เช้าวันไหว้พระจันทร์ถือโอกาสใส่ชุดสวยนำโหง่วหยิ่งเปี้ย และโถ่วเหลี่ยงเปี้ย (มูนเค๊กไส้โหงวยิ้งและไส้ทุเรียน)
มาไหว้ปึงเถ่ากง ศาลเจ้าริมน้ำ ตลาดหัวตะเข้ค่ะ ช่างประจวบเหมาะกับที่เจ้าลูกชายคนเล็กต้องนำงานมาส่งที่ วท.ช่างศิลป์พอดี
ไหว้เสร็จได้กลับบ้านพร้อมกัน
ปีนี้อาตั่วแจ้ตั้งใจมาทำขนมที่บ้านแม่นันค่ะ ซึ่งแม่นันก็ดีใจมากเพราะจะได้ดูแลอาตั่วแจ้ได้ใกล้ชิดหน่อย เพราะอายุเยอะแล้ว
ขาก็ไม่ค่อยแข็งแรง ถ้าไปทำที่บ้านอาแจ้ อาแจ้ชอบคอยที่จะทำนู่นทำนี่ให้น้องกิน เดินเข้าออกครัวทังวัน กลัวลื่นล้มค่ะ
...แปลกพอมาบ้านน้องกลับยอมให้น้องปรนนิบัติแต่โดยดี ว่านอนสอนง่าย ฮ่าฮ่า อาตั่วแจ้ใจดีค่ะ เลี้ยงแม่นันมาตั้งแต่เล็กๆเลยนะคะ ..
..หยุดเรื่องครอบครัวอยู่แค่นี้ดีกว่า เดี๋ยวยาววววว
มาว่าเรื่องของขนมไหว้พระจันทร์ไส้โหงวยิ้งกันก่อนดีกว่าค่ะ ของที่บ้าน..อาตั่วแจ้จะคงสูตรโหง่วหยิ่งเปี้ยแบบดั้งเดิมไว้มาสามสิบกว่าปีแล้วค่ะ
พอถึงเดือนไหว้พระจันทร์ก็จะเตรียมเคี่ยวน้ำตาล สั่งวัตถุดิบ และจะไม่ยอมลด..เปลี่ยน.หรือเพิ่มส่วนผสมเด็ดขาด
ซึ่งแม่นันก็เห็นด้วย เพราะทุกอย่างผสมเข้ากันได้อย่างลงตัวมากๆ สมัยเด็กๆแม่นันคิดว่า "โหงวยิ้ง" มีเพียงธัญพืชห้าอย่างดั่งชื่อ
แต่พอทำเป็นแล้ว โหงวยิ้งจะอร่อยกลมกล่อมไม่ได้เลยถ้าขาดตัวใดตัวหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นส่วนเค็มจากหมูอบ กุนเชียง หมูแผ่น
และส่วนที่ทำให้ตัวขนมจับตัวกันได้ดี ไม่ร่วน รวมแล้วทั้งหวานทั้งเค็ม ทั้งเครื่องปรุง 18 อย่าง แค่เห็นรายละเอียดส่วนผสม
ใครไม่ใจเย็นจริง รับรองทำไม่ได้ค่ะ
มาดูตัวหลักๆบางตัวค่ะ
ฟักเชื่อม ..อาตั่วแจ้จะสั่งซื้อฟักเชื่อมจากเจ้าประจำที่ทำให้บ้านเราโดยเฉพาะค่ะ ซื้อทีเป็นสิบกิโล ฟักจะต้องเชื่อมให้ได้ที่
หวานกำลังดี นำมาหั่นเต๋าเล็กๆ กำลังดี ขนาดกำลังดีในที่นี้คือดูตามรูปค่ะ เราถึงกับต้องคัดเลือกมือหั่นจากหลานทั้งหลายเลยนะคะ
หมูอบต้องหมักเองอบเอง หั่นเต๋าเล็กเล็กเช่นกัน หมูจะไม่ซื้อที่หมักสำเร็จรูปมาเด็ดขาด (คอนเซปบรรพบุรุษค่ะ)
ไม่ว่าจะเป็นมาม้า ไม่ว่าจะคุณแม่สามี รวมอาตั่วแจ้ เหมือนกันหมด ซึ่งแม่นันมองว่าดีนะคะ ทำให้เราซึมซับความละเอียด
ความใส่ใจในทุกขั้นตอนมาด้วยค่ะ เพราะแม่นันเองก็ชอบหมักเองมากกว่าค่ะ เพราะเมนูแต่ละอย่างมีวิธีหมักที่ทำให้ออกมาอร่อยต่างกัน
ที่ยากที่สุดคือการหั่นมันหมูให้เป็นลูกเต๋าค่ะ รอบนี้คุณแม่บ้านอาตั่วแจ้อาสาหั่นมาให้ แม่นันเปิดกล่องออกมาแทบล้มทั้งยืน
เพราะเต๋าของนางคือเหลี่ยมบ้าง ยาวบ้าง แบนบ้าง แม่นันต้องนำมาเกลาใหม่ทีละชิ้น ทีละชิ้น หมดไปครึ่งวัน
ยากกว่าการซื้อใหม่แล้วมาหั่นอีกค่ะ
วัตถุดิบทุกตัวต้องนำมาหั่นเต๋า ยกเว้นธัญพืชบางตัว สังเกตภาพที่อาตั่วแจ้กำลังใช้มีดกดสับอัลมอนด์และเม็ดมะม่วงฯดีๆนะคะ
ลองทายสิคะ ทำไมเราไม่ใช้วิธีใส่ถุงแล้วใช้ไม้ทุบ ซึ่งง่ายและเร็วกว่าวิธีดั้งเดิมของอาแจ้มากเลย
สุดท้ายโหงวยิ้งจะอร่อยกลมกล่อมไม่ได้เลยถ้าขาดความเผ็ดหอมของพริกไทยบดเอง และน้ำมันหอมจากใบมะกรูดสดซอย
เน้นค่ะ ต้องใบมะกรูดสดๆ และไม่ซอยทิ้งไว้เด็ดขาด อาตั่วแจ้ให้ซอยใหม่เส้นเล็กเล็กตอนผสมเลยค่ะ
เป็นไงคะ นี่แค่บางส่วนที่เล่ามานะคะ ยังไปไม่ถึงแป้งที่ทำเป็นเปลือกหุ้ม และน้ำเชื่อมที่เคี่ยวเองอีก 3-5 ชม.
และต้องทิ้งไว้เจ็ดวันอย่างน้อยก่อนนำมาปรุงอีกต่างหาก แม่นันไม่อยากจะบอกเลยว่าเมื่อคืนแม่นันเคี่ยวไว้อีกหนึ่งหม้อเบอร์ 32
มาได้นอนตอนตีสองค่ะ
เป็นไงคะ..เสน่ห์ความอร่อยของโหง่วหยิ่งเปี้ย...
ว่าด้วยเรื่องขนมไหว้พระจันทร์
ปีนี้อาตั่วแจ้ตั้งใจมาทำขนมที่บ้านแม่นันค่ะ ซึ่งแม่นันก็ดีใจมากเพราะจะได้ดูแลอาตั่วแจ้ได้ใกล้ชิดหน่อย เพราะอายุเยอะแล้ว
มาว่าเรื่องของขนมไหว้พระจันทร์ไส้โหงวยิ้งกันก่อนดีกว่าค่ะ ของที่บ้าน..อาตั่วแจ้จะคงสูตรโหง่วหยิ่งเปี้ยแบบดั้งเดิมไว้มาสามสิบกว่าปีแล้วค่ะ
มาดูตัวหลักๆบางตัวค่ะ
ฟักเชื่อม ..อาตั่วแจ้จะสั่งซื้อฟักเชื่อมจากเจ้าประจำที่ทำให้บ้านเราโดยเฉพาะค่ะ ซื้อทีเป็นสิบกิโล ฟักจะต้องเชื่อมให้ได้ที่
หมูอบต้องหมักเองอบเอง หั่นเต๋าเล็กเล็กเช่นกัน หมูจะไม่ซื้อที่หมักสำเร็จรูปมาเด็ดขาด (คอนเซปบรรพบุรุษค่ะ)
ที่ยากที่สุดคือการหั่นมันหมูให้เป็นลูกเต๋าค่ะ รอบนี้คุณแม่บ้านอาตั่วแจ้อาสาหั่นมาให้ แม่นันเปิดกล่องออกมาแทบล้มทั้งยืน
วัตถุดิบทุกตัวต้องนำมาหั่นเต๋า ยกเว้นธัญพืชบางตัว สังเกตภาพที่อาตั่วแจ้กำลังใช้มีดกดสับอัลมอนด์และเม็ดมะม่วงฯดีๆนะคะ
สุดท้ายโหงวยิ้งจะอร่อยกลมกล่อมไม่ได้เลยถ้าขาดความเผ็ดหอมของพริกไทยบดเอง และน้ำมันหอมจากใบมะกรูดสดซอย
เป็นไงคะ..เสน่ห์ความอร่อยของโหง่วหยิ่งเปี้ย...