบังคับคดี เรายังมีกระบวนการไกล่เกลี่ยหนี้ก่อนเข้าศาล หรือหลังเข้าศาลด้วย ซึ่งเป็นกลกที่เราสร้างขึ้นมา เพื่อให้ลูกหนี้ไปให้รอดมากที่สุด แต่ต้องยอมรับว่าคงไม่ใช่ทุกคนที่จะรอดได้” น.ส.สุวรรณี กล่าว และย้ำว่า “สิ่งที่เราเห็น NPL คงจะค่อยๆทยอยเพิ่มขึ้น แต่ว่าไม่เป็น cliff เพื่อให้อยู่ในวิสัยที่ตัวสถาบันการเงินและลูกหนี้บริการจัดการได้”
น.ส.สุวรรณี ระบุว่า ณ เดือน ก.ย. 2564 มีลูกหนี้ที่ยังได้รับการช่วยเหลือจากสถาบันการเงิน 6.7 ล้านบัญชี ยอดหนี้รวม 3.82 ล้านล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้รายย่อย ทั้งนี้ หากเทียบกับเดือน ก.ค.-ส.ค.2564 พบว่ามีลูกหนี้เข้ารับการช่วยเหลือฯเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลจากมาตรการพักชำระหนี้ 2 เดือนในช่วงที่มีการล็อกดาวน์ แต่ลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับระดับสูงสุดในเดือน ก.ค.2563 ที่มีลูกหนี้เข้ารับความช่วยเหลือฯ 12.52 ล้านบัญชี ยอดหนี้รวม 7.19 ล้านล้านบาท
ส่วนความคืบหน้าการปล่อยสินเชื่อฟื้นฟูนั้น ล่าสุดเมื่อวันที่ 8 พ.ย.2564 มีการอนุมัติสินเชื่อฟื้นฟูแล้ว 124,836 แสนล้านบาท จำนวนผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือ 39,095 ราย คิดเป็นวงเงินอนุมัติเฉลี่ย 3.2 ล้านบาท/ราย ขณะที่โครงการพักทรัพย์พักหนี้ มียอดอนุมัติเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 24,374 ล้านบาท จำนวนผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือ 168 ราย และมีการสภาพคล่องเพิ่มเติมจาก ธปท. คิดเป็นยอดสินเชื่อ 10,224 ล้านบาท จำนวนผู้ได้รับความช่วยเหลือ 82 ราย
สำหรับผลการดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์ไตรมาส 3/2564 มีรายละเอียดดังนี้
ระบบธนาคารพาณิชย์มีเงินกองทุนทั้งสิ้น 3,024.8 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS ratio) ที่ร้อยละ 19.9 เงินสำรองอยู่ในระดับสูงที่ 872.0 พันล้านบาท โดยอัตราส่วนเงินสำรองที่มีต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL coverage ratio) อยู่ที่ร้อยละ 155.0 และอัตราส่วนสินทรัพย์สภาพคล่องเพื่อรองรับกระแสเงินสดที่อาจไหลออกในภาวะวิกฤต (Liquidity Coverage Ratio: LCR) อยู่ที่ร้อยละ 186.8
ภาพรวมการเติบโตของสินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 3 ปี 2564 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 3.7 ทั้งนี้ สินเชื่อยังคงขยายตัวต่อเนื่อ งแม้หักผลของสินเชื่อที่ให้แก่ภาครัฐและมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
สินเชื่อธุรกิจขยายตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 6.3 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน จากการขยายตัวของสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ ในเกือบทุกประเภทธุรกิจ รวมถึงสิ
เชื่อที่ให้แก่ภาครัฐ สะท้อนความต้องการเงินทุนของภาคธุรกิจภายหลังการทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดและแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังการเปิดประเทศ ขณะที่สินเชื่อธุรกิจ SMEs ขยายตัวต่อเนื่อง จากมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูเป็นสำคัญ
สินเชื่ออุปโภคบริโภคขยายตัวที่ร้อยละ 4.2 เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน ลดลงจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 5.7 โดยสินเชื่อรถยนต์หดตัวสอดคล้องกับยอดขายรถยนต์ในประเทศที่หดตัว สินเชื่อบัตรเครดิตหดตัวตามปริมาณการใช้บัตรเครดิตที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมการระบาด
สินเชื่อที่อยู่อาศัยขยายตัวชะลอลงตามอุปสงค์ต่อที่อยู่อาศัยที่ปรับลดลง ขณะที่สินเชื่อส่วนบุคคลขยายตัวในอัตราที่ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน สอดคล้องกับความต้องการสภาพคล่องของครัวเรือน
คุณภาพสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ไตรมาส 3 ปี 2564 ยังคงได้รับผลจากมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้และการผ่อนปรนเกณฑ์การจัดชั้นลูกหนี้ โดยยอดคงค้างสินเชื่อด้อยคุณภาพ (Non Performing Loan: NPL หรือ stage 3) เพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 546.3 พันล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวมที่ร้อยละ 3.14 ขณะที่สัดส่วนสินเชื่อที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความเสี่ยง
ด้านเครดิตต่อสินเชื่อรวม (Significant Increase in Credit Risk: SICR หรือ stage 2) อยู่ที่ร้อยละ 6.69 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ร้อยละ 6.34
ระบบธนาคารพาณิชย์มีกำไรสุทธิในไตรมาส 3 ปี 2564 จำนวน 38.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 45.1 โดยหลักจากค่าใช้จ่ายกันสำรองที่ลดลงจากการกันสำรองในระดับสูงในปีก่อน ประกอบกับการควบคุมค่าใช้จ่าย ขณะที่รายได้ดอกเบี้ยสุทธิปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยตามการเติบโตของสินเชื่อ
ทั้งนี้ หากเทียบกับไตรมาสก่อน กำไรสุทธิลดลงจากรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยในส่วนของรายได้เงินปันผลที่ลดลงจากฐานเงินปันผลที่สูงในไตรมาสก่อน รวมถึงค่าใช้จ่ายสำรองที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (Return on Assets: ROA) ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 0.69 จากไตรมาสก่อนที่ร้อยละ 1.09 ขณะที่อัตราส่วนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิต่อสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ดอกเบี้ยเฉลี่ย (Net Interest Margin: NIM) ทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.47
สหพันธ์ขนส่งฯ เปิด 4 เส้นทาง จัดคาราวานรถบรรทุก 500 คันบุกกระทรวงพลังงาน 16 พ.ย.นี้
https://www.matichon.co.th/politics/news_3038401
สหพันธ์ขนส่งฯ เปิด 4 เส้นทาง จัดคาราวานรถบรรทุก 500 คันบุกกระทรวงพลังงาน 16 พ.ย.นี้
เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน รายงานข่าวจากสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย ระบุว่า ในเวลา 09.00-17.00 น. วันที่ 16 พฤศจิกายนนี้ จะจัดกิจกรรมแสดงออกเชิงสัญลักษณ์พลังของคนรถบรรทุก (Truck Power) ซีซั่น 2 จำนวน 4 เส้นทางดังนี้
1. ถนนสายเอเชีย เริ่มต้นจากสถานีตรวจสอบน้ำหนักบางปะอิน ขาเข้า-ผ่านแยกมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์-รังสิต-ดอนเมือง-แยกหลักสี่-เซ็นทรัลลาดพร้าว-ยูเทิร์นห้าแยกลาดพร้าว-กระทรวงพลังงาน
2. ถนนสุขุมวิท เริ่มต้นจากลานหน้าประตู 2 ท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรี เส้นทางสุขุมวิทมุ่งหน้า อ.ศรีราชา เลี้ยวขวาทางเลี่ยงเมืองหนองมน เส้นทางถนนข้าวหลามมุ่งหน้าบายพาสชลบุรี ใช้ทางลาดเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 34 บางนา-ตราด และมุ่งหน้าสมทบที่จุด กม.ที่ 15
รายงานข่าว ระบุอีกว่า
3. ถนนบางนา-ตราด รวมพล ณ บางนา-ตราด กม.12-วิ่งขึ้นทางด่วนบางนา-กระทรวงพลังงาน ถนนวิภาวดีรังสิต
และ 4. ถนนกาญจนาภิเษก เริ่มต้นจากแมคโคร จ.นครปฐม ถนนเพชรเกษม เข้าถนนบรมราชชนนี เลี้ยวซ้ายที่แยกบางพลัด เพื่อเข้าสู่ถนนจรัญสนิทวงศ์ ผ่านวงศ์สว่าง ถนนรัชดาภิเษก เลี้ยวซ้ายเข้าห้าแยกลาดพร้าว เลี้ยวซ้ายเข้าแคราย และเลี้ยวซ้ายเข้าถนนกาญจนาภิเษก ในวันเดียวกันช่วงเวลา 13.30 น. จะมีกิจกรรมแถลงข่าว ณ บริเวณหน้ากระทรวงพลังงาน ถนนวิภาวดีรังสิต จตุจักร กรุงเทพฯ ซึ่งระหว่างที่แถลงข่าวจะมีรถบรรทุกจอดอยู่ริมถนนวิภาวดีรังสิต ทั้งฝั่งขาเข้าและขาออกจำนวน 500 คัน
รายงานข่าวฯ ระบุอีกว่า สำหรับการจัดกิจกรรมครั้งนี้ เนื่องจากสหพันธ์ฯ ได้เข้าพบนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เพื่อนำเสนอปัญหาและข้อเสนอแนะต่างๆ มาตรการแนวทางแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันแพง แจ้งเพื่อทราบถึงมาตรการข้อเรียกร้อง หาแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนเชิงบูรณาการในทุกมิติ เมื่อวันที่ 18 ตุลาคมที่ผ่านมา
รายงานข่าวฯ ระบุอีกว่า นอกจากนี้ ได้ยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา แต่ยังไม่ปรากฎว่าได้นำข้อเรียกร้องไปพิจารณาทบทวนหรือได้ประชุมหารือร่วมกันแต่อย่างใด จึงจัดกิจกรรมดังกล่าว เพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ในพื้นที่ทุกภูมิภาคของประเทศไทย ให้ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และสื่อสาธารณะได้รับทราบถึงผลกระทบความเดือดร้อนของประชาชน ผู้บริโภคน้ำมัน และผู้ประกอบการขนส่ง ทั้งนี้ การจัดกิจกรรมจะปฏิบัติตามกฎหมาย พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 และ พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558