ความคิดของเราครับ
(เกี่ยวกับโรงเรียนเอกชนในด้านการศึกษาระดับชั้นอนุบาลเท่านั้น)
"เรียนภายในโรงเรียน" กับ "เรียนออนไลน์" เป็นคนละบริการกัน !!!
ก่อนเสนอบริการใหม่ (เรียนออนไลน์) ผูประกอบการ ต้องเสนราคาบริการ และให้ผู้บริโภค (ผู้ปกครอง) มีสิทธิอิสระในการเลือกบริการ
ส่วนบริการเก่าหากทำเสียสิทธิ
"ที่จะได้รับความเป็นธรรม" ผู้บริโภค (ผู้ปกครอง) ก็มีสิทธิเรียกเงินคืนเต็มจำนวน หรือบางส่วน
เรื่องนี้เกี่ยวกับโรงเรียนที่ทำให้ผู้ปกครองเสียสิทธิ และไม่เสนอสิทธิใหม่ ไม่เกี่ยวกับระบบออนไบน์จะดีกับบางคนหรือไม่ดี แต่เกี่ยวกัยว่าโรงเรียนไม่มีสิทธที่จะบังคับเรียนออนไลน์ หมายถึงบังคับพวกผู้ปกครองที่ไม่สะดวกรับบริการนี้นะครับ
ข้อมูลเพื่อผู้ปกครองทุกท่านที่มีลูกหลานเรียนที่โรงเรียนเอกชนราคาแพง และรู้สึกไม่ยุติธรรมและต้องการความยุติธรรม ความเหมาะสมของค่าเทอม
ผู้ปกครองที่จ่ายค่าเทอมให้กับลูกหลาน เพื่อให้ได้เรียนภายในโรงเรียน แต่ได้รับการเรียนในระบบออนไลน์แทน เนื่องจากการเรียนออนไลน์ไม่เหมาะกับเด็กเล็กในระดับอนุบาล
ผู้ปกครองที่ต้องยอมรับการตัดสินใจของทางโรงเรียนอยู่ฝ่ายเดียว และบางท่านอาจจะยังไม่เข้าใจแนวทางการแก้ปัญหา
เรากำลังดำเนินการเรื่องคืนค่าเทอมโรงเรียนในส่วนที่ไม่ได้รับบริการการศึกษาในโรงเรียน ตามที่กฏหมายกำหรด เพื่อเข้าถึงความยุติธรรม ถ้าหากได้ผล หรือคำสั่งศาลแล้ว เราจะแชร์ประสบการณ์เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ปกครองทุกๆท่าน เพื่อให้ทุกๆท่านได้พิจารณาว่า โดนเอาเปรียบจากทางโรงเรียนหรือไม่ และรู้แนวทางในการดำเนินการเรื่องนี้ได้เช่นกัน
โรงเรียนของลูกเรา ผมของสงวนสิทธิ์แจ้งช่ือโรงเรียน แต่จะบอกเป็นโรงเรียนนานชาติ ระบบสิงคโปร์ (เน้นภาษา อังกฤษ,จีน) อยู่แถวสุขุมวิท
กรณีของผม สืบเนื่องจากข้อจำกัดของโควิด ทางโรงเรียนจึงให้นักเรียนใช้รูปแบบการเรียนออนไลน์ (ลูกของผมทั้ง2คน อยู่ชั้นระดับอนุบาล อายุ2ปี และ4ปี) ผมจึงไม่รับบริการจากโรงเรียนในการสอนรูปแบบออนไลน์
ผมจึงดำเนินเรื่องเรียกร้องของคืนเงินค่าเทอมบางส่วน แต่ผู้บริหารโรงเรียนส่งจดหมายปฏิเสธการคืนเงินค่าเทอม โดยให้เหตุผลที่ไม่เหมาะสม เหมือนจะไม่เข้าใจประเด็นของปัญหา และคำถามที่เราสอบถามไปกับโรงเรียนทั้งหมดเกี่ยวกับการชดเชยค่าเทอมก็เริ่มถูกเพิกเฉยจนถึงปัจจุบัน
ต่อไปนี้เราได้กำลังดำเนินการส่งเรื่องไปที่ สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)
โดยจากนี้เราจะเรียกตัวเองว่า “ผู้บริโภค” และเรียกทางโรงเรียนว่า “ผู้ประกอบการ”
เรียกรูปแบบการศึกษาภายในโรงเรียน จำนวนทั้งสิ้น 183วัน ว่าเป็น “บริการภายในโรงเรียน”
ให้สังเกตุดูว่า การเรียนออนไลน์ ไม่ใช่บริการที่เราตกลงที่จะเสียเงินใช้บริการตั้งแต่แรก จึงเรียกว่า “บริการอื่นๆ”
นี้คือกฎหมายของผู้บริโภค :
ผู้บริโภคที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ๕ ประการ ดังนี้ (ให้อ่าน2ข้อนี้)
ข้อ2. สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับสินค้าหรือรับบริการโดยความสมัครใจของผู้บริโภค และปราศจากการชักจูงใจอันไม่เป็นธรรม
และ
ข้อ4. สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับข้อสัญญาโดยไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจ
จากนั้นจะตีความว่า ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะไม่รับหรือปฏิเสธ “บริการอื่นๆ” เนื่องจากไม่ได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญากับผู้ประกอบการ และ ใช้สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกบริการทางการศึกษาด้วยการจ้างครูนอกโรงเรียน เพื่อมาสอนส่วนตัวที่บ้าน เนื่องจากทางผมปฏิเสธโรงเรียนที่จะเรียนออนไลน์ และได้ทำการจ้างครูพิเศษ เพื่อมาสอนลูกที่บ้าน เพราะวิธีนี้เหมาะกับเด็กเล็กที่สุด
ข้อเท็จจริงของกรณีผมก็คือ ผู้บริโภคจ่ายค่าเทอมสำหรับปีการศึกษา 2563-2564 ของลูกทั้ง 2คน เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 587,040บาท โดยหารด้วยจำนวนวันที่ต้องมีการเรียการสอนที่โรงเรียน 183วัน เท่ากับ 3,207บาทต่อวัน
ไม่ได้รับบริการภายในโรงเรียน จำนวน 65วัน (3,207x65=208,455บาท)
ทางโรงเรียนได้ทำการชดเชยเป็น”ส่วนลด”ให้บางส่วน ซึ่งไม่เหมาะสม โดยต่างจากยอดค่าเสียหายที่เราคำนวณไว้เป็นจำนวน 61,228บาท เหลือค่าชดเชยอีก 208,455-61,228 = 147,227บาท ที่เราเรียกร้องให้ทางโรงเรียนจ่ายคืนให้ครับ
สำหรับผู้ปกครองที่จ่ายค่าเทอมให้กับลูกหลาน เพื่อให้ได้เรียนภายในโรงเรียน แต่ได้รับการเรียนในระบบออนไลน์แทน
"เรียนภายในโรงเรียน" กับ "เรียนออนไลน์" เป็นคนละบริการกัน !!!
ก่อนเสนอบริการใหม่ (เรียนออนไลน์) ผูประกอบการ ต้องเสนราคาบริการ และให้ผู้บริโภค (ผู้ปกครอง) มีสิทธิอิสระในการเลือกบริการ
ส่วนบริการเก่าหากทำเสียสิทธิ "ที่จะได้รับความเป็นธรรม" ผู้บริโภค (ผู้ปกครอง) ก็มีสิทธิเรียกเงินคืนเต็มจำนวน หรือบางส่วน
เรื่องนี้เกี่ยวกับโรงเรียนที่ทำให้ผู้ปกครองเสียสิทธิ และไม่เสนอสิทธิใหม่ ไม่เกี่ยวกับระบบออนไบน์จะดีกับบางคนหรือไม่ดี แต่เกี่ยวกัยว่าโรงเรียนไม่มีสิทธที่จะบังคับเรียนออนไลน์ หมายถึงบังคับพวกผู้ปกครองที่ไม่สะดวกรับบริการนี้นะครับ
ข้อมูลเพื่อผู้ปกครองทุกท่านที่มีลูกหลานเรียนที่โรงเรียนเอกชนราคาแพง และรู้สึกไม่ยุติธรรมและต้องการความยุติธรรม ความเหมาะสมของค่าเทอม
ผู้ปกครองที่จ่ายค่าเทอมให้กับลูกหลาน เพื่อให้ได้เรียนภายในโรงเรียน แต่ได้รับการเรียนในระบบออนไลน์แทน เนื่องจากการเรียนออนไลน์ไม่เหมาะกับเด็กเล็กในระดับอนุบาล
ผู้ปกครองที่ต้องยอมรับการตัดสินใจของทางโรงเรียนอยู่ฝ่ายเดียว และบางท่านอาจจะยังไม่เข้าใจแนวทางการแก้ปัญหา
เรากำลังดำเนินการเรื่องคืนค่าเทอมโรงเรียนในส่วนที่ไม่ได้รับบริการการศึกษาในโรงเรียน ตามที่กฏหมายกำหรด เพื่อเข้าถึงความยุติธรรม ถ้าหากได้ผล หรือคำสั่งศาลแล้ว เราจะแชร์ประสบการณ์เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ปกครองทุกๆท่าน เพื่อให้ทุกๆท่านได้พิจารณาว่า โดนเอาเปรียบจากทางโรงเรียนหรือไม่ และรู้แนวทางในการดำเนินการเรื่องนี้ได้เช่นกัน
โรงเรียนของลูกเรา ผมของสงวนสิทธิ์แจ้งช่ือโรงเรียน แต่จะบอกเป็นโรงเรียนนานชาติ ระบบสิงคโปร์ (เน้นภาษา อังกฤษ,จีน) อยู่แถวสุขุมวิท
กรณีของผม สืบเนื่องจากข้อจำกัดของโควิด ทางโรงเรียนจึงให้นักเรียนใช้รูปแบบการเรียนออนไลน์ (ลูกของผมทั้ง2คน อยู่ชั้นระดับอนุบาล อายุ2ปี และ4ปี) ผมจึงไม่รับบริการจากโรงเรียนในการสอนรูปแบบออนไลน์
ผมจึงดำเนินเรื่องเรียกร้องของคืนเงินค่าเทอมบางส่วน แต่ผู้บริหารโรงเรียนส่งจดหมายปฏิเสธการคืนเงินค่าเทอม โดยให้เหตุผลที่ไม่เหมาะสม เหมือนจะไม่เข้าใจประเด็นของปัญหา และคำถามที่เราสอบถามไปกับโรงเรียนทั้งหมดเกี่ยวกับการชดเชยค่าเทอมก็เริ่มถูกเพิกเฉยจนถึงปัจจุบัน
ต่อไปนี้เราได้กำลังดำเนินการส่งเรื่องไปที่ สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)
โดยจากนี้เราจะเรียกตัวเองว่า “ผู้บริโภค” และเรียกทางโรงเรียนว่า “ผู้ประกอบการ”
เรียกรูปแบบการศึกษาภายในโรงเรียน จำนวนทั้งสิ้น 183วัน ว่าเป็น “บริการภายในโรงเรียน”
ให้สังเกตุดูว่า การเรียนออนไลน์ ไม่ใช่บริการที่เราตกลงที่จะเสียเงินใช้บริการตั้งแต่แรก จึงเรียกว่า “บริการอื่นๆ”
นี้คือกฎหมายของผู้บริโภค :
ผู้บริโภคที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ๕ ประการ ดังนี้ (ให้อ่าน2ข้อนี้)
ข้อ2. สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับสินค้าหรือรับบริการโดยความสมัครใจของผู้บริโภค และปราศจากการชักจูงใจอันไม่เป็นธรรม
และ
ข้อ4. สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับข้อสัญญาโดยไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจ
จากนั้นจะตีความว่า ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะไม่รับหรือปฏิเสธ “บริการอื่นๆ” เนื่องจากไม่ได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญากับผู้ประกอบการ และ ใช้สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกบริการทางการศึกษาด้วยการจ้างครูนอกโรงเรียน เพื่อมาสอนส่วนตัวที่บ้าน เนื่องจากทางผมปฏิเสธโรงเรียนที่จะเรียนออนไลน์ และได้ทำการจ้างครูพิเศษ เพื่อมาสอนลูกที่บ้าน เพราะวิธีนี้เหมาะกับเด็กเล็กที่สุด
ข้อเท็จจริงของกรณีผมก็คือ ผู้บริโภคจ่ายค่าเทอมสำหรับปีการศึกษา 2563-2564 ของลูกทั้ง 2คน เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 587,040บาท โดยหารด้วยจำนวนวันที่ต้องมีการเรียการสอนที่โรงเรียน 183วัน เท่ากับ 3,207บาทต่อวัน
ไม่ได้รับบริการภายในโรงเรียน จำนวน 65วัน (3,207x65=208,455บาท)
ทางโรงเรียนได้ทำการชดเชยเป็น”ส่วนลด”ให้บางส่วน ซึ่งไม่เหมาะสม โดยต่างจากยอดค่าเสียหายที่เราคำนวณไว้เป็นจำนวน 61,228บาท เหลือค่าชดเชยอีก 208,455-61,228 = 147,227บาท ที่เราเรียกร้องให้ทางโรงเรียนจ่ายคืนให้ครับ