.
ด้วยมีกระทู้ และความเห็นเกี่ยวกับ ผลของกรรม และกรรมเก่า
ซึ่ง อาจมีทั้งความเห็น ความเข้าใจ ที่ถูกต้องชัดเจน และที่ไม่ถูกต้อง ไม่ชัดเจน
เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ชัดเจน จึงได้พยายาม ศึกษา พระธรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำความเข้าใจ ของตนเอง
และ
เพื่อนำเสนอทุกท่าน เพื่อพิจารณา และกรุณาให้ความเห็น
ดังนี้ ครับ
---------------
----- พระพุทธศาสนา สอนว่า
1. ไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่าง สุขทุกข์ ทุกอย่าง ในชีวิต เกิดจากกรรมเก่า
เพราะ ถ้าเป็นเช่นนั้น เราก็จะทำอะไรใหม่ๆไม่ได้เลย (ถ้าเห็นผิดว่า ทุกอย่างเป็นไปตามกรรมเก่าทั้งหมด)
เทวทหสูตร
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=1&Z=511
ความจริง เราทำสิ่งใหม่ๆได้ ทั้งทำผิด(ทำบาป) และทำถูก(ทำดี) และทำเพื่อให้พ้นจากกรรม(เห็นความจริง หมดความเข้าใจ หลงผิดว่า กายและจิต(ที่ไม่คงที่แม้ชั่วขณะนี้) ว่าเป็นตน หมดกิเลส หมดการกระทำที่เป็นกรรม (กรรมคือการกระทำด้วนเจตนา ของจิตที่มีกิเลสอยู่) และหมดความทุกข์ใจ และหมดทุกข์กายในอนาคต)
กรรมวรรค
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=21&A=6195&Z=6386
2. ความสุข ความทุกข์ ในชีวิต อาจเกิดจาก สาเหตุอื่นๆ หรือ เกิดจากกรรมเก่า
**********
https://84000.org/tipitaka/book/v.php?B=18&A=6098&Z=6131
สิวกสูตร
[๔๒๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน
กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์
ครั้งนั้นแล โมฬิยสิวกปริพาชกเข้า
ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการ
ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมี
วาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า
บุคคลนี้ได้เสวยสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใด
อย่างหนึ่ง
สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขทั้งมวลนั้น มีการกระทำไว้ในปางก่อน
เป็นเหตุ
ก็ในข้อนี้ท่านพระโคดมตรัสอย่างไร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ดูกร สิวกะ
เวทนาบางอย่างมีดีเป็นสมุฏฐานก็มี ย่อมเกิดขึ้นในโลกนี้
ข้อที่เวทนา
บางอย่างซึ่งมีดีเป็นสมุฏฐานเกิดขึ้นในโลกนี้ บุคคลพึงทราบได้เองอย่างนี้ก็มี
โลกสมมติว่าเป็นของจริงก็มีในข้อนั้น
สมณพราหมณ์เหล่าใดมีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า
บุคคลนี้ได้เสวยสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใดอย่างหนึ่ง สุข ทุกข์
หรืออทุกขมสุขทั้งมวลนั้น มีการกระทำไว้ในปางก่อนเป็นเหตุ
ย่อมแล่นไปสู่สิ่ง
ที่รู้ด้วยตนเอง และแล่นไปสู่สิ่งที่สมมติกันว่าเป็นความจริงในโลก เพราะฉะนั้น
เรากล่าวว่า เป็นความผิดของสมณพราหมณ์เหล่านั้น
เวทนาบางอย่างมีเสมหะเป็น
สมุฏฐานก็มี ฯลฯ
มีลมเป็นสมุฏฐานก็มี ฯลฯ
มีร่วมกันเป็นสมุฏฐานก็มี ฯลฯ
เกิดแต่เปลี่ยนฤดูก็มี ฯลฯ
เกิดแต่รักษาตัวไม่สม่ำเสมอก็มี ฯลฯ
เกิดจากการถูกทำร้ายก็มี ฯลฯ
เวทนาบางอย่างเกิดแต่ผลของกรรมก็มี
ย่อมเกิดขึ้นในโลกนี้
ข้อที่เวทนาบางอย่างซึ่งเกิดแต่ผลของกรรมเกิดขึ้นในโลกนี้ บุคคลพึงทราบได้เอง อย่างนี้ก็มี
โลกสมมติว่าเป็นของจริงก็มี
ในข้อนั้นสมณพราหมณ์เหล่าใดมีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ได้เสวยสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใดอย่างหนึ่ง
สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขทั้งมวลนั้น มีการกระทำไว้ในปางก่อนเป็นเหตุ ย่อม
แล่นไปสู่สิ่งที่รู้ด้วยตนเอง และแล่นไปสู่สิ่งที่สมมติกันว่าเป็นความจริงในโลก
เพราะฉะนั้นเรากล่าวว่า เป็นความผิดของสมณพราหมณ์เหล่านั้น ฯ
[๔๒๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว โมฬิยสิวกปริพาชกได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ขอท่านพระโคดมโปรด
ทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะจนตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ
[๔๒๙] เรื่อง
ดี ๑
เสมหะ ๑
ลม ๑
ดี เสมหะ ลม รวมกัน ๑
ฤดู ๑
รักษาตัวไม่สม่ำเสมอ ๑
ถูกทำร้าย ๑
ผลของกรรม ๑
เป็นที่ ๘ ฯ
จบสูตรที่ ๑
**********
3. ร่างกายและจิต ในชาตินี้ เกิดจากจิตในชาติที่แล้ว มีตัณหา(และอวิชชาอยู่) จึงทำให้ เกิดการสะสมผลกรรม เป็นการ ปรุงแต่งที่ดีหรือไม่ดี หรือเฉยๆ (ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร)
แต่ถ้า จิตนั้น ภายหลัง ได้ ตัดกิเลส หมดตัณหาและอวิชชาแล้ว ผลการสะสมปรุงแต่งนั้น ที่จะมีกายและจิตใหม่ เกิดในภูมิภพใหม่
ก็ไม่สามารถให้ผล ต่อไป
**********
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=16&siri=47
๑.
ปริวีมังสนสูตร
ว่าด้วยการพิจารณา
...
...
...
...........
เธอพิจารณาอยู่ จึงรู้ชัดอย่างนี้ ว่า ‘
สังขารทั้งหลายมีอวิชชาเป็นเหตุ มีอวิชชาเป็นเหตุเกิด มีอวิชชาเป็นกำเนิด
มีอวิชชาเป็นแดนเกิด
เมื่ออวิชชามี สังขารทั้งหลายจึงมี เมื่ออวิชชาไม่มี สังขาร
ทั้งหลายจึงไม่มี’
ภิกษุนั้นรู้ชัดสังขารทั้งหลาย จึงรู้ชัดความเกิดแห่งสังขาร รู้ชัดความดับแห่ง
สังขาร รู้ชัดปฏิปทาอันเหมาะสมที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร และเธอผู้ปฏิบัติ
อย่างนั้น ชื่อว่าผู้มีปกติประพฤติตามธรรม
ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกภิกษุนี้ว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์ เพื่อความดับ
แห่งสังขารโดยชอบ ทุกประการ
บุรุษบุคคล๑- นี้ตกอยู่ในอวิชชา ถ้า
สังขารที่เป็นบุญปรุงแต่ง วิญญาณก็
ประกอบด้วยบุญ ถ้าสังขารที่เป็น
บาปปรุงแต่ง วิญญาณก็ประกอบด้วยบาป
ถ้า
สังขารที่เป็นอาเนญชาปรุงแต่ง วิญญาณก็ประกอบด้วยอาเนญชา
ในกาลใด
ภิกษุละอวิชชาได้แล้ว วิชชาเกิดขึ้น ในกาลนั้น ภิกษุนั้นก็
ไม่ปรุงแต่งปุญญาภิสังขาร๒-
อปุญญาภิสังขาร๓- และ
อาเนญชาภิสังขาร๔- เพราะกำจัดอวิชชาได้ เพราะมีวิชชา
เกิดขึ้น
เมื่อไม่ปรุงแต่ง ไม่จงใจ ก็ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่น ก็ไม่
สะดุ้งกลัว เมื่อไม่สะดุ้งกลัว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
@เชิงอรรถ :
@๑
บุรุษบุคคล ในที่นี้เป็นพระดำรัสที่พระพุทธเจ้าตรัสเรียกตามสมมติของชาวโลก เพราะพระพุทธเจ้าทุกพระองค์
@มีกถา ๒ อย่าง คือ
(๑) สมมติกถา ถ้อยคำสมมติ ตรัสตามที่โลกสมมติ เช่น ตรัสว่า สัตว์ นระ บุรุษ ติสสะ
@นาคเป็นต้น
(๒) ปรมัตถกถา ถ้อยคำโดยปรมัตถ์ตรัสตามสภาวธรรม เช่นตรัสว่า ขันธ์ ธาตุ อายตนะ
@เป็นต้น
พระพุทธเจ้าเมื่อจะทรงแสดงปรมัตถกถา ก็ไม่ทรงลืมที่จะตรัสสมมติกถา ทั้งนี้เพื่อให้เวไนยสัตว์
@ได้เข้าใจธรรมะนั่นเอง (สํ.นิ.อ. ๒/๕๑/๘๘)
@๒
ปุญญาภิสังขาร คืออภิสังขารที่เป็นบุญ สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี ได้แก่ กุศลเจตนาที่เป็นกามาวจร
@และรูปาวจร (สํ.นิ.อ. ๒/๕๑/๘๙, ขุ.ม.อ. ๒๕/๒๑๖)
@๓
อปุญญาภิสังขาร คืออภิสังขารที่เป็นปฏิปักษ์ต่อบุญคือเป็นบาป สภาพที่ปรุงแต่ง
กรรมฝ่ายชั่ว ได้แก่
@อกุศลเจตนาทั้งหลาย (สํ.นิ.อ. ๒/๕๑/๘๙, ขุ.ม.อ. ๒๕/๒๑๖)
@๔
อาเนญชาภิสังขาร คืออภิสังขารที่เป็นอาเนญชา สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคง ไม่หวั่นไหว ได้แก่ กุศล-
@เจตนาที่เป็นอรูปาวจร ๔ หมายเอา
ภาวะจิตที่มั่นคงแน่วแน่ด้วยสมาธิแห่งจตุตถฌาน (สํ.นิ.อ. ๒/๕๑/๘๙,
@ขุ.ม.อ. ๒๕/๒๑๖)
...
...
**********
4. การส่งผลของกรรม ไม่ใช่ให้ผลแต่ กาย(อายตนะภายใน1-5)และจิต (อายตนะภายในที่6)
เพียงแต่ ในเวลาเกิด เท่านั้น
พระสูตร(พระธรรม ที่รวบรวมไว้ใน ปิฎกที่2 คือพระสุตตันตปิฎก)
กรรมสูตร
**********
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=18&A=3449&Z=3475
กรรมสูตร
[๒๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงกรรมทั้งใหม่และเก่า ความดับแห่งกรรม และปฏิปทาอันเป็นเครื่องให้ถึงความดับแห่งกรรม ท่านทั้งหลายจงฟัง
จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็กรรมเก่าเป็นไฉน
จักษุอันบัณฑิต
พึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า อันปัจจัยทั้งหลายปรุงแต่งแล้ว สำเร็จด้วยเจตนา เป็น
ที่ตั้งแห่งเวทนา
หู ...
จมูก ...
ลิ้น ...
กาย ...
ใจ
อันบัณฑิตพึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า อัน
ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว สำเร็จด้วยเจตนา เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้เราเรียกว่า กรรมเก่า ฯ
[๒๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมใหม่เป็นไฉน กรรมที่บุคคลทำด้วย
กาย วาจา ใจ ในบัดนี้ นี้เราเรียกว่า กรรมใหม่ ฯ
[๒๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับแห่งกรรมเป็นไฉน
นิโรธที่ถูกต้อง
วิมุตติ เพราะความดับแห่งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม นี้เราเรียกว่า ความดับ
แห่งกรรม ฯ
[๒๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาอันเป็นเครื่องให้ถึงความดับแห่งกรรม
เป็นไฉน อริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑
สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑ สัมมาวายามะ ๑ สัมมาสติ ๑
สัมมาสมาธิ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทาอันเป็นเครื่องให้ถึงความ
ดับกรรม ฯ
[๒๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรมเก่า กรรมใหม่ ความดับแห่งกรรม
และปฏิปทาอันเป็นเครื่องให้ถึงความดับกรรม เราได้แสดงแล้วแก่ท่านทั้งหลาย
ด้วยประการดังนี้แล กิจใดแล อันเราผู้ศาสดา ผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้
อนุเคราะห์แก่สาวกทั้งหลาย พึงทำ กิจนั้นเราทำแล้วเพราะอาศัยความอนุเคราะห์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่างเปล่า เธอทั้งหลายจงพยายาม อย่า
ประมาท อย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อนใจในภายหลัง นี้เป็นอนุศาสนีของเราเพื่อ
เธอทั้งหลาย ฯ
จบสูตรที่ ๑
**********
แต่ส่งผล ต่อ กายและจิต และสุขทุกข์ บางส่วน (และมีสาเหตุอื่น ตามพระธรรม สิวกสูตร ที่ได้แสดงไว้แล้ว )
ผลกรรมที่ให้ผล ต่อกายและจิต ในชีวิตนี้ ภายหลังการเกิด เช่น
๑๐.
พุทธาปทานชื่อปุพพกัมมปิโลติ
ประวัติในอดีตชาติของพระพุทธเจ้าว่าด้วยบุพกรรมเก่า
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=32&siri=392
ขอบคุณครับ
.
.
.
-----------
เพื่อพิจารณา และกรุณาให้ความเห็น
ขอบคุณพระคุณครับ
.
..
----- ความสุข ความทุกข์ อาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆหรือจากกรรมเก่า /ความจริง เราทำสิ่งใหม่ๆได้ ทั้งบุญ บาป และให้สิ้นกรรมได้
ด้วยมีกระทู้ และความเห็นเกี่ยวกับ ผลของกรรม และกรรมเก่า
ซึ่ง อาจมีทั้งความเห็น ความเข้าใจ ที่ถูกต้องชัดเจน และที่ไม่ถูกต้อง ไม่ชัดเจน
เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ชัดเจน จึงได้พยายาม ศึกษา พระธรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำความเข้าใจ ของตนเอง
และ
เพื่อนำเสนอทุกท่าน เพื่อพิจารณา และกรุณาให้ความเห็น
ดังนี้ ครับ
---------------
----- พระพุทธศาสนา สอนว่า
1. ไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่าง สุขทุกข์ ทุกอย่าง ในชีวิต เกิดจากกรรมเก่า
เพราะ ถ้าเป็นเช่นนั้น เราก็จะทำอะไรใหม่ๆไม่ได้เลย (ถ้าเห็นผิดว่า ทุกอย่างเป็นไปตามกรรมเก่าทั้งหมด)
เทวทหสูตร
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=1&Z=511
ความจริง เราทำสิ่งใหม่ๆได้ ทั้งทำผิด(ทำบาป) และทำถูก(ทำดี) และทำเพื่อให้พ้นจากกรรม(เห็นความจริง หมดความเข้าใจ หลงผิดว่า กายและจิต(ที่ไม่คงที่แม้ชั่วขณะนี้) ว่าเป็นตน หมดกิเลส หมดการกระทำที่เป็นกรรม (กรรมคือการกระทำด้วนเจตนา ของจิตที่มีกิเลสอยู่) และหมดความทุกข์ใจ และหมดทุกข์กายในอนาคต)
กรรมวรรค
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=21&A=6195&Z=6386
2. ความสุข ความทุกข์ ในชีวิต อาจเกิดจาก สาเหตุอื่นๆ หรือ เกิดจากกรรมเก่า
**********
https://84000.org/tipitaka/book/v.php?B=18&A=6098&Z=6131
สิวกสูตร
[๔๒๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน
กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์
ครั้งนั้นแล โมฬิยสิวกปริพาชกเข้า
ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการ
ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมี
วาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า
บุคคลนี้ได้เสวยสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใด
อย่างหนึ่ง
สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขทั้งมวลนั้น มีการกระทำไว้ในปางก่อน
เป็นเหตุ
ก็ในข้อนี้ท่านพระโคดมตรัสอย่างไร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ดูกร สิวกะ
เวทนาบางอย่างมีดีเป็นสมุฏฐานก็มี ย่อมเกิดขึ้นในโลกนี้
ข้อที่เวทนา
บางอย่างซึ่งมีดีเป็นสมุฏฐานเกิดขึ้นในโลกนี้ บุคคลพึงทราบได้เองอย่างนี้ก็มี
โลกสมมติว่าเป็นของจริงก็มีในข้อนั้น
สมณพราหมณ์เหล่าใดมีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า
บุคคลนี้ได้เสวยสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใดอย่างหนึ่ง สุข ทุกข์
หรืออทุกขมสุขทั้งมวลนั้น มีการกระทำไว้ในปางก่อนเป็นเหตุ
ย่อมแล่นไปสู่สิ่ง
ที่รู้ด้วยตนเอง และแล่นไปสู่สิ่งที่สมมติกันว่าเป็นความจริงในโลก เพราะฉะนั้น
เรากล่าวว่า เป็นความผิดของสมณพราหมณ์เหล่านั้น
เวทนาบางอย่างมีเสมหะเป็น
สมุฏฐานก็มี ฯลฯ
มีลมเป็นสมุฏฐานก็มี ฯลฯ
มีร่วมกันเป็นสมุฏฐานก็มี ฯลฯ
เกิดแต่เปลี่ยนฤดูก็มี ฯลฯ
เกิดแต่รักษาตัวไม่สม่ำเสมอก็มี ฯลฯ
เกิดจากการถูกทำร้ายก็มี ฯลฯ
เวทนาบางอย่างเกิดแต่ผลของกรรมก็มี
ย่อมเกิดขึ้นในโลกนี้
ข้อที่เวทนาบางอย่างซึ่งเกิดแต่ผลของกรรมเกิดขึ้นในโลกนี้ บุคคลพึงทราบได้เอง อย่างนี้ก็มี
โลกสมมติว่าเป็นของจริงก็มี
ในข้อนั้นสมณพราหมณ์เหล่าใดมีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ได้เสวยสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใดอย่างหนึ่ง
สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขทั้งมวลนั้น มีการกระทำไว้ในปางก่อนเป็นเหตุ ย่อม
แล่นไปสู่สิ่งที่รู้ด้วยตนเอง และแล่นไปสู่สิ่งที่สมมติกันว่าเป็นความจริงในโลก
เพราะฉะนั้นเรากล่าวว่า เป็นความผิดของสมณพราหมณ์เหล่านั้น ฯ
[๔๒๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว โมฬิยสิวกปริพาชกได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ขอท่านพระโคดมโปรด
ทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะจนตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ
[๔๒๙] เรื่อง
ดี ๑
เสมหะ ๑
ลม ๑
ดี เสมหะ ลม รวมกัน ๑
ฤดู ๑
รักษาตัวไม่สม่ำเสมอ ๑
ถูกทำร้าย ๑
ผลของกรรม ๑
เป็นที่ ๘ ฯ
จบสูตรที่ ๑
**********
3. ร่างกายและจิต ในชาตินี้ เกิดจากจิตในชาติที่แล้ว มีตัณหา(และอวิชชาอยู่) จึงทำให้ เกิดการสะสมผลกรรม เป็นการ ปรุงแต่งที่ดีหรือไม่ดี หรือเฉยๆ (ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร)
แต่ถ้า จิตนั้น ภายหลัง ได้ ตัดกิเลส หมดตัณหาและอวิชชาแล้ว ผลการสะสมปรุงแต่งนั้น ที่จะมีกายและจิตใหม่ เกิดในภูมิภพใหม่ ก็ไม่สามารถให้ผล ต่อไป
**********
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=16&siri=47
๑. ปริวีมังสนสูตร
ว่าด้วยการพิจารณา
...
...
...
........... เธอพิจารณาอยู่ จึงรู้ชัดอย่างนี้ ว่า ‘สังขารทั้งหลายมีอวิชชาเป็นเหตุ มีอวิชชาเป็นเหตุเกิด มีอวิชชาเป็นกำเนิด
มีอวิชชาเป็นแดนเกิด เมื่ออวิชชามี สังขารทั้งหลายจึงมี เมื่ออวิชชาไม่มี สังขาร
ทั้งหลายจึงไม่มี’
ภิกษุนั้นรู้ชัดสังขารทั้งหลาย จึงรู้ชัดความเกิดแห่งสังขาร รู้ชัดความดับแห่ง
สังขาร รู้ชัดปฏิปทาอันเหมาะสมที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร และเธอผู้ปฏิบัติ
อย่างนั้น ชื่อว่าผู้มีปกติประพฤติตามธรรม
ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกภิกษุนี้ว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์ เพื่อความดับ
แห่งสังขารโดยชอบ ทุกประการ
บุรุษบุคคล๑- นี้ตกอยู่ในอวิชชา ถ้าสังขารที่เป็นบุญปรุงแต่ง วิญญาณก็
ประกอบด้วยบุญ ถ้าสังขารที่เป็นบาปปรุงแต่ง วิญญาณก็ประกอบด้วยบาป
ถ้าสังขารที่เป็นอาเนญชาปรุงแต่ง วิญญาณก็ประกอบด้วยอาเนญชา
ในกาลใด
ภิกษุละอวิชชาได้แล้ว วิชชาเกิดขึ้น ในกาลนั้น ภิกษุนั้นก็ไม่ปรุงแต่งปุญญาภิสังขาร๒-
อปุญญาภิสังขาร๓- และอาเนญชาภิสังขาร๔- เพราะกำจัดอวิชชาได้ เพราะมีวิชชา
เกิดขึ้น
เมื่อไม่ปรุงแต่ง ไม่จงใจ ก็ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่น ก็ไม่
สะดุ้งกลัว เมื่อไม่สะดุ้งกลัว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
@เชิงอรรถ :
@๑ บุรุษบุคคล ในที่นี้เป็นพระดำรัสที่พระพุทธเจ้าตรัสเรียกตามสมมติของชาวโลก เพราะพระพุทธเจ้าทุกพระองค์
@มีกถา ๒ อย่าง คือ
(๑) สมมติกถา ถ้อยคำสมมติ ตรัสตามที่โลกสมมติ เช่น ตรัสว่า สัตว์ นระ บุรุษ ติสสะ
@นาคเป็นต้น
(๒) ปรมัตถกถา ถ้อยคำโดยปรมัตถ์ตรัสตามสภาวธรรม เช่นตรัสว่า ขันธ์ ธาตุ อายตนะ
@เป็นต้น
พระพุทธเจ้าเมื่อจะทรงแสดงปรมัตถกถา ก็ไม่ทรงลืมที่จะตรัสสมมติกถา ทั้งนี้เพื่อให้เวไนยสัตว์
@ได้เข้าใจธรรมะนั่นเอง (สํ.นิ.อ. ๒/๕๑/๘๘)
@๒ ปุญญาภิสังขาร คืออภิสังขารที่เป็นบุญ สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี ได้แก่ กุศลเจตนาที่เป็นกามาวจร
@และรูปาวจร (สํ.นิ.อ. ๒/๕๑/๘๙, ขุ.ม.อ. ๒๕/๒๑๖)
@๓ อปุญญาภิสังขาร คืออภิสังขารที่เป็นปฏิปักษ์ต่อบุญคือเป็นบาป สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายชั่ว ได้แก่
@อกุศลเจตนาทั้งหลาย (สํ.นิ.อ. ๒/๕๑/๘๙, ขุ.ม.อ. ๒๕/๒๑๖)
@๔ อาเนญชาภิสังขาร คืออภิสังขารที่เป็นอาเนญชา สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคง ไม่หวั่นไหว ได้แก่ กุศล-
@เจตนาที่เป็นอรูปาวจร ๔ หมายเอาภาวะจิตที่มั่นคงแน่วแน่ด้วยสมาธิแห่งจตุตถฌาน (สํ.นิ.อ. ๒/๕๑/๘๙,
@ขุ.ม.อ. ๒๕/๒๑๖)
...
...
**********
4. การส่งผลของกรรม ไม่ใช่ให้ผลแต่ กาย(อายตนะภายใน1-5)และจิต (อายตนะภายในที่6)
เพียงแต่ ในเวลาเกิด เท่านั้น
พระสูตร(พระธรรม ที่รวบรวมไว้ใน ปิฎกที่2 คือพระสุตตันตปิฎก)
กรรมสูตร
**********
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=18&A=3449&Z=3475
กรรมสูตร
[๒๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงกรรมทั้งใหม่และเก่า ความดับแห่งกรรม และปฏิปทาอันเป็นเครื่องให้ถึงความดับแห่งกรรม ท่านทั้งหลายจงฟัง
จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็กรรมเก่าเป็นไฉน
จักษุอันบัณฑิต
พึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า อันปัจจัยทั้งหลายปรุงแต่งแล้ว สำเร็จด้วยเจตนา เป็น
ที่ตั้งแห่งเวทนา
หู ...
จมูก ...
ลิ้น ...
กาย ...
ใจ
อันบัณฑิตพึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า อัน
ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว สำเร็จด้วยเจตนา เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้เราเรียกว่า กรรมเก่า ฯ
[๒๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมใหม่เป็นไฉน กรรมที่บุคคลทำด้วย
กาย วาจา ใจ ในบัดนี้ นี้เราเรียกว่า กรรมใหม่ ฯ
[๒๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับแห่งกรรมเป็นไฉน
นิโรธที่ถูกต้อง
วิมุตติ เพราะความดับแห่งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม นี้เราเรียกว่า ความดับ
แห่งกรรม ฯ
[๒๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาอันเป็นเครื่องให้ถึงความดับแห่งกรรม
เป็นไฉน อริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑
สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑ สัมมาวายามะ ๑ สัมมาสติ ๑
สัมมาสมาธิ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทาอันเป็นเครื่องให้ถึงความ
ดับกรรม ฯ
[๒๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรมเก่า กรรมใหม่ ความดับแห่งกรรม
และปฏิปทาอันเป็นเครื่องให้ถึงความดับกรรม เราได้แสดงแล้วแก่ท่านทั้งหลาย
ด้วยประการดังนี้แล กิจใดแล อันเราผู้ศาสดา ผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้
อนุเคราะห์แก่สาวกทั้งหลาย พึงทำ กิจนั้นเราทำแล้วเพราะอาศัยความอนุเคราะห์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่างเปล่า เธอทั้งหลายจงพยายาม อย่า
ประมาท อย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อนใจในภายหลัง นี้เป็นอนุศาสนีของเราเพื่อ
เธอทั้งหลาย ฯ
จบสูตรที่ ๑
**********
แต่ส่งผล ต่อ กายและจิต และสุขทุกข์ บางส่วน (และมีสาเหตุอื่น ตามพระธรรม สิวกสูตร ที่ได้แสดงไว้แล้ว )
ผลกรรมที่ให้ผล ต่อกายและจิต ในชีวิตนี้ ภายหลังการเกิด เช่น
๑๐. พุทธาปทานชื่อปุพพกัมมปิโลติ
ประวัติในอดีตชาติของพระพุทธเจ้าว่าด้วยบุพกรรมเก่า
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=32&siri=392
ขอบคุณครับ
.
.
.
-----------
เพื่อพิจารณา และกรุณาให้ความเห็น
ขอบคุณพระคุณครับ
.
..