...เรื่องราวที่ท่านจะได้อ่านต่อไปนี้เป็นเรื่องสกปรก...
เหตุการณ์การปราบปรามที่จัตุรัสเทียนอันเหมินเมื่อปี 1989 เป็นเหตุการณ์โด่งดังที่มีคนรู้จักกันทั่วโลก มันนับเป็นจุดหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญอันหนึ่งในประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่ แต่กลับถูกเซ็นเซอร์หนักในประเทศจีนเอง เพราะรัฐบาลอยากให้ทุกคนลืมความโหดร้ายในการปราบปรามนักศึกษา จนปัจจุบันหากท่านเสิร์ชคำว่า “เทียนอันเหมิน 1989” ลงในเว็บจีน ก็จะแทบไม่พบอะไร
…แต่สิ่งที่บทความนี้เจาะลึกลงไป จะเป็นแง่มุมที่สกปรกกว่าเรื่องการปราบปราม...
ข้อมูลที่เผยแพร่ออกมาใหม่ๆ ในชั้นหลัง ทำให้เราทราบรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับเทียนอันเหมินมากขึ้น ที่สำคัญมันเกี่ยวข้องกับการปฏิรูปที่ทำให้จีนเจริญรุ่งเรืองจนทุกวันนี้เป็นอย่างมาก!
...เทียนอันเหมินยังมีเบื้องลึกเบื้องหลังมากกว่าการประท้วงของนักศึกษา ชนิดที่ว่าอาจพลิกภาพในใจของหลายคนจากขาวเป็นดำ ซึ่งบทความนี้จะพาท่านผู้อ่านย้อนรอยไปทบทวนเหตุการณ์ พร้อมกับตีความข้อมูลต่างๆ ไปพร้อมกันครับ
*** ผลพวงการปฏิรูปเศรษฐกิจจีน ***
การปราบปรามการประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมินเมื่อปี 1989 ถือได้ว่าเป็น “ไคลแม็กซ์” ของความไม่พึงพอใจของประชาชนคนรุ่นใหม่ชาวจีนที่มีต่อการปฏิรูปเศรษฐกิจจีนเป็นแบบทุนนิยมโดยรัฐของเติ้งเสี่ยวผิง นับเป็นจุดพลิกผันหนึ่งในประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่
จากที่ก่อนหน้านั้นยังพอผ่อนปรนให้แสดงความเห็นต่างได้บ้าง แต่หลังจากนั้นจีนได้เข้าสู่ยุคที่มีการเซ็นเซอร์สื่อและปราบปรามผู้ที่ต่อต้านรัฐบาลอย่างเด็ดขาดมาโดยตลอด
...นี่เป็นผลมาจากความกลัวว่าสถานภาพของพรรคคอมมิวนิสต์จีนจะสั่นคลอน…
ภาพแนบ: เติ้งเสี่ยวผิง
เรื่องนี้มีที่มาหลังจากเหมาเจ๋อตงถึงแก่อสัญกรรมในปี 1976 เติ้งเสี่ยวผิงกับพันธมิตรซึ่งเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนสายปฏิรูปสามารถเอาชนะกลุ่มอำนาจเก่าที่มีแนวคิดซ้ายจัด เป็นการปิดฉากการปฏิวัติวัฒนธรรมที่เป็นจุดด่างพร้อยของพรรคมาถึงปัจจุบัน
แม้ไม่มีตำแหน่งเป็นประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี หรือเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ แต่เติ้งได้เป็นผู้นำประเทศจีน “ตัวจริง” ในปี 1978 และเริ่มโครงการ “ปฏิรูปและเปิด” ซึ่งเป็นการปฏิรูปเศรษฐกิจจีนให้รับระบบตลาดแบบทุนนิยม หลังเคยกล่าววาทกรรมว่า “ไม่ว่าแมวขาวหรือแมวดำ ขอเพียงจับหนูได้ก็คือแมวที่ดี”
ภาพแนบ: หูย่าวปัง
รายละเอียดของการปฏิรูปเศรษฐกิจ ประกอบด้วย:
1) การยกเลิกระบบนารวม
2) การเปิดรับการลงทุนต่างประเทศ (รวมทั้งการเปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษ)
3) การอนุญาตให้ผู้ประกอบการตั้งธุรกิจได้
4) การโอนกิจการของรัฐและมอบสัมปทานให้แก่เอกชนบางส่วน
5) การยกเลิกการควบคุมราคา
6) การยกเลิกนโยบายและกฎระเบียบที่กีดกันการค้า (ยกเว้นภาคธนาคารและปิโตรเลียมที่รัฐจีนยังผูกขาด)
เพื่อการนี้ เติ้งได้วางตัวพันธมิตรทางการเมืองที่มีแนวคิดปฏิรูปให้ดำรงตำแหน่งสำคัญ ได้แก่ "จ้าวจื่อหยาง" ผู้เป็นนายกรัฐมนตรี และ "หูย่าวปัง" ผู้เป็นเลขาธิการพรรค
ทั้งสองคนเป็นผู้มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการเปลี่ยนแปลงจีนตามแนวทางใหม่
แม้เราทราบกันว่าการปฏิรูปของเติ้งจะได้ทำให้จีนเจริญรุ่งเรืองในเวลาต่อมา อย่างไรก็ตามการปฏิรูปทุกอย่างย่อมต้องใช้เวลาและมักจะมีอุปสรรคไม่น้อย
เมื่อจีนเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจจากสังคมนิยมเข้าสู่ทุนนิยมใหม่ๆ นั้นได้เกิดปัญหาตามมามากมาย ได้แก่:
- เมื่อรัฐเลิกตรึงราคาสินค้า (ตามแบบสังคมนิยมที่ทำมาหลายสิบปี) แล้วปล่อยให้ราคาเป็นไปตามกลไกตลาด ราคาสินค้าต่างๆ ก็แพงขึ้น มีเงินเฟ้อสูง ในเวลาอันรวดเร็ว
- เกิดปัญหาคอร์รัปชันและการเล่นพวก ส่วนหนึ่งเพราะพวกข้าราชการหันไปใช้เส้นสายกักตุนสินค้าไว้ขายแพงๆ และเมื่อรัฐไม่รับประกันว่าทุกคนจะมีงานทำและมีหลักประกันสังคมอีกต่อไป ทำให้รัฐวิสาหกิจหลายแห่งเลือกรับญาติหรือคนสนิทเข้าทำงานเป็นหลัก ส่วนคนไม่มีการศึกษาก็ตกงานกันมาก
ภาพแนบ: คนหนุ่มสาวจีนนั่งบนรูปเต่าโบราณ ถ่ายปี 1986 หรือยุคที่เริ่มปฏิรูป
- ความตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนทำให้รัฐบาลประสบปัญหา เนื่องจากเมื่อนักศึกษาขาดทางโอกาสอาชีพที่ดีทั้งในและต่างประเทศ พวกเขาจึงมองว่ากลุ่มผู้มีอำนาจที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง เป็นผู้ไร้ความสามารถมาก ถ่วงความเจริญ
- พรรคคอมมิวนิสต์เกิดปัญหาเรื่องความชอบธรรม เนื่องจากตัวเองเคยประกาศว่าจะใช้ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ตามปรัชญาของมาร์กซ์-เลนิน แต่กลับหันมาใช้ระบบทุนนิยมซึ่งอยู่คนละขั้ว
- ภายในผู้นำพรรคระดับสูงเองก็แตกเป็นฝักฝ่าย คือ:
1. ฝ่ายปฏิรูป นำโดย หูย่าวปัง ซึ่งเสนอให้เปิดเสรีทางการเมืองด้วย และให้ประชาชนแสดงความคิดต่างๆ ได้อย่างเสรี
2. กับฝ่ายอนุรักษ์ นำโดย เฉินหยุน ซึ่งเสนอให้รัฐกลับเข้าควบคุมเศรษฐกิจเหมือนเดิมเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเมือง และเพื่อให้ตรงกับอุดมการณ์ของพรรค ทั้งสองฝ่ายต่างต้องการการสนับสนุนจากเติ้ง
ภาพแนบ: ฟางลี่จื่อ
*** นักศึกษาประท้วง ***
ในปี 1986 ฟางลี่จื่อ ซึ่งเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยชาวจีนที่ไปทำงานในสหรัฐ ได้กลับเข้าประเทศจีนและเริ่มปราศรัยเกี่ยวกับเรื่องเสรีภาพ สิทธิมนุษยชน ตลอดจนหลักการแบ่งแยกอำนาจ ซึ่ง “ตรงใจ” ปัญญาชนจีนในสมัยนั้น พวกเขามองว่าปัญหาความยากจนและความบ้าคลั่งที่เกิดจากการปฏิวัติวัฒนธรรมล้วนมีสาเหตุจากระบบเผด็จการของจีน และเศรษฐกิจแบบสั่งการจากส่วนกลาง
ภาพแนบ: การประท้วงในปี 1986
การประท้วงของนักศึกษาค่อยๆ ลามไปตามเมืองใหญ่ทั่วประเทศ ทำให้ผู้นำพรรคออกมาโจมตีว่านักศึกษากำลังสร้างความโกลาหลแบบเมื่อครั้งปฏิวัติวัฒนธรรม โดยชี้ว่าเยาวชนเป็นตัวปัญหา
...ตรงนี้ขอให้ท่านผู้อ่านลองใช้วิจารณญาณกันดูนะครับ ว่าการประท้วงรอบนี้เหมือนหรือต่างจากรอบที่เหมาเจ๋อตงอยู่เบื้องหลังการที่เรดการ์ดโจมตีคู่แข่งทางการเมือง...
ภาพแนบ: หูย่าวปัง (ซ้าย)
ผลทำให้เลขาธิการพรรค หูย่าวปัง ถูกบีบให้ลาออกจากตำแหน่ง เพราะถูกมองว่า “นุ่มนิ่ม” เกินไปปล่อยให้การประท้วงบานปลาย ภายในพรรคยังมีการ “ต่อต้านการเปิดเสรีแบบกระฎุมพี” ซึ่งจริงๆ ก็เป็นข้ออ้างในการกวาดล้างขั้วการเมืองที่เหลืออยู่ของหูนั่นแหละ
...การปลดหูย่าวปังนี้เป็นการตัดสินใจของเติ้ง ...ก็เป็นอันชัดเจนว่าเติ้งคิดว่าปฏิรูปเศรษฐกิจอย่างเดียวก็เพียงพอ และไม่ได้แข็งขันในการเปิดเสรีการเมืองด้วย
ภาพแนบ: ประชาชนชุมนุมกันไว้อาลัยให้หูย่าวปัง
วันที่ 15 เม.ย. 1989 หูย่าวปังซึ่งยังเป็นโปลิตบูโรของพรรคได้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ ซึ่งกำเริบขึ้นกลางการประชุมครั้งหนึ่ง กลายเป็นชนวนการชุมนุมใหญ่ของนักศึกษาซึ่งมองว่าหูเป็นบุคคลที่น่ายกย่อง และที่ผ่านมาคนในพรรคหาเรื่องกลั่นแกล้งเขาอย่างไม่เป็นธรรม
การนี้บีบให้พรรคคอมมิวนิสต์ต้องจัดพิธีศพให้เขาอย่างสมเกียรติ (จากที่ตอนแรกไม่ได้จัดอย่างหรูหรา) แต่ผู้คนก็ยังไม่พอใจ เพราะพลอยโกรธแค้นกับความอยุติธรรมอื่นๆ ด้วย
ภาพแนบ: ประชาชนที่อดอาหารประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน
การประท้วงเนื่องจากเหตุนั้นได้ลากยาวมาเรื่อยๆ พร้อมกับข้อเรียกร้องที่มีการยกระดับมากขึ้น กลายเป็นว่ามีการปักหลักอดอาหารประท้วง โดยเมื่อสื่อรัฐโจมตีนักศึกษาว่า สร้างความโกลาหลโดยไตร่ตรองล่วงหน้าและมีความคิดแบบต่อต้านระบบสังคมนิยมและพรรคคอมมิวนิสต์ในวันที่ 26 เม.ย. 1989 ก็ทำให้นักศึกษาโกรธเคือง และมาเข้าร่วมม๊อบมากขึ้นๆ
ในหมู่ผู้นำพรรคเองก็มีการแตกแยกอยู่ คือเลขาธิการพรรคจ้าวจื่อหยาง (ซึ่งเป็นฝ่ายปฏิรูปร่วมกับหูย่าวปังมาตลอด) ต้องการพูดคุยประนีประนอมกับนักศึกษา ส่วนนายกรัฐมนตรีหลี่เผิงกลับสนับสนุนให้ประกาศกฎอัยการศึกและการใช้ทหารเข้าปราบ
ภาพแนบ: ประชาชนที่อดอาหารประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน
ภาพแนบ: จ้าวจื่อหยาง (คนถือโทรโข่ง) กล่าวสุนทรพจน์ “พวกเราแก่แล้ว และไม่มีความสำคัญอีกต่อไปแล้ว” กับผู้ประท้วงที่จัตุรัส
เชื่อว่าจ้าวจื่อหยางทราบว่าจะมีการสั่งปราบนักศึกษา เขาจึงเดินทางไปยังที่ชุมนุมในวันที่ 19 พ.ค. 1989 และกล่าวปราศรัยกับนักศึกษาที่กำลังอดอาหารเป็นความตอนหนึ่งว่า
“พวกคุณยังหนุ่มสาว แต่พวกเรา (หมายถึงสมาชิกพรรคระดับสูง) แก่แล้ว ...คุณต้องรักษาตัวให้มีชีวิตรอดและมีสุขภาพที่ดี เพื่อให้สามารถอยู่เห็นวันที่จีนประสบความสำเร็จใน 4 ทันสมัย
...พวกคุณไม่เหมือนพวกเรา พวกเราแก่แล้ว และไม่มีความสำคัญอีกต่อไปแล้ว”
จ้าวพูดอย่างเป็นห่วงและรันทด เพราะไม่อยากให้นักศึกษาเอาชีวิตมาทิ้งก่อนที่จะเห็นจีนเจริญรุ่งเรือง
...และนั่นคือการปราศรัยในที่สาธารณะครั้งสุดท้ายของเขา!
ต่อมาจ้าวถูกจับปลด ถูกขังให้อยู่ในบ้านพักจนเสียชีวิตในปี 2005
...ซึ่งเติ้งไม่มีทางไม่รู้เห็นเรื่องนี้…
เมื่อจ้าวออกไปพ้นทางแล้ว ก็ไม่เหลือผู้มีอำนาจที่คัดค้านการปราบปรามผู้ชุมนุมอีก…
มีการประกาศกฎอัยการศึกเมื่อวันที่ 20 พ.ค. และมีการระดมกำลังทหารหลักแสนนายเข้ามายังกรุงปักกิ่ง นำไปสู่การปราบปรามอย่างโหดร้าย...
รายละเอียดของปฏิบัติการปราบในวันที่ 3-4 มิ.ย. 1989 พอสรุปได้ว่า ในช่วงแรกๆ กองทัพเริ่มจากการยิงเตือนเพื่อสลายผู้ชุมนุมก่อน แต่ไม่เป็นผล ต่อมาเมื่อขบวนรถถูกสกัดกั้นด้วยสิ่งกีดขวาง จึงได้เปิดฉากยิงปืนกลใส่ตัวผู้ชุมนุมตรงๆ โดยใช้กระสุนขยายขนาดซึ่งต้องห้ามตามอนุสัญญากรุงเฮกปี 1899! (เพราะทำให้ทุกข์ทรมานเกินไป ไร้มนุษยธรรมเกินไป)
มีบันทึกว่าทหารยิงปืนใส่ผู้ชุมนุมมือเปล่าที่เข้ามาล้อมรถ... หลังจากนั้นก็สาดกระสุนมั่วทำให้มีคนที่มามุงถูกลูกหลงตายเป็นอันมาก!
นอกจากนี้พวกเขายังยิงใส่ตึกรามบ้านช่องแถวนั้น โดนทั้งคนที่อยู่บนระเบียงและด้านในบ้านเสียชีวิต...
ฝ่ายประชาชนเองก็สู้กลับบ้างเหมือนกัน มีการใช้ทั้งไม้ หินและระเบิดขวดโมโลตอฟค็อกเทล จุดไฟเผารถและย่างทหารข้างในสดๆ โดยมีบันทึกว่าบนถนนสายหนึ่งมีพาหนะทหารถูกเผากว่า 100 คัน
หนังสือพิมพ์เดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัลยังรายงานว่า ทหารหลักสิบนายถูกลากออกมาจากรถ ถูกทุบตีจนตาย จากนั้นเปลื้องผ้าศพแล้วแขวนคอไว้ข้างรถ หรือประจานไว้ที่สี่แยกก็มี (ถึงอย่างนั้นสื่อของรัฐจีนรายงานว่ามีทหารเสียชีวิตไม่เกิน 10 นายในเหตุการณ์ดังกล่าว)
*** อ่านต่อใน comment นะครับ ***
*** ถอดรหัสเทียนอันเหมิน 1989: ด้านมืดของการปฏิรูปจีน ***
เหตุการณ์การปราบปรามที่จัตุรัสเทียนอันเหมินเมื่อปี 1989 เป็นเหตุการณ์โด่งดังที่มีคนรู้จักกันทั่วโลก มันนับเป็นจุดหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญอันหนึ่งในประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่ แต่กลับถูกเซ็นเซอร์หนักในประเทศจีนเอง เพราะรัฐบาลอยากให้ทุกคนลืมความโหดร้ายในการปราบปรามนักศึกษา จนปัจจุบันหากท่านเสิร์ชคำว่า “เทียนอันเหมิน 1989” ลงในเว็บจีน ก็จะแทบไม่พบอะไร
…แต่สิ่งที่บทความนี้เจาะลึกลงไป จะเป็นแง่มุมที่สกปรกกว่าเรื่องการปราบปราม...
ข้อมูลที่เผยแพร่ออกมาใหม่ๆ ในชั้นหลัง ทำให้เราทราบรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับเทียนอันเหมินมากขึ้น ที่สำคัญมันเกี่ยวข้องกับการปฏิรูปที่ทำให้จีนเจริญรุ่งเรืองจนทุกวันนี้เป็นอย่างมาก!
...เทียนอันเหมินยังมีเบื้องลึกเบื้องหลังมากกว่าการประท้วงของนักศึกษา ชนิดที่ว่าอาจพลิกภาพในใจของหลายคนจากขาวเป็นดำ ซึ่งบทความนี้จะพาท่านผู้อ่านย้อนรอยไปทบทวนเหตุการณ์ พร้อมกับตีความข้อมูลต่างๆ ไปพร้อมกันครับ
*** ผลพวงการปฏิรูปเศรษฐกิจจีน ***
การปราบปรามการประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมินเมื่อปี 1989 ถือได้ว่าเป็น “ไคลแม็กซ์” ของความไม่พึงพอใจของประชาชนคนรุ่นใหม่ชาวจีนที่มีต่อการปฏิรูปเศรษฐกิจจีนเป็นแบบทุนนิยมโดยรัฐของเติ้งเสี่ยวผิง นับเป็นจุดพลิกผันหนึ่งในประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่
จากที่ก่อนหน้านั้นยังพอผ่อนปรนให้แสดงความเห็นต่างได้บ้าง แต่หลังจากนั้นจีนได้เข้าสู่ยุคที่มีการเซ็นเซอร์สื่อและปราบปรามผู้ที่ต่อต้านรัฐบาลอย่างเด็ดขาดมาโดยตลอด
...นี่เป็นผลมาจากความกลัวว่าสถานภาพของพรรคคอมมิวนิสต์จีนจะสั่นคลอน…
ภาพแนบ: เติ้งเสี่ยวผิง
เรื่องนี้มีที่มาหลังจากเหมาเจ๋อตงถึงแก่อสัญกรรมในปี 1976 เติ้งเสี่ยวผิงกับพันธมิตรซึ่งเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนสายปฏิรูปสามารถเอาชนะกลุ่มอำนาจเก่าที่มีแนวคิดซ้ายจัด เป็นการปิดฉากการปฏิวัติวัฒนธรรมที่เป็นจุดด่างพร้อยของพรรคมาถึงปัจจุบัน
แม้ไม่มีตำแหน่งเป็นประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี หรือเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ แต่เติ้งได้เป็นผู้นำประเทศจีน “ตัวจริง” ในปี 1978 และเริ่มโครงการ “ปฏิรูปและเปิด” ซึ่งเป็นการปฏิรูปเศรษฐกิจจีนให้รับระบบตลาดแบบทุนนิยม หลังเคยกล่าววาทกรรมว่า “ไม่ว่าแมวขาวหรือแมวดำ ขอเพียงจับหนูได้ก็คือแมวที่ดี”
ภาพแนบ: หูย่าวปัง
รายละเอียดของการปฏิรูปเศรษฐกิจ ประกอบด้วย:
1) การยกเลิกระบบนารวม
2) การเปิดรับการลงทุนต่างประเทศ (รวมทั้งการเปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษ)
3) การอนุญาตให้ผู้ประกอบการตั้งธุรกิจได้
4) การโอนกิจการของรัฐและมอบสัมปทานให้แก่เอกชนบางส่วน
5) การยกเลิกการควบคุมราคา
6) การยกเลิกนโยบายและกฎระเบียบที่กีดกันการค้า (ยกเว้นภาคธนาคารและปิโตรเลียมที่รัฐจีนยังผูกขาด)
เพื่อการนี้ เติ้งได้วางตัวพันธมิตรทางการเมืองที่มีแนวคิดปฏิรูปให้ดำรงตำแหน่งสำคัญ ได้แก่ "จ้าวจื่อหยาง" ผู้เป็นนายกรัฐมนตรี และ "หูย่าวปัง" ผู้เป็นเลขาธิการพรรค
ทั้งสองคนเป็นผู้มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการเปลี่ยนแปลงจีนตามแนวทางใหม่
แม้เราทราบกันว่าการปฏิรูปของเติ้งจะได้ทำให้จีนเจริญรุ่งเรืองในเวลาต่อมา อย่างไรก็ตามการปฏิรูปทุกอย่างย่อมต้องใช้เวลาและมักจะมีอุปสรรคไม่น้อย
เมื่อจีนเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจจากสังคมนิยมเข้าสู่ทุนนิยมใหม่ๆ นั้นได้เกิดปัญหาตามมามากมาย ได้แก่:
- เมื่อรัฐเลิกตรึงราคาสินค้า (ตามแบบสังคมนิยมที่ทำมาหลายสิบปี) แล้วปล่อยให้ราคาเป็นไปตามกลไกตลาด ราคาสินค้าต่างๆ ก็แพงขึ้น มีเงินเฟ้อสูง ในเวลาอันรวดเร็ว
- เกิดปัญหาคอร์รัปชันและการเล่นพวก ส่วนหนึ่งเพราะพวกข้าราชการหันไปใช้เส้นสายกักตุนสินค้าไว้ขายแพงๆ และเมื่อรัฐไม่รับประกันว่าทุกคนจะมีงานทำและมีหลักประกันสังคมอีกต่อไป ทำให้รัฐวิสาหกิจหลายแห่งเลือกรับญาติหรือคนสนิทเข้าทำงานเป็นหลัก ส่วนคนไม่มีการศึกษาก็ตกงานกันมาก
ภาพแนบ: คนหนุ่มสาวจีนนั่งบนรูปเต่าโบราณ ถ่ายปี 1986 หรือยุคที่เริ่มปฏิรูป
- ความตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนทำให้รัฐบาลประสบปัญหา เนื่องจากเมื่อนักศึกษาขาดทางโอกาสอาชีพที่ดีทั้งในและต่างประเทศ พวกเขาจึงมองว่ากลุ่มผู้มีอำนาจที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง เป็นผู้ไร้ความสามารถมาก ถ่วงความเจริญ
- พรรคคอมมิวนิสต์เกิดปัญหาเรื่องความชอบธรรม เนื่องจากตัวเองเคยประกาศว่าจะใช้ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ตามปรัชญาของมาร์กซ์-เลนิน แต่กลับหันมาใช้ระบบทุนนิยมซึ่งอยู่คนละขั้ว
- ภายในผู้นำพรรคระดับสูงเองก็แตกเป็นฝักฝ่าย คือ:
1. ฝ่ายปฏิรูป นำโดย หูย่าวปัง ซึ่งเสนอให้เปิดเสรีทางการเมืองด้วย และให้ประชาชนแสดงความคิดต่างๆ ได้อย่างเสรี
2. กับฝ่ายอนุรักษ์ นำโดย เฉินหยุน ซึ่งเสนอให้รัฐกลับเข้าควบคุมเศรษฐกิจเหมือนเดิมเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเมือง และเพื่อให้ตรงกับอุดมการณ์ของพรรค ทั้งสองฝ่ายต่างต้องการการสนับสนุนจากเติ้ง
ภาพแนบ: ฟางลี่จื่อ
*** นักศึกษาประท้วง ***
ในปี 1986 ฟางลี่จื่อ ซึ่งเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยชาวจีนที่ไปทำงานในสหรัฐ ได้กลับเข้าประเทศจีนและเริ่มปราศรัยเกี่ยวกับเรื่องเสรีภาพ สิทธิมนุษยชน ตลอดจนหลักการแบ่งแยกอำนาจ ซึ่ง “ตรงใจ” ปัญญาชนจีนในสมัยนั้น พวกเขามองว่าปัญหาความยากจนและความบ้าคลั่งที่เกิดจากการปฏิวัติวัฒนธรรมล้วนมีสาเหตุจากระบบเผด็จการของจีน และเศรษฐกิจแบบสั่งการจากส่วนกลาง
ภาพแนบ: การประท้วงในปี 1986
การประท้วงของนักศึกษาค่อยๆ ลามไปตามเมืองใหญ่ทั่วประเทศ ทำให้ผู้นำพรรคออกมาโจมตีว่านักศึกษากำลังสร้างความโกลาหลแบบเมื่อครั้งปฏิวัติวัฒนธรรม โดยชี้ว่าเยาวชนเป็นตัวปัญหา
...ตรงนี้ขอให้ท่านผู้อ่านลองใช้วิจารณญาณกันดูนะครับ ว่าการประท้วงรอบนี้เหมือนหรือต่างจากรอบที่เหมาเจ๋อตงอยู่เบื้องหลังการที่เรดการ์ดโจมตีคู่แข่งทางการเมือง...
ภาพแนบ: หูย่าวปัง (ซ้าย)
ผลทำให้เลขาธิการพรรค หูย่าวปัง ถูกบีบให้ลาออกจากตำแหน่ง เพราะถูกมองว่า “นุ่มนิ่ม” เกินไปปล่อยให้การประท้วงบานปลาย ภายในพรรคยังมีการ “ต่อต้านการเปิดเสรีแบบกระฎุมพี” ซึ่งจริงๆ ก็เป็นข้ออ้างในการกวาดล้างขั้วการเมืองที่เหลืออยู่ของหูนั่นแหละ
...การปลดหูย่าวปังนี้เป็นการตัดสินใจของเติ้ง ...ก็เป็นอันชัดเจนว่าเติ้งคิดว่าปฏิรูปเศรษฐกิจอย่างเดียวก็เพียงพอ และไม่ได้แข็งขันในการเปิดเสรีการเมืองด้วย
ภาพแนบ: ประชาชนชุมนุมกันไว้อาลัยให้หูย่าวปัง
วันที่ 15 เม.ย. 1989 หูย่าวปังซึ่งยังเป็นโปลิตบูโรของพรรคได้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ ซึ่งกำเริบขึ้นกลางการประชุมครั้งหนึ่ง กลายเป็นชนวนการชุมนุมใหญ่ของนักศึกษาซึ่งมองว่าหูเป็นบุคคลที่น่ายกย่อง และที่ผ่านมาคนในพรรคหาเรื่องกลั่นแกล้งเขาอย่างไม่เป็นธรรม
การนี้บีบให้พรรคคอมมิวนิสต์ต้องจัดพิธีศพให้เขาอย่างสมเกียรติ (จากที่ตอนแรกไม่ได้จัดอย่างหรูหรา) แต่ผู้คนก็ยังไม่พอใจ เพราะพลอยโกรธแค้นกับความอยุติธรรมอื่นๆ ด้วย
ภาพแนบ: ประชาชนที่อดอาหารประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน
การประท้วงเนื่องจากเหตุนั้นได้ลากยาวมาเรื่อยๆ พร้อมกับข้อเรียกร้องที่มีการยกระดับมากขึ้น กลายเป็นว่ามีการปักหลักอดอาหารประท้วง โดยเมื่อสื่อรัฐโจมตีนักศึกษาว่า สร้างความโกลาหลโดยไตร่ตรองล่วงหน้าและมีความคิดแบบต่อต้านระบบสังคมนิยมและพรรคคอมมิวนิสต์ในวันที่ 26 เม.ย. 1989 ก็ทำให้นักศึกษาโกรธเคือง และมาเข้าร่วมม๊อบมากขึ้นๆ
ในหมู่ผู้นำพรรคเองก็มีการแตกแยกอยู่ คือเลขาธิการพรรคจ้าวจื่อหยาง (ซึ่งเป็นฝ่ายปฏิรูปร่วมกับหูย่าวปังมาตลอด) ต้องการพูดคุยประนีประนอมกับนักศึกษา ส่วนนายกรัฐมนตรีหลี่เผิงกลับสนับสนุนให้ประกาศกฎอัยการศึกและการใช้ทหารเข้าปราบ
ภาพแนบ: ประชาชนที่อดอาหารประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน
ภาพแนบ: จ้าวจื่อหยาง (คนถือโทรโข่ง) กล่าวสุนทรพจน์ “พวกเราแก่แล้ว และไม่มีความสำคัญอีกต่อไปแล้ว” กับผู้ประท้วงที่จัตุรัส
เชื่อว่าจ้าวจื่อหยางทราบว่าจะมีการสั่งปราบนักศึกษา เขาจึงเดินทางไปยังที่ชุมนุมในวันที่ 19 พ.ค. 1989 และกล่าวปราศรัยกับนักศึกษาที่กำลังอดอาหารเป็นความตอนหนึ่งว่า
“พวกคุณยังหนุ่มสาว แต่พวกเรา (หมายถึงสมาชิกพรรคระดับสูง) แก่แล้ว ...คุณต้องรักษาตัวให้มีชีวิตรอดและมีสุขภาพที่ดี เพื่อให้สามารถอยู่เห็นวันที่จีนประสบความสำเร็จใน 4 ทันสมัย
...พวกคุณไม่เหมือนพวกเรา พวกเราแก่แล้ว และไม่มีความสำคัญอีกต่อไปแล้ว”
จ้าวพูดอย่างเป็นห่วงและรันทด เพราะไม่อยากให้นักศึกษาเอาชีวิตมาทิ้งก่อนที่จะเห็นจีนเจริญรุ่งเรือง
...และนั่นคือการปราศรัยในที่สาธารณะครั้งสุดท้ายของเขา!
ต่อมาจ้าวถูกจับปลด ถูกขังให้อยู่ในบ้านพักจนเสียชีวิตในปี 2005
...ซึ่งเติ้งไม่มีทางไม่รู้เห็นเรื่องนี้…
เมื่อจ้าวออกไปพ้นทางแล้ว ก็ไม่เหลือผู้มีอำนาจที่คัดค้านการปราบปรามผู้ชุมนุมอีก…
มีการประกาศกฎอัยการศึกเมื่อวันที่ 20 พ.ค. และมีการระดมกำลังทหารหลักแสนนายเข้ามายังกรุงปักกิ่ง นำไปสู่การปราบปรามอย่างโหดร้าย...
รายละเอียดของปฏิบัติการปราบในวันที่ 3-4 มิ.ย. 1989 พอสรุปได้ว่า ในช่วงแรกๆ กองทัพเริ่มจากการยิงเตือนเพื่อสลายผู้ชุมนุมก่อน แต่ไม่เป็นผล ต่อมาเมื่อขบวนรถถูกสกัดกั้นด้วยสิ่งกีดขวาง จึงได้เปิดฉากยิงปืนกลใส่ตัวผู้ชุมนุมตรงๆ โดยใช้กระสุนขยายขนาดซึ่งต้องห้ามตามอนุสัญญากรุงเฮกปี 1899! (เพราะทำให้ทุกข์ทรมานเกินไป ไร้มนุษยธรรมเกินไป)
มีบันทึกว่าทหารยิงปืนใส่ผู้ชุมนุมมือเปล่าที่เข้ามาล้อมรถ... หลังจากนั้นก็สาดกระสุนมั่วทำให้มีคนที่มามุงถูกลูกหลงตายเป็นอันมาก!
นอกจากนี้พวกเขายังยิงใส่ตึกรามบ้านช่องแถวนั้น โดนทั้งคนที่อยู่บนระเบียงและด้านในบ้านเสียชีวิต...
ฝ่ายประชาชนเองก็สู้กลับบ้างเหมือนกัน มีการใช้ทั้งไม้ หินและระเบิดขวดโมโลตอฟค็อกเทล จุดไฟเผารถและย่างทหารข้างในสดๆ โดยมีบันทึกว่าบนถนนสายหนึ่งมีพาหนะทหารถูกเผากว่า 100 คัน
หนังสือพิมพ์เดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัลยังรายงานว่า ทหารหลักสิบนายถูกลากออกมาจากรถ ถูกทุบตีจนตาย จากนั้นเปลื้องผ้าศพแล้วแขวนคอไว้ข้างรถ หรือประจานไว้ที่สี่แยกก็มี (ถึงอย่างนั้นสื่อของรัฐจีนรายงานว่ามีทหารเสียชีวิตไม่เกิน 10 นายในเหตุการณ์ดังกล่าว)
*** อ่านต่อใน comment นะครับ ***