ทำไมแอลกอฮอล์รักษาสภาพเนื้อเยื่อได้




ปลาฉลามห้วค้อน ที่ถูกดองในแอลกอฮอล์
ใน East Wing of the Natural History Museum ใน Berlin Germany
©  Sean Gallup/Getty Images




ถ้าคุณเคยไปห้องทดลองหรือพิพิธภัณฑ์
แล้วชื่นชมสัตว์ที่เก่าแก่หรือสัตว์ตัวเล็ก ๆ
ที่ตายแล้วลอยอยู่ภายในขวดแก้ว
จะเห็น พลังการถนอมของแอลกอฮอล์
ชื่อทางการของเทคนิคนี้ คือ
การเก็บรักษาด้วยของเหลว
นักวิทยาศาสตร์ได้พึ่งพา Alcohaol
มาตั้งแต่ปี 1600 เพื่อรักษาตัวอย่างเนื้อเยื่อ
ที่อยากรู้อยากเห็นของนักวิทยาศาสตร์
ฃึ่งหากทำอย่างถูกต้อง/ถูกวิธีแล้ว
จะสามารถเก็บตัวอย่างที่ต้องการ
ได้นานหลายร้อยปี ตามข้อมูลของ
พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติอเมริกัน
American Museum of Natural History

แอลกอฮอล์ทำงานได้อย่างไร

ผศ.Bill Carroll ด้านเคมี
Indiana University Bloomington
ให้สัมภาษณฺ์กับ WordsSideKick.com ว่า
" ทั้งความยาวและความสั้นของแอลกอฮอล์
เป็นพิษต่อจุลินทรีย์หลายชนิด
ที่จะทำให้เกิดการสลายตัว
เช่น การใช้ไวน์เป็นตัวอย่าง 
ไวน์ทำมาจากยีสต์กินน้ำตาลจากองุ่น
แล้วปล่อยสารแอลกอฮอล์ออกมา 
แต่ยีสต์ปล่อยแอลกอฮอล์ออกมามาก
จนความเข้มข้นกลายเป็นพิษ/ฆ่ายีสต์ในที่สุด
และปริมาณแอลกอฮอล์นั้น - ประมาณ 14%
ช่วยชะลอการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้
เป็นระยะเวลานานหลายปีเลยทีเดียว
(ไวน์หลายชนิดยังมีสารกันบูด
เพิ่มเติมในตัว เช่น กำมะถัน)
ตามข้อมูลของ California Wine Advisor







" การรักษาสารอินทรีย์อื่น ๆ เช่น DNA 
เนื้อเยื่อ หรือแม้แต่รูปร่างสัตว์ทั้งหมด
ต้องใช้ความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ที่สูงกว่า
และเรามักจะใช้ Ethanol
เพื่อการจัดเก็บในระยะยาว
ตัวอย่างเช่น เก็บตัวอย่างจากปลา
นำตัวอย่างเนื้อเยื่อบางส่วนออกมา
เพื่อวิเคราะห์ DNA
และ/หรือฉีดฟอร์มาลินในปลา
(สารละลายก๊าซฟอร์มัลดีไฮด์ที่ละลายในน้ำ)
เพื่อหยุดกระบวนการทางชีววิทยาภายใน
เช่น ปฏิกิริยาของเอนไซม์
และการเสื่อมสภาพของเนื้อเยื่อ
จากนั้น อาจจะแช่ตัวอย่างปลาในขวด
ที่มีแอลกอฮอล์ 70% และน้ำ 30%
สำหรับการจัดเก็บได้ในระยะยาว 
70% ดูเหมือนจะเป็นตัวเลขมหัศจรรย์
การมีน้ำเพียงพอในสารละลาย
ทำให้เนื้อเยื่อยังคงความชุ่มชื้น
ซึ่งช่วยให้สัตว์หรือตัวอย่างมีรูปร่าง
และมีแอลกอฮอล์เพียงพอที่จะป้องกันเชื้อรา
และการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้ "
Katherine Maslenikov ผู้จัดการฝ่ายรวบรวมปลา
ที่พิพิธภัณฑ์ Burke Museum ใน Seattle






แอลกอฮอล์ที่ความเข้มข้นที่สูงขึ้นไปอีก 
เช่น เอทานอล 95% ทำหน้าที่เป็นสารขจัดน้ำ 
ซึ่งหมายความว่า แอลกอฮอล์จะขจัด
และแทนที่น้ำในเซลล์ เนื้อเยื่อ
หรือตัวอย่างทั่วร่างกายด้วยแอลกอฮอล์
การขาดน้ำทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ของโปรตีนที่ไวต่อน้ำ
พวกมันคลี่ออกหรือทำให้เสียสภาพ
และแข็งตัวในตำแหน่งที่อยู่ติดกัน
ที่อาจจะแก้ไขรูปร่างของตัวอย่างตามที่ Ask a Biologist
ซึ่งเป็นชุดที่ดำเนินการโดย Arkansas State University


คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

Protein Breaking




เทคนิคนี้เป็นวิธีการทั่วไปในการรักษา DNA
จากการศึกษาในปี 2013 ในวารสาร PLOS One







แต่ทั้งนี้ อาจเป็นเรื่องยากที่จะตัดสินใจว่า
จะเลือกใช้ แอลกอฮอล์ที่กี่เปอร์เซ็นต์
การใช้มากหรือน้อยเกินไปอาจส่งผลต่อ
รูปร่างและความยืดหยุ่นของตัวอย่าง
หรืออาจลดความสามารถในการรักษาตัวอย่าง
ในสารละลาย ถ้าความเข้มแอลกอฮอล์สูง
จะทำให้ตัวอย่างแห้งจะช่วยรักษาสภาพไว้ได้

แต่ Katherine Maslenikov ให้เหตุผลว่า
" กระบวนการนี้ยังสามารถปล่อยให้
ตัวอย่างเหี่ยวแห้ง (จากการสูญเสียน้ำ)
และเปราะบาง (จากโปรตีนที่ชุบแข็ง)
บางครั้งก็ไม่เป็นไร  ทุกอย่างขึ้นอยู่กับ
สิ่งที่พยายามจะรักษาไว้(ให้เหมือนเดิมมาก)
ในขณะเดียวกัน  ชิ้นงานทดสอบที่ดอง
ในแอลกอฮอล์มากเกินไป
อาจจะเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็ว
หากเก็บกักน้ำไว้มากเกินไป "
 

“ ถ้าสิ่งมีชีวิตมีน้ำเพียงพอในเนื้อเยื่อ
มันสามารถเจือจางแอลกอฮอล์ได้
หากเป็นเช่นนี้ ความเข้มข้นของแอลกอฮอล์
อาจไม่เพียงพอที่ จะฆ่าจุลินทรีย์ที่แฝงตัวอยู่
ซึ่งอาจจะฝังลึกอยู่ภายในตัวอย่าง
ที่ไหนสักแห่ง เช่น ลำไส้ตัวอย่างสัตว์ทั้งตัว
แบคทีเรียที่หลบซ่อน/หายตัวไปเหล่านั้น
(เพราะแอลกอฮอล์เจือจางลง ฆ่าพวกมันไม่ได้)
พวกมันยังสามารถย่อยสลายเนื้อเยื่อตัวอย่างได้
นี่คือ เหตุผลสำคัญ ที่ต้องเปลี่ยนแอลกอฮอล์
[ประมาณทุก] 24 ชั่วโมงหลังจากการดองสัตว์
เพราะมันจะช่วยเพิ่มความเข้มข้น
ของแอลกอฮอล์ในสารละลายได้ "  
รศ. Christopher Rogers ด้านวิจัย
Kansas Biological Survey and Center
for Ecological Research
ที่ University of Kansas ตอบคำถาม 
Live Science ทาง email







" แต่เมื่อพูดถึงการใช้แอลกอฮอล์เป็นสารกันบูด
พวกคุณกำลังมองหาจุด ที่มีความเข้มข้น
ความเข้มข้นที่จะยับยั้งจุลินทรีย์
แต่ไม่ทำลายโครงสร้างเซลล์
ของสิ่งที่กำลังมองหา/ค้นหา "
Bill Carroll กล่าวสรุป

เรียบเรียง/ที่มา

https://bit.ly/3FtBiRo












เรื่องเล่าไร้สาระ

แอลกอฮอล์ที่ขายกันในท้องตลาดไทย
จะแยกตามภาษาชาวบ้านได้ 2 แบบ คือ
Eating  Eat ได้ Ethanol แอลกอฮอล์
ได้แก่ เหล้าราชการ เหล้าเถื่อน อุ กระแช่ หวาก
ที่ผลิตโดยรัฐหรือโดยราษฏร์
มีแบบเข้มข้มจุดไฟติด หรือวาบไปทั้งทรวงอก
กินแล้วไม่ ไตปับ (ตับไป) ก็ ตายไว (ไตวาย)
ก่อนที่จะหมดสภาพมักจะมีเลือดสัตว์ผสม เช่น
หมา แมว เสือ งู เต่า แสดงกิริยา วาจา ออกมา
เหล้าทุกชนิดกินแล้วเมา ใครไม่เมาจะคืนเงินให้
เจ้าของร้านเหล้าเถื่อนแซวเล่นกับลูกค้า

แอลกอฮอล์พวกนี้กลั่นจากพวกผลไม้ ปลายข้าว
ใช้ในโรงพยาบาล ใช้ล้างแผล ฉีดฆ่าเชื้อโรค
มักจะเติมสีฟ้าเพื่อเตือนให้รู้ว่า ห้ามกิน
แต่ถ้าแบบไม่เติมสีจะใสมาก
กินได้แต่อันตรายต่อร่างกายเพราะร้อนแรงมาก
เว้นแต่เจือจางด้วยน้ำ นำไปแช่พวกสมุนไพร
หรือจับเสือหลายตัวมาอยู่ถ้ำเดียวกัน(เสือ 11 ตัว)
เพราะแอลกอฮอล์เป็นสารทำละลายได้ดีมาก
จิบแต่พอเล็กน้อยเป็นคิลานเภสัช
ทางพระวินัยไม่ห้ามพระภิกษุ ฉันเป็นยา
แต่ห้ามฉันจนเมา ผิดศีลห้า และเป็นโลกวัชระ
มักจะถูกจับสึกถ้าจับได้ว่าพระเมาจากการดื่มสุรา

แอลกอฮอล์อีกประเภทคือ
ม่องเท่ง (ตายสนิท ซี้(ตาย) ม่องเท่ง) มลทิน
Methyl แอกอฮอล์ ทำจากการกลั่นเยื่อไม้
หรือ สารประกอบที่เหลือจากการกลั่นปิโตรเคมี
ใช้เป็นส่วนผสม สารทำละลายในอุตสาหกรรม
มีฤทธิ์กัดเนื้อเยื่อคนใช้งาน ค่อนข้างอันตราย

ในสงฃลาเคยมีข่าว
คนขี้ฉ้อนำม่องเท่งแอลกอฮอล์มาจากคลังเถื่อน
แต่บางคนว่าเป็น Solvent
ของตกค้างในคลังน้ำมัน/ถังเก็บน้ำมัน
ที่ตกค้างขายไม่ออกนานมากแล้ว

สารชนิดนี้ใช้ทำละลาย
ทำความสะอาดในงานอุตสาหกรรม

เอามาผสมน้ำมันก๊าซ น้ำมันเบนซีน
ขายให้กับคนชอบของราคาถูก
ใช้กับรถเครื่อง(จักรยานยนต์) รถยนต์
ผลคือ รถไม่แรง แซงทางโค้งไม่พ้น กับเครื่องพัง
จนเป็นข่าวดังขนาดผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา
ต้องออกเดินหน้าจัดการเรื่องนี้เพราะลงข่าวในไทยรัฐ







น้ำมันแก๊สโซฮอล์
95 91 E10 E20 E85 ในไทยก็ผสมแอลกอฮอล์ (เอทานอล)
ผลคือ รถจอดทิ้งไว้นาน จะ Start ติดยากมาก
ชาวบ้านบอกน้ำมันเน่า (ม่ายแรง ม่ายออกเทน)

น้ำมันมาเลย์จะเป็นเบนซีน 97 ไม่ผสมเอทานอล
ของนอกที่นิยมกันมากแถวชายแดน
แต่ช่วงนี้มาเลย์ปิดประเทศเลยหาซื้อยาก
ราคาถูกกว่าไทยมากตกลิตรละไม่เกิน 20 บาทโดยเฉลี่ย
น้ำมันมาเลย์ขวัญใจรถเครื่องรับจ้างแถวบ้าน
บอกกันเองว่า ราคาถูกกว่า น้ำมันหมดช้ากว่า
น้ำมันแก๊สโฮอล์ที่ขายกันในท้องตลาด

ปั้มปตท. บางปั้มก็มี 95 ไม่มีส่วนผสมเอทานอล
แต่ค่อนข้างแพงตกลิตรละไม่ต่ำกว่า 30 บาท
พวก Bigbike พวกชอบรถแรง นิยมเติมกัน
ส่วนผมก็ชอบเบนซินประเภทนี้ซื้อใส่ถัง 20 ลิตร
เก็บเอาไว้เติมรถเครื่อง Honda Dream Honda ว้าเหว่ (Wave)
Honda Phantom Honda CD125
จะจอดทิ้งไว้เป็นเดือนก็ Start ติดง่ายมาก
น้ำมันเบนซีนมาเลย์ก็อยากซื้อ แต่มีข่าววงในว่า
ช่วงหลังปลอมปน Solvent กับสกปรกกว่าเดิม
เลยจำทนซื้อของ Made in Thailand






บางคนไม่รู้เรื่อง หรือ อวดดี
นำเมทิล มลทิน ม่องเท่งแอลกอฮอล์
เพราะเปอร์เซนสูงมาก
มาผสมน้ำดื่มแทนเหล้า
ดื่มครั้งสองครั้งไม่เป็นไร เกิดติดใจ
ดื่มอีกไม่ตายก็ตาบอดได้
แบบที่เป็นข่าวในอินเดีย
ที่มีคนนำมาผสมขาย จนเป็นข่าวว่า
ขี้เหล้าตาบอด/ตายไปหลายคน
เพราะกินแอลกอฮอล์ชนิดนี้
จนทางรัฐบาลอินเดียต้องออกมาปราบปราม
กับประกาศเตือนขี้เหล้าให้เลิกดื่มเสีย





ในเมืองไทยเริ่มมีการผลิตแอลกอฮอล์
จากกากน้ำตาลของเหลือใช้ในโรงงานผลิตน้ำตาล
ซึ้งแต่เดิมต้องแอบเททิ้ง  หรือขายเป็นส่วนผสมอาหารสัตว์
หรือนำไปราดถนน แล้วจะดูเหมือนราดยางมะตอย
หรือเอาไปทำปุ๋ยหมัก EM พวก คิวเซ เกษตรอินทรีย์

แต่พอช่วง Covid 19  ที่แอลกอฮอล์ขาดตลาดมาก
ทำให้โรงงานผลิตน้ำตาลหลายแห่ง
ได้รับใบอนุญาตเสริมเพิ่มการผลิตแอลกอฮอล์
เป็นรายได้ส่วนหนึ่งจากเดิมต้องหาที่ทิ้งของ/ปล่อยของ
แบบในวิกฤติ ย่อมมีโอกาส  หรือปรับตัวเอาตัวรอดได้
เพราะหลายคนต่างกลัวติดเชื้อ กลัวตายมากขึ้น
การฉีดฆ่าเชื้อด้วยแอลกอฮอล์จะช่วยได้ในระดับหนึ่ง
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่