รู้จักค่าเสียโอกาส เมื่อผ่อนรถ 5 แสน แต่จ่ายตลอด 4 ปี เป็น 1M - นักเศรษฐศาสตร์คิดยังไง?

สำหรับผู้มีเหตุผลและแสวงหาความมั่งคั่งในระยะยาว ย่อมนำเงินลงทุนสร้างรายได้ในตลาดเงินและตลาดสินค้าบริการ มากกว่าซื้อรถเพื่อแสดงสถานะทางสังคม 

ในที่นี่ขอแนะนำ "ค่าเสียโอกาส" จากการซื้อรถยนต์ใช้สอยส่วนตัวเพียงแสดงสถานะสังคม (มีปัญญาซื้อขอโชว์)

หากมีผู้ต้องการซื้อรถยนต์คันหนึ่ง เข้าไฟแนนซ์ 500,000฿ ผ่อน 4 ปี แล้วขายซาก, และไฟแนนซ์คิดดอกเบี้ยปีละ 3% (รวม 3%X4 ปี  เป็นดอกเบี้ยจริง 12%) เขาจะมีค่าเสียโอกาสประมาณ 928,000 บาท จากรายการดังนี้

1) 500,000฿ ราคารถยนต์ที่เข้าไฟแนนซ์
2) 60,000฿ ดอกเบี้ยรวม 12%
3) 240,000 ฿ ประมาณค่าเชื้อเพลิง 5,000฿/เดือน ตลอด 4 ปี
4) 48,000฿ ประมาณค่าซ่อมบำรุงประมาณการตลอด 4 ปี
5) 88,000฿ ประมาณค่าประกันภัย ค่าพรบ. ตลอด 3 ปี
6) 192,000฿ ประมาณค่าทำความสะอาด, ค่าจอด, ค่าทางด่วน ตลอด 4 ปี

รวม 1-6 = ประมาณ 1,128,000฿
และในสิ้นปีที่ 4 เขาขายซากรถที่ราคาประมาณ 40% = 200,000฿

ฉะนั้นเขาจ่ายตลอด 4 ปี -> 1,128,000 - ซาก 200,000 = "ค่าเสียโอกาส 928,000฿"
(** แม้ซื้อสดไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย ค่าเสียโอกาสก็ใกล้ล้านอยู่ดี)

นอกจากนั้นค่าใช้จ่ายนี้ยังไม่รวมค่ารักษาพยาบาลกรณีสุขภาพเสียจากการขับรถ อาทิ หมอนรองกระดูกเสื่อม เหน็บชา อัมพฤกษ์
ยังไม่รวมค่าสูญเสียของสิ่งแวดล้อมจากการปล่อยอากาศเสียสู่ธรรมชาติและปอดของเพื่อนมนุษย์
และความสูญเสียจากความสามารถในการหารายได้ หากเกิดอุบัติเหตุรุนแรงต่อร่างกาย

แต่หาก เขาเลือกที่จะนำเงินราว 1 ล้านบาทนั้น ไปลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ที่กำลังเติบโต อาทิ ธุรกิจขนส่ง ธุรกิจอาหาร ฯลฯ หรือนำไปซื้อสินทรัพย์เพิ่มมูลค่า อาทิ สวนผลไม้ สวนต้นสัก อาคารพาณิชย์ใกล้ตลาดสด, หุ้นของธุรกิจที่มีความมั่นคง, หรือซื้อทองคำแท่ง เป็นต้น
จะทำให้เงินที่ต้องเสียไปกว่า 1 ล้านบาท เป็นต้นทุนในสร้างเนื้อสร้างตัวเพื่อความมั่นคงของครอบครัว

ในทางเศรษฐศาสตร์นั้น ทุกทางเลือกของการใช้เงินล้วนอาจมีค่าเสียโอกาสเกิดขึ้นได้เสมอ แต่ผู้คำนวนจะใช้ข้อมูลย้อนหลังในอดีตประมาณการโอกาสเพื่อลดความเสี่ยงของการใช้เงินในทางที่ไม่เกิดประโยชน์ยั่งยืน

ในกรณีนี้ การซื้อรถยนต์เพื่อใช้สอยส่วนตัว ไม่เป็นในเชิงพาณิชย์นั้น ถือว่ามีค่าเสียโอกาสสูงมาก โดยเฉพาะกับผู้มีรายได้ต่อเดือนน้อยกว่า 1 ล้านบาท หรือไม่มี money machine

ฉะนั้นการเลือกนำเงินไปใช้จับจ่ายลงทุนสร้างรายได้เพื่อความมั่งคั่งในตลาดทุนและตลาดสินค้าบริการ แทนการนำไปซื้อรถยนต์เพียงเพื่อแสดงสถานะทางสังคมนั้น จะเป็นประโยชน์กับความสุขสบายในระยะยาวของตนเองและครอบครัวมากกว่า 

รวย-จน เกิดจากพฤติกรรมการใช้เงินของตนเอง

- มุมมองจากนักเศรษฐศาสตร์คนหนึ่ง -
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่