ชมรมแพทย์ชนบท ส่องลึกจัดซื้อ ATK 8.5 ล้านชิ้น เตือนดันทุรังระวังเสียอนาคต
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6585951
ชมรมแพทย์ชนบท ส่องลึกกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ATK 8.5 ล้านชิ้น ชี้ผิดขั้นตอนทางกฎหมายหลายประการ ชี้คนที่ลงนามและมีส่วนร่วมในการจัดซื้อครั้งนี้ อาจจะต้องเสียอนาคตทางราชการก็เป็นได้
วันที่ 26 ส.ค. 2564 เพจเฟซบุ๊ก ชมรมแพทย์ชนบท ได้โพสต์ถึงการจัดซื้อจัดจ้าง ATK 8.5 ล้านชิ้น โดยระบุว่า
ส่องลึก กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ATK 8.5 ล้านชิ้น ผิดขั้นตอนทางกฎหมายหลายประการ ขั้นตอนคร่าวๆในการจัดซื้อ ATK 8.5 ล้านชิ้น โดยย่อและเข้าใจง่าย มีประมาณนี้คือ
1. สปสช.ในฐานะเจ้าของงบประมาณ จะเป็นผู้ดำเนินการทำรายการความต้องการเพื่อเสนอบอร์ด สปสช. เนื่องจาก ATK เป็นรายการใหม่ จึงต้องกำหนดคุณลักษณะ(สเป็ค) ก่อน เมื่อกำหนดสเป็คได้แล้ว ก็ต้องสืบราคา ต่อรองราคา กำหนดมาตรฐานเบื้องต้น เพื่อกำหนดราคากลาง นำสเป็คและราคากลางนั้นไปคำนวณเพื่อของบประมาณ จนได้รับการอนุมัติจากบอร์ด สปสช. แต่เนื่องจาก สปสช.ไม่สามารถจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์เองได้ จึงต้องส่งเรื่องให้โรงพยาบาลราชวิถีในนามเครือข่ายหน่วยบริการ และองค์การเภสัชกรรมดำเนินการ
2. พอเรื่องไปถึงโรงพยาบาลราชวิถี ซึ่งสังกัดกรมการแพทย์ ตามปกติ เรื่องดังกล่าวต้องมีการนำเข้าขออนุมัติในที่ประชุมคณะอนุกรรมการจัดทำแผนการจัดซื้อยา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นตามโครงการพิเศษ (มีรองปลัด นพ.ธงชัย กีรติหัตยากร เป็นประธานแทนปลัดฯ) ซึ่งต้องให้ความเห็นชอบแผนในการจัดซื้อ อันประกอบด้วยคุณลักษณะ หรือสเป็ค ราคา และจำนวน ตามที่ สปสช.ส่งมา หากไม่เห็นชอบก็ต้องยื่นคัดค้าน แต่ที่ผ่านมาด้วยความรีบเร่ง ไม่ได้มีการประชุมเพื่ออนุมัติแผนกรณี ATK แต่อย่างใด
3. เมื่อมีการอนุมัติแผนแล้วว่าซื้อแน่ ในสเป็คไหน จำนวนเท่าไหร่ ที่ราคากลางใด ทางโรงพยาบาลราชวิถี ก็จะส่งเรื่องไปที่องค์การเภสัชกรรม เพื่อให้เริ่มกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างขององค์การเภสัชกรรม แต่กรณีนี้น่าสนใจมากตรงที่ว่า คณะอนุกรรมการจัดทำแผนฯ ยังไม่ได้มีการประชุม แต่องค์การเภสัชกรรมก็รีบไปดำเนินการ และที่สำคัญ ได้ดำเนินการลดสเป็คการจัดซื้อลงไป (โดยตัดคำว่า มาตรฐานองค์การอนามัยโลกออก) โดยพลการ เป็นการลดสเป็คโดยไม่มีอำนาจ การลดสเป็คโดยพลการ โดยไม่ลดราคากลาง แม้จะเลือกรายที่เสนอราคาต่ำสุด แต่ก็ยังส่งผลให้ได้ชุดตรวจ ATK ที่ราคาแพงในสเป็คที่ไม่ตรงกับความต้องการของเจ้าของงบคือ สปสช. และไม่ตรงกับความต้องการใช้ ATK ของบุคลากรทางการแพทย์และหน่วยบริการที่ต้องการใช้ ATK คุณภาพสูง เพื่อการแก้ปัญหาวิกฤตโรคโควิดที่ระบาดรุนแรงในขณะนี้
4. เมื่อองค์การเภสัชกรรมจัดซื้อจัดจ้าง จนได้ผู้ชนะการประมูลแล้ว ก็ต้องแจ้งผลการจัดซื้อกลับมาที่โรงพยาบาลราชวิถี เพื่อดำเนินการลงนามการจัดซื้อจัดจ้าง หากโรงพยาบาลราชวิถีเห็นชอบลงนามในสัญญาการจัดซื้อตามที่องค์การเภสัชกรรมเสนอมา ทางองค์การเภสัชกรรมก็จะลงนามสั่งซื้อจากบริษัท แต่ ผอ.รพ.ราชวิถี ยังไม่ลงนาม เพราะรู้อยู่แก่ใจว่า ซื้อผิดสเป็ค และราคาที่ได้มาก็แพงกว่าราคาท้องตลาดที่ขายในยุโรปถึง 2 เท่า ลงนามไปก็อาจติดคุก จึงเกิดความชงักงัน จะเดินหน้าก็มีความผิด จะถอยหลังก็ไม่ได้
นี่คือเรื่องที่น่าปวดหัวของกรณี ATK ต้นเหตุทั้งหมดก็เกิดจากการที่องค์การเภสัชกรรมไปลดสเป็ค ไม่ตรงกับความต้องการของเจ้าของงบประมาณนั่นเอง (ทำไมองค์การเภสัชจึงกล้าลดสเป็ค อันนี้ก็มีความน่าสนใจ) และยังมีการทำผิดขั้นตอนทางกฎหมายหลายประการ และหากมีการดันทุรังลงนามจัดซื้อให้ได้ คนที่ลงนามและมีส่วนร่วมในการจัดซื้อครั้งนี้ อาจจะต้องเสียอนาคตทางราชการก็เป็นได้
ชมรมแพทย์ชนบท
26 สิงหาคม 2564
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=4953393018021149&id=142436575783508
ครูเกษียณวัย 74 เสียชีวิต สามีเชื่อเป็นเพราะวัคซีน
https://ch3plus.com/news/program/254985
ลำปาง-ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่บ้านใน ต.พิชัย อ.เมือง จ.ลำปาง ซึ่งใช้เป็นสถานที่จัดงานบำเพ็ญกุศลศพของ นาง
ศรีนุช วงศ์ชัย อายุ 74 ปี ซึ่งเสียชีวิตหลังได้รับวัคซีนโควิด-19 (ซิโนแวค)ได้เพียง 3 วัน โดยบรรยากาศภายในงานเป็นไปด้วยความโศกเศร้ามีญาติและชาวบ้านมาช่วยกันจัดเตรียมงาน
นาย
สมศักดิ์ วงศ์ชัย อายุ 67 ปี สามีของผู้ตายพร้อมเปิดเผยว่า ภรรยาเป็นข้าราชการบำนาญครู ร่างกายโดยรวมถือว่าแข็งแรงมาก ก่อนหน้านี้มีคนชวนไปฉีดวัคซีนแต่ภรรยาบอกไม่กล้าไปเพราะกลัว
จนกระทั่งเขามีการประกาศเสียงตามสายในหมู่บ้าน ให้ผู้สูงอายุและกลุ่มเสี่ยงไปฉีดวัคซีน ตนเองกับภรรยาจึงตัดสินใจไปฉีดวัคซีนเข็มแรกเมื่อวันที่ 20 ส.ค.64 เพื่อให้ความร่วมมือกับหมู่บ้านโดยหลังฉีดวัคซีนตนเองมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัวเล็กน้อย
ส่วนภรรยาไม่ค่อยมีอาการอะไร จนกระทั่งเช้าวันที่ 24 ตนเองเห็นภรรยาไม่ออกจากห้องจึงเข้าไปปลุกพบว่าภรรยามือเกร็ง ใบหน้าคล้ำ เลือดออกปาก จึงพยายามปั๊มหัวใจ แต่ภรรยาได้เสียชีวิตไปก่อนหน้านี้แล้ว
เท่าที่ทราบเบื้องต้นผลชันสูตรบอกว่าเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ และส่วนตัวเชื่อว่าเป็นผลมาจากการฉีดซีนโควิด-19 ตอนนี้ตนเองก็ไม่รู้ว่าจะไปฉีดเข็มสองหรือไม่ เพราะกลัวหลังจากที่ภรรยาเสียชีวิตลง
รับชมผ่านยูทูบได้ที่ :
https://youtu.be/Uy1IsMK69BI
ไต้หวันประสบความสำเร็จคุมโควิดอยู่หมัด ไม่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่
https://www.tnnthailand.com/news/covid19/89137/
ไต้หวันรายงานไม่พบผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 รายใหม่ หรือผู้ติดเชื้อเป็นศูนย์ ในวันพุธ ซึ่งเป็นครั้งแรกตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม ที่ไม่มีการระบาดในชุมชน
วันนี้ ( 26 ส.ค. 64 )ไต้หวันรายงานไม่พบผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 รายใหม่ หรือผู้ติดเชื้อเป็นศูนย์ ในวันพุธ ซึ่งเป็นครั้งแรกตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม ที่ไม่มีการระบาดในชุมชน ทำให้ขณะนี้ ไต้หวันสามารถควบคุมการระบาดของไวรัสโควิดได้แล้ว
ทั้งนี้จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโควิดในไต้หวัน เริ่มเพิ่มขึ้นในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม หลังจากหลายเดือนที่ไม่พบผู้ติดเชื้อ หรือติดเชื้อในท้องถิ่นน้อยมาก กระตุ้นให้รัฐบาลออกมาตรการห้ามชุมนุม, ปิดสถานบันเทิงและห้ามนั่งรับประทานอาหารภายในร้าน เมื่อประสบความสำเร็จในการใช้มาตรการเหล่านี้ ซึ่งรวมทั้งการเพิ่มการตรวจหาเชื้อและปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เช่นการสวมหน้ากากอนามัย ไต้หวันจึงเริ่มผ่อนคลายมาตรการคุมเข้มเมื่อเดือนที่แล้ว
อย่างไรก็ตาม การควบคุมพรมแดน และการกักตัวของผู้เดินทางเข้าไต้หวันยังเข้มข้นอยู่เหมือนเดิม
เฉิน ชีห์-ชุง รัฐมนตรีสาธารณสุขของไต้หวัน กล่าวว่า เขามีความสุขที่ไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ในท้องถิ่น แต่ประชาชนไม่ควรจะพอใจกับความสำเร็จนี้และชะล่าใจจนหละหลวมในการป้องกัน สองสัปดาห์นี้ถือว่าเป็นช่วงการเฝ้าระวังที่สำคัญ เขาหวังว่าจะสามารถควบคุมได้ ทุกคนอย่าการ์ดตก
ความสำเร็จของไต้หวันสวนทางกับหลายประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งเวียดนาม และญี่ปุ่น ซึ่งเชื้อไวรัสระบาดอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ การระบาดในไต้หวัน ส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์อัลฟา (Alpha) ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดทั่วโลกก่อนหน้านี้ มากกว่าสายพันธุ์เดลตา ที่มีอัตราการติดเชื้อและระบาดรวดเร็ว
ไต้หวัน รายงานมีผู้ติดเชื้อไวรัสโควิดทั้งสิ้น 15,939 รายตั้งแต่เริ่มการระบาด และมีผู้เสียชีวิต 830 ราย
JJNY : 4in1 ส่องลึกจัดซื้อ ATK│ครูเกษียณวัย 74 เสียชีวิต สามีเชื่อเพราะวัคซีน│ไต้หวันสำเร็จคุมโควิด│วอนรัฐคลายล็อกดาวน์
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6585951
ชมรมแพทย์ชนบท ส่องลึกกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ATK 8.5 ล้านชิ้น ชี้ผิดขั้นตอนทางกฎหมายหลายประการ ชี้คนที่ลงนามและมีส่วนร่วมในการจัดซื้อครั้งนี้ อาจจะต้องเสียอนาคตทางราชการก็เป็นได้
วันที่ 26 ส.ค. 2564 เพจเฟซบุ๊ก ชมรมแพทย์ชนบท ได้โพสต์ถึงการจัดซื้อจัดจ้าง ATK 8.5 ล้านชิ้น โดยระบุว่า
ส่องลึก กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ATK 8.5 ล้านชิ้น ผิดขั้นตอนทางกฎหมายหลายประการ ขั้นตอนคร่าวๆในการจัดซื้อ ATK 8.5 ล้านชิ้น โดยย่อและเข้าใจง่าย มีประมาณนี้คือ
1. สปสช.ในฐานะเจ้าของงบประมาณ จะเป็นผู้ดำเนินการทำรายการความต้องการเพื่อเสนอบอร์ด สปสช. เนื่องจาก ATK เป็นรายการใหม่ จึงต้องกำหนดคุณลักษณะ(สเป็ค) ก่อน เมื่อกำหนดสเป็คได้แล้ว ก็ต้องสืบราคา ต่อรองราคา กำหนดมาตรฐานเบื้องต้น เพื่อกำหนดราคากลาง นำสเป็คและราคากลางนั้นไปคำนวณเพื่อของบประมาณ จนได้รับการอนุมัติจากบอร์ด สปสช. แต่เนื่องจาก สปสช.ไม่สามารถจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์เองได้ จึงต้องส่งเรื่องให้โรงพยาบาลราชวิถีในนามเครือข่ายหน่วยบริการ และองค์การเภสัชกรรมดำเนินการ
2. พอเรื่องไปถึงโรงพยาบาลราชวิถี ซึ่งสังกัดกรมการแพทย์ ตามปกติ เรื่องดังกล่าวต้องมีการนำเข้าขออนุมัติในที่ประชุมคณะอนุกรรมการจัดทำแผนการจัดซื้อยา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นตามโครงการพิเศษ (มีรองปลัด นพ.ธงชัย กีรติหัตยากร เป็นประธานแทนปลัดฯ) ซึ่งต้องให้ความเห็นชอบแผนในการจัดซื้อ อันประกอบด้วยคุณลักษณะ หรือสเป็ค ราคา และจำนวน ตามที่ สปสช.ส่งมา หากไม่เห็นชอบก็ต้องยื่นคัดค้าน แต่ที่ผ่านมาด้วยความรีบเร่ง ไม่ได้มีการประชุมเพื่ออนุมัติแผนกรณี ATK แต่อย่างใด
3. เมื่อมีการอนุมัติแผนแล้วว่าซื้อแน่ ในสเป็คไหน จำนวนเท่าไหร่ ที่ราคากลางใด ทางโรงพยาบาลราชวิถี ก็จะส่งเรื่องไปที่องค์การเภสัชกรรม เพื่อให้เริ่มกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างขององค์การเภสัชกรรม แต่กรณีนี้น่าสนใจมากตรงที่ว่า คณะอนุกรรมการจัดทำแผนฯ ยังไม่ได้มีการประชุม แต่องค์การเภสัชกรรมก็รีบไปดำเนินการ และที่สำคัญ ได้ดำเนินการลดสเป็คการจัดซื้อลงไป (โดยตัดคำว่า มาตรฐานองค์การอนามัยโลกออก) โดยพลการ เป็นการลดสเป็คโดยไม่มีอำนาจ การลดสเป็คโดยพลการ โดยไม่ลดราคากลาง แม้จะเลือกรายที่เสนอราคาต่ำสุด แต่ก็ยังส่งผลให้ได้ชุดตรวจ ATK ที่ราคาแพงในสเป็คที่ไม่ตรงกับความต้องการของเจ้าของงบคือ สปสช. และไม่ตรงกับความต้องการใช้ ATK ของบุคลากรทางการแพทย์และหน่วยบริการที่ต้องการใช้ ATK คุณภาพสูง เพื่อการแก้ปัญหาวิกฤตโรคโควิดที่ระบาดรุนแรงในขณะนี้
4. เมื่อองค์การเภสัชกรรมจัดซื้อจัดจ้าง จนได้ผู้ชนะการประมูลแล้ว ก็ต้องแจ้งผลการจัดซื้อกลับมาที่โรงพยาบาลราชวิถี เพื่อดำเนินการลงนามการจัดซื้อจัดจ้าง หากโรงพยาบาลราชวิถีเห็นชอบลงนามในสัญญาการจัดซื้อตามที่องค์การเภสัชกรรมเสนอมา ทางองค์การเภสัชกรรมก็จะลงนามสั่งซื้อจากบริษัท แต่ ผอ.รพ.ราชวิถี ยังไม่ลงนาม เพราะรู้อยู่แก่ใจว่า ซื้อผิดสเป็ค และราคาที่ได้มาก็แพงกว่าราคาท้องตลาดที่ขายในยุโรปถึง 2 เท่า ลงนามไปก็อาจติดคุก จึงเกิดความชงักงัน จะเดินหน้าก็มีความผิด จะถอยหลังก็ไม่ได้
นี่คือเรื่องที่น่าปวดหัวของกรณี ATK ต้นเหตุทั้งหมดก็เกิดจากการที่องค์การเภสัชกรรมไปลดสเป็ค ไม่ตรงกับความต้องการของเจ้าของงบประมาณนั่นเอง (ทำไมองค์การเภสัชจึงกล้าลดสเป็ค อันนี้ก็มีความน่าสนใจ) และยังมีการทำผิดขั้นตอนทางกฎหมายหลายประการ และหากมีการดันทุรังลงนามจัดซื้อให้ได้ คนที่ลงนามและมีส่วนร่วมในการจัดซื้อครั้งนี้ อาจจะต้องเสียอนาคตทางราชการก็เป็นได้
ชมรมแพทย์ชนบท
26 สิงหาคม 2564
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=4953393018021149&id=142436575783508
ครูเกษียณวัย 74 เสียชีวิต สามีเชื่อเป็นเพราะวัคซีน
https://ch3plus.com/news/program/254985
ลำปาง-ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่บ้านใน ต.พิชัย อ.เมือง จ.ลำปาง ซึ่งใช้เป็นสถานที่จัดงานบำเพ็ญกุศลศพของ นางศรีนุช วงศ์ชัย อายุ 74 ปี ซึ่งเสียชีวิตหลังได้รับวัคซีนโควิด-19 (ซิโนแวค)ได้เพียง 3 วัน โดยบรรยากาศภายในงานเป็นไปด้วยความโศกเศร้ามีญาติและชาวบ้านมาช่วยกันจัดเตรียมงาน
นายสมศักดิ์ วงศ์ชัย อายุ 67 ปี สามีของผู้ตายพร้อมเปิดเผยว่า ภรรยาเป็นข้าราชการบำนาญครู ร่างกายโดยรวมถือว่าแข็งแรงมาก ก่อนหน้านี้มีคนชวนไปฉีดวัคซีนแต่ภรรยาบอกไม่กล้าไปเพราะกลัว
จนกระทั่งเขามีการประกาศเสียงตามสายในหมู่บ้าน ให้ผู้สูงอายุและกลุ่มเสี่ยงไปฉีดวัคซีน ตนเองกับภรรยาจึงตัดสินใจไปฉีดวัคซีนเข็มแรกเมื่อวันที่ 20 ส.ค.64 เพื่อให้ความร่วมมือกับหมู่บ้านโดยหลังฉีดวัคซีนตนเองมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัวเล็กน้อย
ส่วนภรรยาไม่ค่อยมีอาการอะไร จนกระทั่งเช้าวันที่ 24 ตนเองเห็นภรรยาไม่ออกจากห้องจึงเข้าไปปลุกพบว่าภรรยามือเกร็ง ใบหน้าคล้ำ เลือดออกปาก จึงพยายามปั๊มหัวใจ แต่ภรรยาได้เสียชีวิตไปก่อนหน้านี้แล้ว
เท่าที่ทราบเบื้องต้นผลชันสูตรบอกว่าเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ และส่วนตัวเชื่อว่าเป็นผลมาจากการฉีดซีนโควิด-19 ตอนนี้ตนเองก็ไม่รู้ว่าจะไปฉีดเข็มสองหรือไม่ เพราะกลัวหลังจากที่ภรรยาเสียชีวิตลง
รับชมผ่านยูทูบได้ที่ : https://youtu.be/Uy1IsMK69BI
ไต้หวันประสบความสำเร็จคุมโควิดอยู่หมัด ไม่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่
https://www.tnnthailand.com/news/covid19/89137/
ไต้หวันรายงานไม่พบผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 รายใหม่ หรือผู้ติดเชื้อเป็นศูนย์ ในวันพุธ ซึ่งเป็นครั้งแรกตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม ที่ไม่มีการระบาดในชุมชน
วันนี้ ( 26 ส.ค. 64 )ไต้หวันรายงานไม่พบผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 รายใหม่ หรือผู้ติดเชื้อเป็นศูนย์ ในวันพุธ ซึ่งเป็นครั้งแรกตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม ที่ไม่มีการระบาดในชุมชน ทำให้ขณะนี้ ไต้หวันสามารถควบคุมการระบาดของไวรัสโควิดได้แล้ว
ทั้งนี้จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโควิดในไต้หวัน เริ่มเพิ่มขึ้นในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม หลังจากหลายเดือนที่ไม่พบผู้ติดเชื้อ หรือติดเชื้อในท้องถิ่นน้อยมาก กระตุ้นให้รัฐบาลออกมาตรการห้ามชุมนุม, ปิดสถานบันเทิงและห้ามนั่งรับประทานอาหารภายในร้าน เมื่อประสบความสำเร็จในการใช้มาตรการเหล่านี้ ซึ่งรวมทั้งการเพิ่มการตรวจหาเชื้อและปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เช่นการสวมหน้ากากอนามัย ไต้หวันจึงเริ่มผ่อนคลายมาตรการคุมเข้มเมื่อเดือนที่แล้ว
อย่างไรก็ตาม การควบคุมพรมแดน และการกักตัวของผู้เดินทางเข้าไต้หวันยังเข้มข้นอยู่เหมือนเดิม
เฉิน ชีห์-ชุง รัฐมนตรีสาธารณสุขของไต้หวัน กล่าวว่า เขามีความสุขที่ไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ในท้องถิ่น แต่ประชาชนไม่ควรจะพอใจกับความสำเร็จนี้และชะล่าใจจนหละหลวมในการป้องกัน สองสัปดาห์นี้ถือว่าเป็นช่วงการเฝ้าระวังที่สำคัญ เขาหวังว่าจะสามารถควบคุมได้ ทุกคนอย่าการ์ดตก
ความสำเร็จของไต้หวันสวนทางกับหลายประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งเวียดนาม และญี่ปุ่น ซึ่งเชื้อไวรัสระบาดอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ การระบาดในไต้หวัน ส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์อัลฟา (Alpha) ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดทั่วโลกก่อนหน้านี้ มากกว่าสายพันธุ์เดลตา ที่มีอัตราการติดเชื้อและระบาดรวดเร็ว
ไต้หวัน รายงานมีผู้ติดเชื้อไวรัสโควิดทั้งสิ้น 15,939 รายตั้งแต่เริ่มการระบาด และมีผู้เสียชีวิต 830 ราย