นักเศรษฐศาสตร์ทั่วโลกวิเคราะห์ ท่องเที่ยวไทยฟื้นตัวเต็มที่ ต้องปี 2025
https://www.pptvhd36.com/news/เศรษฐกิจ/159490
นักเศรษฐศาสตร์ทั่วโลกคาด นักท่องเที่ยวจะกลับมาเยือนไทยไม่ถึงครึ่ง ชี้การท่องเที่ยวไทยจะกลับสู่ระดับก่อนโควิด-19 ได้ต้องรอถึงปี 2025
ในวันจันทร์ที่ 1 พ.ย. นี้ ประเทศไทยจะยกเลิกข้อจำกัดสำหรับนักท่องเที่ยวจาก 46 ประเทศ โดยต้องเป็นผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ครบโดสแล้ว ท่ามกลางสถานการณ์ที่ยังมีประชากรไม่ถึงครึ่งประเทศที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 ครบโดส
ปัจจุบัน ประเทศไทยฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้ประชากรครบ 2 โดสไปแล้วประมาณ 42.5% ขณะที่ประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเดียวกัน เช่น กัมพูชา มาเลเซีย และสิงคโปร์ มีประชากรมากกว่า 70% ที่แล้วได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ครบโดส
หลังจากนายกรัฐมนตรีของไทยประกาศแผนเปิดประเทศเมื่อต้นเดือน ต.ค. คณะนักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารอเมริกา (Bank of America) กล่าวว่า นี่เป็นข่าวดีสำหรับภาคการท่องเที่ยวของประเทศไทยในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ แต่ตั้งข้อสังเกตว่า “
การตัดสินใจนี้ใช่ว่าปราศจากความเสี่ยง”
นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า
“แม้จะมีความพยายามในการฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่น่าประทับใจและน่าชื่นชม แต่การฉีดวัคซีนยังคงค่อนข้างต่ำและไม่สม่ำเสมอในประเทศไทย ... อย่างที่เห็นได้ชัดในประเทศอื่น ๆ อัตราการฉีดวัคซีนที่ต่ำเกินไปจะยากต่อการป้องกันการระบาดของโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสายพันธุ์เดลตา (อินเดีย)”
อย่างไรก็ตาม ธนาคารแห่งอเมริกาวิเคราะห์ว่า ไทยไม่น่าจะมีการล็อกดาวน์ซ้ำในเร็ว ๆ นี้ เนื่องจากประเทศไทยมีความอดทนต่อความเสี่ยงสูง เว้นแต่ว่าเตียงรักษาผู้ป่วยและห้องไอซียูจะกลับมาไม่เพียงพออีกครั้ง
งนี้ เนื่องจากอัตราการฉีดวัคซีนที่ไม่สม่ำเสมอทั่วประเทศ ข้อมูลที่มีอยู่อาจไม่สะท้อนระดับการฉีดวัคซีนอย่างชัดเจนในพื้นที่จำเพาะต่าง ๆ เช่น กรุงเทพฯ ที่รองผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ เพิ่งบอกกับสำนักข่าว CNA ในสิงคโปร์ว่า 75% ของประชาชนในกรุงเทพฯ ได้รับการฉีดวัคซีนเข็มที่สองแล้ว
ด้าน
เซียน เฟนเนอร์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ประจำภูมิภาคเอเชียของ ออกซ์ฟอร์ด อีโคโนมิกส์ วิเคราะห์ว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว เพราะในบรรดาประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ “
ต้องพึ่งพาการท่องเที่ยวมากที่สุด” โดยคิดเป็นประมาณ 21% ของ GDP ในปี 2019
“ข้อจำกัดด้านการเดินทางทำให้เกิดค่าใช้จ่ายทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างมหาศาล และเป็นเหตุผลสำคัญว่าทำไมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศไทยจึงล่าช้ากว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคนี้” เฟนเนอร์กล่าว
ด้าน
ชานนท์ บุญนุช หัวหน้าคณะนักเศรษฐศาสตร์ประจำสำนักวิจัยโนมูระในสิงคโปร์ บอกว่า
“เราคิดว่า การที่รัฐบาลตัดสินใจเปิดพรมแดนอีกครั้ง แม้จะมีเพียง 40% ของประชากรที่ได้รับวัคซีนครบโดส สะท้อนให้เห็นถึงการพึ่งพานักท่องเที่ยวต่างชาติอย่างมีนัยสำคัญของประเทศ”
ตามข้อมูลของรัฐบาลไทย เศรษฐกิจไทยขยายตัว 7.5% เมื่อเทียบเป็นรายปีในไตรมาสที่ 2 ซึ่งระดับการเติบโตดังกล่าวถือว่าต่ำกว่าเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคอื่น ๆ เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ ซึ่งเติบโตระหว่าง 11.8% ถึง 16.1%
ออกซ์ฟอร์ด อีโคโนมิกส์ คาดการณ์การเติบโตของ GDP ในประเทศไทยในปีนี้ทั้งปีไว้ที่ 1.8% ในขณะที่โนมูระมองว่า GDP ของประเทศไทยในปีนี้เติบโตที่ 0.6%
อย่างไรก็ตาม การกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาตินั้นอาจจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในทันที เนื่องจากนักท่องเที่ยวอาจยังคงต้องกักตัวในประเทศบ้านเกิดของตนเมื่อเดินทางกลับไป
“เราคาดว่าการท่องเที่ยวของไทยจะฟื้นตัวในปี 2022 แต่ถึงอย่างนั้นเราก็ยังคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติน่าจะน้อยกว่าตัวเลขปี 2019 ราว 66% ... อันที่จริง เราคาดว่า การเดินทางมาเยือนไทยจะฟื้นตัวเต็มที่จนถึงระดับก่อนโควิด-19 ก็ในปี 2025” เฟนเนอร์กล่าว
ในปี 2019 ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมาเยือนทั้งสิ้นราว 40 ล้านคน ดังนั้นหากนักท่องเที่ยวลดลงไป 66% ตามคำคาดการณ์ ก็จะเหลือนักท่องเที่ยวมาเยือนไทยราว 13.6 ล้านคน ซึ่งหากมองโลกในแง่ดี ก็ยังนับว่ามากกว่าตัวเลขในปี 2020 ที่มีนักท่องเที่ยวเพียง 6.7 ล้านคน
ในขณะเดียวกัน นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารแห่งอเมริกาเน้นย้ำว่า นักท่องเที่ยวชาวจีน ซึ่งเดินทางมาเยือนไทยมาเป็น 1 ใน 4 ของจำนวนนักท่องเที่ยวในปี 2019 หรือประมาณ 10 ล้านคน คาดว่าจะไม่กลับมาไทยอีกจนกว่าจะถึงช่วงครึ่งปีหลังของปี 2022
จีนได้ปิดพรมแดนห้ามไม่ให้มีการเดินทางระหว่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ตั้งแต่ปีที่แล้ว และยังคงดำเนินกลยุทธ์ปลอดโควิด-19 อย่างเข้มงวด ซึ่งส่งผลให้มีการล็อกดาวน์บ่อยครั้ง แม้ว่าจะมีรายงานการติดเชื้อเพียงไม่กี่รายก็ตาม
ชานนท์เผยว่า พื้นที่อื่น ๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เองก็กำลังมองหาช่องทางที่จะเปิดพรมแดนของตนอีกครั้งสำหรับต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ และนั่นน่าจะเป็นหนึ่งในแรงผลักดันของไทยที่จะต้องต้อนรับนักท่องเที่ยวอีกครั้ง
“ความจำเป็นในการเปิดประเทศของไทยเพิ่มขึ้น เนื่องจากการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นจากประเทศเพื่อนบ้านที่ผ่อนคลายข้อจำกัด เช่น สิงคโปร์ ซึ่งมีอัตราการฉีดวัคซีนครบโดสมากถึง 85%” เขากล่าว
เรียบเรียงจาก
CNBC
โวยหมู่บ้านถูกลืม ป่วยโควิดไร้การรักษา
https://www.nationtv.tv/news/378849469
ตรัง - ชาวบ้าน บ้านควนร้อน ต.บางสัก อ.กันตัง จ.ตรัง ติดโควิดอื้อทั้งเด็กเล็กและคนชรา เป็นผู้ป่วยยืนยันแต่กลับไม่ได้รับการรักษา ไม่มีแม้แต่ยารักษา ตัดพ้อ เป็นเหมือนหมู่บ้านที่ถูกลืม ที่ไม่มีใครสนใจเลย
30 ตุลาคม 2564 ผู้สื่อข่าวได้รับเรื่องร้องทุกข์จาก นาย
วีระศักดิ์ ปราบโรค อายุ 50 ปี อยู่บ้านเลขที่ 145/4 ม.4บ้านควนร้อน ต.บางสัก อ.กันตัง จ.ตรัง พร้อมด้วยชาวบ้านในหมู่บ้าน หลังจากชาวบ้านหลายหลังคาเรือนเป็นผู้ป่วยโควิด-19 ที่ได้รับการยืนยันผลตรวจเป็นบวกแล้ว แต่ยังไม่ได้รับการรักษาแต่อย่างใด และขาดยารักษา มาเป็นเวลาร่วม7วันมาแล้ว
โดยทางเจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้แจ้งให้รอการติดต่อกลับมาเท่านั้น ซึ่งหมู่บ้านดังกล่าวมีจำนวนประชากรประมาณ 400 ครัวเรือน มีเป็นผู้ป่วยโควิด-19 ยืนยัน แล้วประมาณ 30 ราย บางหลังคาเรือนเป็นผู้ป่วยยืนยันทั้งบ้าน ไม่ว่าจะเป็นเด็กเล็ก และคนชรา โดยคนในหมู่บ้านอาศัยเพียงยาสมุนไพรรักษาอาการเบื้องต้น
นาย
วีระศักดิ์ กล่าวว่า ตอนนี้ทางครอบครัวไม่ได้รับยารักษาเลย มีแต่คนผลัดกันไปผลัดกันมา ล่าสุดก็ผลัดอีก3วัน พวกเราขอเพียงยามารักษากันเองป้องกันไม่ให้เชื้อลงปอด เพราะเป็นห่วงคนแก่สงสัยต้องรอให้ตายหรือชักตายก่อนหรือเปล่าไม่รู้ ตนก็ไม่รู้หมู่บ้านนี้เป็นหมู่บ้านที่ถูกลืมหรือเปล่าถึงได้ไม่มีใครสนใจเลย หากเป็นเรื่องอาหารการกินก็พอหากินเองได้
ขาดเพียงแค่ยารักษาเท่านั้นชาวบ้านที่ติดเชื้อและรู้ผลเป็นเวลา7-8วันมาแล้ว แต่ก็ไม่มีใครมารับไปรักษา ต่างจากหมู่บ้านอื่นที่ติดเชื้อแค่2วันก็มีเจ้าหน้าที่มารับไปรักษาแล้ว ตนเชื่อว่าหลังจากนี้จะยังคงมีการแพร่เชื่ออีกเยอะ ตนก็มีการมาช่วยเหลือชาวบ้านเบื้องต้นแล้ว นำยาสมุนไพรมาให้ชาวบ้าน ไม่สามารถทำอะไรมากกว่านี้ได้เพราะเป็นเพียงชาวสวนคนหนึ่งเท่านั้น
“อยากให้มาดูแลกันบ้างตนก็คนไทยคนหนึ่งเหมือนกันไม่ใช่ถูกทิ้งขว้าง ถูกลืมไป หากมมีที่กักตัวก็ขอเพียงได้รับยามาบ้าง ตนอาศัยอยู่กับครอบครัวจำนวน5คน ที่บ้านติดเชื้อกันทั้ง4คน มีแม่ ภรรยา และลูก อาศัยการรักษาด้วยสมุนไพรเท่านั้น อาการถึงจะทุเลาลง”
ทางรัฐไม่ได้มาช่วยอะไรเลย เอาแต่ผลัดวันตั้งแต่ รพ.กันตังขอเวลา3วัน ผ่านไปก็ทาง รพ.บางสัก มาขอรายชื่อแต่ก็ให้รออีก3วัน หากรอต่อไปคงครบ14วันพอดี หากไม่เจอด้วยตนเองก็ไม่มีทางได้รู้สึก ว่าความตายมาเยือนเป็นอย่างไร ก็รู้สึกท้อเพราะเราเหมือนคนถูกลืมบางคนอาจจะมองว่าไม่ใช่คนไทยด้วยซ้ำ อาการป่วยของบ้านแต่ละหลังบางบ้านก็อาการหนัก บางบ้านก็ป่วยเล็กน้อย แต่ก็ป่วยหลายหลังคาเรือนแล้ว ตอนนี้เชื้อเริ่มแพร่กันมากแล้วเกือบ50เปอร์เซ็นต์แล้ว
ด้านนาย
ชวน หวานขัน อายุ 71 ปี อยู่บ้านเลขที่ 88 ม.4ต.บางสัก กล่าวด้วยว่า ตนยังไม่ได้ติดเชื้อแต่คนในบ้านตนทั้งลูก หลาน ติดเชื้อกันหมดแล้ว ส่วนบ้านลูกชายอีกหลังหนึ่ง อาศัยกัน7คน ก็ติดกันหมดทั้งหลังมีบ้านเดียวที่เจ้าหน้าที่เอายามาให้กิน
นอกจากนั้นก็ไม่มียาให้กินเลย เป็นผู้ป่วยยืนยันมา 9 วันแล้ว เรื่องโรงพยาบาลสนามตนก็ไม่อยากคิดถึงเลย ตอนนี้ขอเพียงยารักษามาให้ครอบครัวได้กินที่บ้านก็พอ หลานเล็กก็ยังติด ทางครอบครัวก็ได้รับผลกระทบหลายอย่าง
เมื่อได้รับการรักษาก็ทำให้ติดกันทั้งครอบครัวไปไหนไม่ได้ อย่างให้หน่วยงานรัฐส่งยารักษามาให้กินก็พอไม่ได้ต้องการอะไรมากกว่านี้ ทาง อบต.ก็มีเงิน มาช่วยบ้างแล้ว การที่ไม่ได้รับการดูแลช่วยเหลือตนก็รู้สึกท้อแท้ใจ พูดยาก พูดมากก็ไม่ได้แต่ถ้าไม่พูดเลยเขาก็ปล่อยผ่านไปเลย
เมื่อช่วงเช้ามีเจ้าหน้าที่อนามัยเข้ามา แต่ก็บอกให้รออีก 3 วันจึงจะนำยามาให้กิน ตนก็ไม่รู้จะต้องรอผลัดวันอีกกี่ครั้ง เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ต้องได้รับการดูแลหากไม่มีเตียงก็พร้อมรักษาที่บ้านไม่ได้เดือดร้อนอะไร ขอเพียงมียารักษาและได้รับการดูแลบ้าง บางคนท้องเสีย อสม.แจ้งให้ทางโรงพยาบาลมารับทางโรงพยาลบาลบอกว่าไม่ได้
ตนคิดว่าคงต้องอยู่บ้านจนตาย แม้แต่ยาแก้ไอก็ไม่ได้กิน ตอนนี้ผู้ป่วยไม่ได้รับกลิ่นอะไรแล้ว ผู้ป่วยอายุน้อยสุดก็ 2 ขวบ ตนก็ต้องดูแลตัวเองตอนนี้ก็ต้องอาศัยร่วมกับผู้ป่วยยืนยันโดยการแยกห้องนอน สวมหน้ากากตลอด บ้านตนอาศัย 7คน ติดเชื้อแล้ว 2 คน
กองทัพพม่าถล่มบ้านประชาชนในรัฐชิน เสียหายมากกว่า 110 หลัง
https://www.dailynews.co.th/news/425388/
บ้านเรือนของประชาชนในรัฐชิน ทางตะวันตกของเมียนมา ได้รับความเสียหายมากกว่า 110 หลังคาเรือน จากการโจมตีด้วยปืนใหญ่ของกองทัพ ซึ่งสู้รบกับกลุ่มติดอาวุธในพื้นที่
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา เมื่อวันที่ 30 ต.ค.ว่าสื่อท้องถิ่นหลายแห่งของเมียนมารายงานว่า กองทัพเมียนมาปฏิบัติการทางทหาร ด้วยการยิงปืนใหญ่ใส่พื้นที่หลายแห่ง ในรัฐชิน ที่อยู่ทางตะวันตกของประเทศ ตั้งแต่ช่วงกลางสัปดาห์นี้ โดยพื้นที่ได้รับความเสียหายมากที่สุดจากการโจมตี คือเมืองถั่นตะหล่าน เบื้องต้นมีรายงานบ้านเรือนมากกว่า 110 หลังได้รับความเสียหาย
รัฐชินเป็นพื้นที่สู้รบดุเดือดระหว่างกองทัพเมียนมา กับ “
กองกำลังป้องกันรัฐชิน” (ซีดีเอฟ) ซึ่งเป็นชื่อของกลุ่มติดอาวุธท้องถิ่นที่รวมตัวหลังการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 1 ก.พ.ที่ผ่านมา ขณะที่การโจมตีครั้งล่าสุดเกิดขึ้น หลังมีรายงานว่า สมาชิกของซีดีเอฟควบคุมตัวทหารนายหนึ่งเอาไว้
ในอีกด้านหนึ่ง ศาลคดีพิเศษที่รัฐบาลทหารเมียนมาจัดตั้งขึ้น มีคำพิพากษาเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ให้นาย
วิน เต็ง วัย 80 ปี ที่ปรึกษาอาวุโสของพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี) และยังมีความใกล้ชิดอย่างมากกับนาง
ออง ซาน ซูจี จากการร่วมเคลื่อนไหวทางการเมืองด้วยกันนานหลายทศวรรษ รับโทษจำคุกเป็นเวลา 20 ปี จากความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 124 (เอ) เกี่ยวกับการปลุกระดม ยุยงส่งเสริมให้เกิดความรุนแรง ด้วยการ “วิพากษ์วิจารณ์” พล.อ.
มิน อ่อง หล่าย
ทั้งนี้ นาย
วิน เต็ง ถือเป็นสมาชิกระดับสูงคนแรกของพรรคเอ็นแอลดี ที่ต้องรับโทษจำคุกในยุครัฐบาลทหารเมียนมาของ พล.อ.
มิน อ่อง หล่าย โดยนาย
วิน เต็ง ถูกควบคุมตัวไปจากบ้านพัก ในเมืองย่างกุ้ง เพียงไม่กี่วันหลังเกิดการรัฐประหาร
JJNY : ทั่วโลกวิเคราะห์ท่องเที่ยวไทยฟื้นปี2025│โวยหมู่บ้านป่วยโควิดไร้การรักษา│ทัพพม่าถล่มบ้านปชช.│ปศุสัตว์เตือนระวังโรค
https://www.pptvhd36.com/news/เศรษฐกิจ/159490
นักเศรษฐศาสตร์ทั่วโลกคาด นักท่องเที่ยวจะกลับมาเยือนไทยไม่ถึงครึ่ง ชี้การท่องเที่ยวไทยจะกลับสู่ระดับก่อนโควิด-19 ได้ต้องรอถึงปี 2025
ในวันจันทร์ที่ 1 พ.ย. นี้ ประเทศไทยจะยกเลิกข้อจำกัดสำหรับนักท่องเที่ยวจาก 46 ประเทศ โดยต้องเป็นผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ครบโดสแล้ว ท่ามกลางสถานการณ์ที่ยังมีประชากรไม่ถึงครึ่งประเทศที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 ครบโดส
ปัจจุบัน ประเทศไทยฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้ประชากรครบ 2 โดสไปแล้วประมาณ 42.5% ขณะที่ประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเดียวกัน เช่น กัมพูชา มาเลเซีย และสิงคโปร์ มีประชากรมากกว่า 70% ที่แล้วได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ครบโดส
หลังจากนายกรัฐมนตรีของไทยประกาศแผนเปิดประเทศเมื่อต้นเดือน ต.ค. คณะนักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารอเมริกา (Bank of America) กล่าวว่า นี่เป็นข่าวดีสำหรับภาคการท่องเที่ยวของประเทศไทยในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ แต่ตั้งข้อสังเกตว่า “การตัดสินใจนี้ใช่ว่าปราศจากความเสี่ยง”
นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า “แม้จะมีความพยายามในการฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่น่าประทับใจและน่าชื่นชม แต่การฉีดวัคซีนยังคงค่อนข้างต่ำและไม่สม่ำเสมอในประเทศไทย ... อย่างที่เห็นได้ชัดในประเทศอื่น ๆ อัตราการฉีดวัคซีนที่ต่ำเกินไปจะยากต่อการป้องกันการระบาดของโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสายพันธุ์เดลตา (อินเดีย)”
อย่างไรก็ตาม ธนาคารแห่งอเมริกาวิเคราะห์ว่า ไทยไม่น่าจะมีการล็อกดาวน์ซ้ำในเร็ว ๆ นี้ เนื่องจากประเทศไทยมีความอดทนต่อความเสี่ยงสูง เว้นแต่ว่าเตียงรักษาผู้ป่วยและห้องไอซียูจะกลับมาไม่เพียงพออีกครั้ง
งนี้ เนื่องจากอัตราการฉีดวัคซีนที่ไม่สม่ำเสมอทั่วประเทศ ข้อมูลที่มีอยู่อาจไม่สะท้อนระดับการฉีดวัคซีนอย่างชัดเจนในพื้นที่จำเพาะต่าง ๆ เช่น กรุงเทพฯ ที่รองผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ เพิ่งบอกกับสำนักข่าว CNA ในสิงคโปร์ว่า 75% ของประชาชนในกรุงเทพฯ ได้รับการฉีดวัคซีนเข็มที่สองแล้ว
ด้าน เซียน เฟนเนอร์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ประจำภูมิภาคเอเชียของ ออกซ์ฟอร์ด อีโคโนมิกส์ วิเคราะห์ว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว เพราะในบรรดาประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ “ต้องพึ่งพาการท่องเที่ยวมากที่สุด” โดยคิดเป็นประมาณ 21% ของ GDP ในปี 2019
“ข้อจำกัดด้านการเดินทางทำให้เกิดค่าใช้จ่ายทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างมหาศาล และเป็นเหตุผลสำคัญว่าทำไมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศไทยจึงล่าช้ากว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคนี้” เฟนเนอร์กล่าว
ด้าน ชานนท์ บุญนุช หัวหน้าคณะนักเศรษฐศาสตร์ประจำสำนักวิจัยโนมูระในสิงคโปร์ บอกว่า “เราคิดว่า การที่รัฐบาลตัดสินใจเปิดพรมแดนอีกครั้ง แม้จะมีเพียง 40% ของประชากรที่ได้รับวัคซีนครบโดส สะท้อนให้เห็นถึงการพึ่งพานักท่องเที่ยวต่างชาติอย่างมีนัยสำคัญของประเทศ”
ตามข้อมูลของรัฐบาลไทย เศรษฐกิจไทยขยายตัว 7.5% เมื่อเทียบเป็นรายปีในไตรมาสที่ 2 ซึ่งระดับการเติบโตดังกล่าวถือว่าต่ำกว่าเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคอื่น ๆ เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ ซึ่งเติบโตระหว่าง 11.8% ถึง 16.1%
ออกซ์ฟอร์ด อีโคโนมิกส์ คาดการณ์การเติบโตของ GDP ในประเทศไทยในปีนี้ทั้งปีไว้ที่ 1.8% ในขณะที่โนมูระมองว่า GDP ของประเทศไทยในปีนี้เติบโตที่ 0.6%
อย่างไรก็ตาม การกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาตินั้นอาจจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในทันที เนื่องจากนักท่องเที่ยวอาจยังคงต้องกักตัวในประเทศบ้านเกิดของตนเมื่อเดินทางกลับไป
“เราคาดว่าการท่องเที่ยวของไทยจะฟื้นตัวในปี 2022 แต่ถึงอย่างนั้นเราก็ยังคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติน่าจะน้อยกว่าตัวเลขปี 2019 ราว 66% ... อันที่จริง เราคาดว่า การเดินทางมาเยือนไทยจะฟื้นตัวเต็มที่จนถึงระดับก่อนโควิด-19 ก็ในปี 2025” เฟนเนอร์กล่าว
ในปี 2019 ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมาเยือนทั้งสิ้นราว 40 ล้านคน ดังนั้นหากนักท่องเที่ยวลดลงไป 66% ตามคำคาดการณ์ ก็จะเหลือนักท่องเที่ยวมาเยือนไทยราว 13.6 ล้านคน ซึ่งหากมองโลกในแง่ดี ก็ยังนับว่ามากกว่าตัวเลขในปี 2020 ที่มีนักท่องเที่ยวเพียง 6.7 ล้านคน
ในขณะเดียวกัน นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารแห่งอเมริกาเน้นย้ำว่า นักท่องเที่ยวชาวจีน ซึ่งเดินทางมาเยือนไทยมาเป็น 1 ใน 4 ของจำนวนนักท่องเที่ยวในปี 2019 หรือประมาณ 10 ล้านคน คาดว่าจะไม่กลับมาไทยอีกจนกว่าจะถึงช่วงครึ่งปีหลังของปี 2022
จีนได้ปิดพรมแดนห้ามไม่ให้มีการเดินทางระหว่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ตั้งแต่ปีที่แล้ว และยังคงดำเนินกลยุทธ์ปลอดโควิด-19 อย่างเข้มงวด ซึ่งส่งผลให้มีการล็อกดาวน์บ่อยครั้ง แม้ว่าจะมีรายงานการติดเชื้อเพียงไม่กี่รายก็ตาม
ชานนท์เผยว่า พื้นที่อื่น ๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เองก็กำลังมองหาช่องทางที่จะเปิดพรมแดนของตนอีกครั้งสำหรับต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ และนั่นน่าจะเป็นหนึ่งในแรงผลักดันของไทยที่จะต้องต้อนรับนักท่องเที่ยวอีกครั้ง
“ความจำเป็นในการเปิดประเทศของไทยเพิ่มขึ้น เนื่องจากการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นจากประเทศเพื่อนบ้านที่ผ่อนคลายข้อจำกัด เช่น สิงคโปร์ ซึ่งมีอัตราการฉีดวัคซีนครบโดสมากถึง 85%” เขากล่าว
เรียบเรียงจาก CNBC
โวยหมู่บ้านถูกลืม ป่วยโควิดไร้การรักษา
https://www.nationtv.tv/news/378849469
ตรัง - ชาวบ้าน บ้านควนร้อน ต.บางสัก อ.กันตัง จ.ตรัง ติดโควิดอื้อทั้งเด็กเล็กและคนชรา เป็นผู้ป่วยยืนยันแต่กลับไม่ได้รับการรักษา ไม่มีแม้แต่ยารักษา ตัดพ้อ เป็นเหมือนหมู่บ้านที่ถูกลืม ที่ไม่มีใครสนใจเลย
30 ตุลาคม 2564 ผู้สื่อข่าวได้รับเรื่องร้องทุกข์จาก นายวีระศักดิ์ ปราบโรค อายุ 50 ปี อยู่บ้านเลขที่ 145/4 ม.4บ้านควนร้อน ต.บางสัก อ.กันตัง จ.ตรัง พร้อมด้วยชาวบ้านในหมู่บ้าน หลังจากชาวบ้านหลายหลังคาเรือนเป็นผู้ป่วยโควิด-19 ที่ได้รับการยืนยันผลตรวจเป็นบวกแล้ว แต่ยังไม่ได้รับการรักษาแต่อย่างใด และขาดยารักษา มาเป็นเวลาร่วม7วันมาแล้ว
โดยทางเจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้แจ้งให้รอการติดต่อกลับมาเท่านั้น ซึ่งหมู่บ้านดังกล่าวมีจำนวนประชากรประมาณ 400 ครัวเรือน มีเป็นผู้ป่วยโควิด-19 ยืนยัน แล้วประมาณ 30 ราย บางหลังคาเรือนเป็นผู้ป่วยยืนยันทั้งบ้าน ไม่ว่าจะเป็นเด็กเล็ก และคนชรา โดยคนในหมู่บ้านอาศัยเพียงยาสมุนไพรรักษาอาการเบื้องต้น
นายวีระศักดิ์ กล่าวว่า ตอนนี้ทางครอบครัวไม่ได้รับยารักษาเลย มีแต่คนผลัดกันไปผลัดกันมา ล่าสุดก็ผลัดอีก3วัน พวกเราขอเพียงยามารักษากันเองป้องกันไม่ให้เชื้อลงปอด เพราะเป็นห่วงคนแก่สงสัยต้องรอให้ตายหรือชักตายก่อนหรือเปล่าไม่รู้ ตนก็ไม่รู้หมู่บ้านนี้เป็นหมู่บ้านที่ถูกลืมหรือเปล่าถึงได้ไม่มีใครสนใจเลย หากเป็นเรื่องอาหารการกินก็พอหากินเองได้
ขาดเพียงแค่ยารักษาเท่านั้นชาวบ้านที่ติดเชื้อและรู้ผลเป็นเวลา7-8วันมาแล้ว แต่ก็ไม่มีใครมารับไปรักษา ต่างจากหมู่บ้านอื่นที่ติดเชื้อแค่2วันก็มีเจ้าหน้าที่มารับไปรักษาแล้ว ตนเชื่อว่าหลังจากนี้จะยังคงมีการแพร่เชื่ออีกเยอะ ตนก็มีการมาช่วยเหลือชาวบ้านเบื้องต้นแล้ว นำยาสมุนไพรมาให้ชาวบ้าน ไม่สามารถทำอะไรมากกว่านี้ได้เพราะเป็นเพียงชาวสวนคนหนึ่งเท่านั้น
“อยากให้มาดูแลกันบ้างตนก็คนไทยคนหนึ่งเหมือนกันไม่ใช่ถูกทิ้งขว้าง ถูกลืมไป หากมมีที่กักตัวก็ขอเพียงได้รับยามาบ้าง ตนอาศัยอยู่กับครอบครัวจำนวน5คน ที่บ้านติดเชื้อกันทั้ง4คน มีแม่ ภรรยา และลูก อาศัยการรักษาด้วยสมุนไพรเท่านั้น อาการถึงจะทุเลาลง”
ทางรัฐไม่ได้มาช่วยอะไรเลย เอาแต่ผลัดวันตั้งแต่ รพ.กันตังขอเวลา3วัน ผ่านไปก็ทาง รพ.บางสัก มาขอรายชื่อแต่ก็ให้รออีก3วัน หากรอต่อไปคงครบ14วันพอดี หากไม่เจอด้วยตนเองก็ไม่มีทางได้รู้สึก ว่าความตายมาเยือนเป็นอย่างไร ก็รู้สึกท้อเพราะเราเหมือนคนถูกลืมบางคนอาจจะมองว่าไม่ใช่คนไทยด้วยซ้ำ อาการป่วยของบ้านแต่ละหลังบางบ้านก็อาการหนัก บางบ้านก็ป่วยเล็กน้อย แต่ก็ป่วยหลายหลังคาเรือนแล้ว ตอนนี้เชื้อเริ่มแพร่กันมากแล้วเกือบ50เปอร์เซ็นต์แล้ว
ด้านนายชวน หวานขัน อายุ 71 ปี อยู่บ้านเลขที่ 88 ม.4ต.บางสัก กล่าวด้วยว่า ตนยังไม่ได้ติดเชื้อแต่คนในบ้านตนทั้งลูก หลาน ติดเชื้อกันหมดแล้ว ส่วนบ้านลูกชายอีกหลังหนึ่ง อาศัยกัน7คน ก็ติดกันหมดทั้งหลังมีบ้านเดียวที่เจ้าหน้าที่เอายามาให้กิน
นอกจากนั้นก็ไม่มียาให้กินเลย เป็นผู้ป่วยยืนยันมา 9 วันแล้ว เรื่องโรงพยาบาลสนามตนก็ไม่อยากคิดถึงเลย ตอนนี้ขอเพียงยารักษามาให้ครอบครัวได้กินที่บ้านก็พอ หลานเล็กก็ยังติด ทางครอบครัวก็ได้รับผลกระทบหลายอย่าง
เมื่อได้รับการรักษาก็ทำให้ติดกันทั้งครอบครัวไปไหนไม่ได้ อย่างให้หน่วยงานรัฐส่งยารักษามาให้กินก็พอไม่ได้ต้องการอะไรมากกว่านี้ ทาง อบต.ก็มีเงิน มาช่วยบ้างแล้ว การที่ไม่ได้รับการดูแลช่วยเหลือตนก็รู้สึกท้อแท้ใจ พูดยาก พูดมากก็ไม่ได้แต่ถ้าไม่พูดเลยเขาก็ปล่อยผ่านไปเลย
เมื่อช่วงเช้ามีเจ้าหน้าที่อนามัยเข้ามา แต่ก็บอกให้รออีก 3 วันจึงจะนำยามาให้กิน ตนก็ไม่รู้จะต้องรอผลัดวันอีกกี่ครั้ง เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ต้องได้รับการดูแลหากไม่มีเตียงก็พร้อมรักษาที่บ้านไม่ได้เดือดร้อนอะไร ขอเพียงมียารักษาและได้รับการดูแลบ้าง บางคนท้องเสีย อสม.แจ้งให้ทางโรงพยาบาลมารับทางโรงพยาลบาลบอกว่าไม่ได้
ตนคิดว่าคงต้องอยู่บ้านจนตาย แม้แต่ยาแก้ไอก็ไม่ได้กิน ตอนนี้ผู้ป่วยไม่ได้รับกลิ่นอะไรแล้ว ผู้ป่วยอายุน้อยสุดก็ 2 ขวบ ตนก็ต้องดูแลตัวเองตอนนี้ก็ต้องอาศัยร่วมกับผู้ป่วยยืนยันโดยการแยกห้องนอน สวมหน้ากากตลอด บ้านตนอาศัย 7คน ติดเชื้อแล้ว 2 คน
กองทัพพม่าถล่มบ้านประชาชนในรัฐชิน เสียหายมากกว่า 110 หลัง
https://www.dailynews.co.th/news/425388/
บ้านเรือนของประชาชนในรัฐชิน ทางตะวันตกของเมียนมา ได้รับความเสียหายมากกว่า 110 หลังคาเรือน จากการโจมตีด้วยปืนใหญ่ของกองทัพ ซึ่งสู้รบกับกลุ่มติดอาวุธในพื้นที่
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา เมื่อวันที่ 30 ต.ค.ว่าสื่อท้องถิ่นหลายแห่งของเมียนมารายงานว่า กองทัพเมียนมาปฏิบัติการทางทหาร ด้วยการยิงปืนใหญ่ใส่พื้นที่หลายแห่ง ในรัฐชิน ที่อยู่ทางตะวันตกของประเทศ ตั้งแต่ช่วงกลางสัปดาห์นี้ โดยพื้นที่ได้รับความเสียหายมากที่สุดจากการโจมตี คือเมืองถั่นตะหล่าน เบื้องต้นมีรายงานบ้านเรือนมากกว่า 110 หลังได้รับความเสียหาย
รัฐชินเป็นพื้นที่สู้รบดุเดือดระหว่างกองทัพเมียนมา กับ “กองกำลังป้องกันรัฐชิน” (ซีดีเอฟ) ซึ่งเป็นชื่อของกลุ่มติดอาวุธท้องถิ่นที่รวมตัวหลังการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 1 ก.พ.ที่ผ่านมา ขณะที่การโจมตีครั้งล่าสุดเกิดขึ้น หลังมีรายงานว่า สมาชิกของซีดีเอฟควบคุมตัวทหารนายหนึ่งเอาไว้
ในอีกด้านหนึ่ง ศาลคดีพิเศษที่รัฐบาลทหารเมียนมาจัดตั้งขึ้น มีคำพิพากษาเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ให้นายวิน เต็ง วัย 80 ปี ที่ปรึกษาอาวุโสของพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี) และยังมีความใกล้ชิดอย่างมากกับนางออง ซาน ซูจี จากการร่วมเคลื่อนไหวทางการเมืองด้วยกันนานหลายทศวรรษ รับโทษจำคุกเป็นเวลา 20 ปี จากความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 124 (เอ) เกี่ยวกับการปลุกระดม ยุยงส่งเสริมให้เกิดความรุนแรง ด้วยการ “วิพากษ์วิจารณ์” พล.อ.มิน อ่อง หล่าย
ทั้งนี้ นายวิน เต็ง ถือเป็นสมาชิกระดับสูงคนแรกของพรรคเอ็นแอลดี ที่ต้องรับโทษจำคุกในยุครัฐบาลทหารเมียนมาของ พล.อ.มิน อ่อง หล่าย โดยนายวิน เต็ง ถูกควบคุมตัวไปจากบ้านพัก ในเมืองย่างกุ้ง เพียงไม่กี่วันหลังเกิดการรัฐประหาร