‘สวนดุสิตโพล’ ชี้ 58% คนไทยไม่เห็นด้วยกับการ ‘เปิดประเทศ’
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/945662
"สวนดุสิตโพล" เผยผลสำรวจพบว่าคนไทยส่วนใหญ่ไม่เชื่อมั่นว่าจะ "เปิดประเทศ" ได้ภายใน 120 วัน สาเหตุพบว่า 78% ผู้คนวิตก "ไวรัสสายพันธุ์ใหม่" และ 58% ไม่เห็นด้วยกับการเปิดประเทศ
"สวนดุสิตโพล" มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี “เปิดประเทศใน 120 วัน” โดยสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 3,320 คน สำรวจวันที่ 21 - 24 มิถุนายน 2564 พบว่า ส่วนใหญ่ 60.76% มองว่าการจะเปิดประเทศ ใน 120 วัน ต้องมีการบริหารจัดการที่เป็นระบบ
รองลงมาคือ 59.58% ยังกังวลเรื่องการแพร่ระบาดของโควิด-19 อาจมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น ส่วนอันดับสาม 49.56% มองว่าขึ้นอยู่กับการฉีดวัคซีน เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดหรือไม่ แต่โดยสรุปแล้วประชาชนไม่เห็นด้วยกับการแถลงของนายกฯ ร้อยละ 58.22
นอกจากนี้ ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนจากกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 84.04 คิดเห็นว่าการเปิดประเทศจะทำให้เศรษฐกิจเดินหน้า ประชาชนทำมาหากินได้ แต่เมื่อพิจารณาถึงความเป็นไปได้ของการเปิดประเทศใน 120 วัน กลับพบว่ามีกลุ่มตัวอย่างที่คิดว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ถึง ร้อยละ 39.88
ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความไม่เชื่อมั่นและความวิตกกังวลของประชาชน ซึ่งเป็นโจทย์ที่ท้าทายการทำงานของรัฐบาล
แต่อย่างไรก็ตาม เราไม่ควรฝากความหวังไว้กับรัฐบาลเพียงอย่างเดียว การเปิดประเทศจะสำเร็จได้ทุกคนต้องช่วยกัน รัฐบาลต้องบริหารจัดการอย่างเป็นระบบและทบทวนความเหมาะสมเป็นระยะ ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง เห็นประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
ประชาชนต้องศึกษาข้อมูลให้รู้เท่าทันโรค/วัคซีน การใช้ชีวิตแบบ Next Normal และยังคงต้องตั้งการ์ดแบบสูงสุดเสมอ แม้ว่าจะได้รับวัคซีนแล้วก็ตาม เพื่อให้เราสามารถหยุดการระบาดของโรคได้ และการเปิดประเทศก็จะไม่ไกลเกินเอื้อมอีกต่อไป
ประชาชนโดยส่วนใหญ่มีความกังวลกับนโยบายของรัฐบาลเรื่องการเปิดประเทศใน 120 วัน เนื่องจากรัฐบาล ยังไม่สามารถจัดหาวัคซีนที่มีคุณภาพให้แก่ประชาชนได้ ส่วนวัคซีนหลักๆ ที่รัฐบาลจัดหาให้นั้น ได้แก่ "ซิโนแวค" และ "แอสตร้าเซนเนก้า" มีคุณภาพค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับวัคซีนตัวอื่นๆ เช่น "ไฟเซอร์" และ "โมเดอร์นา"
การตรวจพบเชื้อโควิด-19 ในแพทย์และพยาบาลจังหวัดเชียงรายกว่า 30 คน ทั้งๆ ที่ได้รับวัคซีนซิโนแวคครบสองเข็มแล้ว ทำให้เกิดความกังวลว่าจะมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างหนัก หากมีการเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ
และในกรณีที่ พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ประกาศว่าจะดำเนินการให้มีการฉีดวัคซีนครบ 100 ล้านโดสภายในปี 2564 หรือเกือบ 500,000 โดสต่อวันนั้น ในความเป็นจริง ประเทศไทยฉีดวัคซีนได้โดยเฉลี่ยเพียงวันละประมาณ 200,000 โดสเท่านั้น ซึ่งห่างไกลจากเป้าหมายที่ตั้งไว้อยู่มาก จึงทำให้ประชาชนไม่เชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะสามารถเปิดประเทศได้จริงตามที่แถลงไว้
สื่อมะกันตีข่าว แพทย์อินโดฯ ติดโควิด ดับ 10 รายในเดือนเดียว แม้ฉีดซิโนแวคครบ 2 เข็ม
https://www.matichon.co.th/foreign/news_2798155
เว็บไซต์วอลสตรีทเจอร์นัล รายงานเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน ระบุว่า มีรายงานจากประเทศอินโดนีเซีย ว่าแพทย์ที่เสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด-19 ในเดือนมิถุนายน จำนวน 26 ราย โดยในจำนวนนี้ 10 ราย เป็นแพทย์ที่ได้รับวัคซีนซิโนแวค ครบ 2 เข็มแล้ว
คณะกรรมการบรรเทาผลกระทบจากโควิด-19 ของแพทยสภาอินโดนีเซียระบุว่า อีก 16 รายที่เหลือกำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบสถานะการได้รับวัคซีนอยู่ในเวลานี้ นอกจากนี้ ยังมีการเปิดเผยด้วยว่า ในรอบ 5 เดือนที่ผ่านมา มีแพทย์ถึง 20 ราย ที่เสียชีวิตลงจากการติดเชื้อโควิด แม้จะได้รับวัคซีนซิโนแวคครบ 2 เข็มแล้วก็ตาม หรือคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนแพทย์ที่เสียชีวิตในช่วงเวลาดังกล่าว และมีการคาดการณ์ว่ายอดแพทย์เสียชีวิตจะเพิ่มมากขึ้นในหลายสัปดาห์ข้างหน้า
อย่างไรก็ตาม กระทรวงสาธารณสุขอินโดนีเซียระบุว่า จำเป็นต้องมีการสืบสวนหาสาเหตุการเสียชีวิตอย่างเหมาะสมเพื่อตรวจสอบว่ามีตัวแปรอย่างเช่นการดูแลรักษาของโรงพยาบาลที่ย่ำแย่ หรืออาการเรื้อรังใดๆ ที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตหรือไม่ เช่นเดียวกันกับข้อมูลว่า มีจำนวนแพทย์กี่รายที่ได้รับวัคซีนแล้วติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขอินโดนีเซียระบุว่าไม่ได้เก็บข้อมูลในส่วนนี้
ทั้งนี้ รายงานระบุว่า มีแพทย์กว่า 90 เปอร์เซ็นต์ หรือราว 160,000 คน ที่ได้รับการฉีดวัคซีนซิโนแวคแล้ว ด้านรัฐบาลอินโดนีเซียเคยเปิดเผยเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาว่า ผลการศึกษาประสิทธิภาพในการป้องกันการเสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มแพทย์ที่ได้รับวัคซีนและยังไม่ได้รับวัคซีนนั้นอยู่ในระดับสูง
อย่างไรก็ตาม การศึกษาดังกล่าวมีขึ้นก่อนหน้าการแพร่ระบาดระลอกใหม่ที่พบการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า หรือสายพันธุ์ที่แพร่ระบาดอย่างหนักมาแล้วในประเทศอินเดีย อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อมูลว่าแพทย์ที่เสียชีวิตในเดือนมิถุนายนนั้นติดโควิด-19 สายพันธุ์ใด
“สนั่น” ร้องรัฐเร่งมาตรการเยียวยาธุรกิจช้ำสะสม-ระดมวัคซีนหลังล็อกดาวน์
https://www.prachachat.net/economy/news-699405
“สนั่น” ชี้ ประกาศล็อกกทม.ปริมณฑล-จว ชายแดนใต้ 1 เดือน แม้ช่วยลดวิกฤต สร้างความมั่นใจเปิดประเทศ แต่กระทบธุรกิจช้ำสะสม เรียกร้องรัฐเร่งออกมาตรการเยียวยา -ระดมวัคซีน ม.หอการค้าคาดเสียหายถึง 6 หมื่นล้านต่อเดือน ฉุดจีดีพี 0.3%
วันที่ 27 มิถุนายน 2564 นาย
สนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยไทย เปิดเผยถึงกรณีประกาศล็อกดาวน์ กทม.และ ปริมณฑล และ4 จังหวัดชายแดนใต้ 1 เดือนนับจาก 28 มิถุนายน 2564ว่า สถานการณ์ตัวเลขผู้ติดเชื้อ ยังไม่ลด โดยเฉพาะ กรุงเทพฯ และหลายจังหวัดการที่มีมาตรการออกมาเพื่อลดการเคลื่อนย้ายของประชาชน ทางรัฐบาลก็คงได้หารือกับทางสาธารณสุขดีแล้ว ทางเรา ก็เป็นห่วงเรื่องสาธารณสุขควบคู่ไปกับสถานการณ์เศรษฐกิจที่ตอนนี้ยังไม่ฟื้นต้องประคองกันไป
“การประกาศยกระดับที่ออกมาช่วงนี้ และมีผลดำเนินการเลย ก็ถือว่าเป็นการให้คุมการระบาดได้ และสร้างความมั่นใจในการเปิดประเทศในอนาคต สิ่งสำคัญคือเร่งจัดวัคซีนลงพื้นที่เสี่ยงและมีการระบาดมาก นอกจากนั้นที่สำคัญมากๆ คือ การประกาศล๊อคดาว์นไม่ควรให้ระยะเวลานานเกินไป เพราะกระทบเศรษฐกิจยาวควรต้องมีมาตรการเยียวยาช่วยเหลืออย่างเข้มข้นและตรงถึงผู้ประกอบการ”
“การประกาศครั้งนี้ถึงแม้จะจำกัดบางพื้นที่ แต่หลายธุรกิจกระทบซ้ำ สะสมมาหลายระลอก โดยเฉพาะ ร้านอาหาร กลุ่มท่องเที่ยว และ กลุ่มผู้ใช้แรงงานในภาคบริการที่ อาจจะตกงานในอนาคตอีก เพราะกรุงเทพและปริมณฑล มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่สุด “
ส่วนมาตรการช่วยเหลือ และกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐที่ออกมาแล้ว ทั้งคนละครึ่ง และยิ่งใช้ยิ่งได้ ตอนนี้ได้รับการตอบรับน้อยกว่าประมาณการณ์ไว้ เราต้องมาดูว่าจะมีมาตรการไหนออกมาอีก เพราะที่สำคัญคือมาตรการเยียวยาประคองธุรกิจ
สำหรับการประเมินความเสียหายเบื้องต้น ทาง มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยประเมินไว้ว่าจะเสียหายเพิ่มจากเดิม ประมาณวันละ 1,000-2,000 ล้านบาท (เพิ่มจากเดิมมากเพราะ ทางรัฐบาลเพิ่งคลายให้กลับมานั่งทานในร้านอาหารได้ 50% ไม่นานมาก และ เรายังไม่แน่ใจในรายละเอียดของมาตรการที่อาจมีเพิ่มอีก) โดยคำนวนแล้ว จะเป็นเดือนละ 30,000-60,000 ล้านบาท กระทบ GDP ประมาณ 0.1-0.3%
JJNY : 58%ไม่เห็นด้วยกับการเปิดปท.│สื่อมะกันตีข่าว แพทย์อินโดฯติดโควิดดับ│“สนั่น”ร้องรัฐเยียวยาธุรกิจช้ำสะสม│ชาบูดังโอด
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/945662
"สวนดุสิตโพล" มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี “เปิดประเทศใน 120 วัน” โดยสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 3,320 คน สำรวจวันที่ 21 - 24 มิถุนายน 2564 พบว่า ส่วนใหญ่ 60.76% มองว่าการจะเปิดประเทศ ใน 120 วัน ต้องมีการบริหารจัดการที่เป็นระบบ
รองลงมาคือ 59.58% ยังกังวลเรื่องการแพร่ระบาดของโควิด-19 อาจมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น ส่วนอันดับสาม 49.56% มองว่าขึ้นอยู่กับการฉีดวัคซีน เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดหรือไม่ แต่โดยสรุปแล้วประชาชนไม่เห็นด้วยกับการแถลงของนายกฯ ร้อยละ 58.22
นอกจากนี้ ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนจากกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 84.04 คิดเห็นว่าการเปิดประเทศจะทำให้เศรษฐกิจเดินหน้า ประชาชนทำมาหากินได้ แต่เมื่อพิจารณาถึงความเป็นไปได้ของการเปิดประเทศใน 120 วัน กลับพบว่ามีกลุ่มตัวอย่างที่คิดว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ถึง ร้อยละ 39.88
ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความไม่เชื่อมั่นและความวิตกกังวลของประชาชน ซึ่งเป็นโจทย์ที่ท้าทายการทำงานของรัฐบาล
แต่อย่างไรก็ตาม เราไม่ควรฝากความหวังไว้กับรัฐบาลเพียงอย่างเดียว การเปิดประเทศจะสำเร็จได้ทุกคนต้องช่วยกัน รัฐบาลต้องบริหารจัดการอย่างเป็นระบบและทบทวนความเหมาะสมเป็นระยะ ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง เห็นประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
ประชาชนต้องศึกษาข้อมูลให้รู้เท่าทันโรค/วัคซีน การใช้ชีวิตแบบ Next Normal และยังคงต้องตั้งการ์ดแบบสูงสุดเสมอ แม้ว่าจะได้รับวัคซีนแล้วก็ตาม เพื่อให้เราสามารถหยุดการระบาดของโรคได้ และการเปิดประเทศก็จะไม่ไกลเกินเอื้อมอีกต่อไป
ประชาชนโดยส่วนใหญ่มีความกังวลกับนโยบายของรัฐบาลเรื่องการเปิดประเทศใน 120 วัน เนื่องจากรัฐบาล ยังไม่สามารถจัดหาวัคซีนที่มีคุณภาพให้แก่ประชาชนได้ ส่วนวัคซีนหลักๆ ที่รัฐบาลจัดหาให้นั้น ได้แก่ "ซิโนแวค" และ "แอสตร้าเซนเนก้า" มีคุณภาพค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับวัคซีนตัวอื่นๆ เช่น "ไฟเซอร์" และ "โมเดอร์นา"
การตรวจพบเชื้อโควิด-19 ในแพทย์และพยาบาลจังหวัดเชียงรายกว่า 30 คน ทั้งๆ ที่ได้รับวัคซีนซิโนแวคครบสองเข็มแล้ว ทำให้เกิดความกังวลว่าจะมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างหนัก หากมีการเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ
และในกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ประกาศว่าจะดำเนินการให้มีการฉีดวัคซีนครบ 100 ล้านโดสภายในปี 2564 หรือเกือบ 500,000 โดสต่อวันนั้น ในความเป็นจริง ประเทศไทยฉีดวัคซีนได้โดยเฉลี่ยเพียงวันละประมาณ 200,000 โดสเท่านั้น ซึ่งห่างไกลจากเป้าหมายที่ตั้งไว้อยู่มาก จึงทำให้ประชาชนไม่เชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะสามารถเปิดประเทศได้จริงตามที่แถลงไว้
สื่อมะกันตีข่าว แพทย์อินโดฯ ติดโควิด ดับ 10 รายในเดือนเดียว แม้ฉีดซิโนแวคครบ 2 เข็ม
https://www.matichon.co.th/foreign/news_2798155
เว็บไซต์วอลสตรีทเจอร์นัล รายงานเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน ระบุว่า มีรายงานจากประเทศอินโดนีเซีย ว่าแพทย์ที่เสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด-19 ในเดือนมิถุนายน จำนวน 26 ราย โดยในจำนวนนี้ 10 ราย เป็นแพทย์ที่ได้รับวัคซีนซิโนแวค ครบ 2 เข็มแล้ว
คณะกรรมการบรรเทาผลกระทบจากโควิด-19 ของแพทยสภาอินโดนีเซียระบุว่า อีก 16 รายที่เหลือกำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบสถานะการได้รับวัคซีนอยู่ในเวลานี้ นอกจากนี้ ยังมีการเปิดเผยด้วยว่า ในรอบ 5 เดือนที่ผ่านมา มีแพทย์ถึง 20 ราย ที่เสียชีวิตลงจากการติดเชื้อโควิด แม้จะได้รับวัคซีนซิโนแวคครบ 2 เข็มแล้วก็ตาม หรือคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนแพทย์ที่เสียชีวิตในช่วงเวลาดังกล่าว และมีการคาดการณ์ว่ายอดแพทย์เสียชีวิตจะเพิ่มมากขึ้นในหลายสัปดาห์ข้างหน้า
อย่างไรก็ตาม กระทรวงสาธารณสุขอินโดนีเซียระบุว่า จำเป็นต้องมีการสืบสวนหาสาเหตุการเสียชีวิตอย่างเหมาะสมเพื่อตรวจสอบว่ามีตัวแปรอย่างเช่นการดูแลรักษาของโรงพยาบาลที่ย่ำแย่ หรืออาการเรื้อรังใดๆ ที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตหรือไม่ เช่นเดียวกันกับข้อมูลว่า มีจำนวนแพทย์กี่รายที่ได้รับวัคซีนแล้วติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขอินโดนีเซียระบุว่าไม่ได้เก็บข้อมูลในส่วนนี้
ทั้งนี้ รายงานระบุว่า มีแพทย์กว่า 90 เปอร์เซ็นต์ หรือราว 160,000 คน ที่ได้รับการฉีดวัคซีนซิโนแวคแล้ว ด้านรัฐบาลอินโดนีเซียเคยเปิดเผยเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาว่า ผลการศึกษาประสิทธิภาพในการป้องกันการเสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มแพทย์ที่ได้รับวัคซีนและยังไม่ได้รับวัคซีนนั้นอยู่ในระดับสูง
อย่างไรก็ตาม การศึกษาดังกล่าวมีขึ้นก่อนหน้าการแพร่ระบาดระลอกใหม่ที่พบการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า หรือสายพันธุ์ที่แพร่ระบาดอย่างหนักมาแล้วในประเทศอินเดีย อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อมูลว่าแพทย์ที่เสียชีวิตในเดือนมิถุนายนนั้นติดโควิด-19 สายพันธุ์ใด
“สนั่น” ร้องรัฐเร่งมาตรการเยียวยาธุรกิจช้ำสะสม-ระดมวัคซีนหลังล็อกดาวน์
https://www.prachachat.net/economy/news-699405
“สนั่น” ชี้ ประกาศล็อกกทม.ปริมณฑล-จว ชายแดนใต้ 1 เดือน แม้ช่วยลดวิกฤต สร้างความมั่นใจเปิดประเทศ แต่กระทบธุรกิจช้ำสะสม เรียกร้องรัฐเร่งออกมาตรการเยียวยา -ระดมวัคซีน ม.หอการค้าคาดเสียหายถึง 6 หมื่นล้านต่อเดือน ฉุดจีดีพี 0.3%
วันที่ 27 มิถุนายน 2564 นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยไทย เปิดเผยถึงกรณีประกาศล็อกดาวน์ กทม.และ ปริมณฑล และ4 จังหวัดชายแดนใต้ 1 เดือนนับจาก 28 มิถุนายน 2564ว่า สถานการณ์ตัวเลขผู้ติดเชื้อ ยังไม่ลด โดยเฉพาะ กรุงเทพฯ และหลายจังหวัดการที่มีมาตรการออกมาเพื่อลดการเคลื่อนย้ายของประชาชน ทางรัฐบาลก็คงได้หารือกับทางสาธารณสุขดีแล้ว ทางเรา ก็เป็นห่วงเรื่องสาธารณสุขควบคู่ไปกับสถานการณ์เศรษฐกิจที่ตอนนี้ยังไม่ฟื้นต้องประคองกันไป
“การประกาศยกระดับที่ออกมาช่วงนี้ และมีผลดำเนินการเลย ก็ถือว่าเป็นการให้คุมการระบาดได้ และสร้างความมั่นใจในการเปิดประเทศในอนาคต สิ่งสำคัญคือเร่งจัดวัคซีนลงพื้นที่เสี่ยงและมีการระบาดมาก นอกจากนั้นที่สำคัญมากๆ คือ การประกาศล๊อคดาว์นไม่ควรให้ระยะเวลานานเกินไป เพราะกระทบเศรษฐกิจยาวควรต้องมีมาตรการเยียวยาช่วยเหลืออย่างเข้มข้นและตรงถึงผู้ประกอบการ”
“การประกาศครั้งนี้ถึงแม้จะจำกัดบางพื้นที่ แต่หลายธุรกิจกระทบซ้ำ สะสมมาหลายระลอก โดยเฉพาะ ร้านอาหาร กลุ่มท่องเที่ยว และ กลุ่มผู้ใช้แรงงานในภาคบริการที่ อาจจะตกงานในอนาคตอีก เพราะกรุงเทพและปริมณฑล มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่สุด “
ส่วนมาตรการช่วยเหลือ และกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐที่ออกมาแล้ว ทั้งคนละครึ่ง และยิ่งใช้ยิ่งได้ ตอนนี้ได้รับการตอบรับน้อยกว่าประมาณการณ์ไว้ เราต้องมาดูว่าจะมีมาตรการไหนออกมาอีก เพราะที่สำคัญคือมาตรการเยียวยาประคองธุรกิจ
สำหรับการประเมินความเสียหายเบื้องต้น ทาง มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยประเมินไว้ว่าจะเสียหายเพิ่มจากเดิม ประมาณวันละ 1,000-2,000 ล้านบาท (เพิ่มจากเดิมมากเพราะ ทางรัฐบาลเพิ่งคลายให้กลับมานั่งทานในร้านอาหารได้ 50% ไม่นานมาก และ เรายังไม่แน่ใจในรายละเอียดของมาตรการที่อาจมีเพิ่มอีก) โดยคำนวนแล้ว จะเป็นเดือนละ 30,000-60,000 ล้านบาท กระทบ GDP ประมาณ 0.1-0.3%