ช่วงนี้เห็นเฟซบุ๊กแชร์ที่คนญี่ปุ่น ถึงกับต้องเขียนแปะไว้ที่หน้าปัดของนาฬิกา เพื่อแยกความซับซ้อนของการบอกเวลาในภาษาไทย (แบบไม่ทางการ)
ภาษาไทยบอกเวลาแบบทางการก็ง่ายดี (ตัวเลข) นาฬิกา แต่ในชีวิตประจำวัน คนไทยบอกเวลากันซับซ้อนมาก แม้กระทั่งอยู่คนละพื้นที่ก็เรียกไม่เหมือนกัน
ผมก็สอนครูต่างชาติที่โรงเรียนถึงวิธีการขานเวลาอันพิศดารของคนไทย แล้วเขาก็ตั้งข้อสังเกตประมาณนี้
เที่ยงคืน >> ตี 1-5 (ต่างชาติเข้าใจ)
พอขึ้น 6.00 คนไทยเรียก " 6 โมงเช้า" เขาก็บอกว่าเข้าใจได้ กลางวันใช้โมง เติมเช้าเข้าไปเพื่อสื่อว่ามันคือตอนเช้า
และก็ตามด้วย 7-8-9-10-11 โมงเช้า พอ 12.00 ใช้ว่า เที่ยงวัน อันนี้เขาก็เข้าใจ
พอขึ้น 13.00 คนไทยใช้คำว่า บ่าย 1 (บางทีก็เรียกบ่ายโมง ซึ่งเขาเริ่มไม่เข้าใจละ) บ่าย 2 (โมง) บ่าย 3 (โมง) ซึ่งเขาก็ไม่เข้าใจว่า ไอ้โมงต่อท้ายใช้ยังไง ผมก็บอกว่า จะเติมไม่เติมก็ได้ แล้วแต่ (เขายิ่งไม่เข้าใจไปใหญ่)
พอขึ้น 16.00 คนไทยเรียกว่า บ่าย 4 โมงเย็น (หรือไม่มีคำว่าบ่าย) เขาก็ถามว่า ทำไมเติมเย็นเข้ามาล่ะ? ผมก็บอกว่ามันเย็นแล้วไง
17.00 เรียก 5 โมงเย็น (แต่ต้องไม่มีคำว่าบ่าย) เขาก็ถามอีก ทำไมไม่มีล่ะ? ผมก็บอกว่า ไม่รู้ เพราะเกิดมาก็พูดแบบนี้ แถมไม่เคยเจอคนพูด บ่าย 5 โมงเย็น
18.00 เรียก 6 โมงเย็น
19.00 คนไทยเรียก 1 ทุ่ม เขาเข้าใจที่ว่า ทุ่มแสดงถึงกลางคืน แต่ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องเริ่มที่ 1 ทำไมไม่เป็น 7 ทุ่ม อันนี้ผมก็อธิบายไปถึงการตีบอกเวลาในอดีต เล่าถึงความเป็นมาของคำว่า โมง ทุ่ม ตี
2 3 4 5 ทุ่ม และจบที่เที่ยงคืน
ในความรู้สึกผมนะ คนไทยบอกเวลาได้เพราะความเคยชิน แต่ถ้าคนต่างชาติเรียนมันคืออะไรที่ยากมาก และไม่เคลียร์ เช่น
ถ้าไปต่างที่ คุณก็จะไปเจอคนพูด 1 โมงเช้า 2 3 4 5 โมงเช้า ครูเขาก็ถามว่าทำไมมีแบบนี้ ผมก็เลยบอกว่ามันก็เหมือนพูดว่า 1-5 ทุ่มนั่นแหละ แต่เปลี่ยนเป็นโมงเช้าแทน
ยิ่งไปเจอคนใต้ใช้ตีหมด อันนี้ผมก็ไม่เข้าใจจริง ๆ
ผมก็ไม่เข้าใจว่าทำไมคนไทยถึงสามารถใช้การบอกเวลาที่ซับซ้อนขนาดนี้ได้
ชาวต่างชาติคิดอย่างไรกับการบอกเวลาที่ซับซ้อนของคนไทย
ภาษาไทยบอกเวลาแบบทางการก็ง่ายดี (ตัวเลข) นาฬิกา แต่ในชีวิตประจำวัน คนไทยบอกเวลากันซับซ้อนมาก แม้กระทั่งอยู่คนละพื้นที่ก็เรียกไม่เหมือนกัน
ผมก็สอนครูต่างชาติที่โรงเรียนถึงวิธีการขานเวลาอันพิศดารของคนไทย แล้วเขาก็ตั้งข้อสังเกตประมาณนี้
เที่ยงคืน >> ตี 1-5 (ต่างชาติเข้าใจ)
พอขึ้น 6.00 คนไทยเรียก " 6 โมงเช้า" เขาก็บอกว่าเข้าใจได้ กลางวันใช้โมง เติมเช้าเข้าไปเพื่อสื่อว่ามันคือตอนเช้า
และก็ตามด้วย 7-8-9-10-11 โมงเช้า พอ 12.00 ใช้ว่า เที่ยงวัน อันนี้เขาก็เข้าใจ
พอขึ้น 13.00 คนไทยใช้คำว่า บ่าย 1 (บางทีก็เรียกบ่ายโมง ซึ่งเขาเริ่มไม่เข้าใจละ) บ่าย 2 (โมง) บ่าย 3 (โมง) ซึ่งเขาก็ไม่เข้าใจว่า ไอ้โมงต่อท้ายใช้ยังไง ผมก็บอกว่า จะเติมไม่เติมก็ได้ แล้วแต่ (เขายิ่งไม่เข้าใจไปใหญ่)
พอขึ้น 16.00 คนไทยเรียกว่า บ่าย 4 โมงเย็น (หรือไม่มีคำว่าบ่าย) เขาก็ถามว่า ทำไมเติมเย็นเข้ามาล่ะ? ผมก็บอกว่ามันเย็นแล้วไง
17.00 เรียก 5 โมงเย็น (แต่ต้องไม่มีคำว่าบ่าย) เขาก็ถามอีก ทำไมไม่มีล่ะ? ผมก็บอกว่า ไม่รู้ เพราะเกิดมาก็พูดแบบนี้ แถมไม่เคยเจอคนพูด บ่าย 5 โมงเย็น
18.00 เรียก 6 โมงเย็น
19.00 คนไทยเรียก 1 ทุ่ม เขาเข้าใจที่ว่า ทุ่มแสดงถึงกลางคืน แต่ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องเริ่มที่ 1 ทำไมไม่เป็น 7 ทุ่ม อันนี้ผมก็อธิบายไปถึงการตีบอกเวลาในอดีต เล่าถึงความเป็นมาของคำว่า โมง ทุ่ม ตี
2 3 4 5 ทุ่ม และจบที่เที่ยงคืน
ในความรู้สึกผมนะ คนไทยบอกเวลาได้เพราะความเคยชิน แต่ถ้าคนต่างชาติเรียนมันคืออะไรที่ยากมาก และไม่เคลียร์ เช่น
ถ้าไปต่างที่ คุณก็จะไปเจอคนพูด 1 โมงเช้า 2 3 4 5 โมงเช้า ครูเขาก็ถามว่าทำไมมีแบบนี้ ผมก็เลยบอกว่ามันก็เหมือนพูดว่า 1-5 ทุ่มนั่นแหละ แต่เปลี่ยนเป็นโมงเช้าแทน
ยิ่งไปเจอคนใต้ใช้ตีหมด อันนี้ผมก็ไม่เข้าใจจริง ๆ
ผมก็ไม่เข้าใจว่าทำไมคนไทยถึงสามารถใช้การบอกเวลาที่ซับซ้อนขนาดนี้ได้