#ว่ากันเรื่องของนมแม่
เคยอ่านเพจของคุณหมอ สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ
เกี่ยวกับประโยชน์ของน้ำนมแม่ ที่มีการถกเถียงกัน
บางความเชื่อ “นมแม่หลังจาก 6 เดือน สารอาหารที่จำเป็นต่อลูกจะน้อยลง ควรเสริมด้วยนมผง หรือเลิกกินนมแม่เลย”
แต่ในความเป็นจริง อ้างอิงจากเพจของคุณหมอสุธีรา นมแม่ยังคงมีประโยชน์สําหรับเด็กทุกช่วงอายุ ถ้าแม่ให้นานจนฟันแท้มา หรือในช่วงอายุ 6-7 ปี แม่และลูกจะได้ประโยชน์เต็มที่ หากให้น้อยกว่านั้น จะได้ประโยชน์ลดหลั่นกันไป
โดยมีงานวิจัยพบว่า
📍ยิ่งให้นมแม่นาน ยิ่งมีประโยชน์ต่อแม่และลูก
👼🏻ในลูก อาทิ โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน โรคมะเร็งต่อมน้ําเหลือง โรคภูมิแพ้ โรค SIDS โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ โรคลําไส้อักเสบ
👩🏻🦰ในแม่ อาทิ โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน โรคมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก โรคมะเร็งรังไข่ โรคกระดูกพรุนกระดูกหัก โรคไขข้ออักเสบ โรครูมาตอยด์ โรคซึมเศร้า
📍เม็ดเลือดขาว สารภูมิคุ้มกันในนมแม่จะช่วยป้องกันไม่ให้ลูกป่วยบ่อย จนกระทั่งร่างกายของลูกเริ่มสร้างภูมิคุ้มกันได้เต็มที่เมื่ออายุ 6-7 ปี จึงทําให้เด็กที่กินนมแม่ป่วยน้อยกว่า
📍ลูกมีระดับสติปัญญามากขึ้น ตามระยะเวลาที่ได้กินนมแม่ เนื่องจากได้รับสารบํารุงสมองต่อเนื่อง จนสมองพัฒนาเต็มที่เมื่อ อายุ 6-7 ปี
📍ระดับสารอาหาร สารภูมิคุ้มกันที่อยู่ในนมแม่บางอย่างมากขึ้น บางอย่างเท่าเดิม ตราบจนถึงวันที่นมแม่หยุดไหล ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานกี่ปีก็ตาม โดยที่แม่ไม่ได้เป็นโรคขาดอาหารขั้นรุนแรง
📍เด็กเริ่มจําความได้เมื่ออายุ 4-5 ปี หากได้กินนมแม่นาน ลูกจะจําได้เองว่าแม่ทําอะไรเพื่อเขาบ้าง แม่รักเขามากเพียงใด โดยที่เราไม่ต้องบอก เขาจะเป็นเด็กไม่ดื้อ (งานวิจัยพบว่านมแม่ช่วยลดปัญหาเด็กดื้อ เด็กมีปัญหา)
งานวิจัยเหล่านี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบเด็กสองกลุ่มคือเด็กที่ กินนมแม่ และเด็กกินนมผงค่ะ
ส่วนเรื่องการกินนมผง จะเพิ่มความเสี่ยงในเรื่องอะไร อันนี้แม่ขอไม่เน้น แต่ถ้าใครอยากรู้ ตามอ่านได้ที่เพจคุณหมอเลยค่ะ
ส่วนเรื่องน้ำหนักตัวขึ้นน้อย ก่อนที่จะมองว่าเป็นเพราะนมแม่สารอาหารไม่พอ ควรหาสาเหตุที่แท้จริง เช่น พ่อแม่อาจเป็นคนตัวเล็ก ลูกอาจเป็นเด็กที่กินไม่เก่ง ควรได้รับการประเมินว่านมแม่มีปริมาณน้อยจริงหรือไม่ จากคลินิกนมแม่หรือผู้เชี่ยวชาญ ส่วนเรื่องคุณภาพของนมแม่ ไม่ต้องหวั่นไหว คุณภาพดีตลอดอายุการใช้งาน หากคุณแม่ไม่ได้เป็นโรคขาดสารอาหารขั้นรุนแรงจ้า
ดังนั้น ถ้านมแม่เริ่มไม่พอ วิธีการเพิ่มนมแม่ คือ การปั๊มให้บ่อยขึ้น กินอาหารหรือยากระตุ้นน้ํานม แต่ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาค่ะ
อีกหนึ่งข้อที่คนยังเข้าใจกันผิด คือเมื่อแม่ป่วย แม่สามารถให้นมลูกได้ตามปกตินะคะ จะมีแค่ยาบางตัวเท่านั้นที่มีผล ซึ่งแม่สามารถแจ้งคุณหมอได้เลยว่าให้นมอยู่ คุณหมอจะจ่ายยาที่ปลอดภัยต่อน้ำนมแม่ให้ค่ะ ที่สำคัญนะคะ น้ำนมแม่ตอนที่แม่เป็นหวัดจะสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกต่อเชื้อนั้นๆที่แม่เป็น จะสังเกตได้ว่า ลูกจะไม่ติดหวัดเราค่ะ
ถ้าน้ำนมแม่ยังมีอยู่ และไม่ได้รบกวนการใช้ชีวิตมากเกินไป ให้ลูกกินนมแม่ต่อไปนะคะ เพื่อลูกและตัวเราค่ะ ที่สำคัญ นมแม่ประหยัดกว่านมผงเยอะค่า
แม่บ้านนี้ ตอนนี้คนโตอายุ 3 ขวบ 4 เดือนก็ยังกินนมแม่สลับนมวัวค่ะ ตั้งใจให้ KK กินจนกว่านมแม่จะหายค่ะ
เป็นกำลังใจให้แม่ๆทุกคนนะคะ
ขอบคุณที่ติดตามนะคะ ❤️❤️
KK Diary : นมแม่ มีประโยชน์ต่อลูกจนถึง 7 ขวบ
เคยอ่านเพจของคุณหมอ สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ
เกี่ยวกับประโยชน์ของน้ำนมแม่ ที่มีการถกเถียงกัน
บางความเชื่อ “นมแม่หลังจาก 6 เดือน สารอาหารที่จำเป็นต่อลูกจะน้อยลง ควรเสริมด้วยนมผง หรือเลิกกินนมแม่เลย”
แต่ในความเป็นจริง อ้างอิงจากเพจของคุณหมอสุธีรา นมแม่ยังคงมีประโยชน์สําหรับเด็กทุกช่วงอายุ ถ้าแม่ให้นานจนฟันแท้มา หรือในช่วงอายุ 6-7 ปี แม่และลูกจะได้ประโยชน์เต็มที่ หากให้น้อยกว่านั้น จะได้ประโยชน์ลดหลั่นกันไป
โดยมีงานวิจัยพบว่า
📍ยิ่งให้นมแม่นาน ยิ่งมีประโยชน์ต่อแม่และลูก
👼🏻ในลูก อาทิ โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน โรคมะเร็งต่อมน้ําเหลือง โรคภูมิแพ้ โรค SIDS โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ โรคลําไส้อักเสบ
👩🏻🦰ในแม่ อาทิ โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน โรคมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก โรคมะเร็งรังไข่ โรคกระดูกพรุนกระดูกหัก โรคไขข้ออักเสบ โรครูมาตอยด์ โรคซึมเศร้า
📍เม็ดเลือดขาว สารภูมิคุ้มกันในนมแม่จะช่วยป้องกันไม่ให้ลูกป่วยบ่อย จนกระทั่งร่างกายของลูกเริ่มสร้างภูมิคุ้มกันได้เต็มที่เมื่ออายุ 6-7 ปี จึงทําให้เด็กที่กินนมแม่ป่วยน้อยกว่า
📍ลูกมีระดับสติปัญญามากขึ้น ตามระยะเวลาที่ได้กินนมแม่ เนื่องจากได้รับสารบํารุงสมองต่อเนื่อง จนสมองพัฒนาเต็มที่เมื่อ อายุ 6-7 ปี
📍ระดับสารอาหาร สารภูมิคุ้มกันที่อยู่ในนมแม่บางอย่างมากขึ้น บางอย่างเท่าเดิม ตราบจนถึงวันที่นมแม่หยุดไหล ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานกี่ปีก็ตาม โดยที่แม่ไม่ได้เป็นโรคขาดอาหารขั้นรุนแรง
📍เด็กเริ่มจําความได้เมื่ออายุ 4-5 ปี หากได้กินนมแม่นาน ลูกจะจําได้เองว่าแม่ทําอะไรเพื่อเขาบ้าง แม่รักเขามากเพียงใด โดยที่เราไม่ต้องบอก เขาจะเป็นเด็กไม่ดื้อ (งานวิจัยพบว่านมแม่ช่วยลดปัญหาเด็กดื้อ เด็กมีปัญหา)
งานวิจัยเหล่านี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบเด็กสองกลุ่มคือเด็กที่ กินนมแม่ และเด็กกินนมผงค่ะ
ส่วนเรื่องการกินนมผง จะเพิ่มความเสี่ยงในเรื่องอะไร อันนี้แม่ขอไม่เน้น แต่ถ้าใครอยากรู้ ตามอ่านได้ที่เพจคุณหมอเลยค่ะ
ส่วนเรื่องน้ำหนักตัวขึ้นน้อย ก่อนที่จะมองว่าเป็นเพราะนมแม่สารอาหารไม่พอ ควรหาสาเหตุที่แท้จริง เช่น พ่อแม่อาจเป็นคนตัวเล็ก ลูกอาจเป็นเด็กที่กินไม่เก่ง ควรได้รับการประเมินว่านมแม่มีปริมาณน้อยจริงหรือไม่ จากคลินิกนมแม่หรือผู้เชี่ยวชาญ ส่วนเรื่องคุณภาพของนมแม่ ไม่ต้องหวั่นไหว คุณภาพดีตลอดอายุการใช้งาน หากคุณแม่ไม่ได้เป็นโรคขาดสารอาหารขั้นรุนแรงจ้า
ดังนั้น ถ้านมแม่เริ่มไม่พอ วิธีการเพิ่มนมแม่ คือ การปั๊มให้บ่อยขึ้น กินอาหารหรือยากระตุ้นน้ํานม แต่ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาค่ะ
อีกหนึ่งข้อที่คนยังเข้าใจกันผิด คือเมื่อแม่ป่วย แม่สามารถให้นมลูกได้ตามปกตินะคะ จะมีแค่ยาบางตัวเท่านั้นที่มีผล ซึ่งแม่สามารถแจ้งคุณหมอได้เลยว่าให้นมอยู่ คุณหมอจะจ่ายยาที่ปลอดภัยต่อน้ำนมแม่ให้ค่ะ ที่สำคัญนะคะ น้ำนมแม่ตอนที่แม่เป็นหวัดจะสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกต่อเชื้อนั้นๆที่แม่เป็น จะสังเกตได้ว่า ลูกจะไม่ติดหวัดเราค่ะ
ถ้าน้ำนมแม่ยังมีอยู่ และไม่ได้รบกวนการใช้ชีวิตมากเกินไป ให้ลูกกินนมแม่ต่อไปนะคะ เพื่อลูกและตัวเราค่ะ ที่สำคัญ นมแม่ประหยัดกว่านมผงเยอะค่า
แม่บ้านนี้ ตอนนี้คนโตอายุ 3 ขวบ 4 เดือนก็ยังกินนมแม่สลับนมวัวค่ะ ตั้งใจให้ KK กินจนกว่านมแม่จะหายค่ะ
เป็นกำลังใจให้แม่ๆทุกคนนะคะ