“สารทจีน” (ชิกหง่วยปั่ว) วันปล่อยผี
ขออภัยอย่างสูงเลยค่ะ มัวแต่วุ่นวายกับออเดอร์ จนเพิ่งนึกขึ้นได้ว่าลืมนำความสำคัญของวันสารทจีนมาเล่าสู่กัน วันนี้ (18 สค.) คือวันตรงของปีนี้ค่ะ ไม่เป็นไรนะคะ สารทต่างๆของจีนหมุนวนมาอย่างรวดเร็วตลอดปีค่ะ นี่อีกไม่นานก็จะไหว้พระจันทร์อันอีกแล้ว
สารทจีนถือเป็นวันสำคัญมากวันหนึ่ง ถือเป็นสารทบุญใหญ่แห่งปีก็ว่าได้
ชาวจีนเชื่อกันว่าวันเพ็ญ 15 ค่ำเดือน 7 เป็นวันซึ่งวิญญาณของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว จะได้กลับมาเยือนโลกมนุษย์เพื่อมาเยี่ยมครอบครัวของตน เพราะฉะนั้น ในวันนี้ชาวจีนจะทำพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษกันทุกครัวเรือน
แม่นันจำได้ว่าตอนเด็กๆเวลาถึงสารทจีนทีไร อาอึ้ม (คุณแม่) จะเตรียมอาหารคาวหวานมากมายไว้ไหว้บรรพบุรุษ บอกด้วยว่าทำเผื่อเยอะๆสำหรับไหว้ "ฮอเฮียตี๋" ด้วย (วิญญาณพี่น้องเพื่อนฝูงที่ไร้ญาติ) อาหมวยเล็กในวัยขนาดนั้นไม่เข้าใจหรอกค่ะว่าทำไม กลับกลายเป็นความสนุก..ตื่นเต้นมากกว่า เพราะจะได้ช่วยอาอึ้มปักธูปบนอาหารทุกจาน
สมัยก่อนสาร์ทจีนถือเป็นวันสำคัญพอๆกับวันตรุษจีนเลยค่ะ ทุกคนได้หยุด ได้แต่งตัวสวยๆ เด็กๆวิ่งเล่นสนุกสนาน เพียงแต่สมัยนี้ปรับเปลี่ยนลดขั้นตอนการไหว้ลงมาเยอะ สมัยแม่นันเด็กๆเห็นอาอึ้มจัดเตรียมอาหารในการไหว้ทีเป็นวัน เตรียมตั้งแต่คืนก่อนวันไหว้ด้วยซ้ำค่ะ สามทุ่มเป็นต้นไปก็ต้องจุดธูป บอกตี่จู้ (เจ้าที่) ว่าพรุ่งนี้เป็นวันสารทจีน (ชิกหง่วยปั่ว) แล้วนะคะ จะอัญเชิญตี่จู้ เหล่าเจ็ก แป๊ะกงลงมารับประทานอาหารคาวหวาน ไม่เฉพาะบอกกล่าวเจ้าที่เจ้าทางเท่านั้น ยังต้องจุดธูปปักบริเวณรอบสนามทางเดิน หน้าบ้าน บอกกล่าววิญญาณสัมพเวสีทั้งหลายด้วยค่ะ ว่าเตรียมตัวมารับอาหารคาวหวานที่พวกเราจะทำให้กินกันนะ อย่าลืมไปบอกวิญญาณอื่นๆที่รู้จักให้มารับอาหารเหล่านี้ด้วยนะ จุดธูปทีเป็นกำ เดินไปเชิญไป ปักธูปไปจนกว่าธูปจะดับ (ตระกูลลี้ของแม่นันก็มีเพียงอาตั่วแจ้ที่ยังรักษาการไหว้แบบเดิมนี้อยู่ เพียงแต่เปลี่ยนการจุดธูปบอกกล่าวจากกลางคืนมาเป็นช่วงสายๆก่อนจะมีการไหว้) ถ้าสารทจีนปีไหนแม่นันมีไปไหว้ที่บ้านอาตั่วแจ้ แม่นันจะรับอาสาเดินปักธูปบอกกล่าววิญญาณสัมพเวสีต่างๆให้มารับอาหารในวันนั้น (บรรยากาศไม่อินเหมือนเชิญตอนกลางคืนเลย)
เช้าตรู่เราจะจัดซาแซ/โหง่วแซ (เนื้อสัตว์สามอย่าง/ห้าอย่าง ไหว้ตี่จู้ (เจ้าที่) ก่อน สงสัยมั้ยคะทำไมบางบ้านไหว้สามอย่าง บางบ้านไหว้ห้าอย่าง มีมากก็ไหว้มาก มีน้อยก็ไหว้น้อยค่ะ ทำที่เราสะดวกค่ะ
พอช่วงสายจะเตรียมอาหารคาวหวานหลากหลายไหว้บรรพบุรุษ อาหารที่เตรียมจะเป็นอาหารที่มีชื่อเป็นศิริมงคล นำโชคดีมาให้ ไม่ว่าจะเป็นซาลาเปา ก๋วยท้อ (กุ้ยช่ายรูปท้อสีชมพู) ผัดหมี่ซั่ว ปู่โควฉ่าย หรือชุงฉ่ายที่แม่นันทำประจำ เขาะคะน้าลุ้ย (ตุ๋นกะหล่ำปลี) ไช้เถ่าก้วย (ขนมผักกาด) พูดถึงขนมผักกาด **แม่นันดีใจนะคะว่า แม้ว่าจะไม่ได้ทำให้อาอึ้มได้ทานตอนเป็น แต่ในวันที่ท่านไม่อยู่แล้ว แม่นันได้ทำให้ท่านทานทุกวันสารทเลย** และอาหารอื่นๆที่บรรพบุรุษชอบทาน รวมทั้งขนม/ผลไม้ที่มีชื่อมงคล เช่นขนมถ้วยฟู ส้มโอ กล้วย แอ๊ปเปิล ส้ม (ไต่กิก) ขนมเข่ง ขนมเทียน (ของอร่อยช่วงสารทจีน) และที่ขาดไม่ได้คือกระดาษเงิน กระดาษทอง รวมทั้งเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มกระดาษ ตามที่ลูกหลานอยากส่งไห้บรรพบุรุษได้ใช้
แม่นันถามอาแจ้ว่า "ซื้อบ้านและรถมาไหว้ด้วยได้มั้ย"
อาตั่วแจ้บอกว่า "บ้านและรถ" เราจะไหว้ในวันเชงเม้งเท่านั้น ส่วนคนรับใช้ที่เราเคยจ้างให้ไปดูแลบรรพบุรุษเราในวันทำกงเต็ก ไม่ต้องเปลี่ยน ไม่ต้องจ้างคนใหม่ให้ท่าน เพราะสองคนนี้จะอยู่ปรนนิบัติและดูแลท่านตลอดไป “
ตกบ่าย..มาแล้วค่ะ ช่วงบ่ายนี้จะเป็นการไหว้สัมพเวสี แม่นันจำได้..ตอนเด็กๆแม่นันจะตื่นเต้นมาก ไม่รู้หรอกเค้าไหว้อะไร ไหว้ใคร เพราะไม่มีรูปเหมือนตี่จู้ (เจ้าที่) หรือรูปบรรพบุรุษให้เรากราบไหว้ แต่กลับมามาตั้งอาหารไว้หน้าบ้านเยอะแยะเต็มไปหมด ... อาอึ้มจะให้เด็กๆช่วยกันปูเสื่อผืนใหญ่ๆสีแดงไว้หน้าบ้าน จากนั้นเราก็จะช่วยกันยกอาหารคาวหวาน รวมทั้งขนม (น่าทานทั้งนั้น) ไปจัดวาง อาตั่วแจ้เล่าให้ฟังว่า อาหารที่เตรียมไหว้สัมพเวสี เราจะเตรียมอาหารเป็นหม้อใหญ่ๆ อย่างละหม้อ อย่างละหม้อ ยิ่งเยอะยิ่งดี มีข้าวสวย ข้าวสาร รวมทั้งถ่านหุงต้มด้วยนะ ขนมนมเนย อยากจัดอะไรจัดมาเลย ยิ่งทำให้เค้าเยอะเราก็จะได้บุญกลับมาเยอะ พวกเราเด็กๆก็จะได้ช่วยกันปักธูปทีละดอกลงบนอาหารทุกหม้อ ทุกจาน สมัยก่อนทำอาหารเยอะจริงๆ ก้มปักไปหมุนไปจนงงไปหมด นี่ถ้าอาหมวยน้อยในวันนั้นนุ่งกระโปรงสั้นๆ ผีสางนางไม้คงได้เห็นกุงเกงในสีแดงแน่ๆ อิอิ ...ปักธูปบนอาหารแล้ว ก็เดินปักตามพื้นดินรอบๆบ้านด้วยค่ะ เหมือนเป็นการเชิญให้พวกเค้ามาทานอาหารที่เราเตรียมไว้ให้ค่ะ
อาตั่วแจ้บอกว่า ที่ต้องมีอีกคือ เสื้อคอกลม กางเกงเป็นสิบๆชุด สีน้ำเงิน ต้องสีน้ำเงินด้วยนะ (สมัยนี้เริ่มมีสีสันลายต่าง) อาแจ้บอกว่าเหมือนประมาณว่าสัมพเวสีมาทานอาหารกันมากมาย พวกเค้าจะได้ใส่ชุดสีและแบบเหมือนๆกัน รวมทั้งกระดาษเงินกระดาษทองและอ่วงแซจี๊ (ใบเบิกทาง) ขาดไม่ได้ เราต้องเผาไปให้พวกเค้าได้ใช้กันด้วย
เล่ามาถึงตรงนี้ อาตั่วแจ้บอกว่า กระดาษทองจะใช้วิธีพับให้เป็นก้อนทอง โดยม้วนให้กลมแล้วกดปลายทั้งสองด้านลง และกดให้แบน (พับแบบนี้เท่านั้นสำหรับให้สัมพเวสี) ส่วนกระดาษเงินทองที่เป็นมัดๆเราพับสอดไปมาเป็นกรวยได้ สำหรับใบเบิกทางเปรียบเสมือนพาสปอร์ตให้เค้าเดินทางกลับไปอย่างสวัสดิภาพ
เมื่อไหว้สัมพเวสีเสร็จแล้ว อาหารเหล่านี้เรา (เจ้าบ้าน) จะไม่นำกลับมาทานนะคะ เพราะรสชาติอาหารจะจืดชืดไม่เหมือนเดิม แล้วทำไมอาหารที่ไหว้สัมพเวสีแล้วถึงได้จืดชืด ไม่อร่อยเหมือนเดิม? ..... อาแจ้เล่าว่า ที่ห้ามนำกลับมาทานอีก เพราะถือว่าเราได้แจกจ่ายให้พวกเค้าแล้ว พอพวกสัมพเวสีทานอาหารของเราแล้ว ก็เสมือนลิ้มเอารสชาติไปหมด อาหารจึงจืดชืด และอาหารส่วนนี้เราก็แจกจ่ายชาวบ้าน พ่อค้าแม่ค้าในตลาด ใครอยากทานสามารถเข้ามาหยิบทานได้เลย เปรียบเสมือนเราเปิดโรงทาน ยิ่งตามโรงเจ.เวลาไหว้ทีจะเตรียมขนมอร่อยๆเป็นหม้อๆใหญ่ โดยเฉพาะต้มเผือก และต้มธัญพืชต่างๆ อาแจ้เล่าว่าเวลาอาแจ้ไหว้เสร็จ..ชาวบ้านพ่อค้าแม่ค้าในตลาดเค้าจะรู้ ก็จะเข้าหยิบทานกันอย่างเอร็ดอร่อย ใครอยากได้ข้าวสาร ถ่านหุงต้ม หรือน้ำมันพืช สามารถหยิบกลับไปใช้ที่บ้านได้เลย อาแจ้บอกว่าวันนั้นอาแจ้จะได้รับแต่คำขอบคุณ ขอบคุณ ได้บุญใหญ่ไปเลยค่ะ
วันนี้จึงถือเป็นวันปล่อยผี (วิญญาณไม่มีญาติ) ตามศาลเจ้าจะมีงานทิ้งกระจาดด้วย ไหว้ผีไหว้วิญญาณเสร็จก็จะมีการแจกอาหาร ของแห้งต่างๆ ให้กับชาวบ้านได้นำไปใช้ประโยชน์กัน
เขียนเสร็จคิดถึงอาอึ้มค่ะ เพราะพอไหว้เสร็จอาอึ้มก็จะแบ่งอาหารเป็นจานๆ “โน้วอ่า เขียะ จีปั่วเมะ คื้อโหะ อาเฮีย แก๊ะเปียะ, จีปั่วเมะ โหะ ฮือ ฮ้งไหล” (ลูกจ๋า จานนี้ให้อาเฮียข้างบ้านนะ สำหรับจานนี้ให้บ้านนู้นนะ) แล้วอาหมวยน้อยคนนี้ก็วิ่งไปวิ่งมาจนเหนื่อยกว่าจะได้หนีบน่องเป็ดไปนั่งแทะเล่น
บ้านใครไหว้สารทจีนกันบ้างคะ มีไหว้ฮอเฮียตี๋ (วิญญาณไม่มีญาติ) กันด้วยรึเปล่าเอ่ย
สารทจีน (ชิกเหว่ยปั่ว) วันปล่อยผี ความเชื่อคนจีน
สารทจีนถือเป็นวันสำคัญมากวันหนึ่ง ถือเป็นสารทบุญใหญ่แห่งปีก็ว่าได้
ชาวจีนเชื่อกันว่าวันเพ็ญ 15 ค่ำเดือน 7 เป็นวันซึ่งวิญญาณของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว จะได้กลับมาเยือนโลกมนุษย์เพื่อมาเยี่ยมครอบครัวของตน เพราะฉะนั้น ในวันนี้ชาวจีนจะทำพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษกันทุกครัวเรือน
แม่นันจำได้ว่าตอนเด็กๆเวลาถึงสารทจีนทีไร อาอึ้ม (คุณแม่) จะเตรียมอาหารคาวหวานมากมายไว้ไหว้บรรพบุรุษ บอกด้วยว่าทำเผื่อเยอะๆสำหรับไหว้ "ฮอเฮียตี๋" ด้วย (วิญญาณพี่น้องเพื่อนฝูงที่ไร้ญาติ) อาหมวยเล็กในวัยขนาดนั้นไม่เข้าใจหรอกค่ะว่าทำไม กลับกลายเป็นความสนุก..ตื่นเต้นมากกว่า เพราะจะได้ช่วยอาอึ้มปักธูปบนอาหารทุกจาน
สมัยก่อนสาร์ทจีนถือเป็นวันสำคัญพอๆกับวันตรุษจีนเลยค่ะ ทุกคนได้หยุด ได้แต่งตัวสวยๆ เด็กๆวิ่งเล่นสนุกสนาน เพียงแต่สมัยนี้ปรับเปลี่ยนลดขั้นตอนการไหว้ลงมาเยอะ สมัยแม่นันเด็กๆเห็นอาอึ้มจัดเตรียมอาหารในการไหว้ทีเป็นวัน เตรียมตั้งแต่คืนก่อนวันไหว้ด้วยซ้ำค่ะ สามทุ่มเป็นต้นไปก็ต้องจุดธูป บอกตี่จู้ (เจ้าที่) ว่าพรุ่งนี้เป็นวันสารทจีน (ชิกหง่วยปั่ว) แล้วนะคะ จะอัญเชิญตี่จู้ เหล่าเจ็ก แป๊ะกงลงมารับประทานอาหารคาวหวาน ไม่เฉพาะบอกกล่าวเจ้าที่เจ้าทางเท่านั้น ยังต้องจุดธูปปักบริเวณรอบสนามทางเดิน หน้าบ้าน บอกกล่าววิญญาณสัมพเวสีทั้งหลายด้วยค่ะ ว่าเตรียมตัวมารับอาหารคาวหวานที่พวกเราจะทำให้กินกันนะ อย่าลืมไปบอกวิญญาณอื่นๆที่รู้จักให้มารับอาหารเหล่านี้ด้วยนะ จุดธูปทีเป็นกำ เดินไปเชิญไป ปักธูปไปจนกว่าธูปจะดับ (ตระกูลลี้ของแม่นันก็มีเพียงอาตั่วแจ้ที่ยังรักษาการไหว้แบบเดิมนี้อยู่ เพียงแต่เปลี่ยนการจุดธูปบอกกล่าวจากกลางคืนมาเป็นช่วงสายๆก่อนจะมีการไหว้) ถ้าสารทจีนปีไหนแม่นันมีไปไหว้ที่บ้านอาตั่วแจ้ แม่นันจะรับอาสาเดินปักธูปบอกกล่าววิญญาณสัมพเวสีต่างๆให้มารับอาหารในวันนั้น (บรรยากาศไม่อินเหมือนเชิญตอนกลางคืนเลย)
เช้าตรู่เราจะจัดซาแซ/โหง่วแซ (เนื้อสัตว์สามอย่าง/ห้าอย่าง ไหว้ตี่จู้ (เจ้าที่) ก่อน สงสัยมั้ยคะทำไมบางบ้านไหว้สามอย่าง บางบ้านไหว้ห้าอย่าง มีมากก็ไหว้มาก มีน้อยก็ไหว้น้อยค่ะ ทำที่เราสะดวกค่ะ
พอช่วงสายจะเตรียมอาหารคาวหวานหลากหลายไหว้บรรพบุรุษ อาหารที่เตรียมจะเป็นอาหารที่มีชื่อเป็นศิริมงคล นำโชคดีมาให้ ไม่ว่าจะเป็นซาลาเปา ก๋วยท้อ (กุ้ยช่ายรูปท้อสีชมพู) ผัดหมี่ซั่ว ปู่โควฉ่าย หรือชุงฉ่ายที่แม่นันทำประจำ เขาะคะน้าลุ้ย (ตุ๋นกะหล่ำปลี) ไช้เถ่าก้วย (ขนมผักกาด) พูดถึงขนมผักกาด **แม่นันดีใจนะคะว่า แม้ว่าจะไม่ได้ทำให้อาอึ้มได้ทานตอนเป็น แต่ในวันที่ท่านไม่อยู่แล้ว แม่นันได้ทำให้ท่านทานทุกวันสารทเลย** และอาหารอื่นๆที่บรรพบุรุษชอบทาน รวมทั้งขนม/ผลไม้ที่มีชื่อมงคล เช่นขนมถ้วยฟู ส้มโอ กล้วย แอ๊ปเปิล ส้ม (ไต่กิก) ขนมเข่ง ขนมเทียน (ของอร่อยช่วงสารทจีน) และที่ขาดไม่ได้คือกระดาษเงิน กระดาษทอง รวมทั้งเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มกระดาษ ตามที่ลูกหลานอยากส่งไห้บรรพบุรุษได้ใช้
แม่นันถามอาแจ้ว่า "ซื้อบ้านและรถมาไหว้ด้วยได้มั้ย"
อาตั่วแจ้บอกว่า "บ้านและรถ" เราจะไหว้ในวันเชงเม้งเท่านั้น ส่วนคนรับใช้ที่เราเคยจ้างให้ไปดูแลบรรพบุรุษเราในวันทำกงเต็ก ไม่ต้องเปลี่ยน ไม่ต้องจ้างคนใหม่ให้ท่าน เพราะสองคนนี้จะอยู่ปรนนิบัติและดูแลท่านตลอดไป “
ตกบ่าย..มาแล้วค่ะ ช่วงบ่ายนี้จะเป็นการไหว้สัมพเวสี แม่นันจำได้..ตอนเด็กๆแม่นันจะตื่นเต้นมาก ไม่รู้หรอกเค้าไหว้อะไร ไหว้ใคร เพราะไม่มีรูปเหมือนตี่จู้ (เจ้าที่) หรือรูปบรรพบุรุษให้เรากราบไหว้ แต่กลับมามาตั้งอาหารไว้หน้าบ้านเยอะแยะเต็มไปหมด ... อาอึ้มจะให้เด็กๆช่วยกันปูเสื่อผืนใหญ่ๆสีแดงไว้หน้าบ้าน จากนั้นเราก็จะช่วยกันยกอาหารคาวหวาน รวมทั้งขนม (น่าทานทั้งนั้น) ไปจัดวาง อาตั่วแจ้เล่าให้ฟังว่า อาหารที่เตรียมไหว้สัมพเวสี เราจะเตรียมอาหารเป็นหม้อใหญ่ๆ อย่างละหม้อ อย่างละหม้อ ยิ่งเยอะยิ่งดี มีข้าวสวย ข้าวสาร รวมทั้งถ่านหุงต้มด้วยนะ ขนมนมเนย อยากจัดอะไรจัดมาเลย ยิ่งทำให้เค้าเยอะเราก็จะได้บุญกลับมาเยอะ พวกเราเด็กๆก็จะได้ช่วยกันปักธูปทีละดอกลงบนอาหารทุกหม้อ ทุกจาน สมัยก่อนทำอาหารเยอะจริงๆ ก้มปักไปหมุนไปจนงงไปหมด นี่ถ้าอาหมวยน้อยในวันนั้นนุ่งกระโปรงสั้นๆ ผีสางนางไม้คงได้เห็นกุงเกงในสีแดงแน่ๆ อิอิ ...ปักธูปบนอาหารแล้ว ก็เดินปักตามพื้นดินรอบๆบ้านด้วยค่ะ เหมือนเป็นการเชิญให้พวกเค้ามาทานอาหารที่เราเตรียมไว้ให้ค่ะ
อาตั่วแจ้บอกว่า ที่ต้องมีอีกคือ เสื้อคอกลม กางเกงเป็นสิบๆชุด สีน้ำเงิน ต้องสีน้ำเงินด้วยนะ (สมัยนี้เริ่มมีสีสันลายต่าง) อาแจ้บอกว่าเหมือนประมาณว่าสัมพเวสีมาทานอาหารกันมากมาย พวกเค้าจะได้ใส่ชุดสีและแบบเหมือนๆกัน รวมทั้งกระดาษเงินกระดาษทองและอ่วงแซจี๊ (ใบเบิกทาง) ขาดไม่ได้ เราต้องเผาไปให้พวกเค้าได้ใช้กันด้วย
เล่ามาถึงตรงนี้ อาตั่วแจ้บอกว่า กระดาษทองจะใช้วิธีพับให้เป็นก้อนทอง โดยม้วนให้กลมแล้วกดปลายทั้งสองด้านลง และกดให้แบน (พับแบบนี้เท่านั้นสำหรับให้สัมพเวสี) ส่วนกระดาษเงินทองที่เป็นมัดๆเราพับสอดไปมาเป็นกรวยได้ สำหรับใบเบิกทางเปรียบเสมือนพาสปอร์ตให้เค้าเดินทางกลับไปอย่างสวัสดิภาพ
เมื่อไหว้สัมพเวสีเสร็จแล้ว อาหารเหล่านี้เรา (เจ้าบ้าน) จะไม่นำกลับมาทานนะคะ เพราะรสชาติอาหารจะจืดชืดไม่เหมือนเดิม แล้วทำไมอาหารที่ไหว้สัมพเวสีแล้วถึงได้จืดชืด ไม่อร่อยเหมือนเดิม? ..... อาแจ้เล่าว่า ที่ห้ามนำกลับมาทานอีก เพราะถือว่าเราได้แจกจ่ายให้พวกเค้าแล้ว พอพวกสัมพเวสีทานอาหารของเราแล้ว ก็เสมือนลิ้มเอารสชาติไปหมด อาหารจึงจืดชืด และอาหารส่วนนี้เราก็แจกจ่ายชาวบ้าน พ่อค้าแม่ค้าในตลาด ใครอยากทานสามารถเข้ามาหยิบทานได้เลย เปรียบเสมือนเราเปิดโรงทาน ยิ่งตามโรงเจ.เวลาไหว้ทีจะเตรียมขนมอร่อยๆเป็นหม้อๆใหญ่ โดยเฉพาะต้มเผือก และต้มธัญพืชต่างๆ อาแจ้เล่าว่าเวลาอาแจ้ไหว้เสร็จ..ชาวบ้านพ่อค้าแม่ค้าในตลาดเค้าจะรู้ ก็จะเข้าหยิบทานกันอย่างเอร็ดอร่อย ใครอยากได้ข้าวสาร ถ่านหุงต้ม หรือน้ำมันพืช สามารถหยิบกลับไปใช้ที่บ้านได้เลย อาแจ้บอกว่าวันนั้นอาแจ้จะได้รับแต่คำขอบคุณ ขอบคุณ ได้บุญใหญ่ไปเลยค่ะ
วันนี้จึงถือเป็นวันปล่อยผี (วิญญาณไม่มีญาติ) ตามศาลเจ้าจะมีงานทิ้งกระจาดด้วย ไหว้ผีไหว้วิญญาณเสร็จก็จะมีการแจกอาหาร ของแห้งต่างๆ ให้กับชาวบ้านได้นำไปใช้ประโยชน์กัน
เขียนเสร็จคิดถึงอาอึ้มค่ะ เพราะพอไหว้เสร็จอาอึ้มก็จะแบ่งอาหารเป็นจานๆ “โน้วอ่า เขียะ จีปั่วเมะ คื้อโหะ อาเฮีย แก๊ะเปียะ, จีปั่วเมะ โหะ ฮือ ฮ้งไหล” (ลูกจ๋า จานนี้ให้อาเฮียข้างบ้านนะ สำหรับจานนี้ให้บ้านนู้นนะ) แล้วอาหมวยน้อยคนนี้ก็วิ่งไปวิ่งมาจนเหนื่อยกว่าจะได้หนีบน่องเป็ดไปนั่งแทะเล่น
บ้านใครไหว้สารทจีนกันบ้างคะ มีไหว้ฮอเฮียตี๋ (วิญญาณไม่มีญาติ) กันด้วยรึเปล่าเอ่ย