ขั้นตอนเจริญ สมถะและวิปัสสนา
ถามว่า พระภิกษุสงฆ์ นักปฏิบัติธรรม โยคี เจริญสมถกรรมฐาน เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ด้วยการเดินจงกรมช้าๆ ทำอะไรช้าๆ เพื่ออะไร?
ตอบว่า เพื่อตั้งสติ ดำรงสติ เพื่อให้เกิดสมาธิ เป็นการฝึกดำรงสติ
ทำอย่างนี้ก็เป็นการเจริญสมาธิ ไม่ใช่เจริญวิปัสสนาใช่ไหม?
ตอบว่า อย่างนี้เป็นจุดเริ่มต้น อาจจะมีขั้นที่ ๑-๒-๓-๔-๕ เราอาจจะเห็นเขาทำแค่ขั้นเดียว
การเจริญสมถกรรมฐาน และเจริญวิปัสสนากรรมฐานมีทั้งหมด ๕ ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ ๑ ฝึกการตั้งสติสัมปชัญญะ ด้วยอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน เพื่อให้เกิดสติสัมปชัญญะรู้เท่าทันความเคลื่อนไหวของกายและรู้เท่าทันความเคลื่อนไหวของจิต จิตคิดอะไรก็รู้
สติ คือ ตัวรับรู้อารมณ์ตามธรรมชาติ เป็นธรรมชาติตัวหนึ่งที่รับรู้อารมณ์
สัมปชัญญะ คือ มาพิจารณาแห่งปัญญา ว่าดีหรือไม่ดี เริ่มมีจิตผสม คือ ตัวสติบวกปัญญา
ขั้นตอนที่ ๒ ฝึกสติปัฏฐาน ๔ ได้แก่ กาย เวทนา จิต ธรรม
"การพิจารณากายในกาย" คือ เขาเอาไฟมาจี้เรา เราเจ็บไหม? ตัวไฟที่มาจี้เรา นี่แหละเป็น "กายภายนอก" ส่วนตัวที่รู้ว่าเจ็บที่เกิดจากทางกายนั่นแหละเป็น "ในกาย" หมายความว่า ร่างกายเราโดนไฟจี้ แต่จะมีประสาทมารับรู้ต่ออีกทีหนึ่ง
่ "การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา" หมายความว่า เรามีความทุกข์ร้อน ความสงสาร ความเจ็บปวด จิตข้างในก็คือรับรู้ความเจ็บปวดนั้นๆ หมายความว่า ร่างกายตัวเราเกิดเวทนาแล้ว แต่ในจิตเราไปรับรู้ข้างในแห่งความเจ็บปวดนั้นอีก และอีกอย่าง บางคนก็เกิดความเจ็บใจ
"การพิจารณาเห็นจิตในจิต" คือ มีจิตอีกตัวหนึ่งที่มองเห็นจิตตัวนี้คิด ก็คือตัวสติสัมปชัญญะ ยกตัวอย่างเช่น เราคิดจะไปขโมยโทรศัพท์เขา แต่มีอีกจิตหนึ่ง ก็คือ สติสัมปชัญญะ มาบอกว่า การขโมยนี้เป็นสิ่งไม่ดี ไม่ควรทำ จะก่อให้เกิดโทษต่างๆ นานา เราจะต้องมีอกเขา-อกเรา หากว่าใครมาขโมยโทรศัพท์ของเราไป เราก็เสียใจ เช่นเดียวกันถ้าเราไปขโมยโทรศัพท์ของเขา เขาก็เกิดความเสียใจเหมือนกัน
"การพิจารณาธรรมในธรรม" เป็นยังไง ยกตัวอย่าง เรามองเห็นพระอาทิตย์นี่ก็คือธรรม แต่เราจะเปรียบเทียบพระอาทิตย์กับข้างในยังไง เป็นปรัชญา พระอาทิตย์ที่แสดงออกมานั้นเป็นรูปธรรม แต่ที่อยู่ข้างในพระอาทิตย์นั้นเป็นปรัชญา ยกตัวอย่างเช่น เราเปรียบเทียบพระอาทิตย์เหมือนกับปัญญาก็ได้ เพราะให้แสงสว่างแก่เรา เปรียบเทียบความมืดเป็นอวิชชา ความไม่รู้สิ่งต่างๆ อย่างนี้ก็ได้ เป็นปรัชญา ก็เป็นการพิจารณาธรรมในธรรม
ขั้นตอนที่ ๓ เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ด้วยการตั้งหัวข้อขึ้นมา ยกเรื่องขึ้นมา ว่าเราจะเจริญวิเคราะห์พิจารณาข้อธรรมตัวไหน เช่น พิจารณาความรัก การกินข้าว การอาบน้ำ ด่า นินทา ฆ่าสัตว์ ปล่อยปลา
พิจารณาด้วยหลักโยนิโสมนสิการ คือ การคิดพิจารณาตั้งแต่ต้นเหตุไปถึงผล ผลไปถึงเหตุ ให้ครบวงจรตามภาวะจริงแท้แห่งธรรม ด้วยการพิจารณามีแนวทางดังนี้
ความเป็นจริง ณ ภาวะนี้
๑. เกิดอะไรขึ้น
๒. มีเหตุอะไรถึงเกิดเช่นนี้
๓. ต้นตอแห่งเหตุ
๔. หาความจริงแห่งเหตุของต้นตอนั้นๆ
๕. "จริง" มีอะไรแท้ จึงต้องมาเป็นจริงอย่างนั้น
ยกตัวอย่าง เจริญอริยสัจแห่งกรรม เช่น ถ้าเราแค้นอดีตผัว/เมีย
๑. ทำไมถึงเกิดอกุศลกรรม (.....) นี้ได้?
๒. ทำไมยังจองอกุศกรรม (.....) นี้อยู่?
๓. เราตั้งใจหวังผลอะไรกับในสิ่งที่เป็นอกุศลกรรมนี้?
๔. เราจองแล้ว เมื่อไหร่ถึงจะประจักษ์ในอกุศลกรรมนี้ หรือได้รับผลจากอกุศลกรรมนี้?
๕. ทำไมเราถึงละทิ้ง ยกทิ้งอกุศลกรรมนี้ไม่ได้?
๖. ถ้าเราทำเหตุเช่นนี้ ผลที่จะได้รับคืออะไร?
๗. ในเมื่อผลเกิดเช่นนี้ เรายังจะเอาอกุศลกรรมอยู่ไหม? แต่ถ้าไม่เอาเราจะมีวิธีการเช่นใด เราก็จะต้องทำยังไง?
๘. ทำไมต้องละ ทำไมต้องวาง ทำไมต้องให้ลดลง ในเมื่อเราปฏิบัติอย่างนี้แล้ว อกุศลกรรมมันลดลงแล้วจะมีผลดีต่อเรายังไงบ้าง?
ขั้นตอนที่ ๔ สรุปกรรมตรงนั้นว่ามันคืออะไรๆ เป็นยังไง ถูกยังไง ผิดยังไง
ขั้นตอนที่ ๕ ตั้งปณิธานมีความมุ่งมั่นว่าเราจะทำตาม จะปฏิบัติตาม สิ่งที่เราได้สรุปกรรมนั้นๆที่ได้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน
เรารู้ว่าตรงนี้ผิด แล้วเราจะสรุปว่าเราจะต้องตั้งปณิธานว่าสิ่งที่ไม่ดี เราจะลดละอะไร ส่วนสิ่งที่ดีเราจะทำเพิ่มอะไรบ้าง ทำอย่างไร
คนส่วนใหญ่เจริญสมถและวิปัสสนากรรมฐาน มักจะทำไม่ครบองค์เช่นนี้
ส่วนบางคนนั่งสมาธิแล้ว พอเกิดสมาธิ ได้สมาธิแล้ว ก็จะดำเนินตาม ๕ ขั้นตอนนี้ ถ้าเราปฏิบัติเช่นนี้ถึงจะเกิดกุศล อานิสงส์
ข้อ ๑-๒ เป็นสมถกรรมฐาน และข้อ ๓-๕ เป็นวิปัสสนากรรมฐาน
ขั้นตอนเจริญ สมถะและวิปัสสนา
ถามว่า พระภิกษุสงฆ์ นักปฏิบัติธรรม โยคี เจริญสมถกรรมฐาน เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ด้วยการเดินจงกรมช้าๆ ทำอะไรช้าๆ เพื่ออะไร?
ตอบว่า เพื่อตั้งสติ ดำรงสติ เพื่อให้เกิดสมาธิ เป็นการฝึกดำรงสติ
ทำอย่างนี้ก็เป็นการเจริญสมาธิ ไม่ใช่เจริญวิปัสสนาใช่ไหม?
ตอบว่า อย่างนี้เป็นจุดเริ่มต้น อาจจะมีขั้นที่ ๑-๒-๓-๔-๕ เราอาจจะเห็นเขาทำแค่ขั้นเดียว
การเจริญสมถกรรมฐาน และเจริญวิปัสสนากรรมฐานมีทั้งหมด ๕ ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ ๑ ฝึกการตั้งสติสัมปชัญญะ ด้วยอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน เพื่อให้เกิดสติสัมปชัญญะรู้เท่าทันความเคลื่อนไหวของกายและรู้เท่าทันความเคลื่อนไหวของจิต จิตคิดอะไรก็รู้
สติ คือ ตัวรับรู้อารมณ์ตามธรรมชาติ เป็นธรรมชาติตัวหนึ่งที่รับรู้อารมณ์
สัมปชัญญะ คือ มาพิจารณาแห่งปัญญา ว่าดีหรือไม่ดี เริ่มมีจิตผสม คือ ตัวสติบวกปัญญา
ขั้นตอนที่ ๒ ฝึกสติปัฏฐาน ๔ ได้แก่ กาย เวทนา จิต ธรรม
"การพิจารณากายในกาย" คือ เขาเอาไฟมาจี้เรา เราเจ็บไหม? ตัวไฟที่มาจี้เรา นี่แหละเป็น "กายภายนอก" ส่วนตัวที่รู้ว่าเจ็บที่เกิดจากทางกายนั่นแหละเป็น "ในกาย" หมายความว่า ร่างกายเราโดนไฟจี้ แต่จะมีประสาทมารับรู้ต่ออีกทีหนึ่ง
่ "การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา" หมายความว่า เรามีความทุกข์ร้อน ความสงสาร ความเจ็บปวด จิตข้างในก็คือรับรู้ความเจ็บปวดนั้นๆ หมายความว่า ร่างกายตัวเราเกิดเวทนาแล้ว แต่ในจิตเราไปรับรู้ข้างในแห่งความเจ็บปวดนั้นอีก และอีกอย่าง บางคนก็เกิดความเจ็บใจ
"การพิจารณาเห็นจิตในจิต" คือ มีจิตอีกตัวหนึ่งที่มองเห็นจิตตัวนี้คิด ก็คือตัวสติสัมปชัญญะ ยกตัวอย่างเช่น เราคิดจะไปขโมยโทรศัพท์เขา แต่มีอีกจิตหนึ่ง ก็คือ สติสัมปชัญญะ มาบอกว่า การขโมยนี้เป็นสิ่งไม่ดี ไม่ควรทำ จะก่อให้เกิดโทษต่างๆ นานา เราจะต้องมีอกเขา-อกเรา หากว่าใครมาขโมยโทรศัพท์ของเราไป เราก็เสียใจ เช่นเดียวกันถ้าเราไปขโมยโทรศัพท์ของเขา เขาก็เกิดความเสียใจเหมือนกัน
"การพิจารณาธรรมในธรรม" เป็นยังไง ยกตัวอย่าง เรามองเห็นพระอาทิตย์นี่ก็คือธรรม แต่เราจะเปรียบเทียบพระอาทิตย์กับข้างในยังไง เป็นปรัชญา พระอาทิตย์ที่แสดงออกมานั้นเป็นรูปธรรม แต่ที่อยู่ข้างในพระอาทิตย์นั้นเป็นปรัชญา ยกตัวอย่างเช่น เราเปรียบเทียบพระอาทิตย์เหมือนกับปัญญาก็ได้ เพราะให้แสงสว่างแก่เรา เปรียบเทียบความมืดเป็นอวิชชา ความไม่รู้สิ่งต่างๆ อย่างนี้ก็ได้ เป็นปรัชญา ก็เป็นการพิจารณาธรรมในธรรม
ขั้นตอนที่ ๓ เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ด้วยการตั้งหัวข้อขึ้นมา ยกเรื่องขึ้นมา ว่าเราจะเจริญวิเคราะห์พิจารณาข้อธรรมตัวไหน เช่น พิจารณาความรัก การกินข้าว การอาบน้ำ ด่า นินทา ฆ่าสัตว์ ปล่อยปลา
พิจารณาด้วยหลักโยนิโสมนสิการ คือ การคิดพิจารณาตั้งแต่ต้นเหตุไปถึงผล ผลไปถึงเหตุ ให้ครบวงจรตามภาวะจริงแท้แห่งธรรม ด้วยการพิจารณามีแนวทางดังนี้
ความเป็นจริง ณ ภาวะนี้
๑. เกิดอะไรขึ้น
๒. มีเหตุอะไรถึงเกิดเช่นนี้
๓. ต้นตอแห่งเหตุ
๔. หาความจริงแห่งเหตุของต้นตอนั้นๆ
๕. "จริง" มีอะไรแท้ จึงต้องมาเป็นจริงอย่างนั้น
ยกตัวอย่าง เจริญอริยสัจแห่งกรรม เช่น ถ้าเราแค้นอดีตผัว/เมีย
๑. ทำไมถึงเกิดอกุศลกรรม (.....) นี้ได้?
๒. ทำไมยังจองอกุศกรรม (.....) นี้อยู่?
๓. เราตั้งใจหวังผลอะไรกับในสิ่งที่เป็นอกุศลกรรมนี้?
๔. เราจองแล้ว เมื่อไหร่ถึงจะประจักษ์ในอกุศลกรรมนี้ หรือได้รับผลจากอกุศลกรรมนี้?
๕. ทำไมเราถึงละทิ้ง ยกทิ้งอกุศลกรรมนี้ไม่ได้?
๖. ถ้าเราทำเหตุเช่นนี้ ผลที่จะได้รับคืออะไร?
๗. ในเมื่อผลเกิดเช่นนี้ เรายังจะเอาอกุศลกรรมอยู่ไหม? แต่ถ้าไม่เอาเราจะมีวิธีการเช่นใด เราก็จะต้องทำยังไง?
๘. ทำไมต้องละ ทำไมต้องวาง ทำไมต้องให้ลดลง ในเมื่อเราปฏิบัติอย่างนี้แล้ว อกุศลกรรมมันลดลงแล้วจะมีผลดีต่อเรายังไงบ้าง?
ขั้นตอนที่ ๔ สรุปกรรมตรงนั้นว่ามันคืออะไรๆ เป็นยังไง ถูกยังไง ผิดยังไง
ขั้นตอนที่ ๕ ตั้งปณิธานมีความมุ่งมั่นว่าเราจะทำตาม จะปฏิบัติตาม สิ่งที่เราได้สรุปกรรมนั้นๆที่ได้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน
เรารู้ว่าตรงนี้ผิด แล้วเราจะสรุปว่าเราจะต้องตั้งปณิธานว่าสิ่งที่ไม่ดี เราจะลดละอะไร ส่วนสิ่งที่ดีเราจะทำเพิ่มอะไรบ้าง ทำอย่างไร
คนส่วนใหญ่เจริญสมถและวิปัสสนากรรมฐาน มักจะทำไม่ครบองค์เช่นนี้
ส่วนบางคนนั่งสมาธิแล้ว พอเกิดสมาธิ ได้สมาธิแล้ว ก็จะดำเนินตาม ๕ ขั้นตอนนี้ ถ้าเราปฏิบัติเช่นนี้ถึงจะเกิดกุศล อานิสงส์
ข้อ ๑-๒ เป็นสมถกรรมฐาน และข้อ ๓-๕ เป็นวิปัสสนากรรมฐาน