อัยการชี้ พรก.นิรโทษวัคซีน ขัดรธน. เตือนกระทบการคุ้มครองผู้ป่วย
https://www.khaosod.co.th/politics/news_6560295
อัยการชี้ ไม่เข้าเงื่อนไขรธน. ค้านออก พรก.นิรโทษวัคซีน ชี้มีพรบ.รับผิดละเมิดคุ้มครองจนท.อยู่แล้ว ระวังกระทบสิทธิ์ผู้ป่วย
อัยการ ชี้พ.ร.ก.นิรโทษวัคซีน ขัดรธน.- นายธนกฤต วรธนัชชากุล ผอ.สำนักงานประสานงานกระบวนการยุติธรรม สถาบันนิติวัชร์ สำนักงานอัยการสูงสุด โพสต์เฟซบุ๊กให้ความเห็นเรื่อง พ.ร.ก.จำกัดความรับผิดฯว่า
เห็นด้วยอย่างยิ่งต้องให้ความคุ้มครองบุคลากรสาธารณสุขด่านหน้า แต่ขอให้ข้อสังเกตที่เป็นความเห็นส่วนตัวทางวิชาการในประเด็นข้อกฎหมาย
1. รัฐธรรมนูญ มาตรา 172 กำหนดถึงเหตุความจำเป็นการออกพ.ร.ก. ต้องเป็นกรณีเพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ และกระทำได้เมื่อครม.เห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่จำเป็นรีบด่วนมิอาจหลีกเลี่ยงได้ การออกพ.ร.ก.ดังกล่าว น่าจะยังไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามรัฐธรรมนูญ
2. พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง และมาตรา 8 วรรคหนึ่ง ให้ความคุ้มครองแก่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตไว้แล้ว กรณีเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ หน่วยงานของรัฐต้องเป็นผู้รับผิดต่อผู้เสียหาย จะฟ้องเจ้าหน้าที่ที่กระทำละเมิดไม่ได้
และหากเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดไปโดยไม่ได้จงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หน่วยงานรัฐไม่มีสิทธิจะเรียกให้เจ้าหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนคืนรัฐได้ ดังนั้น เจ้าหน้าที่บุคลากรสาธารณสุขย่อมได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.นี้
ตามประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน เรื่อง ประเภท ระดับ อำนาจหน้าที่ ขอบเขตความรับผิดชอบและข้อจำกัดของหน่วยปฏิบัติการ พ.ศ.2562 ข้อ 5 (9) กำหนดให้ต้องดำเนินการให้ผู้ปฏิบัติการในกรณีผู้ป่วยฉุกเฉิน เป็นเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
3.ประกาศกระทรวงสาธารณสุข 3 มี.ค.2563 กำหนดให้ผู้ป่วยโควิด 19 เป็นผู้ป่วยฉุกเฉิน ต้องได้รับการรักษาพยาบาลโดยฉุกเฉินจากสถานพยาบาล และตามพ.ร.บ.การแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ.2551 มาตรา 28 กำหนดหลักการคุ้มครองความปลอดภัยผู้ป่วยฉุกเฉินไว้
อีกทั้งมีประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน เรื่อง ประเภท ระดับ อำนาจหน้าที่ ขอบเขตความรับผิดชอบ และข้อจำกัดของหน่วยปฏิบัติการ พ.ศ.2562 ออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.การแพทย์ฉุกเฉินฯ มาตรา 29 (1) คุ้มครองความปลอดภัยผู้ป่วยฉุกเฉิน ให้เป็นไปตามหลักการคุ้มครองในมาตรา 28 ดังนั้น หากจะออกพ.ร.ก.ควรพิจารณาว่า จะมีผลกระทบต่อหลักการคุ้มครองความปลอดภัยของผู้ป่วยฉุกเฉินดังที่กล่าวไปหรือไม่
4.หากมีกรณีที่เกิดข้อจำกัดทางด้านบุคลากร ทรัพยากร เวชภัณฑ์ วัคซีนหรือเรื่องอื่นใด ที่ทำให้เป็นข้อจำกัดหรือเป็นอุปสรรคในการรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินจากโควิด 19
การปรับปรุงแก้ไขประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินฯ 2562 หรือการออกประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน เรื่องการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโควิด 19 เป็นการเฉพาะ เพื่อให้สอดคล้องสถานการณ์โดยไม่ส่งผลกระทบต่อหลักการคุ้มครองความปลอดภัยของผู้ป่วยฉุกเฉินตาม พ.ร.บ.การแพทย์ฉุกเฉิน ฯ มาตรา 28 ก็อาจเป็นเรื่องที่ควรมาพิจารณาด้วย
https://www.facebook.com/thanakrit.vorathanatchakul/posts/4344529442309601
สาวป่วยโควิด 6 วันก่อนอาการหนัก สามีโทร 1669 รถ รพ.ไม่ว่าง จะพาไปเองแต่อุ้มไม่ไหว เสียชีวิตที่บ้าน
https://www.matichon.co.th/region/news_2882687
สาวป่วยโควิดได้ 6 วันก่อนอาการหนัก สามีโทร 1669 รถ รพ.ไม่ว่าง จะพาไปเองแต่อุ้มไม่ไหว เสียชีวิตที่บ้าน
เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 13 สิงหาคม ร.ต.ท.หญิง
ปรีดา ขาวผ่อง รอง สว.สอบสวน สภ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเทศบาลตำบลบ้านสร้าง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่สมาคมอยุธยารวมใจ เข้าตรวจสอบผู้ติดเชื้อโควิด-19 เสียชีวิตภายในบ้าน ในหมู่บ้านเอื้ออาทร ต.บ้านสร้าง อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา ทราบชื่อคือนางสาวธาราทิพย์ พลายละหาร อายุ 40 ปี เป็นพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งใน จ.พระนครศรีอยุธยา นอนเสียชีวิตอยู่ในห้องนอนชั้นบนของบ้าน
เจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่สามาคมอยุธยารวมใจต้องสวมชุด PPE ขึ้นไปชันสูตรศพ พร้อมนำร่างผู้เสียชีวิตใส่ถุงพลาสติกบรรจุศพ ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส จากนั้นเคลื่อนย้ายลงมาด้านล่าง เพื่อบรรจุใส่โลงศพและซีนด้วยพลาสสติกอีกชั้น ทั้งนี้ การเคลื่อนย้ายศพเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากผู้เสียชีวิตมีน้ำหนักประมาณ 100 กิโลกรัม จากนั้นเคลื่อนย้ายผู้เสียชีวิตไปประกอบพิธีฌาปนกิจที่วัดเทพกุญชร อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา ทันที
นาย
สำราญ วินัยกิจ อายุ 63 ปี สามีของผู้เสียชีวิต อยู่ในอาการเศร้าโศก เปิดเผยว่า ตนเองพร้อมกับภรรยาได้ตรวจหาเชื้อโควิด-19 ที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งใน จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 7 ส.ค.ที่ผ่านมาผลการตรวจยืนยัน ภรรยาของตนเองติดเชื้อโควิด-19 ส่วนตนเองไม่พบเชื้อ ทางโรงพยาบาลแจ้งว่าให้กลับมารักษาตัวที่บ้าน และจะประสานให้รถพยาบาลมารับไปรักษา เมื่อตนเองทราบผลได้ให้ลูกชายและหลานที่ตรวจหาเชื้อไม่พบเช่นกันย้ายไปอาศัยอยู่กับญาติ ส่วนตนเองขออยู่กับภรรยาเพื่อดูแลรักษา ไม่อยากทิ้งให้อยู่คนเดียว โดยการแยกห้องนอน และแยกส่วนของข้าวเครื่องใช้ทุกชนิด มีเพื่อนบ้านคอยช่วยดูแลเรื่องซื้ออาหารมาให้ และยามาช่วย
นาย
สำราญกล่าวว่า ล่าสุดเมื่อช่วงเช้าเวลาประมาณ 05.50 น. ภรรยาอาการทรุดหนัก หายใจเหนื่อยหอบ บ่นแน่นหน้าอก ตนเข้าไปช่วยจะให้นอนคว่ำ จึงได้โทรประสานไปที่โรงพยาบาลที่มีสิทธิประกันสังคม ไม่มีคนรับสาย โทรสายด่วน 1669 ทางเจ้าหน้าที่บอกว่ารถพยาบาลไม่ว่าง ไม่มีรถไปรับ ตนจะขับรถกระบะพาภรรยาไปเองแต่ไม่สามารถนำภรรยาลงมาจากบ้านได้ เนื่องจากมีน้ำหนักตัวมาก และเพื่อนบ้านกังวลเรื่องการติดเชื้อ ไม่มีใครกล้ามาช่วยยก ประสานไปทางเทศบาลตำบลบ้านสร้าง จัดเจ้าหน้าที่กู้ภัยมาให้การช่วยเหลือ วัดค่าออกซิเจนแล้ว พบว่าค่าออกซิเจนต่ำ จากนั้นเสียชีวิต
ขณะที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ใน จ.พระนครศรีอยุธยา ยังพบผู้ป่วยติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอีก 389 ราย มีผู้ป่วยสะสม 13,900 ราย มีผู้ป่วยที่รักษาตัวหายแล้ว 6,609 ราย ยังรักษาตัวอยู่ 7,182 ราย มีผู้เสียชีวิต 1 ราย เสียชีวิต สะสม 109 ราย
'เพื่อไทย' ทวงวัคซีนลัมปี สกิน หลังไม่มาตามนัด ขอรัฐบาลอย่าลอยแพเกษตรกร
https://www.matichon.co.th/politics/news_2882796
‘เพื่อไทย’ ทวงวัคซีนลัมปี สกิน หลังไม่มาตามนัด ขอรัฐบาลอย่าลอยแพเกษตรกร
เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม นาย
วิสุทธิ์ ไชยณรุณ ส.ส.พะเยา พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณีที่กรมปศุสัตว์ได้ประกาศที่จะจัดสรรวัคซีนลัมปี สกิน จำนวน 300,000 โดส ให้กับพี่น้องเกษตรกรในเดือนมิถุนายน 2564 พร้อมกับอนุมัติงบประมาณ จำนวน 684,218,000 บาท เพื่อนำเข้าวัคซีนเพิ่มอีก 5 ล้านโดส ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมานั้น
ล่าสุด จนถึงขณะนี้ปรากฏว่ายังไม่มีการจัดสรรลงพื้นที่ เมื่อพี่น้องเกษตรกรทราบข่าวว่ากรมปศุสัตว์ประกาศนำเข้าวัคซีนและเตรียมจัดสรรให้เกษตรกร ทำให้เกษตรกรที่เคยพยายามนำเข้าวัคซีนจากประเทศเพื่อนบ้าน แม้เป็นวัคซีนที่ไม่ได้รับการยอมรับจาก อย. แต่ก็ยอมรับความเสี่ยงสั่งซื้อเข้ามา ได้หยุดการสั่งซื้อเพราะเชื่อว่ากรมปศุสัตว์จะดำเนินการตามคำประกาศ และทุกคนก็รอความช่วยเหลือจากภาครัฐ แต่วันนี้ผ่านมาแล้วอย่างน้อยสองเดือน กลับไม่มีการจัดสรรวัคซีนเพิ่มเติมจากที่แจกจ่ายไปแล้วครั้งแรก 60,000 โดสเลย
“
วันนี้พี่น้องเกษตรกรได้รับความเดือดร้อนมาก ทั้งค่าใช้จ่ายในการรักษาวัว บางทีรักษาไปแล้ววัวก็ตาย หรือบางครัวเรือนที่รักษาวัวหายแล้วก็ไม่มีตลาดส่งออกเพราะวันนี้ตลาดวัวปิดหมดเนื่องจากประกาศห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์ เรียกว่าส่งผลกระทบทั้งวงจร แบบนี้จะลอยแพเกษตรกรหรืออย่างไร
นอกจากนี้ยังมีปัญหาทับซ้อนในพื้นที่ หน่วยงานท้องถิ่นต้องดูแลพี่น้องที่ติดเชื้อโควิด ที่กลับมารักษาตัวยังบ้านเกิด ทำให้งบประมาณท้องถิ่นถูกจัดสรรไปช่วยเหลือพี่น้องประชาชนกลุ่มนี้ ซึ่งถือว่าหนักหนาและตึงมือเช่นกัน ขอตั้งคำถามต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และอธิบดีกรมปศุสัตว์ ว่าที่ได้ประกาศจัดสรรงบประมาณและนำเข้าวัคซีนไว้เรียบร้อยแล้ว ขณะนี้วัคซีนดังกล่าวอยู่ที่ไหน ควรเร่งดำเนินการจัดสรรให้ตามที่ประกาศไว้โดยด่วน” นาย
วิสุทธิ์กล่าว
JJNY : อัยการชี้พรก.นิรโทษวัคซีนขัดรธน.│สาวป่วยโควิดรถรพ.ไม่ว่าง เสียชีวิตที่บ้าน│พท.ทวงวัคซีนลัมปี สกิน│จะอดตายหมดแล้ว!
https://www.khaosod.co.th/politics/news_6560295
อัยการ ชี้พ.ร.ก.นิรโทษวัคซีน ขัดรธน.- นายธนกฤต วรธนัชชากุล ผอ.สำนักงานประสานงานกระบวนการยุติธรรม สถาบันนิติวัชร์ สำนักงานอัยการสูงสุด โพสต์เฟซบุ๊กให้ความเห็นเรื่อง พ.ร.ก.จำกัดความรับผิดฯว่า
เห็นด้วยอย่างยิ่งต้องให้ความคุ้มครองบุคลากรสาธารณสุขด่านหน้า แต่ขอให้ข้อสังเกตที่เป็นความเห็นส่วนตัวทางวิชาการในประเด็นข้อกฎหมาย
1. รัฐธรรมนูญ มาตรา 172 กำหนดถึงเหตุความจำเป็นการออกพ.ร.ก. ต้องเป็นกรณีเพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ และกระทำได้เมื่อครม.เห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่จำเป็นรีบด่วนมิอาจหลีกเลี่ยงได้ การออกพ.ร.ก.ดังกล่าว น่าจะยังไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามรัฐธรรมนูญ
2. พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง และมาตรา 8 วรรคหนึ่ง ให้ความคุ้มครองแก่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตไว้แล้ว กรณีเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ หน่วยงานของรัฐต้องเป็นผู้รับผิดต่อผู้เสียหาย จะฟ้องเจ้าหน้าที่ที่กระทำละเมิดไม่ได้
และหากเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดไปโดยไม่ได้จงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หน่วยงานรัฐไม่มีสิทธิจะเรียกให้เจ้าหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนคืนรัฐได้ ดังนั้น เจ้าหน้าที่บุคลากรสาธารณสุขย่อมได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.นี้
ตามประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน เรื่อง ประเภท ระดับ อำนาจหน้าที่ ขอบเขตความรับผิดชอบและข้อจำกัดของหน่วยปฏิบัติการ พ.ศ.2562 ข้อ 5 (9) กำหนดให้ต้องดำเนินการให้ผู้ปฏิบัติการในกรณีผู้ป่วยฉุกเฉิน เป็นเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
3.ประกาศกระทรวงสาธารณสุข 3 มี.ค.2563 กำหนดให้ผู้ป่วยโควิด 19 เป็นผู้ป่วยฉุกเฉิน ต้องได้รับการรักษาพยาบาลโดยฉุกเฉินจากสถานพยาบาล และตามพ.ร.บ.การแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ.2551 มาตรา 28 กำหนดหลักการคุ้มครองความปลอดภัยผู้ป่วยฉุกเฉินไว้
อีกทั้งมีประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน เรื่อง ประเภท ระดับ อำนาจหน้าที่ ขอบเขตความรับผิดชอบ และข้อจำกัดของหน่วยปฏิบัติการ พ.ศ.2562 ออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.การแพทย์ฉุกเฉินฯ มาตรา 29 (1) คุ้มครองความปลอดภัยผู้ป่วยฉุกเฉิน ให้เป็นไปตามหลักการคุ้มครองในมาตรา 28 ดังนั้น หากจะออกพ.ร.ก.ควรพิจารณาว่า จะมีผลกระทบต่อหลักการคุ้มครองความปลอดภัยของผู้ป่วยฉุกเฉินดังที่กล่าวไปหรือไม่
4.หากมีกรณีที่เกิดข้อจำกัดทางด้านบุคลากร ทรัพยากร เวชภัณฑ์ วัคซีนหรือเรื่องอื่นใด ที่ทำให้เป็นข้อจำกัดหรือเป็นอุปสรรคในการรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินจากโควิด 19
การปรับปรุงแก้ไขประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินฯ 2562 หรือการออกประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน เรื่องการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโควิด 19 เป็นการเฉพาะ เพื่อให้สอดคล้องสถานการณ์โดยไม่ส่งผลกระทบต่อหลักการคุ้มครองความปลอดภัยของผู้ป่วยฉุกเฉินตาม พ.ร.บ.การแพทย์ฉุกเฉิน ฯ มาตรา 28 ก็อาจเป็นเรื่องที่ควรมาพิจารณาด้วย
https://www.facebook.com/thanakrit.vorathanatchakul/posts/4344529442309601
สาวป่วยโควิด 6 วันก่อนอาการหนัก สามีโทร 1669 รถ รพ.ไม่ว่าง จะพาไปเองแต่อุ้มไม่ไหว เสียชีวิตที่บ้าน
https://www.matichon.co.th/region/news_2882687
สาวป่วยโควิดได้ 6 วันก่อนอาการหนัก สามีโทร 1669 รถ รพ.ไม่ว่าง จะพาไปเองแต่อุ้มไม่ไหว เสียชีวิตที่บ้าน
เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 13 สิงหาคม ร.ต.ท.หญิง ปรีดา ขาวผ่อง รอง สว.สอบสวน สภ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเทศบาลตำบลบ้านสร้าง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่สมาคมอยุธยารวมใจ เข้าตรวจสอบผู้ติดเชื้อโควิด-19 เสียชีวิตภายในบ้าน ในหมู่บ้านเอื้ออาทร ต.บ้านสร้าง อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา ทราบชื่อคือนางสาวธาราทิพย์ พลายละหาร อายุ 40 ปี เป็นพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งใน จ.พระนครศรีอยุธยา นอนเสียชีวิตอยู่ในห้องนอนชั้นบนของบ้าน
เจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่สามาคมอยุธยารวมใจต้องสวมชุด PPE ขึ้นไปชันสูตรศพ พร้อมนำร่างผู้เสียชีวิตใส่ถุงพลาสติกบรรจุศพ ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส จากนั้นเคลื่อนย้ายลงมาด้านล่าง เพื่อบรรจุใส่โลงศพและซีนด้วยพลาสสติกอีกชั้น ทั้งนี้ การเคลื่อนย้ายศพเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากผู้เสียชีวิตมีน้ำหนักประมาณ 100 กิโลกรัม จากนั้นเคลื่อนย้ายผู้เสียชีวิตไปประกอบพิธีฌาปนกิจที่วัดเทพกุญชร อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา ทันที
นายสำราญ วินัยกิจ อายุ 63 ปี สามีของผู้เสียชีวิต อยู่ในอาการเศร้าโศก เปิดเผยว่า ตนเองพร้อมกับภรรยาได้ตรวจหาเชื้อโควิด-19 ที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งใน จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 7 ส.ค.ที่ผ่านมาผลการตรวจยืนยัน ภรรยาของตนเองติดเชื้อโควิด-19 ส่วนตนเองไม่พบเชื้อ ทางโรงพยาบาลแจ้งว่าให้กลับมารักษาตัวที่บ้าน และจะประสานให้รถพยาบาลมารับไปรักษา เมื่อตนเองทราบผลได้ให้ลูกชายและหลานที่ตรวจหาเชื้อไม่พบเช่นกันย้ายไปอาศัยอยู่กับญาติ ส่วนตนเองขออยู่กับภรรยาเพื่อดูแลรักษา ไม่อยากทิ้งให้อยู่คนเดียว โดยการแยกห้องนอน และแยกส่วนของข้าวเครื่องใช้ทุกชนิด มีเพื่อนบ้านคอยช่วยดูแลเรื่องซื้ออาหารมาให้ และยามาช่วย
นายสำราญกล่าวว่า ล่าสุดเมื่อช่วงเช้าเวลาประมาณ 05.50 น. ภรรยาอาการทรุดหนัก หายใจเหนื่อยหอบ บ่นแน่นหน้าอก ตนเข้าไปช่วยจะให้นอนคว่ำ จึงได้โทรประสานไปที่โรงพยาบาลที่มีสิทธิประกันสังคม ไม่มีคนรับสาย โทรสายด่วน 1669 ทางเจ้าหน้าที่บอกว่ารถพยาบาลไม่ว่าง ไม่มีรถไปรับ ตนจะขับรถกระบะพาภรรยาไปเองแต่ไม่สามารถนำภรรยาลงมาจากบ้านได้ เนื่องจากมีน้ำหนักตัวมาก และเพื่อนบ้านกังวลเรื่องการติดเชื้อ ไม่มีใครกล้ามาช่วยยก ประสานไปทางเทศบาลตำบลบ้านสร้าง จัดเจ้าหน้าที่กู้ภัยมาให้การช่วยเหลือ วัดค่าออกซิเจนแล้ว พบว่าค่าออกซิเจนต่ำ จากนั้นเสียชีวิต
ขณะที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ใน จ.พระนครศรีอยุธยา ยังพบผู้ป่วยติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอีก 389 ราย มีผู้ป่วยสะสม 13,900 ราย มีผู้ป่วยที่รักษาตัวหายแล้ว 6,609 ราย ยังรักษาตัวอยู่ 7,182 ราย มีผู้เสียชีวิต 1 ราย เสียชีวิต สะสม 109 ราย
'เพื่อไทย' ทวงวัคซีนลัมปี สกิน หลังไม่มาตามนัด ขอรัฐบาลอย่าลอยแพเกษตรกร
https://www.matichon.co.th/politics/news_2882796
‘เพื่อไทย’ ทวงวัคซีนลัมปี สกิน หลังไม่มาตามนัด ขอรัฐบาลอย่าลอยแพเกษตรกร
เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ ส.ส.พะเยา พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณีที่กรมปศุสัตว์ได้ประกาศที่จะจัดสรรวัคซีนลัมปี สกิน จำนวน 300,000 โดส ให้กับพี่น้องเกษตรกรในเดือนมิถุนายน 2564 พร้อมกับอนุมัติงบประมาณ จำนวน 684,218,000 บาท เพื่อนำเข้าวัคซีนเพิ่มอีก 5 ล้านโดส ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมานั้น
ล่าสุด จนถึงขณะนี้ปรากฏว่ายังไม่มีการจัดสรรลงพื้นที่ เมื่อพี่น้องเกษตรกรทราบข่าวว่ากรมปศุสัตว์ประกาศนำเข้าวัคซีนและเตรียมจัดสรรให้เกษตรกร ทำให้เกษตรกรที่เคยพยายามนำเข้าวัคซีนจากประเทศเพื่อนบ้าน แม้เป็นวัคซีนที่ไม่ได้รับการยอมรับจาก อย. แต่ก็ยอมรับความเสี่ยงสั่งซื้อเข้ามา ได้หยุดการสั่งซื้อเพราะเชื่อว่ากรมปศุสัตว์จะดำเนินการตามคำประกาศ และทุกคนก็รอความช่วยเหลือจากภาครัฐ แต่วันนี้ผ่านมาแล้วอย่างน้อยสองเดือน กลับไม่มีการจัดสรรวัคซีนเพิ่มเติมจากที่แจกจ่ายไปแล้วครั้งแรก 60,000 โดสเลย
“วันนี้พี่น้องเกษตรกรได้รับความเดือดร้อนมาก ทั้งค่าใช้จ่ายในการรักษาวัว บางทีรักษาไปแล้ววัวก็ตาย หรือบางครัวเรือนที่รักษาวัวหายแล้วก็ไม่มีตลาดส่งออกเพราะวันนี้ตลาดวัวปิดหมดเนื่องจากประกาศห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์ เรียกว่าส่งผลกระทบทั้งวงจร แบบนี้จะลอยแพเกษตรกรหรืออย่างไร
นอกจากนี้ยังมีปัญหาทับซ้อนในพื้นที่ หน่วยงานท้องถิ่นต้องดูแลพี่น้องที่ติดเชื้อโควิด ที่กลับมารักษาตัวยังบ้านเกิด ทำให้งบประมาณท้องถิ่นถูกจัดสรรไปช่วยเหลือพี่น้องประชาชนกลุ่มนี้ ซึ่งถือว่าหนักหนาและตึงมือเช่นกัน ขอตั้งคำถามต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และอธิบดีกรมปศุสัตว์ ว่าที่ได้ประกาศจัดสรรงบประมาณและนำเข้าวัคซีนไว้เรียบร้อยแล้ว ขณะนี้วัคซีนดังกล่าวอยู่ที่ไหน ควรเร่งดำเนินการจัดสรรให้ตามที่ประกาศไว้โดยด่วน” นายวิสุทธิ์กล่าว