🇹🇭มาลาริน🛡19พ.ย.ไม่ติดTop10โลก ป่วย6,855คน หายป่วย7,655คน/โควิด76จว./อีก12.4ล้านครบ100ล้านโดส/สหรัฐฯรับวัคซีนยังมีICU



https://www.sanook.com/news/8475814/



https://travel.trueid.net/detail/EpwDxDy0Jd17


https://www.bangkokbiznews.com/news/972809


https://www.thairath.co.th/news/politic/2245997



https://www.thairath.co.th/news/politic/2245997

ชักยังไง! สหรัฐฯ พบคนฉีดวัคซีนโควิดครบเข็มแล้วแต่ยังป่วยหนัก-เข้าห้องไอซียูเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ



ในขณะที่เคสผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้นทั่วสหรัฐฯ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเตือนว่า กำลังพบเห็นจำนวนคนฉีดวัคซีนครบเข็มแล้วแต่ยังป่วยหนักถึงขั้นเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล หรือต้องเข้าห้องฉุกเฉินเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ความกังวลเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันลดลงในการป้องกันการติดเชื้ออาการรุนแรง ซึ่งเกิดขึ้นในขณะที่สำนักงานอาหารและยาแห่งชาติสหรัฐฯ (เอฟดีเอ) ถูกคาดหมายว่าจะอนุมัติฉีดเข็มกระตุ้นวัคซีนไฟเซอร์/ไบออนเทค สำหรับบุคคลอายุ 18 ปีขึ้นไป

"สิ่งที่เราเริ่มเห็นในตอนนี้คือจำนวนผู้เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลที่เพิ่มสูงขึ้นในบรรดาคนฉีดวัคซีนครบแล้ว แต่ยังไม่ได้ฉีดเข็มกระตุ้น" นายแพทย์แอนโทนี เฟาซี ผู้อำนวยการสถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อแห่งชาติสหรัฐฯ กล่าวเมื่อวันอังคาร (16 พ.ย.) "มันเป็นสัดส่วนที่มาก แต่ไม่ใช่ส่วนใหญ่แต่อย่างใด"

ในวันพุธ (17 พ.ย.) แพทย์หญิงโรเชลล์ วาเลนสกี ผู้อำนวยการศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐฯ (ซีดีซี) รายงานพบประสิทธิภาพของวัคซีนลดลงในหมู่คนชรา และผู้พักอาศัยในสถานดูแลผู้สูงอายุระยะยาว ซึ่งจำนวนมากเป็นกลุ่มแรกๆ ที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 เมื่อฤดูหนาวปีที่แล้ว

"แม้ความเสี่ยงสูงสุดคือคนที่ยังไม่ฉีดวัคซีน แต่เรากำลังพบเห็นคนชราอายุ 65 ปีขึ้นไปถูกส่งเข้าแผนกฉุกเฉินเพิ่มขึ้น ซึ่งตอนนี้กลับมาสุงกว่ากลุ่มคนอายุต่ำกว่าอีกครั้ง" วาเลนสกีกล่าวระหว่างแถลงข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 ที่ทำเนียบขาวเมื่อวันพุธ (17 พ.ย.)

อย่างไรก็ตาม วาเลนสกี ชี้ถึงข้อมูลใหม่จากเครือข่ายความปลอดภัยสุขภาพแห่งชาติของทางซีดีซี เกี่ยวกับผู้พักอาศัยในสถานดูแลผู้สูงอายุระยะยาว โดยเปรียบเทียบอัตราการติดเชื้อโควิด-19 ระหว่างคนที่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มกับคนที่ฉีดเข็มกระตุ้นแล้ว ซี่งพบว่า "อัตราการติดเชื้อต่ำกว่าอย่างเห็นได้ชัดสำหรับคนที่ฉีดเข็มกระตุ้น แสดงให้เห็นว่าวัคซีนเข็มกระตุ้นของเรากำลังได้ผล" เธอกล่าว

แม้เคสฉีดวัคซีนครบเข็มแล้วแต่ยังป่วยหนักถึงขั้นเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล หรือต้องเข้าห้องฉุกเฉินเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ทั้ง เฟาซี และวาเลนสกี เน้นย้ำว่า ผู้ป่วยหนักเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและเสียชีวิตในสหรัฐฯ ส่วนใหญ่แล้วยังคงเป็นกลุ่มคนที่ยังไม่ฉีดวัคซีน

"ผลการศึกษาต่างๆ แสดงให้เห็นว่าคนที่ไม่ฉีดวัคซีนยังคงมีความเป็นไปได้มากกว่าที่จะติดเชื้อ มีความเป็นไปได้มากกว่าที่จะติดเชื้อถึงขั้นเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล และมีความเป็นไปได้มากกว่าที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงจากการติดเชื้อโควิด-19" วาเลนสกี ระบุ

ปัจจุบันค่าเฉลี่ย 7 วันของผู้เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล อยู่ที่ราวๆ 5,300 คนต่อวัน ข้อมูลของซีดีซีระบุ และผู้คนราวๆ 1,000 รายในสหรัฐฯ เสียชีวิตจากโควิด-19 ในแต่ละวัน

ไม่เป็นที่ชัดเจนว่ามีจำนวนผผู้เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลมากน้อยแค่ไหนที่เป็นเคสติดเชื้อหลังฉีดวัคซีน (breakthrough cases) แม้ทางซีดีซีได้ติดตามอัตราผู้เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลในหมู่คนที่ฉีดวัคซีนครบเข็มก็ตาม เนื่องจากข้อมูลบนเว็บไซต์ของซีดีซีเป็นข้อมูลจนถึงวันที่ 28 สิงหาคมเท่านั้น และจากข้อมูลล่าสุดจากซีดีซี ระบุเพียงว่า บุคคลที่ยังไม่ฉีดวัคซีนมีความเสี่ยงเสียชีวิตจากโควิด-19 มากกว่าคนที่ฉีดวัคซีนแล้วถึง 11 เท่า

ข้อมูลของทางซีดีซีระบุว่า จนถึงตอนนี้มีประชาชนชาวสหรัฐฯ อย่างน้อย 31 ล้านคนที่ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นของไฟเซอร์ โมเดอร์นา และจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน

แม้อัตราคนฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นในสหรัฐฯ แต่ เฟาซีคาดหมายว่า จะมีคนฉีดวัคซีนแล้วเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลจากการติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้น เนื่องจากวัคซีนไม่ได้มีประสิทธิภาพ 100% ในการป้องกันการป่วยหนัก

"นั่นคือสิ่งที่เราเน้นย้ำถึงความสำคัญของการเข้ารับเข็มกระตุ้น" เฟาซีกล่าว "มีความเป็นไปได้ที่ภูมิคุ้มกันจะลดลงอย่างฉับพลันหากคุณติดเชื้อในลักษณะติดเชื้อหลังฉีดวัคซีน (breakthrough cases) และคุณอาจจบลงด้วยการต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล"
(ที่มา : ซีเอ็นบีซี)

https://mgronline.com/around/detail/9640000114682

ปูเสื่อ ติดตามข่าวโควิดกันนะคะ


คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 15

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
"อว. เผยฉีดวัคซีนของไทย ณ วันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 ฉีดวัคซีนแล้ว 86,890,826 โดส และทั่วโลกแล้ว 7,524 ล้านโดส ใน 205 ประเทศ/เขตปกครอง ส่วนอาเซียนฉีดแล้วทุกประเทศ รวมกันกว่า 603.5 ล้านโดส โดยกรุงเทพฯ ยังเป็นพื้นที่ฉีดวัคซีนเข็ม 1 มากสุด (113.9%)

(18 พฤศจิกายน 2564) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยข้อมูลสถิติการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั่วโลกแล้ว 7,581 ล้านโดส ใน 205 ประเทศ/เขตปกครอง โดยขณะนี้อัตราการฉีดล่าสุดรวมกันทั่วโลกที่ 34.3 ล้านโดสต่อวัน และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่สหรัฐอเมริกามีจำนวนการฉีดวัคซีนสูงที่สุดที่ 442 ล้านโดส โดยมีชาวอเมริกันกว่า 195 ล้านคนได้รับวัคซีนครบ 2 โดสแล้ว"

ด้านอาเซียนขณะนี้ทุกประเทศได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แล้ว มียอดรวมกันที่ประมาณ 603.5 ล้านโดส โดยสิงคโปร์ฉีดวัคซีนในสัดส่วนประชากรมากที่สุดในภูมิภาค (86% ของประชากร) ในขณะที่อินโดนีเซียฉีดวัคซีนในจำนวนมากที่สุดที่ 218.4 ล้านโดส สำหรับประเทศไทยข้อมูล ณ วันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 ได้ฉีดวัคซีนแล้วกว่า 86,890,826 โดส โดยฉีดให้กับประชาชนมากที่สุดในสัดส่วนกว่า 61.17%

ในการฉีดวัคซีน จำนวน 7,524 ล้านโดสนี้ อว. ขอรายงานสถิติที่สำคัญ คือ

1) ข้อมูลการฉีดวัคซีนล่าสุดของประเทศไทย ณ วันที่ 18 พฤศจิกายน 2564
จำนวนการฉีดวัคซีนสะสม 86,071,507 คน ใน 77 จังหวัด แบ่งเป็น
-เข็มแรก 46,005,152 โดส (69.5% ของประชากร)
-เข็มสอง 37,939,622 โดส (57.3% ของประชากร)
-เข็มสาม 2,946,052 โดส (4.5% ของประชากร)

2) อัตราการฉีดวัคซีนตั้งแต่ 28 ก.พ.- 18 พ.ย. 64 พบว่า ประเทศไทยฉีดวัคซีนแล้ว 86,890,826 โดส ฉีดเพิ่มขึ้น 819,319 โดส (อัตราการฉีดล่าสุดเฉลี่ย 3 วันย้อนหลัง ตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย. 64 ซึ่งเป็นการฉีดวัคซีนวาระแห่งชาติ 621,185 โดส/วัน

3) อัตราการฉีดวัคซีน ประกอบด้วย
วัคซีน Sinovac
- เข็มที่ 1 22,270,212 โดส
- เข็มที่ 2 3,543,641 โดส
- เข็มที่ 3 0 โดส
วัคซีน AstraZeneca
- เข็มที่ 1 11,611,574 โดส
- เข็มที่ 2 24,500,541 โดส
- เข็มที่ 3 2,234,690 โดส
วัคซีน Sinopharm
- เข็มที่ 1 7,090,141 โดส
- เข็มที่ 2 6,379,123 โดส
- เข็มที่ 3 0 โดส
วัคซีน Pfizer
- เข็มที่ 1 4,908,691 โดส
- เข็มที่ 2 3,463,166 โดส
- เข็มที่ 3 639,448 โดส
วัคซีน Moerna
- เข็มที่ 1 104,684 โดส
- เข็มที่ 2 19,795 โดส
- เข็มที่ 3 71,914 โดส

4) การฉีดวัคซีนโควิด-19 แยกตามกลุ่มเป้าหมาย
- บุคลากรการแพทย์/สาธารณสุข เข็มที่1 123.5% เข็มที่2 120.0% เข็มที่3 93.7%
- เจ้าหน้าที่ด่านหน้า เข็มที่1 63.9% เข็มที่2 60.4% เข็มที่3 18.1%
- อสม เข็มที่1 77.1% เข็มที่2 72.5% เข็มที่3 15%
- ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค เข็มที่1 72.2% เข็มที่1 63.4% เข็มที่3 3.3%
- ประชาชนทั่วไป เข็มที่1 61% เข็มที่2 48.7% เข็มที่3 3.2%
- ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เข็มที่1 67.7% เข็มที่2 59.2% เข็มที่3 0.9%
- หญิงตั้งครรภ์ เข็มที่1 17.8% เข็มที่2 13.8% เข็มที่3 0.2%
- นักเรียน/นักศึกษา อายุ 12-17 ปี เข็มที่1 65.5% เข็มที่2 48.8% เข็มที่3 0%
รวม เข็มที่1 63.9% เข็มที่2 52.7% เข็มที่3 4.1%

5) %การฉีดวัคซีนพื้นที่นำร่องท่องเที่ยว
1. กรุงเทพมหานคร เข็มที่1 113.9% เข็มที่2 98.7% และประชากร 60 ปีขึ้นไป  เข็มที่1 82.1% เข็มที่2 71.3%
2. ชลบุรี เข็มที่1 86.8% เข็มที่2 77.2% และประชากร 60 ปีขึ้นไป  เข็มที่1 75.8% เข็มที่2 71.6%
3. ภูเก็ต เข็มที่1 85.6% เข็มที่2 81.7% และประชากร 60 ปีขึ้นไป  เข็มที่1 73.3% เข็มที่2 70.3%
4. สมุทรปราการ เข็มที่1 78.4% เข็มที่2 64.6% และประชากร 60 ปีขึ้นไป  เข็มที่1 93.8% เข็มที่2 84.8%
5. เชียงใหม่ เข็มที่1 77.3% เข็มที่2 56.9% และประชากร 60 ปีขึ้นไป  เข็มที่1 83.5% เข็มที่2 65.6%
6. ระนอง เข็มที่1 72.7% เข็มที่2 60.6% และประชากร 60 ปีขึ้นไป  เข็มที่1 75.3% เข็มที่2 71.2%
7. พังงา เข็มที่1 71.2% เข็มที่2 63.9% และประชากร 60 ปีขึ้นไป  เข็มที่1 73.7% เข็มที่2 70.6%
8. ระยอง เข็มที่1 68.4% เข็มที่2 56.6% และประชากร 60 ปีขึ้นไป  เข็มที่1 65.6% เข็มที่2 60%
9. กระบี่ เข็มที่1 68% เข็มที่2 58.7% และประชากร 60 ปีขึ้นไป  เข็มที่1 76% เข็มที่2 70.5%
10. สุราษฎร์ธานี เข็มที่1 1 67.5% เข็มที่2 46.2%  และประชากร 60 ปีขึ้นไป  เข็มที่1 76.8% เข็มที่2 65.9%
11. ประจวบคีรีขันธ์ เข็มที่1 64.7% เข็มที่2 55%  และประชากร 60 ปีขึ้นไป  เข็มที่1 69.2% เข็มที่2 63.8%
12. เพชรบุรี เข็มที่1 63.7% เข็มที่2 55.4% และประชากร 60 ปีขึ้นไป  เข็มที่1 64.7% เข็มที่2 60.6%
13. ตราด เข็มที่1 63.5% เข็มที่2 52.4% และประชากร 60 ปีขึ้นไป  เข็มที่1 66.3% เข็มที่2 60.7%
14. บุรีรัมย์ เข็มที่1 58.7% เข็มที่2 48.2% และประชากร 60 ปีขึ้นไป  เข็มที่1 78.8% เข็มที่2 61.8%
15. เลย เข็มที่1 54.3% เข็มที่2 43.1% และประชากร 60 ปีขึ้นไป  เข็มที่1 69.8% เข็มที่2 57.3%
16. อุดรธานี เข็มที่1 54% เข็มที่2 43.6% และประชากร 60 ปีขึ้นไป  เข็มที่1 79.2% เข็มที่2 68.8%
17. หนองคาย เข็มที่1 51.5% เข็มที่2 43.5% และประชากร 60 ปีขึ้นไป  เข็มที่1 67.9% เข็มที่2 61.5%
รวม เข็มที่1 84.7% เข็มที่2 71.4% และประชากร 60 ปีขึ้นไป  เข็มที่1 79.3% เข็มที่2 69%

6) ในภูมิภาคอาเซียน ได้ฉีดวัคซีนแล้วครบ 10 ประเทศ รวมจำนวน 603,598,510 โดส ได้แก่
1. อินโดนีเซีย จำนวน 218,409,909 โดส (47.9%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinovac, AstraZeneca, Moderna และ Sinopharm
2. เวียดนาม จำนวน 102,030,576 โดส (66.8%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca, Pfizer, Moderna และ Sinopharm  
3. ไทย จำนวน 86,890,826 โดส (69.5%* ของประชากร)  ฉีดวัคซีนของ Pfizer, Sinovac, AstraZeneca และ Sinopharm
4. ฟิลิปปินส์ จำนวน 72,763,442 โดส (36.3%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinovac, Pfizer, Sputnik V, Moderna, J&J และ AstraZeneca  
5. มาเลเซีย จำนวน 51,519,383 โดส (78.4%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Pfizer, AstraZeneca และ Sinovac  
6. กัมพูชา จำนวน 29,419,881 โดส (83.3%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinopharm, AstraZeneca, J&J และ Sinovac
7. พม่า จำนวน 25,073,018 โดส (27.5%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca และ Sinopharm
8. สิงคโปร์ จำนวน 10,083,329 โดส (86%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Pfizer, Moderna และ Sinovac
9.  ลาว จำนวน 6,628,868 โดส (48.9%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinopharm, Sputnik V, Pfizer, J&J, Sinovac และ AstraZeneca
10. บรูไน จำนวน 707,278 โดส (89.4%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca และ Sinopharm
* คำนวณจากจำนวนฉีด/จำนวนประชากร อย่างน้อย 1 เข็ม

7) จำนวนการฉีดวัคซีนแยกตามภูมิภาค
1. เอเชียและตะวันออกกลาง 69.24%
2. ยุโรป 10.45%
3. อเมริกาเหนือ 9.40%
4. ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน 7.40%
5. แอฟริกา 2.89%
6. โอเชียเนีย 0.62%

8) ประเทศที่ฉีดวัคซีนแล้วมากที่สุด 5 ประเทศลำดับแรกที่ฉีดวัคซีนมากกว่า 100 ล้านโดส รวมกันเกือบ 70% ของปริมาณการฉีดวัคซีนทั่วโลก
1. จีน จำนวน 2,396.04 ล้านโดส (171.1% ของจำนวนโดสที่ฉีดต่อประชากร)
2. อินเดีย จำนวน 1,144.91 ล้านโดส (83.7%)
3. สหรัฐอเมริกา จำนวน 443.37 ล้านโดส (133.5%)
4. บราซิล จำนวน 297.10ล้านโดส (141.4%)
5. อินโดนีเซีย  จำนวน 218.41 ล้านโดส (79.2%)

9) ประเทศที่ฉีดวัคซีนครอบคลุมประชากรมากที่สุด มี 10 ประเทศที่ฉีดวัคซีนให้กับประชากรอย่างน้อย 25% แล้ว ได้แก่ (เฉพาะประเทศที่มีประชากรมากกว่า 500,000 คน)
1. คิวบา (242%) (ฉีดวัคซีนของ  Abdala และ Soberana02)
2. ชิลี (204.8%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, CanSino, Pfizer/BioNTech และ Sinovac
3. มัลดีฟส์ (203.3% ของประชากร) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech และ Sinopharm)
4. สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (201.1%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech, Sinopharm และ Gamaleya)
5. บาห์เรน (191.4%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech, Sinopharm และ Gamaley)
6. อุรุกวัย (190.4%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech และ Sinovac)  
7. อิสราเอล (177.4%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech และ  Moderna)    
8. กาตาร์ (175.1%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech และ  Moderna)
9. กัมพูชา (173.8%) (ฉีดวัคซีนของ Sinopharm, Sinovac, AstraZeneca/Oxford และ J&J)
10. สิงคโปร์ (171.3%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech, Moderna และ Sinovac)

แหล่งข้อมูล Bloomberg Vaccine Tracker, กระทรวงสาธารณสุข
ประมวลข้อมูลโดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
https://www.facebook.com/nrctofficial/posts/4359486024176936


จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. - 18 พ.ย. 2564)
รวม 87,655,274 โดส ใน 77 จังหวัด

ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 18 พฤศจิกายน 2564
ยอดฉีดทั่วประเทศ 764,448 โดส

เข็มที่ 1 : 243,635 ราย
เข็มที่ 2 : 482,314 ราย
เข็มที่ 3 : 38,499 ราย

จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 46,248,787 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 38,421,936 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 2,984,551 ราย

แหล่งข้อมูล : MOPH-IC
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/449465136671816
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่