JJNY : ติดเชื้อเกิน3,000เสียชีวิต12 │ไทยกำลังเข้าสู่ระลอกใหม่│ปี64 หนี้ครัวเรือนเกษตรกรพุ่ง2.6แสนบ.│ก.ก.ลุยปาดังเบซาร์

โควิดวันนี้ติดเชื้อใหม่พุ่งเกิน 3,000 ราย หายป่วย 2,688 ราย เสียชีวิต 12 ราย
https://www.dailynews.co.th/news/632832/
  
 
ยอด 'โควิด-19' วันนี้ พบเสียชีวิตเพิ่มอีก 12 ราย ขณะที่พบผู้ติดเชื้อใหม่เพิ่มอีก 3,091 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสม 2,206,713 ราย

สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประจำวัน ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) รายงานสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ล่าสุด วันที่ 4 ม.ค. 65 พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่อีก 3,091 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยจากระบบเฝ้าระวังฯ 2,963 ราย ผู้ป่วยจากการค้นหาเชิงรุก 2 ราย ผู้ป่วยภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 2 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 124 ราย ทำให้มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสมตั้งแต่ 1 เมษายน 2564 มีจำนวน 2,206,713 ราย หายป่วยกลับบ้าน 2,688 ราย หายป่วยสะสม 2,152,895 ราย กำลังรักษา 33,505 ราย
 
โดยวันนี้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 12 ราย ทำให้มีผู้เสียชีวิตสะสมตั้งแต่ปี 2563 มียอดสะสมสูงถึง 21,750 ราย.
 

 
ไทยกำลังเข้าสู่โควิดระลอกใหม่ครั้งใหญ่สุดในรอบ2ปี-ไม่ช้าก็เร็วทุกคนติดเชื้อ"โอมิครอน"
https://www.tnnthailand.com/news/covid19/101001/

วันนี้ (4ม.ค.65) นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC โดยระบุว่า 
 
ประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 2 ปี หลังวันหยุดยาวเทศกาลปีใหม่นี้ตัวเลขผู้ติดเชื้อจะก้าวกระโดดหลายหมื่นคนแต่ละวันในไม่ช้า แต่คนไทยไม่ต้องตื่นตระหนกตกใจมากเกินไป
 
เชื้อไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์โอมิครอน มีวิวัฒนาการเปลี่ยนไปจากเดิมมาก ปรับตัวเองให้เข้ากับคนได้ดียิ่งขึ้น แพร่จากคนสู่คนง่ายขึ้น ลดระยะฟักตัว และเปลี่ยนจากการก่อให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบทั้งส่วนบนและส่วนล่างรุนแรงเฉียบพลัน กลายเป็นเชื้อโคโรนาไวรัสที่ทำให้เกิดหวัดเล็กธรรมดา ไม่รุนแรง เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน ไม่ค่อยลงปอด เหมือนกับเชื้อโคโรนาไวรัสที่เรารู้จักมานานอย่างน้อย 50 ปีแล้ว ได้แก่ human coronavirus-229 E, human coronavirus-NL63, human coronavirus-OC43 และ human coronavirus-HKU1
 
เชื้อโคโรนาไวรัสดั้งเดิม 4 ชนิดนี้ก่อให้เกิดโรคหวัดธรรมดาในเด็ก เป็นเองหายเอง ส่วนผู้ใหญ่มักไม่ติดเชื้อนี้ เพราะมีภูมิต้านทานตามธรรมชาติเนื่องจากเกือบทุกคนเคยติดเชื้อนี้มาแล้วสมัยเป็นเด็ก ถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีวัคซีนป้องกันเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ดั้งเดิม
 
หลังการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนครั้งใหญ่นี้ เชื่อว่าทุกคนไม่ว่าจะเคยฉีดวัคซีน หรือเคยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดิมมาก่อน จะได้รับเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนไม่ช้าก็เร็ว เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ หวังว่าการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 คงจะจบลงสักที
 
อนาคตเราคงไม่ต้องมาฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็ม 3 เข็ม 4 กันอีก เพราะเราทุกคนได้รับเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนเปรียบเสมือนวัคซีนธรรมชาติชนิดตัวเป็นอ่อนฤทธิ์ (live attenuated vaccine) กระตุ้นภูมิต้านทานได้ดีกว่าวัคซีนทุกชนิดที่มีในปัจจุบัน อนาคตของบริษัทผลิตวัคซีนต่อต้านไวรัสโควิด-19 คงไม่รุ่งเหมือนช่วงที่ผ่านมา

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=2120360881463998&id=604030819763686


 
พิษโควิด! สศก.คาดปี 64 หนี้ครัวเรือนเกษตรกร พุ่ง 2.6 แสนบาท พบภาคใต้กู้มากสุด 
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6815238

พิษโควิด! สศก.คาดปี 64 หนี้ครัวเรือนเกษตรกร พุ่ง 2.6 แสนบาท เพิ่มขึ้น 16.5% เทียบปี 2563 และเพิ่มขึ้น 18.4% จากปี 2562 พบภาคใต้กู้มากสุด

เมื่อวันที่ 3 ม.ค. 2565 นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า คาดการณ์หนี้สินครัวเรือนเกษตรกรปี 2564 มีประมาณ 262,317 บาท/ครัวเรือน เพิ่มขึ้น 16.5% เทียบปี 2563 มีหนี้สิน 225,090 บาท/ครัวเรือนและเพิ่มขึ้นประมาณ 18.4% จากปี 2562 มีหนี้สินเกษตรกรเฉลี่ย 221,490 บาท/ครัวเรือน แต่หากเทียบระยะเวลา 2 ปี หลังการระบาดของโควิด-19 หนี้สินเกษตรกรเพิ่มขึ้น 74% จากปี 2561 ก่อนจะมีการระบาดของโควิด-19 เกษตรกรมีหนี้สินเกษตรกรเฉลี่ย 150,636 บาท/ครัวเรือน
 
ทั้งนี้ หนี้สินส่วนใหญ่ยังคงเป็นหนี้สินจากการกู้ยืมเพื่อการเกษตร ได้แก่ การซื้อปัจจัยการผลิต เช่น พันธุ์ ปุ๋ย ยา อาหารสัตว์ และเกือบทั้งหมดเป็นการกู้ยืมจากสถาบันการเงินในระบบ และเป็นหนี้สินระยะยาว มากกว่า 5 ปีขึ้นไป ภาคใต้มีหนี้สินเพิ่มขึ้นมาก ส่วนใหญ่เป็นหนี้สินนอกการเกษตร เช่น ซื้อที่ดิน/ทรัพย์สินนอกการเกษตร ลงทุนในธุรกิจนอกการเกษตร การศึกษา และเพื่อการอุปโภคบริโภค
 
“โควิดส่งผลให้แรงงานคืนถิ่นจำนวนมาก ลูกหลานเกษตรกรกลับไปต่อยอดอาชีพพ่อแม่ มีการกู้เงินทั้งเพื่อซื้อที่ดิน และซื้อปัจจัยการผลิตทั้ง ซื้อพันธุ์พืช สัตว์ ซื้อปุ๋ย ซื้อยา อาหารสัตว์”
 
นายฉันทานนท์ กล่าวต่อว่า ข้อมูลล่าสุดของหนี้สินแต่ละภาคในปี 2563 หนี้สินเกษตรกร(เก็บข้อมูลระหว่างเดือนพ.ค.2563-เม.ย.2564) เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า พบภาพรวมเกษตรกรทั่วประเทศมีหนี้สิน 225,090 บาท/ครัวเรือน เพิ่มขึ้น 2% จากปีก่อนหน้า ที่มีหนี้สิน 221,490 บาท/ครัวเรือน แบ่งเป็น ภาคใต้มีหนี้สิน 285,357 บาท/ครัวเรือน เพิ่มขึ้น 87% จากปีก่อนหน้าที่มีหนี้สิน 152,828 บาท/ครัวเรือน ภาคกลางมีหนี้สิน 212,926 บาท/ครัวเรือนลดลง 9% จากปีก่อนหน้าที่มีหนี้สิน 234,735 บาท/ครัวเรือน
 
ภาคอีสานมีหนี้สิน 209,165 บาท/ครัวเรือนลดลง 10% จากปีก่อนหน้าที่มีหนี้สิน 231,296 บาท/ครัวเรือน และภาคเหนือมีหนี้สิน 223,432 บาท/ครัวเรือนลดลง 12% จากปีก่อนหน้าที่มีหนี้สิน 254,579 บาท/ครัวเรือน โดยหนี้สินส่วนใหญ่เกิดในภาคเกษตร 55% หนี้สินเกษตรกรเกิดนอกภาคเกษตรสัดส่วน 45% เป็นเงินกู้ในสถาบันการเงิน 97% และกู้นอกสถาบันการเงินประมาณ 3% และส่วนใหญ่เป็นเงินกู้ระยะยาว 5 ปีขึ้นไปสัดส่วน 73.22% กู้ระยะสั้นไม่เกิน 1 ปีสัดส่วน 20% และมากกว่า 1 ปีแต่ไม่เกิน 5 ปีสัดส่วน 6.12%
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่