[ระวัง SPOIL มีการเปิดเผยประเด็นสำคัญของหนัง]
อยากให้หนังยาวกว่านี้อีกมากๆ เพราะเราชอบโลกที่ผู้กำกับ “รัชฏ์ภูมิ บุญบัญชาโชค” สร้างขึ้นมามาก ทั้งในแง่ของโปรดักชั่น สีสัน แสงสี โลเคชั่น บรรยากาศ ตัวละคร และเสียงพากษ์แบบหนังไทยยุคเก่าในครึ่งแรก ที่เป็นทั้งสัญญะ จุดพลิกผัน และกลายเป็นเสน่ห์ของ “อนินทรีย์แดง”
.
ถึงบทสัมภาษณ์ของรัชฏ์ภูมิจะยืนยันว่าไม่ได้คิดถึง Iron Pussy เลย แต่ก็ช่วยไม่ได้จริงๆ ที่เราคิดถึงหนังสั้นชุดนั้นของไมเคิล เชาวนาศัย ด้วยเรื่องราวของ “อังค์” สายลับกะเทยผู้มีชีวิตอีกด้านเป็น
กับภารกิจใหม่ล่าสุดที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล ให้เขาไปตีสนิทกับ “จิตร” หนุ่มนักศึกษาผู้ถูกสงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการบางอย่าง และครั้งนี้อังค์จะต้องสลัดคราบกะเทยแต่งหญิงทิ้งไปเสีย เพราะเธอจะต้องกลายเป็น “อิน” เกย์หนุ่มสวมแว่นท่าทางเรียบร้อย เพื่อทำให้จิตรตกหลุมรักให้ได้
.
เหมือนเคยรู้มาก่อนว่าหนังจะใช้เทคนิคพากษ์เสียงทับให้ตัวละครมีเนื้อเสียงแบบเดียวกับหนังไทยยุคเก่า แต่ก็ลืมไปแล้ว พอเข้าไปนั่งดูในโรงก็เลยมีอาการเหวอๆ อยู่ประมาณ 5 – 10 นาที แล้วพอปรับตัวจูนติดกับการใช้เสียงพากษ์ของตัวละคร อยู่ๆ เหล่าตัวละครก็ค้นพบเสียงจริงของตัวเองขึ้นมา ต่อด้วยฉากเข้าคอร์สฝึกใช้เสียงที่ทั้งเพี้ยนคลั่ง ชวนหัวเราะ ปวดร้าว และหวามไหว แต่เอาเข้าจริง เราไม่ได้อินหรือตื่นเต้นกับประเด็นเรื่อง “เสียง” หรือ “อุดมการณ์ทางการเมือง” อะไรสักเท่าไหร่ เรากลับตื่นเต้นช่วงเวลาของการทำความรู้จัก สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ ทุบทำลายสัมพันธ์ที่สร้างขึ้นมา และกอบกู้ศรัทธาในกันและกันขึ้นมาใหม่ของตัวละครอังค์/อิน และจิตรมากกว่า
.
เทียบเคียงกับโลกแห่งความเป็นจริง การนัดพบกันของเกย์หนุ่มในยุคสมัยนี้ผ่านแอพพลิเคชั่น ต้องผ่านช่วงเวลาของการทำความรู้จักและค้นหาว่า อะไรคือตัวตนจริงๆ ของเค้า แล้งอะไรคือสิ่งที่เค้าสร้างขึ้นฉาบเคลือบเอาไว้ เขาสนใจอ่านหนังสืออะไร ดูหนังแบบไหน มีความคิดความเชื่ออย่างไร แล้วจะทำเช่นไร ถ้าอุดมการณ์ทัศนคติของเราไม่ตรงกัน แล้วถ้าวันนึงเราเป็นฝ่ายทำมันพังไปกับมือตัวเองล่ะ เราจะกล้าที่จะขอโอกาสอีกครั้ง หรือกล้าที่จะให้โอกาสตัวเองอีกครั้งไหม
.
จริงๆ การจบลงด้วยการพบกันอีกครั้งของอังค์/อิน และจิตร ด้วยตัวตนและเสียงที่แท้จริง มันเหมือนจะเป็น Happy Ending นะ แต่ทำไมเราถึงรู้สึกเศร้าก็ไม่รู้ หรือเพราะความรักความสัมพันธ์ของพวกเค้าจะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อพวกเค้าสูญสิ้นอุดมการณ์บางอย่างไปแล้ว (หรือถูกรักษาให้หายแล้ว?) ถูกห่อคลุมไว้ด้วยเครื่องแบบที่รัฐมอบให้ และดำเนินชีวิตไปตามคำแนะนำของรัฐ สิ่งที่เราไม่รู้ก็คือ ต่อจากนี้ไปพวกเค้าจะมีความสุขดีใช่ไหม?
.
ตอนนี้ อนินทรีย์แดง ฉายอยู่ในโปรแกรม "กีรติ ศักดินา พญาอนินทรีย์แดง" (ฉายควบกับ Forget Me Not ผลงานของ จุฬญาณนนท์ ศิริผล) ที่ Doc Club & Pub. อย่าพลาด!
อ่านบทความอื่นๆ ได้ที่
เพจ ชีวิตผมก็เหมือนหนัง
[CR] [Review] อนินทรีย์แดง (2020)
[ระวัง SPOIL มีการเปิดเผยประเด็นสำคัญของหนัง]
อยากให้หนังยาวกว่านี้อีกมากๆ เพราะเราชอบโลกที่ผู้กำกับ “รัชฏ์ภูมิ บุญบัญชาโชค” สร้างขึ้นมามาก ทั้งในแง่ของโปรดักชั่น สีสัน แสงสี โลเคชั่น บรรยากาศ ตัวละคร และเสียงพากษ์แบบหนังไทยยุคเก่าในครึ่งแรก ที่เป็นทั้งสัญญะ จุดพลิกผัน และกลายเป็นเสน่ห์ของ “อนินทรีย์แดง”
.
ถึงบทสัมภาษณ์ของรัชฏ์ภูมิจะยืนยันว่าไม่ได้คิดถึง Iron Pussy เลย แต่ก็ช่วยไม่ได้จริงๆ ที่เราคิดถึงหนังสั้นชุดนั้นของไมเคิล เชาวนาศัย ด้วยเรื่องราวของ “อังค์” สายลับกะเทยผู้มีชีวิตอีกด้านเป็น กับภารกิจใหม่ล่าสุดที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล ให้เขาไปตีสนิทกับ “จิตร” หนุ่มนักศึกษาผู้ถูกสงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการบางอย่าง และครั้งนี้อังค์จะต้องสลัดคราบกะเทยแต่งหญิงทิ้งไปเสีย เพราะเธอจะต้องกลายเป็น “อิน” เกย์หนุ่มสวมแว่นท่าทางเรียบร้อย เพื่อทำให้จิตรตกหลุมรักให้ได้
.
เหมือนเคยรู้มาก่อนว่าหนังจะใช้เทคนิคพากษ์เสียงทับให้ตัวละครมีเนื้อเสียงแบบเดียวกับหนังไทยยุคเก่า แต่ก็ลืมไปแล้ว พอเข้าไปนั่งดูในโรงก็เลยมีอาการเหวอๆ อยู่ประมาณ 5 – 10 นาที แล้วพอปรับตัวจูนติดกับการใช้เสียงพากษ์ของตัวละคร อยู่ๆ เหล่าตัวละครก็ค้นพบเสียงจริงของตัวเองขึ้นมา ต่อด้วยฉากเข้าคอร์สฝึกใช้เสียงที่ทั้งเพี้ยนคลั่ง ชวนหัวเราะ ปวดร้าว และหวามไหว แต่เอาเข้าจริง เราไม่ได้อินหรือตื่นเต้นกับประเด็นเรื่อง “เสียง” หรือ “อุดมการณ์ทางการเมือง” อะไรสักเท่าไหร่ เรากลับตื่นเต้นช่วงเวลาของการทำความรู้จัก สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ ทุบทำลายสัมพันธ์ที่สร้างขึ้นมา และกอบกู้ศรัทธาในกันและกันขึ้นมาใหม่ของตัวละครอังค์/อิน และจิตรมากกว่า
.
เทียบเคียงกับโลกแห่งความเป็นจริง การนัดพบกันของเกย์หนุ่มในยุคสมัยนี้ผ่านแอพพลิเคชั่น ต้องผ่านช่วงเวลาของการทำความรู้จักและค้นหาว่า อะไรคือตัวตนจริงๆ ของเค้า แล้งอะไรคือสิ่งที่เค้าสร้างขึ้นฉาบเคลือบเอาไว้ เขาสนใจอ่านหนังสืออะไร ดูหนังแบบไหน มีความคิดความเชื่ออย่างไร แล้วจะทำเช่นไร ถ้าอุดมการณ์ทัศนคติของเราไม่ตรงกัน แล้วถ้าวันนึงเราเป็นฝ่ายทำมันพังไปกับมือตัวเองล่ะ เราจะกล้าที่จะขอโอกาสอีกครั้ง หรือกล้าที่จะให้โอกาสตัวเองอีกครั้งไหม
.
จริงๆ การจบลงด้วยการพบกันอีกครั้งของอังค์/อิน และจิตร ด้วยตัวตนและเสียงที่แท้จริง มันเหมือนจะเป็น Happy Ending นะ แต่ทำไมเราถึงรู้สึกเศร้าก็ไม่รู้ หรือเพราะความรักความสัมพันธ์ของพวกเค้าจะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อพวกเค้าสูญสิ้นอุดมการณ์บางอย่างไปแล้ว (หรือถูกรักษาให้หายแล้ว?) ถูกห่อคลุมไว้ด้วยเครื่องแบบที่รัฐมอบให้ และดำเนินชีวิตไปตามคำแนะนำของรัฐ สิ่งที่เราไม่รู้ก็คือ ต่อจากนี้ไปพวกเค้าจะมีความสุขดีใช่ไหม?
.
ตอนนี้ อนินทรีย์แดง ฉายอยู่ในโปรแกรม "กีรติ ศักดินา พญาอนินทรีย์แดง" (ฉายควบกับ Forget Me Not ผลงานของ จุฬญาณนนท์ ศิริผล) ที่ Doc Club & Pub. อย่าพลาด!
อ่านบทความอื่นๆ ได้ที่ เพจ ชีวิตผมก็เหมือนหนัง
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้