(มะโน)ความเชื่อ

กระทู้สนทนา
ความเชื่อ
บท นำ
1. แนวความคิดทั้งหมดทั้งมวลที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้เป็นเพียงแนวความคิดหนึ่งที่ผู้เขียนพยายามคิดขึ้นมาเพื่อตอบคำถามในใจตนเองหลายๆ คำถาม ทั้งที่เกี่ยวกับ วิทยาศาสตร์ ศาสนา ไสยศาสตร์ ความเชื่อ ฯลฯ 
2. ผู้เขียนไม่มีเจตนาที่จะทำลายความเชื่ออย่างใดอย่างหนึ่งหรือชักจูงให้เกิดความเชื่อถืออย่างใดอย่างหนึ่ง แนวความคิดนี้ของผู้เขียนถูกคิดขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ของตัวผู้เขียนเอง 
3. สำหรับผู้ที่ยึดมั่น ถือมั่น ในแนวความคิด หรือ ศาสนาอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างมาก ไม่แนะนำให้อ่านบทความต่อไปนี้
4. คำหลายๆ คำที่ใช้ในบทความนี้ บางครั้งอาจไม่ตรงที่ใช้กับหลักศาสนาหรือความเชื่อต่าง ๆ เพราะตัวผู้เขียนเองก็ไม่ได้ศึกษาลึกซึ้งในทุกศาสนาและทุกศาสตร์ บางครั้งก็ไม่สามารถหาคำที่จะสื่อความหมายตามที่ผู้เขียนต้องการได้จำเป็นต้องใช้คำที่มีความหมายใกล้เคียงตมที่ผู้เขียนเข้าใจแทน
5. แนวความคิดนี้ยังไม่มีความสมบูรณ์ ยินดีรับฟังคำถามหรือความเห็นอย่างมีเหตุผลเพื่อปรับปรุงเนื้อหาต่อไป
 
จากความว่างเปล่า.....ไม่มีอะไร.....เกิดมี.....มีความว่างเปล่า
ว่างเปล่าคือไม่มี หรือ มีความว่างเปล่า
 
บท ความจริง 2 ประการ
1. การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
2. การดำเนินไป 
โดยความเชื่อเรื่อง “การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป” เชื่อว่า ทุก ๆ สิ่งในจักรวาลล้วนตกอยู่ภายใต้วัฏจักรนี้ ไม่ว่าความเชื่อแต่ละคนจะเป็นเช่นไร จักรวาลจะเกิดจากอะไร พระเจ้ามีจริงหรือไม่ ความจริงข้อนี้ก็ยังคงอยู่ ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ภายใต้การ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป  การดับและการเกิดถือได้ว่าเป็นสิ่งเดียวกันที่อยู่คนละด้าน การดับในทางหนึ่งคือการเกิดในอีกทางหนึ่ง 
ในระหว่างการ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป  นั้น มีสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดในทุก ๆ ขั้นตอน นั่นคือ “การดำเนินไป” การดำเนินไปในที่นี้คือการดำรงอยู่ของสิ่งหนึ่ง ๆ ที่เกิดขึ้นมา ซึ่งเป็นได้ทั้งการเจริญเติบโต การพัฒนาในทางที่ก้าวหน้าหรือย้อนถอยหลัง หรือแม้กระทั่งการหยุดนิ่ง ทุกสิ่งทุกอย่างเมื่อเกิดหรือดับไปแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างเมื่อตั้งอยู่แล้ว ย่อมต้องมี “การดำเนินไป” ตามวิถีทางของสิ่งนั้นๆ 
โดยที่ความเชื่อในปัจจุบัน ขั้นตอนการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ในฐานะมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ นั้นเป็นสิ่งที่ผู้คนทั่วไปสามารถมองเห็นได้ ถึงแม้เหตุและผลในการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ แต่ละคนจะมีมุมมองแตกต่างกันไปบ้างแต่ก็ถือว่าไม่ได้เป็นประเด็นสำคัญมากนักเพราะเป็นสิ่งที่มองเห็นและเข้าใจได้  ในทางกลับกัน ขั้นตอนการดับไป ตั้งอยู่ และเกิดขึ้น นั้นมีข้อถกเถียงมากมาย มีทั้งที่เชื่อว่าตายแล้วสูญสลายหายไปหมด เชื่อว่าตายแล้วจะกลับมาเกิดใหม่ เชื่อว่าตายแล้วจะได้ไปอยู่ร่วมกับประเจ้า เชื่อว่าตายแล้วจะขึ้นสวรรค์หรือลงนรก สิ่งเหล่านี้ยังเป็นที่ถกเยงกันอยู่ในเหล่ามนุษย์ที่มีความเชื่อแตกต่างกัน อีกทั้งยังพิสูจน์ได้ยากเมื่อเทียบกับกรณีแรก และหากเราขยายมุมมองออกไปนอกเหนือจากสิ่งมีชีวิตไปสู่สิ่งที่ไม่มีชีวิต ดิน หิน น้ำ วัตถุต่างๆ ที่อยู่ในจักรวาล สิ่งเหล่านี้มีการ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป และ  ดับไป ตั้งอยู่ เกิดขึ้น ด้วยหรือไม่ อย่างไร
อย่างไรก็ตามไม่ว่าคุณจะมีความเชื่ออย่างไร ไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือสิ่งไม่มีชีวิตต่างก็อยู่ภายใต้วัฏจักรความจริง 2 ข้อที่กล่าวไปแล้ว นั่นคือ “การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป” และ “การดำเนินไป” หากเรามองว่าทุกสิ่งอย่างเป็นวัตถุธาตุ สิ่งมีชีวิตหนึ่งเกิดมา ดำเนินชีวิต ตาย เกิดเป็นซาก กลายเป็นธาตุอื่น สิ่งไม่มีชีวิตหนึ่งเกิดมา ดำรงอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมต่างๆ สลายไปตามกาลเวลาหรือปัจจัยอื่น กลายเป็นธาตุอื่น ถ้าเรามองว่าทุกๆ อย่างในจักรวาลเป็นเพียงวัตถุธาตุ มันก็คงจบลงเพียงเท่านี้ เช่นนี้แล้ว พระเจ้าคืออะไร พลังงานต่างๆ ในธรรมชาติคืออะไร สิ่งมีชีวิตหรือสิ่งไม่มีชีวิตแตกต่างกันตรงไหน ยังคงมีคำถามตามมาอีกมากมาย
 
บท ความแน่นอนของความไม่แน่นอน หรือ ความไม่แน่นอนของความแน่นอน
          ภายใต้กำการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป และกำการดำเนินไป สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้นจะอยู่ภายใต้ความเป็นไปได้ 2 แบบ คือ สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นสามารถคาดการณ์ได้ หรือเป็นไปตามรูปแบบที่แน่นนอน และอีกรูปแบบหนึ่งคือสิ่งที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้หรือการเกิดรูปแบบที่ไม่แน่นนอน (random) ทั้งสองสิ่งนี้ดูแล้วแตกต่างกันแต่ในความเป็นจริงแล้วทั้งสองสิ่งนี้ก็คือสิ่งเดียวกันหากเรามองว่าความเป็นไปได้ทั้ง 2 แบบนั้นคือ ความแน่นอนของความไม่แน่นอน ความไม่แน่นอนที่ความแน่นอน เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นจึงขอยกตัวอย่างเพื่ออธิบาย เมื่อเกิดสถานการณ์แบบหนึ่งขึ้นมาหลาย ๆ ครั้ง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นอาจเป็นได้ทั้งการเกิดผลลัพธ์เดิมซ้ำๆ  หรืออาจเกิดผลลัพธ์แบบอื่นขึ้นมาก็ได้เนื่องจากความไม่แน่นอนของระบบ ในทางกลับกัน การที่จะได้ผลลัพธ์อย่างใดอย่างหนึ่งออกมาอาจจะสามารถทำได้มากกว่า 1 วิธีก็ได้ จากหลักการความแน่นอนของความไม่แน่นอน นี้ ส่งผลให้การเกิดสิ่งต่างๆ ในจักรวาลมีความแตกต่างหรือความเหมือนกันได้แม้อยู่ในสภาวะที่เหมือน(หรือต่าง)กัน 

บท จุดกำเนิดและจุดจบจักรวาล
จักรวาลเกิดขึ้นมาได้อย่างไรและจะไปจบที่ไหน?  แรกเริ่มเดิมทีจักรวาลคือความว่างเปล่า เมื่อความว่างเปล่าผ่านกระบวนการ “การดำเนินไป” นั้นได้เกิดสิ่งที่เรียกว่าตัวตนของความว่าเปล่าขึ้นมา ตัวตนของความว่างเปล่านี้ ธาตุ พลังงาน และ จิต อยู่รวมกันเป็น 1 เดียวไม่แยกออกจากกัน แต่เมื่อตัวตนของความว่างเปล่านั้นเกิดสำนึกถึงความมีอยู่ของตนเอง (รู้ว่าตนเองเป็นความว่างเปล่า) แต่ในขณะเดียวกันก็รู้ถึงการ “มีตัวตน” ของตัวเอง สำนึกรู้ว่า “มีตัวตน” นี่เองที่เปลี่ยนจากความว่างเปล่าเป็น “มีตัวตน” มีสิ่งต่าง ๆ ในจักรวาล เกิดการเปลี่ยนจากสิ่งว่างเปล่าเป็นสิ่งที่สีรูปร่างโดยการแยกตัวตน 1 เดียว คือ ธาตุ พลังงาน และ จิต ออกเป็นส่วน ๆ ขยายกระจายออกไป (big bang) ก่อกำเนิดเป็นจักรวาล
แล้วจักรวาลจะจบลงที่ใด? ตามหลัก การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป และ การดำเนินไป จักรวาลจะสามารถดำเนินไปสู่จุดจบได้ 2 แบบ คือ 1. จักรวาลขยายตัวออกไปเรื่อยๆ ในการขยายนี้ ธาตุ พลังงาน และ จิต ก็จะถูกขยาย ยืด และกระจายออกตามขนาดจักรวาล ทำให้สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มีความเบาบางมากขึ้นตามขนาดจักรวาลที่ใหญ่ขึ้น จนวันหนึ่งก็จะเบาบางไปจนกลายเป็นว่างเปล่าอีกครั้งหนึ่ง 2. ธาตุ พลังงาน และ จิต ที่กระจายออกจากกันค่อยๆ รวมตัวกันทีละส่วนตามส่วนต่างๆ ของจักรวาล และกลับสู่จุดเริ่มต้นคือความว่างอีกครั้ง โดยที่จุดจบทั้ง 2 แบบนี้สุดท้ายก็จะกลับมาที่ความว่างเปล่าอีกครั้ง 
บท ความเชื่อเรื่องสรรพสิ่งในจักรวาล
  ผมเชื่อว่า ในจักรวาลมีของ 3 สิ่ง 1. ธาตุ (วัตถุ ความว่าง) 2. พลังงาน และ 3. จิต (หรือวิญญาณ) ทั้งสามสิ่งนี้เรียกได้ว่าซ้อนทับกันอยู่หรือผสมกลมกลืนอยู่ด้วยกัน หากเปรียบเทียบง่าย ๆ กับคอมพิวเตอร์ ธาตุ คือ hardware จิต คือ software ส่วนพลังงาน คือพลังงานไฟฟ้า
ธาตุ (วัตถุ ความว่าง) คือสิ่งต่าง ๆ ที่เราเห็นได้ด้วยตา รวมถึงความวางเปล่าในจักรวาล ธาตุ ในที่นี้คือ สสาร (matter) ต่างๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติ ที่มีการกำเนิดมาพร้อมกับการเกิด big bang ธาตุในที่นี้หมายถึงทั้งที่เป็นวัตถุและไม่ใช่วัตถุ โดยอาจจะเป็นธาตุชนิดเดียวหรือสารประกอบก็ได้ อาจจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น ฝุ่น ผง หิน น้ำ ต้นไม้ สัตว์ มนุษย์ รวมถึงสสารที่ไม่มีรูปร่าง เช่น dark matter หรือ กายทิพย์ ในบทความนี้อาจกล่าวถึงธาตุโดยใช้คำว่าสสาร กาย วัตถุ ฯลฯ แล้วแต่บริบท
พลังงาน คือ ในที่นี้คือพลังงานธรรมชาติ เป็นพลังงานเริ่มแรกที่กำเนิดจากการเกิด big bang พลังงานนั้นมีเพียงหนึ่งเดียวแต่สามารถเปลี่ยนรูปลักษณ์และคุณสมบัติไปมาได้ พลังตามธรรมชาตินี้แฝงอยู่ในธาตุในรูปแบบต่าง ๆ กันไป เป็นได้ทั้งพลังงานที่เราไม่สามารถรับรู้ได้ พลังงานที่รับรู้ได้เฉพาะตน เช่น สิ่งที่เราเรียกว่าพลังเหนือธรรมชาติต่าง ๆ และพลังงานที่ทุกคนสามารถรับรู้ได้ เช่น แสง เสียง ความร้อน รังสี ฯลฯรวมถึงพลังงานเหนือธรรมชาติต่างๆ ทั้งที่เรายังไม่รู้จัก พลังงานเหล่านี้เปรียบเสมือนพลังงานหรือ energy ให้กับจิต ทำให้จิตสามารถทำหน้าที่ตามที่ได้โปรแกรมไว้ได้ และสามารถนำพลังส่วนนี้มาใช้เพื่อทำสิ่งต่าง ๆ ต่อไป 
จิต (หรือวิญญาณ) ในบรรดา 3 สิ่งที่กำเนิดจาก big bang จิตนี้ถือเป็นปัจจัยหลักที่มีความสำคัญที่สุด จิตเป็นสิ่ง ๆ หนึ่งที่แต่เดิมมีเพียงหนึ่งเดียว ต่อเมื่อเกิด big bang จิตหนึ่งเดียวนี้ก็ได้แตกกระจายออกไปทั่วจักรวาล ส่วนย่อยของจิตที่แตกออกจากกันนี้ก็มีขนาด(ประสิทธิภาพ) แตกต่างกันไป ใหญ่บ้าง เล็กบ้าง ไม่มีรูปร่าง สามารถรวมกันหรือแยกออกจากกันได้ จิตเปรียบได้กับโปรแกรมหรือ software สิ่งที่จิตมีคือ มีชุดคำสั่ง ข้อมูล มีการเรียนรู้และมีวิวัฒนาการ เมื่อจิตได้เข้าไปรวมกับธาตุ (หรือ hardware) ก็สามารถ “run หรือ ทำงาน” ได้  ยิ่งรวมกับธาตุที่มีประสิทธิภาพ ก็ยิ่งทำงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์ หากเราใช้โปรแกรมแบบเดียวกันกับคอมพิวเตอร์สองเครื่อง โปรแกรมที่ใช้กับเครื่องคอมที่มีประสิทธิภาพในการประมวลผลสูงกว่าย่อมทำงานได้ดีกว่า จิตประเภทเดียวกันที่มีศักยภาพเท่ากัน เมื่อใช้งานร่วมกับร่างกายของมนุษย์ ก็ย่อมมีประสิทธิภาพมากกว่าเมื่อใช้ร่วมกับร่างกายของสัตว์หรือสิ่งของ จิตนั้นมีลักษณะบางอย่างที่คล้ายกันและมีความสัมพันธ์กันเนื่องเพราะมีจุดกำเนิดเดียวกัน แต่ในขณะเดียวกันจิตแต่ละดวงต่างก็ผ่านการเติบโตหรือวัฒนาการเป็นของตนเองทำให้เกิดความเป็นปัจเจกขึ้นมา
หากเปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์ จิต (หรือวิญญาณ) ก็ส่วนที่เป็น software หรือระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ และพลังงานคือแหล่งพลังงานของคอมพิวเตอร์ ทั้ง hardware, software และพลังงาน หากขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ software  คอมพิวเตอร์ก็เป็นเพียงแค่วัตถุที่ไม่สามารถทำอะไรได้ แต่หากมีการใส่โปรแกรมเข้าไปก็สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ได้หลากหลาย คอมพิวเตอร์สามารถแปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานรูปแบบอื่น คอมพิวเตอร์สามารถสร้างสรรค์ธาตุอื่นๆ หรือแม้กระทั่งสามารถสร้างโปรแกรมอื่นๆ ขึ้นมาก็ได้ เมื่อเปรียบเทียบเช่นนี้ จะเห็นได้ว่าสิ่งใดๆ ก็ตามในจักรวาลหากมีครบ 3 ปัจจัยนี้ก็สามารถ “ทำ” หรือ “ส่งผล” อย่างใดอย่างหนึ่งออกมาได้ เนื่องจากทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาลต่างก็มีทั้ง 3 สิ่งนี้รวมกันทั้งนั้น เพียงแต่มากบ้างน้อยบ้าง แตกต่างกันไป จึงส่งผลออกมามากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกัน 
พลังงานธรรมชาตินั้นมีอยู่ทั่วจักรวาล มากบ้างน้อยบ้างตามแต่ละพื้นที่ สสารก็เช่นเดียวกัน กระจายออกไปทั่วจักรวาลในรูปแบบต่าง ๆ กันมากบ้างน้อยบ้างตามแต่ละพื้นที่ จิตก็กระจายอยู่ทั่วจักรวาลมากบ้างน้อยบ้างตามแต่ละพื้นที่ จิตไม่จำเป็นที่จะต้องอยู่รวมกับสสาร แต่หากจิตอยู่รวมกับสสารก็จะสามารถวิวัฒนาการและสามารถแสดงประสิทธิภาพได้เต็มที่กว่าจิตที่อยู่อย่างโดดเดี่ยว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่