สารานุกรมปืนตอนที่ 876 ปืนหามแล่น

[ "ปืนหามแล่น" หรือ "ปืนขานกยาง" ]



... ปืนหามแล่นนั้น จัดเป็นปืนใหญ่สนามขนาดเล็ก ที่มีลำกล้องยาวราวสัก 3 - 4 ศอก ใช้ลูกกระสุนที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้วครึ้ง โดยเป็นปืนที่สามารถทำการเคลื่อนย้ายได้อย่างสะดวก และรวดเร็วด้วยกำลังพลแค่ 3 นาย
... ปืนแบบนี้ได้เริ่มใช้กันมาตั้งแต่เมื่อครั้งสมัยอยุธยา และใช้กันเรื่อยมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งไม่ได้มีไว้ใช้เพื่อหวังผลในการทำลายป้อม หรือค่ายแต่อย่างใด แต่นำมาใช้ในสนามรบ เพื่อหวังผลในการสังหารเป็นหลัก ซึ่งความยาวของปืนนี้มีความยาวเฉลี่ยประมาณ ๕๐ นิ้ว เวลาใช้งานนั้นต้องวางไว้บนแท่นยิง หรือขาหยั่งที่ทำจากไม้ต่อมาก็มีขาหยั่งที่ทำจากเหล็กด้วย ซึ่งมีรูปร่างคล้ายกับขานก และด้วยเหตุนี้เองจึงเรียกกันอีกชื่อว่า ปืนขานกยาง ซึ่งปืนหามแล่นนั้น จะนิยมใช้ในกองทหารราบ ส่วนปืนขานกยางที่หมุนได้รอบตัวนั้นจะนิยมใช้ตั้งบนเรือไม่ก็ตั้งบนหลังช้างศึก และอีกแบบคือการถือหิ้วเป็นปืนสนามในการรบแบบเคลื่อนที่ก็ได้เช่นกัน แต่น้ำหนักที่หนักเอาการ จึงนิยมตั้งบนขาหยั่งมากกว่า
... ลักษณะทั่วไปของปืนหาบแล่นนี้ สามารถนำไปตั้งบนขาทรายหรือขาหยั่งทั้งแบบ 3 ขา หรือ 2 ขา ที่ตั้งไว้ตรงคู่หน้าที่เมื่อตั้งขึ้นแล้วจะมีรูปแบบคล้ายขาของนกกระยาง ซึ่งน่าจะเป็นที่มาของชื่อ ปืนนกกระยาง และในส่วนของขาหลังนั้นจะยึดตามความยาวของลำกล้องปืนไปจนถึงส่วนท้ายสุดของลำกล้อง
... การยิงปืน "หามแล่น" หรือ "ปืนขานกยาง" นั้น ต้องมีพลยิงประจำ 3 นาย ดังที่ปรากฎเป็นบันทึกในลิลิตไปขัดทัพพม่าของ สมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาศักดิพลเสพย กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ที่ว่า.. "ทัพขันจ่ายปืนครึ่ง กึ่งพลหามแล่นบอกสามค ร้อยถ้วน"
... อีกอย่างปืนหาบแล่นหรือปืนขานกยางนั้น นอกจากสามารถนำมาตั้งบนขาหยั่ง เพื่อทำการยิงในเชิงการรบแบบตั้งรับ หรือป้อมปืนขนาดเล็กได้แล้ว ยังสามารถนำมาใช้เป็นปืนสนามสำหรับแบกหิ้วในกองทหารที่ทำการรบแบบเคลื่อนที่ได้ด้วย โดยทหาร 2 นาย หิ้วปืนโดยมีที่จับเพื่อปะคองปืนไว้คนละด้าน และอีก 1 นาย ทำหน้าที่เป็นพลยิง ซึ่งถือเป็นปืนที่ใช้ในการรบหลายได้แบบทีเดียว
... ปืนหามแล่นนี้ ส่วนมากจะนำไปใช้โดยเหล่าหทารมหาดเล็ก, สนมทหาร หรือ สนมตำรวจ ที่จะใช้งานตอนเมื่อเวลาเป็นผู้ที่ไปทำหน้าที่ จุกช่อง หรือ ล้อมวง ทั้งบนบก และลอยเรือ ซึ่งจะเฝ้าอยู่ตามจุดต่างๆ ในระหว่างทางที่มีการเสด็จพระราชดำเนินผ่าน ทั้งทางสถลมารคและทางชลมารค ทั้งนี้ก็เพื่อทำหน้าที่ในการถวายอารักขาและคุ้มครองในด้านความปลอดภัย
... นอกจากนี้แล้วนั้น ในยามศึกหรือยามมีราชการสงคราม ปืนหามแล่นนี้ ก็ยังสามารถที่จะนำไปใช้ในการสู้รบในศึกสงครามแบบกลางแปลงได้ด้วยตามที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น แต่ส่วนมากที่นิยมใช้นั้นจะเป็นรูปแบบการตั้งขาหยั่งที่เรียกว่าขานกยางมากกว่า แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการรบแบบหิ้วเคลื่อนที่ยิงก็มีด้วยเช่นกัน
... โดยปืนชนิดนี้นั้นดังที่กล่าวมาข้างต้น ได้ช่วยสร้างขวัญ และกำลังใจให้ทหารไทยในยุคนั้นได้เป็นอย่างดี ทั้งการเข้าตี และตั้งรับ โดยจำนวนที่มีใช้ในกองทัพสยามสมัยนั้นก็มีมากมายไม่น้อยเลย อีกทั้งประเทศเพื่อนบ้านเราเองก็มีใช้ด้วยเช่นกัน ปืนชนิดนี้นั้นมีทั้งแบบที่เป็นปืนเหล็ก และที่เป็นปืนทองเหลือง โดยคาดว่าปืนที่เป็นแบบทองเหลืองนั้น อาจจะถูกหล่อขึ้นเพื่อใช้กันเองในภูมิภาคนี้ก็เป็นได้ เพราะบางกระบอกก็มีลวดลายประจำถิ่นภูมิภาคนี้
.. ในปัจจุบันนี้ เป็นที่น่าเสียดายยิ่ง เพราะว่าเหลือข้อมูลเกี่ยวกับปืนชนิดนี้ให้ดูน้อยมาก แต่เมื่อเร็วๆ นี้หากใครได้เคยชมภาพยนตร์ฝรั่งที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับกบฏนักมวยในจีนนั้น ก็ยังมีให้ได้เห็นกันอยู่..

@แอดมินกอล์ฟ.. : D

https://www.facebook.com/warofhistory/photos/a.424714767593655/493041577427640/



สวัสดีครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่