ปีก่อนเรามีมุมมองความรักที่เปลี่ยนไป หลังจากที่ได้อ่านหนังสือชื่อดังเรื่อง The Power of Habit เขียนโดย Charles Duhigg ที่พูดถึงพลังของการเปลี่ยนแปลงอุปนิสัย หนังสือเล่มนี้เป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้เราค่อนข้างเชื่อว่า ความสัมพันธ์เป็นเรื่องของกิจวัตรและพฤติกรรม ไม่ต่างจากเรื่องการกิน การออกหรือไม่ออกกำลังกายของคนเรา
อย่างคุณรู้ไหมว่า ช่วงประมาณบ่ายสามถึงสี่โมงเย็นที่หลายคนติดนิสัยขอให้ได้ลุกเดินไปหยิบอะไรมากินนั้น สำหรับหลายคนมันเป็นคนละเรื่องกับการกินเพราะอยากกินเลยล่ะ เหตุผลที่เป็นแบบนั้นเพราะจริงๆ แล้วเราแค่ต้องการหาอะไรทำแก้เบื่อระหว่างที่นั่งจับเจ่ามาตลอดช่วงบ่ายเท่านั้นเอง และเผอิญว่าวิธีแก้เบื่อที่คิดได้ง่ายสุดก็คือ การลุกไปหาอะไรกิน
คุณลองถามตัวเองก็ได้ว่า มีกี่ครั้งบ้างที่คุณไม่ได้กินเพราะหิว ไม่ได้กินเพราะอยากกินของอร่อย แต่กินเพราะแค่อยากทำตอบสนองความต้องการบางอย่าง ซึ่งเราจะบอกคุณว่า ความสัมพันธ์ก็ไม่ต่างกัน เช่น ลองคุณคบกับแฟนสัก 6 เดือน คุณจะรู้ว่ามันเลิกยากกว่าแฟนที่คบ 6 วัน โอเค! จริงอยู่ว่าเวลานานกว่ามันย่อมยากเพราะผูกพันมากกว่า แต่ถ้าลองเอาชุดคำอธิบายเรื่องกิจวัตรและพฤติกรรมเข้ามาวิเคราะห์ คุณจะรู้ว่าการคบแฟน 6 เดือนนั้นได้สร้างพฤติกรรมที่ทำเป็นประจำซ้ำๆ นานพอที่จะทำให้คุณติดเป็นกิจวัตรจนเลิกทำได้ยาก ขณะที่การคบกันเพียง 6 วันนั้น ไม่ทันนานพอจะฝังลงไปในสมองคุณ
" แฟนคุณจึงอาจไม่ใช่แค่ ‘คนรัก’ เท่านั้น แต่ยังได้กลายเป็น ‘วัตถุ’ ไว้ตอบสนองอารมณ์ความต้องการบางอย่างของตัวคุณด้วย "
และสิ่งที่น่าคิดไปมากกว่านั้น ในแง่นี้แฟนคุณจึงอาจไม่ใช่แค่ ‘คนรัก’ เท่านั้น แต่ยังได้กลายเป็น ‘วัตถุ’ (Object) ไว้ตอบสนองอารมณ์ความต้องการบางอย่างของตัวคุณด้วย เช่น เวลาสองทุ่มของทุกคืน หรือเป็นเวลามาตรฐานสากลที่คู่รักชอบโทรศัพท์คุยกัน คุณกับแฟนก็ใช้ช่วงนี้คุยโทรศัพท์กันเหมือนคนอื่นๆ และก็ทำแบบนี้ติดต่อกันทุกคืนเป็นเวลา 6 เดือน สิ่งที่คุณได้ไม่ใช่แค่กิจวัตร แต่กิจวัตรยังไปสร้างความคาดหวังทางอารมณ์บางอย่างของคุณขึ้นมา นั่นคือเวลาสองทุ่มคุณจะต้องได้รับการตอบสนองการต้องมีใครสักคนคุยด้วย
ซึ่งถ้าตราบใดที่แฟนคุณยังทำหน้าที่นั้นอยู่ มันก็จะไม่เป็นปัญหา แต่เมื่อไรที่เลิกกัน คุณจะไม่ใช่แค่เลิกกับแฟน แต่คุณยังต้องเลิกกิจวัตรที่ทำมานาน คุณอาจเรียกสิ่งนี้ว่า การสูญเสียความรัก แต่อีกมุมมันคือการถูกหักดิบให้เลิกพฤติกรรมบางอย่าง ไม่ต่างจากการที่คุณตามใจตัวเองด้วยการอนุญาตให้ตัวเองกินชาบู บิงซู และโกโก้เย็นได้อาทิตย์ละบ่อยๆ ตลอด 6 เดือน แล้วอยู่มาวันหนึ่งก็มีใครสักคนที่คุณจำเป็นต้องเชื่อฟัง เช่น เทรนเนอร์หรือหมอ สั่งให้คุณเลิกกินของพวกนี้ทันที สิ่งที่เกิดขึ้นคือคุณไม่ต่างอะไรกับคนอกหักผัวทิ้ง คุณอาลัยอาวรณ์กับการได้กินอาหารเพื่อบันเทิงจิตใจ ไม่ใช่แค่รสชาติหรือประสบการณ์การกินที่คุณคิดถึง แต่มันยังทำให้คุณคิดถึงอารมณ์ของการได้กิน
ส่วนตัวเรา เราคิดว่าการต้องเลิกกินของอร่อยนี่มันหนักหนายิ่งกว่าเสียแฟนสักคนอีก เพราะแฟนเสียไปก็ยังพอหาใหม่ได้ หรืออยู่เป็นโสดก็ช่วยตัวเองไปได้ แต่ให้เลิกกินจะเอาอะไรมาทดแทนเพื่อตอบสนองตัณหาการกินดีล่ะ? นี่เราก็ยังนึกไม่ออกเลย ก็เลยพอเข้าใจได้ว่า ทำไมบางคนถึงดื้อเรื่องคำสั่งหมอ ทั้งที่ขู่แล้วขู่อีกว่าถ้าไม่เลิกกินแบบนี้จะตาย อาจเป็นเพราะคนเหล่านี้ถือคติ ‘เสียชีพ อย่าเสียโอกาสกินเนื้อสัตว์’ ก็เป็นได้ ฉะนั้น ถ้าคุณกำลังอยู่ในช่วงเลิกกับแฟนใหม่ๆ ขอให้คิดไว้เลยว่า คุณยังโชคดี ที่อย่างน้อยคุณยังไม่ถูกสั่งให้เลิกกิน
" คุณไม่ได้แค่เจ็บปวดจากการสูญเสียคนรักเท่านั้น แต่คุณกำลังทนทุกข์กับการไม่ได้ถูกตอบสนองทางอารมณ์ที่คุณโหยหา "
กลับมาต่อที่เรื่องการเลิกกับแฟน คำถามที่คุณอาจสงสัยว่า ทำไมการตัดใจจากแฟนที่เพิ่งเลิกกันถึงยากเพียงนี้? นั่นก็เพราะคุณไม่ได้แค่เจ็บปวดจากการสูญเสียคนรักเท่านั้น แต่คุณกำลังทนทุกข์กับการไม่ได้ถูกตอบสนองทางอารมณ์ที่คุณโหยหา เวลาสองทุ่มยังเป็นสิ่งเร้าทำให้คุณโหยหาการมีใครสักคนคุยด้วยเหมือนเดิม แต่คุณไม่มีตัวตอบสนองนั้นอีกแล้ว คุณเลยเผลอคิดบ่อยๆ ว่าคิดถึงเขา ทั้งที่ความจริงนั่นมีความเป็นได้มากเลยว่า คุณไม่ได้คิดถึงเขา คุณแค่คิดถึงอารมณ์บางอย่างที่เคยได้รับตอนอยู่กับเขา
นี่จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมคนเราถึงหายดีเวลามีใครคนใหม่ ก็เพราะเราได้รับตัวตอบสนองอารมณ์ใหม่นั่นเอง หลายคนเลยเลือกใช้ ‘คนคั่นเวลา’ หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า ‘Rebound Relationship’ ที่ได้มาจากคำว่ารีบาวด์ในศัพท์บาสเกตบอล เวลาที่ลูกบาสกระฉอกออกจากห่วง แล้วมีคนโดดตัวจับลูกบาสยัดลงห่วงซ้ำ ถ้าให้อธิบายก็คงอารมณ์แฟนเก่าชู้ตลูกบาสไม่ลง แต่ไม่ทันไรก็มีอีกคนมาดามใจจับลูกบาสนั้นซ้ำลงห่วงอีกที
อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละคน แต่ถ้าคุณเป็นคนที่ขอเลือกอยู่กับตัวเองคนเดียวดีกว่า คุณก็ต้องเรียนรู้ที่จะปรับกิจวัตรใหม่ เหมือนที่หลายคนแนะนำว่า ให้หาอะไรอย่างอื่นทำ จะบอกว่านี่แหละมันคือเรื่องนี้เลย ตัวอย่างเช่น ทันทีที่คุณรู้สึกว่าตัวเองโหยหาอารมณ์บางอย่างจนอยากจะพิมพ์ไลน์ทักหาแฟนเก่า คุณก็ลองเปลี่ยนไปทักเพื่อนสนิทคุณแทน อาจจะเตี้ยมกับเพื่อนเลยก็ได้ว่า แกจะต้องเป็นตัวตอบสนองอารมณ์ฉันช่วงนี้นะ
" การฝืนตัวเองไม่ให้โหยหาหรือไม่มีอารมณ์นั้นเป็นเรื่องยาก และการหาอะไรอย่างอื่นมาตอบสนองอารมณ์แทนนั้นง่ายกว่า "
หรือถ้าคุณมีอาการคลั่งจะเป็นจะตายทุกเสาร์อาทิตย์ที่ชินกับการไปไหนกับแฟน ก็อาจใช้วิธีเอาตัวเองไปอยู่ในสภาพแวดล้อมใหม่ที่บังคับให้ต้องทำกิจวัตรใหม่แทน เช่น ไปลงคอร์สเรียน เช่น รุ่นพี่เราคนหนึ่งแผนสูงมาก ลงทุนซื้อคอร์สแพงหูฉีกแบบที่น้ำตาไหลพรากแค่ไหนก็ยังต้องไปเรียน เพราะเสียดายตังค์มากกว่าเสียใจ พูดอีกอย่างคือคุณต้องรู้จักแก้เกมให้ตัวเอง การฝืนตัวเองไม่ให้โหยหาหรือไม่มีอารมณ์นั้นเป็นเรื่องยาก และการหาอะไรอย่างอื่นมาตอบสนองอารมณ์แทนนั้นง่ายกว่า ในเมื่อมันยากก็ไม่ต้องไปทำ ทำอะไรที่คุณพอทำได้ และไม่ต้องไปฝืนลืมเขา ไม่ต้อง! ไม่ต้องลืม!
เราคนหนึ่งแหละที่เชื่อว่า การลืมคนรักไม่มีอยู่จริง มีแค่ในเพลง จริงๆ ถ้าพูดให้ถูก ควรเรียกว่า ‘การจัดลำดับความสำคัญ’ ต่างหาก ไม่มีใครลืมใคร เพียงแต่พอเลิกกัน คนที่หมดใจจะลดลำดับความสำคัญของอีกฝ่ายลงมา เช่น ถ้าเขามีคนรักใหม่ คนใหม่ก็จะเป็นคนแรกๆ ที่เขาถึงก่อน ส่วนคุณก็เลื่อนไปอยู่ท้ายๆ แบบที่นานๆ จะมีอะไรให้นึกถึงคุณขึ้นมาที หรือที่เราพูดกันติดปากว่า ‘ลืม’ ซึ่งการเลิกกันที่สมบูรณ์ก็คือการที่ทั้งสองฝ่ายต่างลดความสำคัญของอีกฝ่ายลงมาได้ทั้งคู่
การที่คุณยอมปรับกิจวัตร นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาการตอบสนองทางอารมณ์ที่ทำคุณทุกข์แล้ว ก็จะเป็นเรื่องนี้แหละ คือคุณจะได้ลำดับความสำคัญใหม่ในชีวิตอีกด้วย อย่างการสลับเอามาพ่อแม่ เพื่อน งาน คอร์สเรียน ขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งในกิจวัตรใหม่ ท้ายที่สุดแฟนที่กำลังจะเก่าของคุณก็จะถูกลดลำดับลงไปเองโดยอัตโนมัติ จากนั้นก็ปล่อยให้วันเวลา หรือพูดให้ชัดหน่อย คือปล่อยให้พฤติกรรมใหม่ที่คุณเสร้างขึ้นมากลายเป็นกิจวัตร แล้วคุณก็จะค่อยๆ ‘ลืมเขา’ (แบบที่คนชอบพูดกัน) ได้เอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น อีกข้อหนึ่งที่จะทำให้คุณตัดใจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น คือคุณต้องเชื่ออีกด้วยว่า วันข้างหน้ายังไงก็ดีกว่าเมื่อวาน เพราะมันคือ ‘ความหวัง’ ที่ช่วยขับเคลื่อนให้คุณมีแรงใจปรับกิจวัตรไปเรื่อยๆ นั่นเอง
#
# บทความดีๆ สำหรับคนที่อยู่ในสถานการณ์แบบนี้
อย่างคุณรู้ไหมว่า ช่วงประมาณบ่ายสามถึงสี่โมงเย็นที่หลายคนติดนิสัยขอให้ได้ลุกเดินไปหยิบอะไรมากินนั้น สำหรับหลายคนมันเป็นคนละเรื่องกับการกินเพราะอยากกินเลยล่ะ เหตุผลที่เป็นแบบนั้นเพราะจริงๆ แล้วเราแค่ต้องการหาอะไรทำแก้เบื่อระหว่างที่นั่งจับเจ่ามาตลอดช่วงบ่ายเท่านั้นเอง และเผอิญว่าวิธีแก้เบื่อที่คิดได้ง่ายสุดก็คือ การลุกไปหาอะไรกิน
คุณลองถามตัวเองก็ได้ว่า มีกี่ครั้งบ้างที่คุณไม่ได้กินเพราะหิว ไม่ได้กินเพราะอยากกินของอร่อย แต่กินเพราะแค่อยากทำตอบสนองความต้องการบางอย่าง ซึ่งเราจะบอกคุณว่า ความสัมพันธ์ก็ไม่ต่างกัน เช่น ลองคุณคบกับแฟนสัก 6 เดือน คุณจะรู้ว่ามันเลิกยากกว่าแฟนที่คบ 6 วัน โอเค! จริงอยู่ว่าเวลานานกว่ามันย่อมยากเพราะผูกพันมากกว่า แต่ถ้าลองเอาชุดคำอธิบายเรื่องกิจวัตรและพฤติกรรมเข้ามาวิเคราะห์ คุณจะรู้ว่าการคบแฟน 6 เดือนนั้นได้สร้างพฤติกรรมที่ทำเป็นประจำซ้ำๆ นานพอที่จะทำให้คุณติดเป็นกิจวัตรจนเลิกทำได้ยาก ขณะที่การคบกันเพียง 6 วันนั้น ไม่ทันนานพอจะฝังลงไปในสมองคุณ
" แฟนคุณจึงอาจไม่ใช่แค่ ‘คนรัก’ เท่านั้น แต่ยังได้กลายเป็น ‘วัตถุ’ ไว้ตอบสนองอารมณ์ความต้องการบางอย่างของตัวคุณด้วย "
และสิ่งที่น่าคิดไปมากกว่านั้น ในแง่นี้แฟนคุณจึงอาจไม่ใช่แค่ ‘คนรัก’ เท่านั้น แต่ยังได้กลายเป็น ‘วัตถุ’ (Object) ไว้ตอบสนองอารมณ์ความต้องการบางอย่างของตัวคุณด้วย เช่น เวลาสองทุ่มของทุกคืน หรือเป็นเวลามาตรฐานสากลที่คู่รักชอบโทรศัพท์คุยกัน คุณกับแฟนก็ใช้ช่วงนี้คุยโทรศัพท์กันเหมือนคนอื่นๆ และก็ทำแบบนี้ติดต่อกันทุกคืนเป็นเวลา 6 เดือน สิ่งที่คุณได้ไม่ใช่แค่กิจวัตร แต่กิจวัตรยังไปสร้างความคาดหวังทางอารมณ์บางอย่างของคุณขึ้นมา นั่นคือเวลาสองทุ่มคุณจะต้องได้รับการตอบสนองการต้องมีใครสักคนคุยด้วย
ซึ่งถ้าตราบใดที่แฟนคุณยังทำหน้าที่นั้นอยู่ มันก็จะไม่เป็นปัญหา แต่เมื่อไรที่เลิกกัน คุณจะไม่ใช่แค่เลิกกับแฟน แต่คุณยังต้องเลิกกิจวัตรที่ทำมานาน คุณอาจเรียกสิ่งนี้ว่า การสูญเสียความรัก แต่อีกมุมมันคือการถูกหักดิบให้เลิกพฤติกรรมบางอย่าง ไม่ต่างจากการที่คุณตามใจตัวเองด้วยการอนุญาตให้ตัวเองกินชาบู บิงซู และโกโก้เย็นได้อาทิตย์ละบ่อยๆ ตลอด 6 เดือน แล้วอยู่มาวันหนึ่งก็มีใครสักคนที่คุณจำเป็นต้องเชื่อฟัง เช่น เทรนเนอร์หรือหมอ สั่งให้คุณเลิกกินของพวกนี้ทันที สิ่งที่เกิดขึ้นคือคุณไม่ต่างอะไรกับคนอกหักผัวทิ้ง คุณอาลัยอาวรณ์กับการได้กินอาหารเพื่อบันเทิงจิตใจ ไม่ใช่แค่รสชาติหรือประสบการณ์การกินที่คุณคิดถึง แต่มันยังทำให้คุณคิดถึงอารมณ์ของการได้กิน
ส่วนตัวเรา เราคิดว่าการต้องเลิกกินของอร่อยนี่มันหนักหนายิ่งกว่าเสียแฟนสักคนอีก เพราะแฟนเสียไปก็ยังพอหาใหม่ได้ หรืออยู่เป็นโสดก็ช่วยตัวเองไปได้ แต่ให้เลิกกินจะเอาอะไรมาทดแทนเพื่อตอบสนองตัณหาการกินดีล่ะ? นี่เราก็ยังนึกไม่ออกเลย ก็เลยพอเข้าใจได้ว่า ทำไมบางคนถึงดื้อเรื่องคำสั่งหมอ ทั้งที่ขู่แล้วขู่อีกว่าถ้าไม่เลิกกินแบบนี้จะตาย อาจเป็นเพราะคนเหล่านี้ถือคติ ‘เสียชีพ อย่าเสียโอกาสกินเนื้อสัตว์’ ก็เป็นได้ ฉะนั้น ถ้าคุณกำลังอยู่ในช่วงเลิกกับแฟนใหม่ๆ ขอให้คิดไว้เลยว่า คุณยังโชคดี ที่อย่างน้อยคุณยังไม่ถูกสั่งให้เลิกกิน
" คุณไม่ได้แค่เจ็บปวดจากการสูญเสียคนรักเท่านั้น แต่คุณกำลังทนทุกข์กับการไม่ได้ถูกตอบสนองทางอารมณ์ที่คุณโหยหา "
กลับมาต่อที่เรื่องการเลิกกับแฟน คำถามที่คุณอาจสงสัยว่า ทำไมการตัดใจจากแฟนที่เพิ่งเลิกกันถึงยากเพียงนี้? นั่นก็เพราะคุณไม่ได้แค่เจ็บปวดจากการสูญเสียคนรักเท่านั้น แต่คุณกำลังทนทุกข์กับการไม่ได้ถูกตอบสนองทางอารมณ์ที่คุณโหยหา เวลาสองทุ่มยังเป็นสิ่งเร้าทำให้คุณโหยหาการมีใครสักคนคุยด้วยเหมือนเดิม แต่คุณไม่มีตัวตอบสนองนั้นอีกแล้ว คุณเลยเผลอคิดบ่อยๆ ว่าคิดถึงเขา ทั้งที่ความจริงนั่นมีความเป็นได้มากเลยว่า คุณไม่ได้คิดถึงเขา คุณแค่คิดถึงอารมณ์บางอย่างที่เคยได้รับตอนอยู่กับเขา
นี่จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมคนเราถึงหายดีเวลามีใครคนใหม่ ก็เพราะเราได้รับตัวตอบสนองอารมณ์ใหม่นั่นเอง หลายคนเลยเลือกใช้ ‘คนคั่นเวลา’ หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า ‘Rebound Relationship’ ที่ได้มาจากคำว่ารีบาวด์ในศัพท์บาสเกตบอล เวลาที่ลูกบาสกระฉอกออกจากห่วง แล้วมีคนโดดตัวจับลูกบาสยัดลงห่วงซ้ำ ถ้าให้อธิบายก็คงอารมณ์แฟนเก่าชู้ตลูกบาสไม่ลง แต่ไม่ทันไรก็มีอีกคนมาดามใจจับลูกบาสนั้นซ้ำลงห่วงอีกที
อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละคน แต่ถ้าคุณเป็นคนที่ขอเลือกอยู่กับตัวเองคนเดียวดีกว่า คุณก็ต้องเรียนรู้ที่จะปรับกิจวัตรใหม่ เหมือนที่หลายคนแนะนำว่า ให้หาอะไรอย่างอื่นทำ จะบอกว่านี่แหละมันคือเรื่องนี้เลย ตัวอย่างเช่น ทันทีที่คุณรู้สึกว่าตัวเองโหยหาอารมณ์บางอย่างจนอยากจะพิมพ์ไลน์ทักหาแฟนเก่า คุณก็ลองเปลี่ยนไปทักเพื่อนสนิทคุณแทน อาจจะเตี้ยมกับเพื่อนเลยก็ได้ว่า แกจะต้องเป็นตัวตอบสนองอารมณ์ฉันช่วงนี้นะ
" การฝืนตัวเองไม่ให้โหยหาหรือไม่มีอารมณ์นั้นเป็นเรื่องยาก และการหาอะไรอย่างอื่นมาตอบสนองอารมณ์แทนนั้นง่ายกว่า "
หรือถ้าคุณมีอาการคลั่งจะเป็นจะตายทุกเสาร์อาทิตย์ที่ชินกับการไปไหนกับแฟน ก็อาจใช้วิธีเอาตัวเองไปอยู่ในสภาพแวดล้อมใหม่ที่บังคับให้ต้องทำกิจวัตรใหม่แทน เช่น ไปลงคอร์สเรียน เช่น รุ่นพี่เราคนหนึ่งแผนสูงมาก ลงทุนซื้อคอร์สแพงหูฉีกแบบที่น้ำตาไหลพรากแค่ไหนก็ยังต้องไปเรียน เพราะเสียดายตังค์มากกว่าเสียใจ พูดอีกอย่างคือคุณต้องรู้จักแก้เกมให้ตัวเอง การฝืนตัวเองไม่ให้โหยหาหรือไม่มีอารมณ์นั้นเป็นเรื่องยาก และการหาอะไรอย่างอื่นมาตอบสนองอารมณ์แทนนั้นง่ายกว่า ในเมื่อมันยากก็ไม่ต้องไปทำ ทำอะไรที่คุณพอทำได้ และไม่ต้องไปฝืนลืมเขา ไม่ต้อง! ไม่ต้องลืม!
เราคนหนึ่งแหละที่เชื่อว่า การลืมคนรักไม่มีอยู่จริง มีแค่ในเพลง จริงๆ ถ้าพูดให้ถูก ควรเรียกว่า ‘การจัดลำดับความสำคัญ’ ต่างหาก ไม่มีใครลืมใคร เพียงแต่พอเลิกกัน คนที่หมดใจจะลดลำดับความสำคัญของอีกฝ่ายลงมา เช่น ถ้าเขามีคนรักใหม่ คนใหม่ก็จะเป็นคนแรกๆ ที่เขาถึงก่อน ส่วนคุณก็เลื่อนไปอยู่ท้ายๆ แบบที่นานๆ จะมีอะไรให้นึกถึงคุณขึ้นมาที หรือที่เราพูดกันติดปากว่า ‘ลืม’ ซึ่งการเลิกกันที่สมบูรณ์ก็คือการที่ทั้งสองฝ่ายต่างลดความสำคัญของอีกฝ่ายลงมาได้ทั้งคู่
การที่คุณยอมปรับกิจวัตร นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาการตอบสนองทางอารมณ์ที่ทำคุณทุกข์แล้ว ก็จะเป็นเรื่องนี้แหละ คือคุณจะได้ลำดับความสำคัญใหม่ในชีวิตอีกด้วย อย่างการสลับเอามาพ่อแม่ เพื่อน งาน คอร์สเรียน ขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งในกิจวัตรใหม่ ท้ายที่สุดแฟนที่กำลังจะเก่าของคุณก็จะถูกลดลำดับลงไปเองโดยอัตโนมัติ จากนั้นก็ปล่อยให้วันเวลา หรือพูดให้ชัดหน่อย คือปล่อยให้พฤติกรรมใหม่ที่คุณเสร้างขึ้นมากลายเป็นกิจวัตร แล้วคุณก็จะค่อยๆ ‘ลืมเขา’ (แบบที่คนชอบพูดกัน) ได้เอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น อีกข้อหนึ่งที่จะทำให้คุณตัดใจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น คือคุณต้องเชื่ออีกด้วยว่า วันข้างหน้ายังไงก็ดีกว่าเมื่อวาน เพราะมันคือ ‘ความหวัง’ ที่ช่วยขับเคลื่อนให้คุณมีแรงใจปรับกิจวัตรไปเรื่อยๆ นั่นเอง
#