ชมรมแพทย์ชนบทเปิดหลักฐาน ชี้ อภ. จัดซื้อ ATK 8.5 ล้านชุด ส่อผิดกฎหมาย
เมื่อวันที่ 3 กันยายน ชมรมแพทย์ชนบท โพสต์ในเพจเฟซบุ๊ก “ชมรมแพทย์ชนบท” ถึงกรณีข้อสังเกตในกระบวนการจัดซื้อชุดตรวจแอนติเจน เทสต์ คิท หรือ (ATK) จำนวน 8.5 ล้านชุด ขององค์การเภสัชกรรม (อภ.) ทั้งนี้ ข้อความระบุว่า
“หรือนี่คือร่องรอยการส่อทุจริตขององค์การเภสัชกรรม คนที่ติดตามข่าว ATK 8.5 ล้านชิ้นนั้น จะทราบว่า บริษัทที่ยื่นประมูลและชนะการประมูลคือ บริษัท ออสท์แลนด์ แคปปิตอล จำกัด แต่วันลงนามในสัญญากลับลงนามโดย บริษัท เวิลด์ เมดิคอล อัลไลแอนท์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งผิดกฎหมายชัดๆ องค์การเภสัชกรรมพอรู้ตัวว่า “พลาดแล้ว” จึงเล่นบทที่ช่างกล้า แถลงว่า ชื่อผู้ยื่นซองประมูลไม่ใช่ออสท์แลนด์ แต่เป็นบริษัท เวิลด์ เมดิคอล อัลไลแอนท์ (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะผู้แทนจำหน่าย
ชัดเจนว่าที่ผ่านมา ชื่อออสท์แลนด์ฯ คือชื่อผู้ชนะการประมูล ไม่มีชื่อเวิลด์ เมดิคอลฯ ดังปรากฏในหลักฐานเบื้องต้นทั้ง 3 รูปที่แนบมาด้วยคือ
1.องค์การเภสัชกรรมได้ทำหนังสือเชิญชวนบริษัทออสท์แลนด์ฯให้มายื่นซอง ซึ่งระบุชัดว่า หากบริษัทนำเข้าไม่ใช่บริษัทเดียวกับผู้แทนจำหน่าย จะต้องมีเอกสารการแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายด้วย ซึ่งหากมีการแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายมาก่อนแล้ว บริษัท เวิลด์ เมดิคอลฯก็ย่อมใช้ชื่อตนเองในการยื่น แต่ทำไมกลับไม่ได้ใช้ยื่น
2.รูปการเขียนผลการเปิดซองบนกระดาน มีชื่อบริษัทออสท์แลนด์หมายเลข 11 แต่ไม่มีชื่อบริษัท เวิลด์ เมดิคอลฯ (มีเจ้าหน้าที่องค์การเภสัชกรรมหลายคนร่วมในเหตุการณ์)
3.รูปในข้อ 2 สอดคล้องกับ ข่าวองค์การเภสัชกรรม 11 สิงหาคม 2564 (วันเปิดซองประกวดราคา) ระบุชัดเจนว่า “บริษัท ออสท์แลนด์ แคปปิตอล จำกัด เป็นผู้ที่เสนอราคาต่ำที่สุด” ไม่ใช่บริษัท เวิลด์ เมดิคอลฯ
เมื่อเป็นประเด็นร้อน ข่าวองค์การเภสัชกรรม 2 กันยายน 2564 เพิ่งมา “ชี้แจงย้ำว่า ผู้ยื่นซองคือบริษัท เวิลด์ เมดิคอลฯ โดยได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทออสแลนด์ฯให้เป็นผู้แทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ” ซึ่งถือเป็นร่องรอยการส่อทุจริตที่สำคัญ
ชมรมแพทย์ชนบทขอเรียกร้องต่อ โรงพยาบาลราชวิถีในฐานะผู้แทนหน่วยบริการ สปสช.ในฐานะผู้จ่ายเงินงบประมาณซื้อ ATK กระทรวงสาธารณสุข ในฐานะคณะกรรมการกำหนดแผนฯที่เป็นผู้รับรองราคาและสเปก กรมบัญชีกลางในฐานะผู้คุ้มกฎ และ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ได้เร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องผู้ประมูลเป็นคนละรายกับผู้ลงนามในสัญญาให้ละเอียดโดยเร็ว ว่าเป็นการการกระทำที่ผิดกฏหมายและเอื้อเอกชนหรือไม่ รวมทั้งมีการแก้ไขเอกสารการประมูลเพื่อสร้างหลักฐานเท็จหรือไม่ และควรมีการอายัติและเปิดเอกสารทั้งหมดเพื่อตรวจสอบอย่างเร่งด่วน
ATK ล็อตนี้นอกจากมีความคลางแคลงสงสัยในคุณภาพแล้ว หากยังมีการประมูลที่ขาดธรรมาภิบาลด้วยแล้ว ยิ่งเป็นตราบาปกำลัง 2 ของรัฐบาล และกระทรวงสาธารณสุข ที่ไม่ควรเกิดขึ้น องค์การเภสัชกรรมเคยเป็นองค์กรแห่งความหวังของเราชาวแพทย์ชนบทและสังคมไทย มิควรต้องมัวหมองเพราะการบริหารที่ไม่ตรงไปตรงมาโดยผู้บริหารไม่กี่คน สังคมไทยและรัฐบาลต้องร่วมกันทำความจริงให้กระจ่างโดยเร็ว”
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=4978033915557059&id=142436575783508
แย่งด่านหน้าอีกแล้ว!เพจดังแฉเอกสารหลุด พนง.โรงแรมนับร้อยฉีดไฟเซอร์เข็ม3
https://www.dailynews.co.th/news/231248/
ทำได้ไง!เพจดังแฉเอกสารหลุด โรงแรมดังได้สิทธิฉีดวัคซีนไฟเซอร์ให้พนักงานนับร้อยคน พร้อมกำชับห้ามโพสต์ลงเฟซบุ๊กเด็ดขาด
เมื่อวันที่ 3 ก.ย.การเรียกร้องวัคซีนที่มีคุณภาพสูงเพื่อมาฉีดให้เจ้าหน้าที่ด่านหน้า กลายเป็นเรื่องร้อนแรงหลังจากที่รัฐบาลมีการนำเข้าวัคซีนซิโนแวคอย่างต่อเนื่อง กระทั่ง นพ.ทศพร เสรีรักษ์ ส.ส.พรรคเพื่อไทย ได้เข้ายื่นหนังสือต่อสถานทูตสหรัฐเพื่อขอให้มอบวัคซีนไฟเซอร์ให้กับประเทศไทย กระทั่งสหรัฐอเมริกาก็บริจาควัคซีนไฟเซอร์ล็อตแรก 1 ล้านโดสเข้ามาให้ไทยได้ใช้ ซึ่งมีการตกลงกันว่า จะให้บุคลากรด่านหน้ากว่า 7 แสนคนได้ฉีดก่อน ถัดมาเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงอย่าง คนท้อง เด็กที่มีโรคประจำตัว ผู้สูงอายุ ซึ่งมีจำนวนมาก
ล่าสุด เพจ CSI LA ได้แชร์เอกสารจำนวนหนึ่ง ซึ่งระบุว่า เป็นเอกสารหลุดจากโรงแรมแห่งหนึ่ง ที่มีพนักงานนับร้อยคนเข้ารับการฉีดไฟเซอร์ ทั้งที่บางจังหวัดยังไม่สามารถฉีดให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้ตามข้อตกลงที่เกิดขึ้น โดยเอกสารดังกล่าวมีชื่อและตำแหน่งของผู้ฉีด พร้อมระบุว่า เป็นการฉีดวัคซีนเข็ม 3 และข้อความจากไลน์ ที่ระบุว่า ห้ามนำเอกสารดังกล่าวโพสต์ลงเฟซบุ๊กเด็ดขาด.
https://www.facebook.com/CSILA90210/posts/4301439229933769
ไฟเซอร์-เมอร์ค เร่งเดินหน้าพัฒนา 'ยาเม็ดต้านโควิด' เล็งขออนุมัติสิ้นปีนี้
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6599510
เมื่อวันที่ 1 กันยายนที่ผ่านมา รอยเตอร์ รายงานว่า บริษัท ไฟเซอร์ อิงค์. และ เมอร์ค แอนด์ โค อิงค์. ของสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศถึงการทดลองใหม่สำหรับ ‘ยาต่อต้านโควิด-19 ชนิดเม็ด’ สำหรับกิน เพื่อพัฒนาการรักษา หลังจากที่ในปัจจุบันจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว
โดย ไฟเซอร์ ได้กล่าวว่า กำลังอยู่ระหว่างการทดลองยาเม็ดที่มีชื่อว่า ‘PF-07321332’ โดยได้ทำการทดลองยาดังกล่าวกับผู้ป่วยจำนวน 1,140 ราย และมีการให้ยาริโทนาเวียร์ ร่วมในการทดลองด้วย ซึ่งโครงการทดลองกำลังอยู่ในระยะที่ 2 และระยะที่ 3
และคาดว่า จะยื่นขออนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐ ในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ สำหรับการใช้ยา PF-07321332 ในกรณีฉุกเฉิน ทั้งนี้ยาดังกล่าวถูกออกแบบมา เพื่อให้ทำหน้าที่สกัดกั้นกิจกรรมของเอนไซม์ สำคัญชนิดหนึ่ง ซึ่งเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 จำเป็นต้องใช้ในการแบ่งตัว แพร่จำนวนในร่างกายมนุษย์
ในขณะที่ เมอร์ค ได้กล่าวว่า การทดลองใหม่ของบริษัทจะศึกษายาทดลอง ‘โมลนูพิราเวียร์’ เพื่อใช้ป้องกันโควิด-19 ในกลุ่มผู้ใหญ่ในครัวเรือน ซึ่งอยู่ระหว่างการทดลองรักษาขั้นสุดท้ายในผู้ป่วยที่ไม่ได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เพื่อดูว่าจะช่วยลดความเสี่ยงของการรักษาในโรงพยาบาลหรือการเสียชีวิตได้หรือไม่
ทั้งนี้โมลนูพิราเวียร์นั้นเป็นยาต่อต้านไวรัสที่ออกแบบมาเพื่อสร้างความผิดพลาดให้เกิดขึ้นกับสารพันธุกรรมของไวรัส เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแบ่งตัว แพร่กระจายในร่างกาย
อย่างไรก็ตามนอกจากไฟเซอร์ และเมอร์ค ที่กำลังแข่งเพื่อพัฒนายาเม็ดสำหรับกินทางปาก เพื่อให้ง่ายต่อการรักษาผู้ติดเชื้อแล้วนั้นก็ยังมี บริษัท โรช เอจี ของสวิตเซอร์แลนด์ ที่ร่วมมือกับ เอที ฟาร์มาซูติคอล ในการพัฒนายาเม็ด เพื่อรักษาหรือป้องกันโควิด-19 ด้วยอีกบริษัท ซึ่งก่อนหน้านี้เคยออกแถลงว่า ยารหัส AT-527 ได้แสดงผลในการทดลองเบื้องต้นว่า สามารถลดปริมาณไวรัสในตัวผู้ป่วยที่รับการรักษาอยู่ในโรงพยาบาลได้
ที่มา :
reuters
JJNY : แพทย์ชนบทเปิดหลักฐานชี้ อภ.ส่อผิดกม.│แฉพนง.โรงแรมฉีดไฟเซอร์│ไฟเซอร์เร่งพัฒนายาเม็ด│ธุรกิจบริการภาคใต้ปิดกว่า 95%
“หรือนี่คือร่องรอยการส่อทุจริตขององค์การเภสัชกรรม คนที่ติดตามข่าว ATK 8.5 ล้านชิ้นนั้น จะทราบว่า บริษัทที่ยื่นประมูลและชนะการประมูลคือ บริษัท ออสท์แลนด์ แคปปิตอล จำกัด แต่วันลงนามในสัญญากลับลงนามโดย บริษัท เวิลด์ เมดิคอล อัลไลแอนท์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งผิดกฎหมายชัดๆ องค์การเภสัชกรรมพอรู้ตัวว่า “พลาดแล้ว” จึงเล่นบทที่ช่างกล้า แถลงว่า ชื่อผู้ยื่นซองประมูลไม่ใช่ออสท์แลนด์ แต่เป็นบริษัท เวิลด์ เมดิคอล อัลไลแอนท์ (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะผู้แทนจำหน่าย
ชัดเจนว่าที่ผ่านมา ชื่อออสท์แลนด์ฯ คือชื่อผู้ชนะการประมูล ไม่มีชื่อเวิลด์ เมดิคอลฯ ดังปรากฏในหลักฐานเบื้องต้นทั้ง 3 รูปที่แนบมาด้วยคือ
1.องค์การเภสัชกรรมได้ทำหนังสือเชิญชวนบริษัทออสท์แลนด์ฯให้มายื่นซอง ซึ่งระบุชัดว่า หากบริษัทนำเข้าไม่ใช่บริษัทเดียวกับผู้แทนจำหน่าย จะต้องมีเอกสารการแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายด้วย ซึ่งหากมีการแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายมาก่อนแล้ว บริษัท เวิลด์ เมดิคอลฯก็ย่อมใช้ชื่อตนเองในการยื่น แต่ทำไมกลับไม่ได้ใช้ยื่น
2.รูปการเขียนผลการเปิดซองบนกระดาน มีชื่อบริษัทออสท์แลนด์หมายเลข 11 แต่ไม่มีชื่อบริษัท เวิลด์ เมดิคอลฯ (มีเจ้าหน้าที่องค์การเภสัชกรรมหลายคนร่วมในเหตุการณ์)
3.รูปในข้อ 2 สอดคล้องกับ ข่าวองค์การเภสัชกรรม 11 สิงหาคม 2564 (วันเปิดซองประกวดราคา) ระบุชัดเจนว่า “บริษัท ออสท์แลนด์ แคปปิตอล จำกัด เป็นผู้ที่เสนอราคาต่ำที่สุด” ไม่ใช่บริษัท เวิลด์ เมดิคอลฯ
เมื่อเป็นประเด็นร้อน ข่าวองค์การเภสัชกรรม 2 กันยายน 2564 เพิ่งมา “ชี้แจงย้ำว่า ผู้ยื่นซองคือบริษัท เวิลด์ เมดิคอลฯ โดยได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทออสแลนด์ฯให้เป็นผู้แทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ” ซึ่งถือเป็นร่องรอยการส่อทุจริตที่สำคัญ
ชมรมแพทย์ชนบทขอเรียกร้องต่อ โรงพยาบาลราชวิถีในฐานะผู้แทนหน่วยบริการ สปสช.ในฐานะผู้จ่ายเงินงบประมาณซื้อ ATK กระทรวงสาธารณสุข ในฐานะคณะกรรมการกำหนดแผนฯที่เป็นผู้รับรองราคาและสเปก กรมบัญชีกลางในฐานะผู้คุ้มกฎ และ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ได้เร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องผู้ประมูลเป็นคนละรายกับผู้ลงนามในสัญญาให้ละเอียดโดยเร็ว ว่าเป็นการการกระทำที่ผิดกฏหมายและเอื้อเอกชนหรือไม่ รวมทั้งมีการแก้ไขเอกสารการประมูลเพื่อสร้างหลักฐานเท็จหรือไม่ และควรมีการอายัติและเปิดเอกสารทั้งหมดเพื่อตรวจสอบอย่างเร่งด่วน
ATK ล็อตนี้นอกจากมีความคลางแคลงสงสัยในคุณภาพแล้ว หากยังมีการประมูลที่ขาดธรรมาภิบาลด้วยแล้ว ยิ่งเป็นตราบาปกำลัง 2 ของรัฐบาล และกระทรวงสาธารณสุข ที่ไม่ควรเกิดขึ้น องค์การเภสัชกรรมเคยเป็นองค์กรแห่งความหวังของเราชาวแพทย์ชนบทและสังคมไทย มิควรต้องมัวหมองเพราะการบริหารที่ไม่ตรงไปตรงมาโดยผู้บริหารไม่กี่คน สังคมไทยและรัฐบาลต้องร่วมกันทำความจริงให้กระจ่างโดยเร็ว”
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=4978033915557059&id=142436575783508
แย่งด่านหน้าอีกแล้ว!เพจดังแฉเอกสารหลุด พนง.โรงแรมนับร้อยฉีดไฟเซอร์เข็ม3
https://www.dailynews.co.th/news/231248/
ทำได้ไง!เพจดังแฉเอกสารหลุด โรงแรมดังได้สิทธิฉีดวัคซีนไฟเซอร์ให้พนักงานนับร้อยคน พร้อมกำชับห้ามโพสต์ลงเฟซบุ๊กเด็ดขาด
เมื่อวันที่ 3 ก.ย.การเรียกร้องวัคซีนที่มีคุณภาพสูงเพื่อมาฉีดให้เจ้าหน้าที่ด่านหน้า กลายเป็นเรื่องร้อนแรงหลังจากที่รัฐบาลมีการนำเข้าวัคซีนซิโนแวคอย่างต่อเนื่อง กระทั่ง นพ.ทศพร เสรีรักษ์ ส.ส.พรรคเพื่อไทย ได้เข้ายื่นหนังสือต่อสถานทูตสหรัฐเพื่อขอให้มอบวัคซีนไฟเซอร์ให้กับประเทศไทย กระทั่งสหรัฐอเมริกาก็บริจาควัคซีนไฟเซอร์ล็อตแรก 1 ล้านโดสเข้ามาให้ไทยได้ใช้ ซึ่งมีการตกลงกันว่า จะให้บุคลากรด่านหน้ากว่า 7 แสนคนได้ฉีดก่อน ถัดมาเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงอย่าง คนท้อง เด็กที่มีโรคประจำตัว ผู้สูงอายุ ซึ่งมีจำนวนมาก
ล่าสุด เพจ CSI LA ได้แชร์เอกสารจำนวนหนึ่ง ซึ่งระบุว่า เป็นเอกสารหลุดจากโรงแรมแห่งหนึ่ง ที่มีพนักงานนับร้อยคนเข้ารับการฉีดไฟเซอร์ ทั้งที่บางจังหวัดยังไม่สามารถฉีดให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้ตามข้อตกลงที่เกิดขึ้น โดยเอกสารดังกล่าวมีชื่อและตำแหน่งของผู้ฉีด พร้อมระบุว่า เป็นการฉีดวัคซีนเข็ม 3 และข้อความจากไลน์ ที่ระบุว่า ห้ามนำเอกสารดังกล่าวโพสต์ลงเฟซบุ๊กเด็ดขาด.
https://www.facebook.com/CSILA90210/posts/4301439229933769
ไฟเซอร์-เมอร์ค เร่งเดินหน้าพัฒนา 'ยาเม็ดต้านโควิด' เล็งขออนุมัติสิ้นปีนี้
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6599510
เมื่อวันที่ 1 กันยายนที่ผ่านมา รอยเตอร์ รายงานว่า บริษัท ไฟเซอร์ อิงค์. และ เมอร์ค แอนด์ โค อิงค์. ของสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศถึงการทดลองใหม่สำหรับ ‘ยาต่อต้านโควิด-19 ชนิดเม็ด’ สำหรับกิน เพื่อพัฒนาการรักษา หลังจากที่ในปัจจุบันจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว
โดย ไฟเซอร์ ได้กล่าวว่า กำลังอยู่ระหว่างการทดลองยาเม็ดที่มีชื่อว่า ‘PF-07321332’ โดยได้ทำการทดลองยาดังกล่าวกับผู้ป่วยจำนวน 1,140 ราย และมีการให้ยาริโทนาเวียร์ ร่วมในการทดลองด้วย ซึ่งโครงการทดลองกำลังอยู่ในระยะที่ 2 และระยะที่ 3
และคาดว่า จะยื่นขออนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐ ในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ สำหรับการใช้ยา PF-07321332 ในกรณีฉุกเฉิน ทั้งนี้ยาดังกล่าวถูกออกแบบมา เพื่อให้ทำหน้าที่สกัดกั้นกิจกรรมของเอนไซม์ สำคัญชนิดหนึ่ง ซึ่งเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 จำเป็นต้องใช้ในการแบ่งตัว แพร่จำนวนในร่างกายมนุษย์
ในขณะที่ เมอร์ค ได้กล่าวว่า การทดลองใหม่ของบริษัทจะศึกษายาทดลอง ‘โมลนูพิราเวียร์’ เพื่อใช้ป้องกันโควิด-19 ในกลุ่มผู้ใหญ่ในครัวเรือน ซึ่งอยู่ระหว่างการทดลองรักษาขั้นสุดท้ายในผู้ป่วยที่ไม่ได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เพื่อดูว่าจะช่วยลดความเสี่ยงของการรักษาในโรงพยาบาลหรือการเสียชีวิตได้หรือไม่
ทั้งนี้โมลนูพิราเวียร์นั้นเป็นยาต่อต้านไวรัสที่ออกแบบมาเพื่อสร้างความผิดพลาดให้เกิดขึ้นกับสารพันธุกรรมของไวรัส เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแบ่งตัว แพร่กระจายในร่างกาย
อย่างไรก็ตามนอกจากไฟเซอร์ และเมอร์ค ที่กำลังแข่งเพื่อพัฒนายาเม็ดสำหรับกินทางปาก เพื่อให้ง่ายต่อการรักษาผู้ติดเชื้อแล้วนั้นก็ยังมี บริษัท โรช เอจี ของสวิตเซอร์แลนด์ ที่ร่วมมือกับ เอที ฟาร์มาซูติคอล ในการพัฒนายาเม็ด เพื่อรักษาหรือป้องกันโควิด-19 ด้วยอีกบริษัท ซึ่งก่อนหน้านี้เคยออกแถลงว่า ยารหัส AT-527 ได้แสดงผลในการทดลองเบื้องต้นว่า สามารถลดปริมาณไวรัสในตัวผู้ป่วยที่รับการรักษาอยู่ในโรงพยาบาลได้
ที่มา : reuters