สารานุกรมปืนตอนที่ 1019 เมาเซอร์-แวร์เกโร

เมาเซอร์-แวร์เกโร
..................................................



เมาเซอร์-แวร์เกโร (Mauser–Vergueiro) เป็น ปืนเล็กยาวระบบปฏิบัติการแบบลูกเลื่อนบริหารกลไกด้วยมือ ออกแบบในปี ค.ศ.1904 โดย โคเซ อัลเบโต้ แวร์เกโร (José Alberto Vergueiro) นายทหารของกองทัพโปรตุเกสและถูกผลิตโดยโรงงานผลิตอาวุธและเครื่องกระสุนแห่งเยอรมนี (Deutsche Waffen- und Munitionsfabriken/DWM) มันถูกพัฒนามาจาก เมาเซอร์98 แต่มันใช้ระบบปฏิบัติการแบบลูกเลื่อนที่พัฒนามาจาก เกเวร์ 1888 (Gewehr 1888) และ มานลิเคอร์-ชโนเออร์ (Mannlicher–Schönauer), นอกโปรตุเกสมันรู้จักกันในชื่อ "Portuguese Mauser" มันใช้กระสุนขนาด 6.5x58มม. แวร์เกโร (6.5×58mm Vergueiro) กระสุนที่ถูกพัฒนามาพร้อมกับตัวปืน
ตัวปืนนั้นมาแทนที่ ปลย.โครปัตเชค เอ็ม/1886 (Kropatschek m/1886 ) โดยมันเข้าประจำการในฐานะปืนเล็กยาวประจำกายของทหารราบโปรตุเกสในปี ค.ศ.1904 และภายหลังมันก็ถูกแทนที่ด้วย เมาเซอร์98คา (Mauser98k) ในปี ค.ศ.1939. ชื่อเรียกทางการของตัวปืนในกองทัพโปรตุเกสคือ "Espingarda 6,5 mm m/1904" (ปืนเล็กยาว 6.5มม. เอ็ม/1904). นอกจากนี้มันยังมีรุ่นปืนเล็กสั้นด้วยตัวปืนมีชื่อว่า "Carabina 6,5 mm m/1904" (ปืนเล็กสั้น 6.5มม. เอ็ม/1904). ทั้ง ปลย. และ ปลส. นั้นถูกผลิตมามากกว่า 100,000 กระบอกเพื่อป้อนให้กองทัพโปรตุเกส. นอกเหนือจากนี้ยังมี ปืนเมาเซอร์-แวร์เกโร จำนวนกว่า 5,000 กระบอก, ที่ถูกปรับปรุงให้ใช้กระสุนขนาด 7x57มม. เมาเซอร์ (7×57mm Mauser) โดยเริ่มทำในปี ค.ศ.1906 เพื่อป้อนให้กับตำรวจสหพันธ์บราซิล (Polícia Federal) ในเมืองรีโอเดจาเนโรและเซาเปาโล. ในปี ค.ศ.1915 ปลย. เมาเซอร์-แวร์เกโร จำนวนกว่า 20,000 กระบอก นั้นถูกขายให้กับแอฟริกาใต้ พวกเขาซื้อเพราะ ปลย.ลี เอนฟิลด์ ชนิดสั้น ( Lee–Enfield SMLE) นั้นมีจำนวนไม่เพียงกับจำนวนของทหาร
ในการใช้งานของโปรตุเกสกับแอฟริกาใต้มันถูกใช้งานในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และถูกใช้ในปฏิบัติการทางทหารในอาณานิคม. นอกเหนือจากนี้ทหารอาณานิคมเยอรมันในแอฟริกาตะวันออกของเยอรมนี (Deutsch-Ostafrika) ยังใช้งานเมาเซอร์-แวร์เกโร อีกด้วย, โดยยึดจากฝ่ายสัมพันธมิตรในความขัดแย้งในแอฟริกา. กองกำลังรบในต่างแดนของโปรตุเกส (Corpo Expedicionário Português) ในแนวรบตะวันตกช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งนั้นไม่ได้ใช้ ปลย. เมาเซอร์-แวร์เกโร แต่พวกเขาใช้ ปลย.ลี เอนฟิลด์ ชนิดสั้นของอังกฤษแทนด้วยเหตุในด้านการส่งกำลังบำรุง



ทหารโปรตุเกสในแองโกล่า

ในปี ค.ศ.1939 หลังจากกองทัพบกโปรตุเกสได้นำ เมาเซอร์ 98 คา ขนาด 7.92x57มม. (7.92×57mm) เข้าประจำการในชื่อ เอ็ม937 (m/937) นั้นกองทัพบกโปรตุเกสได้นำ ปลย.เมาเซอร์-แวร์เกโร บางส่วนมาปรับปรุงให้ใช้กระสุน 7.92x57มม. และให้ชื่อว่า "Espingarda 8 mm m/1904-39" (ปืนเล็กยาว 6.5มม. เอ็ม/1904-39) มาร์คกิ้งบนตัวปืนที่ปรับปรุงแล้วนั้นยังคงไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิมมากนักยกเว้นคำว่า "6.5" ปืนบางกระบอกที่ได้รับการปรับปรุงจะมีการตีเครื่องหมาย "X" สองตัวแทน ซึ่งเห็นได้ชัดว่าด้วยความที่มันมีแค่บางกระบอกเครื่องหมาย X สองตัวบนตัวปืนนั้นจึงถูกมองว่าเป็นไม่ใช่สิ่งที่ทำแบบเป็นทางการแต่เป็นสิ่งที่พวกทหารโปรตุเกสทำกันเองมากกว่า.



ปืนเล็กยาว 6.5มม. เอ็ม/1904-39 มุมมองโดยรวม - ด้านซ้าย



ปืนเล็กยาว 6.5มม. เอ็ม/1904-39 มุมมองด้านบน - ระบบปฏิบัติการแบบลูกเลื่อนบริหารกลไกด้วยมือ และ ศูนย์หลัง



ระบบปฏิบัติการแบบลูกเลื่อนบริหารกลไกด้วยมือ



ศูนย์หลังจัดปรับได้



มาร์คกิ้งทางด้านซ้าย
"Espingarda Portugueza 6,5 mod. 1904". "Deutsche Waffen - und Munitionsfabriken . BERLIN". (จะเห็นได้ว่ามาร์คกิ้งยังคงเป็น 6.5มม. ทั้งที่ปืนตัวนี้ปรับปรุงไปใช้กระสุนขนาด 7.92x57มม. แล้ว



ตราประทับสมบัติของกษัตริย์คาร์ลอสที่หนึ่งแห่งโปรตุเกส



ศูนย์หน้าพร้อมตัวป้องกันศูนย์



ลูกเลื่อนสไตล์มานลิเคอร์ และ โครงปืนแบบแยก



โกร่งไก

ปลย.เมาเซอร์-แวร์เกโร ที่ได้รับการปรับปรุงให้ใช้กระสุนขนาด 7.92x57มม. ได้นั้นสามารถแยกจากรุ่นที่ใช้กระสุนขนาด 6.5x58มม. ได้ด้วยการดูที่ลำกล้องที่สั้นลง,เหล็กป้องกันศูนย์หน้า และ ฐานศูนย์หลังที่ต่ำลง
ปลย.เมาเซอร์-แวร์เกโร ที่ได้รับการปรับปรุงให้ใช้กระสุนขนาด 7.92x57มม. นั้นยังคงถูกใช้งานในกองทัพโปรตุเกสอยู่ในช่วงกลางปี ค.ศ.1960 ในแบบจำนวนจำกัด, และ ยังคงเป็นอาวุธหลักของกำลังสำรอง นอกจากนี้ยังคงมีการใช้งานในโรงเรียนเตรียมทหารโปรตุเกส (Instituto dos Pupilos do Exército)
ปืนรุ่นนี้ยังคงถูกใช้ในแอฟริกาเช่นความขัดแย้งในมาลีตอนเหนือ

..................................................
อ้างอิง
..................................................
https://en.wikipedia.org/wiki/Mauser%E2%80%93Vergueiro
https://pt.wikipedia.org/wiki/Mauser-Vergueiro
..................................................




สวัสดีครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่