ตำรวจเมืองโคราชผวา! รอง สวป.ติดโควิด เผยฉีดซิโนแวคครบ 2 เข็ม ผกก.สั่งWFH
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6589863
ตำรวจเมืองโคราช ผวา ! รอง สวป.ฉีด “ซิโนแวค” 2 เข็ม ติดโควิด ผกก.สั่งปรับรูปแบบการปฏิบัติงานแบบ WFH
วันที่ 29 ส.ค. 64 พ.ต.อ.
กรกฎ โปชยะณิช ผกก.สภ.เมือง นครราชสีมา เปิดเผยว่า รับรายงานจากโรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา กรณีข้าราชการตำรวจในสังกัด ได้ตรวจหาเชื้อแบบ ATK พบผู้ติดเชื้อ 1 ราย ตำแหน่ง รอง สวป. ปฏิบัติงานด้านมวลชนสัมพันธ์ จากการสอบสวนโรคเจ้าหน้าที่รายนี้ได้รับการฉีดวัคซีน “
ซิโนแวค” ครบ 2 เข็ม แต่สามารถติดเชื้อได้
ขณะนี้เข้าสู่ขบวนการรักษาตามขั้นตอน เพื่อความปลอดภัยและสร้างความมั่นใจให้กับสังคม มีคำสั่งให้ยุติกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการลงพื้นที่ ซึ่งมีโอกาสสัมผัสกับประชาชนโดยตรง พร้อมฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อและทำความสะอาดจุดสัมผัสบ่อยรวมทั้งให้ปรับการปฏิบัติหน้าที่การให้บริการประชาชนเป็นแบบเวิร์คฟอร์มโฮม เพื่อเป็นไปตามมาตรการสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเป็นวงกว้าง
ด้าน รอง สวป. ผู้ป่วย กล่าวว่า ตนและภรรยาซึ่งเป็นข้าราชการครูสังกัดโรงเรียนประถมแห่งหนึ่ง ในเขตเทศบาลนคร (ทน.) นครราชสีมา ได้รับการฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม ก็ไม่ได้ประมาทการใช้ชีวิตมีการป้องกันทั้งสวมหน้ากากและหมั่นล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์อย่างสม่ำเสมอ จนกระทั่ง สภ.เมือง ได้นำข้าราชการตำรวจตรวจหาเชื้อโควิด
ตนเป็นผู้ติดเชื้อเพียงนายเดียว จึงรีบให้ภรรยาไปตรวจหาเชื้อก็พบเชื้อเช่นกัน ส่วนลูกสาว 2 คน และเด็ก 4 ขวบ ที่มักมาเล่นกับลูกสาวเป็นประจำ ยังไม่พบการติดเชื้อ แต่ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงได้ฝากให้ญาติช่วยดูแลและกักตัวในบ้านพักเป็นเวลา 14 วัน
อย่างไรก็ตามบ้านพักอาศัยตั้งอยู่ในชุ่มชนทุ่งสว่าง-ศาลาลอย ซึ่งมีคลัสเตอร์ชุมชนเปราะบาง ติดเชื้อสะสม 34 ราย ผู้ป่วยเป็นกลุ่มใช้แรงงานและครอบครัวรวมทั้งเพื่อนบ้านที่มีกิจกรรมทางสังคมร่วมกันและต้องกักตัวกลุ่มเสี่ยง 50 คน ขณะนี้ยังไม่สามารถระบุประวัติการสัมผัสเชื้ออยู่ระหว่างสอบสวนโรค
นิด้าโพลเผยปชช.ส่วนใหญ่ 35.67% เห็นว่า 'ล็อกดาวน์' ไม่ประสบความสำเร็จเลย
https://www.isranews.org/article/isranews-short-news/102008-nidapoll-30.html
"...สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “มาตรการล็อกดาวน์ ควรไปต่อหรือไม่”
จากการสำรวจเมื่อถามประชาชนถึงการประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 จากมาตรการ ล็อกดาวน์ในปัจจุบัน
พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 35.67 ระบุว่า ไม่ประสบความสำเร็จเลย เพราะ การล็อกดาวน์ไม่มีความเข้มงวด..."
.......................
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “มาตรการล็อกดาวน์ ควรไปต่อหรือไม่” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 23 – 26 สิงหาคม 2564 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,312 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับมาตรการล็อกดาวน์ ควรไปต่อหรือไม่ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามประชาชนถึงการประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 จากมาตรการ ล็อกดาวน์ในปัจจุบัน พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 35.67 ระบุว่า ไม่ประสบความสำเร็จเลย เพราะ การล็อกดาวน์ไม่มีความเข้มงวด มีการล็อกดาวน์ แค่บางพื้นที่ ขณะที่บางส่วนระบุว่า ยังคงดำเนินชีวิตอย่างปกติ ทำให้มีการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น รองลงมา ร้อยละ 28.81 ระบุว่า ไม่ค่อยประสบความสำเร็จ เพราะ ประชาชนบางส่วนไม่ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามที่รัฐกำหนด และบางคนก็ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ร้อยละ 26.83 ระบุว่า ค่อนข้างประสบความสำเร็จ เพราะ ประชาชนมีการปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัด งดการรวมตัว ทำให้ลดการแพร่ระบาดลงได้ ร้อยละ 6.17 ระบุว่า ประสบความสำเร็จมาก เพราะ มีการจำกัดการเดินทางทำให้ลดการแพร่ระบาดของเชื้อลงได้ และร้อยละ 2.52 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่สนใจ
ส่วนความคิดเห็นของประชาชนต่อการดำเนินการมาตรการล็อกดาวน์เพื่อแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 26.14 ระบุว่า ควรดำเนินการต่อ แต่ให้มีมาตรการเข้มข้นขึ้น เพราะ มาตรการต่าง ๆ ต้องจริงจัง และบทลงโทษที่รุนแรงสำหรับคนที่ ฝ่าฝืน เพื่อให้ประชาชนจะได้หยุดการเดินทาง ลดการเดินทางข้ามจังหวัด ลดการรวมตัวมากยิ่งขึ้น และควรดำเนินการต่อ แต่ให้ผ่อนคลายมาตรการลง เพราะ บางพื้นที่ยอดผู้ติดเชื้อลดลงแล้ว และประชาชนบางส่วนก็ได้รับวัคซีนแล้ว ในสัดส่วนที่เท่ากัน รองลงมา ร้อยละ 24.16 ระบุว่า ไม่ควรดำเนินการต่อ เพราะ ถึงแม้จะมีมาตรการล็อกดาวน์ยังไงก็ยังมีจำนวนยอดผู้ติดเชื้อเยอะอยู่ดี รัฐบาลควรจัดหาวัคซีนที่มีคุณภาพมาฉีดให้แก่ประชาชน ขณะที่บางส่วนระบุว่า ประชาชนส่วนมากได้รับผลกระทบในเรื่องของการไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ร้อยละ 21.27 ระบุว่า ควรดำเนินการต่อเหมือนเดิม เพราะ มาตรการเป็นการควบคุมที่พอดี มีการควบคุมเฉพาะพื้นที่เสี่ยงเท่านั้น ประชาชนยังสามารถประกอบอาชีพและเดินทางไปไหนมาไหนได้สะดวก และร้อยละ 2.29 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่สนใจ
ด้านความกังวลว่าจะเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 มากขึ้น หากมีการยกเลิกมาตรการล็อกดาวน์ หรือมีการผ่อนคลายมาตรการลง พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 33.38 ระบุว่า ค่อนข้างกังวล รองลงมา ร้อยละ 31.33 ระบุว่า กังวลมาก ร้อยละ 18.45 ระบุว่า ไม่กังวลเลย ร้อยละ 16.54 ระบุว่า ไม่ค่อยกังวล และร้อยละ 0.30 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงการยอมรับ ถ้ามีการยกเลิกมาตรการล็อกดาวน์ หรือมีการผ่อนคลายมาตรการลง แต่ทำให้มีการแพร่ระบาด ของโควิด-19 เพิ่มขึ้น พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 30.26 ระบุว่า ค่อนข้างยอมรับได้ รองลงมา ร้อยละ 29.42 ระบุว่า ไม่ยอมรับเลย ร้อยละ 25.30 ระบุว่า ยอมรับได้แน่นอน ร้อยละ 14.18 ระบุว่า ไม่ค่อยยอมรับ และร้อยละ 0.84 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่สนใจ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.77 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.76 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.29 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.69 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.49 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 48.93 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.07 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่างร้อยละ 8.16 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 16.23 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 20.96 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 31.94 มีอายุ 46 – 59 ปี และร้อยละ 22.71 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 95.20 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.35 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.84 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 0.61 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 22.64 สถานภาพโสด ร้อยละ 74.01 สมรสแล้ว ร้อยละ 3.12 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 0.23 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส
ตัวอย่างร้อยละ 29.80 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 33.61 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 6.33 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 26.14 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 3.51 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 0.61 ไม่ระบุการศึกษา
ตัวอย่างร้อยละ 11.05 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.10 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 20.81ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 14.56 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.09 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 20.65 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 2.90 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.15 เป็นพนักงานองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 0.69 ไม่ระบุอาชีพ
ตัวอย่างร้อยละ 20.27 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 27.36 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 21.42 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 8.61 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 3.89 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 5.03 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 13.42 ไม่ระบุรายได้
“สุทิน”ตั้งข้อสังเกตตัวเลขป่วยโควิดลดลงอย่างน่าสงสัย
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_178075/
“สุทิน” ตั้งข้อสังเกตตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิดลดลงอย่างน่าสงสัย ถามคลายล็อก 1 ก.ย. ได้วิเคราะห์สถานการณ์ตามตัวชี้วัดที่เป็นมาตรฐานหรือไม่
นาย
สุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม ประธานวิปฝ่ายค้าน ในฐานะประธานคณะทำงานอภิปรายไม่ไว้วางใจ กล่าวถึงสถานการณ์โควิดในปัจจุบัน ว่า รู้สึกสงสัยในข้อเท็จเรื่องตัวเลขผู้ติดเชื้อ และผู้เสียชีวิตที่ลดลงอย่างผิดสังเกต ซึ่งไม่น่าจะสอดคล้องกับความเป็นจริง เพราะขณะนี้การตรวจด้วยตัวเองเริ่มมีมากขึ้น ผู้ติดเชื้อกระจายไปตามต่างจังหวัด เกิดคลัสเตอร์และเสียชีวิตในชุมชนมากขึ้น ตัวเลขจากส่วนนี้ได้นับรวมเข้าระบบหรือไม่ ถ้าไม่แล้ว สถานการณ์จริงจะผิดเพี้ยนไปจากที่รายงานมาก
โดยการคลายล็อก ซึ่งประกาศให้มีผลวันที่ 1 ก.ย.นี้ก็เช่นกัน ได้วิเคราะห์สถานการณ์ตามตัวชี้วัดที่เป็นมาตรฐานหรือไม่ ถ้าไม่ เราก็จะเข้าสู่ความเสี่ยงอีกต่อไป เพราะประสบการณ์ที่ผ่านมาเราพลาดมาแล้ว เช่นกรณีคลายล็อกให้คนกลับบ้านในวันสงกรานต์เมื่อปี 63 และประสบการณ์ในหลายประเทศ แม้ฉีดวัคซีนได้ตามเกณฑ์แต่ประเมินสถานการณ์ผิดพลาดไป คลายล็อกเข้าก็เกิดการระบาดรอบใหม่ทันที ตนภาวนาทุกวันให้โควิดลดลงเร็วๆ ภาวนาให้ตัวเลขเป็นตามที่รัฐบาลรายงานล่าสุด และ อยากให้คลายล็อกหรือปลดล็อก โดยเร็ววัน เพื่อพวกเราจะได้ทำมาหากินกันปกติ แต่ก็กังวลว่ารัฐบาลจะยืนอยู่บนความจริงหรือไม่ เพราะช่วงนี้กำลังจะมีการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ เกรงว่ารัฐบาลจะอำพรางสถานการณ์ให้ดูดี เพื่อลดน้ำหนักการอภิปรายและเอาตัวเองให้รอดเท่านั้น ซึ่งถ้าทำเช่นนั้นขอเตือนรัฐบาล ว่า ไม่คุ้มเพราะกรรมจะตกที่ประชาชนหนักกว่าเดิม
JJNY : รอง สวป.ติดโควิดเผยฉีดซิโนแวคครบ│ส่วนใหญ่เห็น'ล็อกดาวน์'ไม่สำเร็จ│สุทินตั้งข้อสังเกตตัวเลขป่วย│โรงจำนำกทม.ยอดพุ่ง
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6589863
ตำรวจเมืองโคราช ผวา ! รอง สวป.ฉีด “ซิโนแวค” 2 เข็ม ติดโควิด ผกก.สั่งปรับรูปแบบการปฏิบัติงานแบบ WFH
วันที่ 29 ส.ค. 64 พ.ต.อ.กรกฎ โปชยะณิช ผกก.สภ.เมือง นครราชสีมา เปิดเผยว่า รับรายงานจากโรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา กรณีข้าราชการตำรวจในสังกัด ได้ตรวจหาเชื้อแบบ ATK พบผู้ติดเชื้อ 1 ราย ตำแหน่ง รอง สวป. ปฏิบัติงานด้านมวลชนสัมพันธ์ จากการสอบสวนโรคเจ้าหน้าที่รายนี้ได้รับการฉีดวัคซีน “ซิโนแวค” ครบ 2 เข็ม แต่สามารถติดเชื้อได้
ขณะนี้เข้าสู่ขบวนการรักษาตามขั้นตอน เพื่อความปลอดภัยและสร้างความมั่นใจให้กับสังคม มีคำสั่งให้ยุติกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการลงพื้นที่ ซึ่งมีโอกาสสัมผัสกับประชาชนโดยตรง พร้อมฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อและทำความสะอาดจุดสัมผัสบ่อยรวมทั้งให้ปรับการปฏิบัติหน้าที่การให้บริการประชาชนเป็นแบบเวิร์คฟอร์มโฮม เพื่อเป็นไปตามมาตรการสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเป็นวงกว้าง
ด้าน รอง สวป. ผู้ป่วย กล่าวว่า ตนและภรรยาซึ่งเป็นข้าราชการครูสังกัดโรงเรียนประถมแห่งหนึ่ง ในเขตเทศบาลนคร (ทน.) นครราชสีมา ได้รับการฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม ก็ไม่ได้ประมาทการใช้ชีวิตมีการป้องกันทั้งสวมหน้ากากและหมั่นล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์อย่างสม่ำเสมอ จนกระทั่ง สภ.เมือง ได้นำข้าราชการตำรวจตรวจหาเชื้อโควิด
ตนเป็นผู้ติดเชื้อเพียงนายเดียว จึงรีบให้ภรรยาไปตรวจหาเชื้อก็พบเชื้อเช่นกัน ส่วนลูกสาว 2 คน และเด็ก 4 ขวบ ที่มักมาเล่นกับลูกสาวเป็นประจำ ยังไม่พบการติดเชื้อ แต่ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงได้ฝากให้ญาติช่วยดูแลและกักตัวในบ้านพักเป็นเวลา 14 วัน
อย่างไรก็ตามบ้านพักอาศัยตั้งอยู่ในชุ่มชนทุ่งสว่าง-ศาลาลอย ซึ่งมีคลัสเตอร์ชุมชนเปราะบาง ติดเชื้อสะสม 34 ราย ผู้ป่วยเป็นกลุ่มใช้แรงงานและครอบครัวรวมทั้งเพื่อนบ้านที่มีกิจกรรมทางสังคมร่วมกันและต้องกักตัวกลุ่มเสี่ยง 50 คน ขณะนี้ยังไม่สามารถระบุประวัติการสัมผัสเชื้ออยู่ระหว่างสอบสวนโรค
นิด้าโพลเผยปชช.ส่วนใหญ่ 35.67% เห็นว่า 'ล็อกดาวน์' ไม่ประสบความสำเร็จเลย
https://www.isranews.org/article/isranews-short-news/102008-nidapoll-30.html
จากการสำรวจเมื่อถามประชาชนถึงการประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 จากมาตรการ ล็อกดาวน์ในปัจจุบัน
พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 35.67 ระบุว่า ไม่ประสบความสำเร็จเลย เพราะ การล็อกดาวน์ไม่มีความเข้มงวด..."
.......................
จากการสำรวจเมื่อถามประชาชนถึงการประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 จากมาตรการ ล็อกดาวน์ในปัจจุบัน พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 35.67 ระบุว่า ไม่ประสบความสำเร็จเลย เพราะ การล็อกดาวน์ไม่มีความเข้มงวด มีการล็อกดาวน์ แค่บางพื้นที่ ขณะที่บางส่วนระบุว่า ยังคงดำเนินชีวิตอย่างปกติ ทำให้มีการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น รองลงมา ร้อยละ 28.81 ระบุว่า ไม่ค่อยประสบความสำเร็จ เพราะ ประชาชนบางส่วนไม่ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามที่รัฐกำหนด และบางคนก็ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ร้อยละ 26.83 ระบุว่า ค่อนข้างประสบความสำเร็จ เพราะ ประชาชนมีการปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัด งดการรวมตัว ทำให้ลดการแพร่ระบาดลงได้ ร้อยละ 6.17 ระบุว่า ประสบความสำเร็จมาก เพราะ มีการจำกัดการเดินทางทำให้ลดการแพร่ระบาดของเชื้อลงได้ และร้อยละ 2.52 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่สนใจ
ส่วนความคิดเห็นของประชาชนต่อการดำเนินการมาตรการล็อกดาวน์เพื่อแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 26.14 ระบุว่า ควรดำเนินการต่อ แต่ให้มีมาตรการเข้มข้นขึ้น เพราะ มาตรการต่าง ๆ ต้องจริงจัง และบทลงโทษที่รุนแรงสำหรับคนที่ ฝ่าฝืน เพื่อให้ประชาชนจะได้หยุดการเดินทาง ลดการเดินทางข้ามจังหวัด ลดการรวมตัวมากยิ่งขึ้น และควรดำเนินการต่อ แต่ให้ผ่อนคลายมาตรการลง เพราะ บางพื้นที่ยอดผู้ติดเชื้อลดลงแล้ว และประชาชนบางส่วนก็ได้รับวัคซีนแล้ว ในสัดส่วนที่เท่ากัน รองลงมา ร้อยละ 24.16 ระบุว่า ไม่ควรดำเนินการต่อ เพราะ ถึงแม้จะมีมาตรการล็อกดาวน์ยังไงก็ยังมีจำนวนยอดผู้ติดเชื้อเยอะอยู่ดี รัฐบาลควรจัดหาวัคซีนที่มีคุณภาพมาฉีดให้แก่ประชาชน ขณะที่บางส่วนระบุว่า ประชาชนส่วนมากได้รับผลกระทบในเรื่องของการไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ร้อยละ 21.27 ระบุว่า ควรดำเนินการต่อเหมือนเดิม เพราะ มาตรการเป็นการควบคุมที่พอดี มีการควบคุมเฉพาะพื้นที่เสี่ยงเท่านั้น ประชาชนยังสามารถประกอบอาชีพและเดินทางไปไหนมาไหนได้สะดวก และร้อยละ 2.29 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่สนใจ
ด้านความกังวลว่าจะเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 มากขึ้น หากมีการยกเลิกมาตรการล็อกดาวน์ หรือมีการผ่อนคลายมาตรการลง พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 33.38 ระบุว่า ค่อนข้างกังวล รองลงมา ร้อยละ 31.33 ระบุว่า กังวลมาก ร้อยละ 18.45 ระบุว่า ไม่กังวลเลย ร้อยละ 16.54 ระบุว่า ไม่ค่อยกังวล และร้อยละ 0.30 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงการยอมรับ ถ้ามีการยกเลิกมาตรการล็อกดาวน์ หรือมีการผ่อนคลายมาตรการลง แต่ทำให้มีการแพร่ระบาด ของโควิด-19 เพิ่มขึ้น พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 30.26 ระบุว่า ค่อนข้างยอมรับได้ รองลงมา ร้อยละ 29.42 ระบุว่า ไม่ยอมรับเลย ร้อยละ 25.30 ระบุว่า ยอมรับได้แน่นอน ร้อยละ 14.18 ระบุว่า ไม่ค่อยยอมรับ และร้อยละ 0.84 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่สนใจ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.77 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.76 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.29 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.69 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.49 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 48.93 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.07 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่างร้อยละ 8.16 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 16.23 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 20.96 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 31.94 มีอายุ 46 – 59 ปี และร้อยละ 22.71 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 95.20 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.35 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.84 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 0.61 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 22.64 สถานภาพโสด ร้อยละ 74.01 สมรสแล้ว ร้อยละ 3.12 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 0.23 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส
ตัวอย่างร้อยละ 29.80 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 33.61 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 6.33 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 26.14 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 3.51 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 0.61 ไม่ระบุการศึกษา
ตัวอย่างร้อยละ 11.05 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.10 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 20.81ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 14.56 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.09 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 20.65 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 2.90 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.15 เป็นพนักงานองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 0.69 ไม่ระบุอาชีพ
ตัวอย่างร้อยละ 20.27 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 27.36 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 21.42 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 8.61 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 3.89 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 5.03 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 13.42 ไม่ระบุรายได้
“สุทิน”ตั้งข้อสังเกตตัวเลขป่วยโควิดลดลงอย่างน่าสงสัย
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_178075/
“สุทิน” ตั้งข้อสังเกตตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิดลดลงอย่างน่าสงสัย ถามคลายล็อก 1 ก.ย. ได้วิเคราะห์สถานการณ์ตามตัวชี้วัดที่เป็นมาตรฐานหรือไม่
นายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม ประธานวิปฝ่ายค้าน ในฐานะประธานคณะทำงานอภิปรายไม่ไว้วางใจ กล่าวถึงสถานการณ์โควิดในปัจจุบัน ว่า รู้สึกสงสัยในข้อเท็จเรื่องตัวเลขผู้ติดเชื้อ และผู้เสียชีวิตที่ลดลงอย่างผิดสังเกต ซึ่งไม่น่าจะสอดคล้องกับความเป็นจริง เพราะขณะนี้การตรวจด้วยตัวเองเริ่มมีมากขึ้น ผู้ติดเชื้อกระจายไปตามต่างจังหวัด เกิดคลัสเตอร์และเสียชีวิตในชุมชนมากขึ้น ตัวเลขจากส่วนนี้ได้นับรวมเข้าระบบหรือไม่ ถ้าไม่แล้ว สถานการณ์จริงจะผิดเพี้ยนไปจากที่รายงานมาก
โดยการคลายล็อก ซึ่งประกาศให้มีผลวันที่ 1 ก.ย.นี้ก็เช่นกัน ได้วิเคราะห์สถานการณ์ตามตัวชี้วัดที่เป็นมาตรฐานหรือไม่ ถ้าไม่ เราก็จะเข้าสู่ความเสี่ยงอีกต่อไป เพราะประสบการณ์ที่ผ่านมาเราพลาดมาแล้ว เช่นกรณีคลายล็อกให้คนกลับบ้านในวันสงกรานต์เมื่อปี 63 และประสบการณ์ในหลายประเทศ แม้ฉีดวัคซีนได้ตามเกณฑ์แต่ประเมินสถานการณ์ผิดพลาดไป คลายล็อกเข้าก็เกิดการระบาดรอบใหม่ทันที ตนภาวนาทุกวันให้โควิดลดลงเร็วๆ ภาวนาให้ตัวเลขเป็นตามที่รัฐบาลรายงานล่าสุด และ อยากให้คลายล็อกหรือปลดล็อก โดยเร็ววัน เพื่อพวกเราจะได้ทำมาหากินกันปกติ แต่ก็กังวลว่ารัฐบาลจะยืนอยู่บนความจริงหรือไม่ เพราะช่วงนี้กำลังจะมีการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ เกรงว่ารัฐบาลจะอำพรางสถานการณ์ให้ดูดี เพื่อลดน้ำหนักการอภิปรายและเอาตัวเองให้รอดเท่านั้น ซึ่งถ้าทำเช่นนั้นขอเตือนรัฐบาล ว่า ไม่คุ้มเพราะกรรมจะตกที่ประชาชนหนักกว่าเดิม