เมาเซอร์ โมเดล 1935 หรือชื่อในราชการกองทัพเบลเยี่ยมคือ Fusil Modèle 1935 เป็นปืนเล็กยาวระบบปฏิบัติการแบบลูกเลื่อนบริหารกลไกด้วยมือ ถูกพัฒนาเพื่อนำมาแทนที่ ปลย.เมาเซอร์ โมเดล 1889 และ ปลย.เมาเซอร์ โมเดล 1898 มันถูกใช้งานในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
..................................................
ประวัติความเป็นมา & การออกแบบ
..................................................
กองทัพเบลเยี่ยมมี ปลย.หลักที่เป็นกระดูกสันหลังของกองทัพเบลเยี่ยมคือ ปลย.เมาเซอร์ โมเดล 1889 ที่ซื้อสิทธิบัตรมาผลิตเองในประเทศ. หลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเยอรมันที่เป็นฝ่ายพ่ายแพ้นั้นได้มอบ ปลย.เมาเซอร์ โมเดล 1898 และ ปลส.คาราบีเนอร์ 98เอซี เป็นจำนวนมากให้กับราชอาณาจักรเบลเยียม. ในช่วงปลายปี ค.ศ.1920 และต้นปี ค.ศ.1930 นั้นบริษัท เอฟเอ็น ได้ทำการผลิต ปลย.เอฟเอ็น โมเดล 24 และ โมเดล 30 ขึ้นมา แต่เนื่องจากงบกลาโหมของเบลเยียมในเวลานั้นไม่เพียงพอที่จะสามารถซื้อปืนเล็กยาวรุ่นใหม่สุดทันสมัยเหล่านี้ได้ (หลังจบสงครามโลกครั้งที่หนึ่งหลาย ๆ ประเทศนั้นอยู่ในสภาวะเข็ดกับสงครามต้องการความสงบสุขทำให้งบกลาโหมหลาย ๆ ประเทศนั้นถูกลดลง) ในปี ค.ศ.1935 บริษัทเอฟเอ็นได้ทำการออกแบบ ปลย.รุ่นใหม่ที่ต้นทุนการผลิตถูกลงตามความต้องการของกองทัพเบลเยียมที่ต้องการ ปลย.ที่ทันสมัยและราคาถูกเพื่อหวังนำมาแทนที่ ปลย.เมาเซอร์ โมเดล 1889/ปลส.เมาเซอร์ โมเดล 1889,ปลย.เมาเซอร์ โมเดล 1898 และ ปลส.คาราบีเนอร์ 98เอซี ทั้งหมด ซึ่ง ปลย.รุ่นใหม่นี้ได้รับเข้าประจำการในกองทัพเบลเยียมในชื่อ "Fusil Modèle 1935" หรือ ปลย.โมเดล 1935 เบลเยียม เมาเซอร์ โมเดล 1935 นั่นเอง
ปลย.โมเดล 1935 นั้นมีหลายชิ้นส่วนที่ใช้ร่วมกับ ปลย.เมาเซอร์ โมเดล 1889 ได้เช่น รังเพลิง,ซองกระสุน และ พานท้าย รวมถึงใช้ชิ้นส่วนบางส่วนจาก ปลย.เมาเซอร์ โมเดล 1898 ได้ด้วย แต่ตัวปืนนั้นมีขนาดที่สั้นกว่ามาก ปลย.โมเดล 1935 นั้นถูกผลิตโดยสองที่คือ Manufacture d’Armes de L’Etat (ของรัฐ) และ บริษัทเอฟเอ็น ในช่วงปี ค.ศ.1935 และ ค.ศ.1940 นอกจากนี้ยังมีการพัฒนารุ่นสำหรับพลซุ่มยิงเพิ่มเติมด้วย
หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองจบลงนั้นในปี ค.ศ.1946 ได้มีการนำ ปลย.โมเดล 35 มาคว้านรังเพลิงให้ใช้กระสุนขนาด .30-06 สปริงฟิลด์ของอเมริกันซึ่งถูกใช้ในกองทัพเบลเยี่ยมในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองโดยมันมีชื่อว่า ปลย.โมเดล 35/46
..................................................
การใช้งาน
..................................................
กองทัพเบลเยียมนำมันมาใช้ในปี 1935 แต่ ปลย.โมเดล 1935 ไม่เคยเข้าสู่สายการผลิตขนาดใหญ่ มันทำหน้าที่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองควบคู่ไปกับ ปลย.โมเดล 1936 (Fusil Model 1936) ซึ่งเป็น ปลย.เมาเซอร์ โมเดล 1889 ที่นำคุณลักษณะบางอย่างจาก ปลย.โมเดล 1935 มาใช้งาน (สุดท้าย ปลย.โมเดล 1935 ก็ไม่ได้เอามาแทนที่ปืนรุ่นเก่า ๆ แบบจริง ๆ จัง)
นาซีเยอรมนียึด ปลย.โมเดล 1935 ได้จำนวนมากหลังจากการรุกรานเบลเยียมปลย.โมเดล 1935 ได้รับชื่อในกองทัพเยอรมันว่า Gewehr 262 (b) และ และรุ่นปืนเล็กยาวซุ่มยิงได้รับชื่อในกองทัพเยอรมันว่า Zielfernrohrgewehr 264 (b) ปืนเล็กยาวเหล่านี้ถูกใช้โดยหน่วยช่วยรบในกองทัพเยอรมัน
รัฐบาลอาร์เจนตินาซื้อ ปลย.โมเดล 1935 จำนวนหนึ่งให้กับตำรวจประจำจังหวัดบัวโนสไอเรส ปืนส่งมอบในปี ค.ศ.1935-1936 และยังคงใช้ไปถึงช่วงทศวรรษที่ 1960
..................................................
ผู้ใช้งาน
..................................................
เบลเยียม
นาซีเยอรมัน
อาร์เจนติตา
..................................................
ที่มา
..................................................
https://en.wikipedia.org/wiki/Belgian_Mauser_Model_1935
http://fr.1001mags.com/.../nume.../page-36-37-texte-integral
..................................................
สวัสดีครับ
สารานุกรมปืนตอนที่ 971 เบลเยียม เมาเซอร์ โมเดล 1935
..................................................
ประวัติความเป็นมา & การออกแบบ
..................................................
กองทัพเบลเยี่ยมมี ปลย.หลักที่เป็นกระดูกสันหลังของกองทัพเบลเยี่ยมคือ ปลย.เมาเซอร์ โมเดล 1889 ที่ซื้อสิทธิบัตรมาผลิตเองในประเทศ. หลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเยอรมันที่เป็นฝ่ายพ่ายแพ้นั้นได้มอบ ปลย.เมาเซอร์ โมเดล 1898 และ ปลส.คาราบีเนอร์ 98เอซี เป็นจำนวนมากให้กับราชอาณาจักรเบลเยียม. ในช่วงปลายปี ค.ศ.1920 และต้นปี ค.ศ.1930 นั้นบริษัท เอฟเอ็น ได้ทำการผลิต ปลย.เอฟเอ็น โมเดล 24 และ โมเดล 30 ขึ้นมา แต่เนื่องจากงบกลาโหมของเบลเยียมในเวลานั้นไม่เพียงพอที่จะสามารถซื้อปืนเล็กยาวรุ่นใหม่สุดทันสมัยเหล่านี้ได้ (หลังจบสงครามโลกครั้งที่หนึ่งหลาย ๆ ประเทศนั้นอยู่ในสภาวะเข็ดกับสงครามต้องการความสงบสุขทำให้งบกลาโหมหลาย ๆ ประเทศนั้นถูกลดลง) ในปี ค.ศ.1935 บริษัทเอฟเอ็นได้ทำการออกแบบ ปลย.รุ่นใหม่ที่ต้นทุนการผลิตถูกลงตามความต้องการของกองทัพเบลเยียมที่ต้องการ ปลย.ที่ทันสมัยและราคาถูกเพื่อหวังนำมาแทนที่ ปลย.เมาเซอร์ โมเดล 1889/ปลส.เมาเซอร์ โมเดล 1889,ปลย.เมาเซอร์ โมเดล 1898 และ ปลส.คาราบีเนอร์ 98เอซี ทั้งหมด ซึ่ง ปลย.รุ่นใหม่นี้ได้รับเข้าประจำการในกองทัพเบลเยียมในชื่อ "Fusil Modèle 1935" หรือ ปลย.โมเดล 1935 เบลเยียม เมาเซอร์ โมเดล 1935 นั่นเอง
ปลย.โมเดล 1935 นั้นมีหลายชิ้นส่วนที่ใช้ร่วมกับ ปลย.เมาเซอร์ โมเดล 1889 ได้เช่น รังเพลิง,ซองกระสุน และ พานท้าย รวมถึงใช้ชิ้นส่วนบางส่วนจาก ปลย.เมาเซอร์ โมเดล 1898 ได้ด้วย แต่ตัวปืนนั้นมีขนาดที่สั้นกว่ามาก ปลย.โมเดล 1935 นั้นถูกผลิตโดยสองที่คือ Manufacture d’Armes de L’Etat (ของรัฐ) และ บริษัทเอฟเอ็น ในช่วงปี ค.ศ.1935 และ ค.ศ.1940 นอกจากนี้ยังมีการพัฒนารุ่นสำหรับพลซุ่มยิงเพิ่มเติมด้วย
หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองจบลงนั้นในปี ค.ศ.1946 ได้มีการนำ ปลย.โมเดล 35 มาคว้านรังเพลิงให้ใช้กระสุนขนาด .30-06 สปริงฟิลด์ของอเมริกันซึ่งถูกใช้ในกองทัพเบลเยี่ยมในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองโดยมันมีชื่อว่า ปลย.โมเดล 35/46
..................................................
การใช้งาน
..................................................
กองทัพเบลเยียมนำมันมาใช้ในปี 1935 แต่ ปลย.โมเดล 1935 ไม่เคยเข้าสู่สายการผลิตขนาดใหญ่ มันทำหน้าที่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองควบคู่ไปกับ ปลย.โมเดล 1936 (Fusil Model 1936) ซึ่งเป็น ปลย.เมาเซอร์ โมเดล 1889 ที่นำคุณลักษณะบางอย่างจาก ปลย.โมเดล 1935 มาใช้งาน (สุดท้าย ปลย.โมเดล 1935 ก็ไม่ได้เอามาแทนที่ปืนรุ่นเก่า ๆ แบบจริง ๆ จัง)
นาซีเยอรมนียึด ปลย.โมเดล 1935 ได้จำนวนมากหลังจากการรุกรานเบลเยียมปลย.โมเดล 1935 ได้รับชื่อในกองทัพเยอรมันว่า Gewehr 262 (b) และ และรุ่นปืนเล็กยาวซุ่มยิงได้รับชื่อในกองทัพเยอรมันว่า Zielfernrohrgewehr 264 (b) ปืนเล็กยาวเหล่านี้ถูกใช้โดยหน่วยช่วยรบในกองทัพเยอรมัน
รัฐบาลอาร์เจนตินาซื้อ ปลย.โมเดล 1935 จำนวนหนึ่งให้กับตำรวจประจำจังหวัดบัวโนสไอเรส ปืนส่งมอบในปี ค.ศ.1935-1936 และยังคงใช้ไปถึงช่วงทศวรรษที่ 1960
..................................................
ผู้ใช้งาน
..................................................
เบลเยียม
นาซีเยอรมัน
อาร์เจนติตา
..................................................
ที่มา
..................................................
https://en.wikipedia.org/wiki/Belgian_Mauser_Model_1935
http://fr.1001mags.com/.../nume.../page-36-37-texte-integral
..................................................