'หญิงหน่อย' จี้ 3 มาตรการอุ้ม 'เกษตรกร' จากภัยแล้ง-โควิด เพื่อไทยเสนอ แต่รบ.ยังไม่ทำ
https://www.matichon.co.th/politics/news_2090563
‘หญิงหน่อย’ จี้ 3 มาตราช่วย ‘เกษตรกร’ จากภัยแล้ง-โควิด เพื่อไทยเสนอ แต่ รัฐบาล ยังไม่ทำ
เมื่อวันที่ 26 มีนาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เฟซบุ๊ค
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ Sudarat Keyuraphanได้โพสต์กราฟิกซึ่งเป็น 3 มาตรการเยียวยา สำหรับเกษตรกร ผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งและกำลังมีปัญหาผลกระทบจาก โควิด-19 โดยมี 3 มาตรการที่เพื่อไทยนำเสนอ แต่รัฐบาลยังไม่ทำ ได้แก่
1. พักชำระหนี้ เกษตรกรทุกภาคส่วนเป็นเวลา 6 เดือนเป็นอย่างน้อย ซึ่งรัฐบาลยังไม่ทำ
2. เร่งจ่ายเงินชดเชยภัยแล้ง ให้เกษตรกรไร่ละ 2,500 บาท ไม่เกิน 20 ไร่ กรณีมีที่ดินน้อยให้ชดเชยรายได้ขั้นต่ำให้ครัวเรือนละ 25,000 บาท ซึ่งรัฐบาลยังไม่ทำ
3.จัดสรรงบประมาณ SML ในอัตรา S 500,000 , M 800,000 , L 1,000,000 ให้ทุกหมู่บ้านนำเงินไปพัฒนาแหล่งน้ำ ถนน สาธารณูปโภค โดยใช้แรงงานในพื้นที่เท่านั้น เพื่อกระจายรายได้ให้กับคนในหมู่บ้าน และชุมชน ซึ่ง รัฐบาลยังไม่ทำ
https://www.facebook.com/sudaratofficial/posts/2811342915611150
“ชลน่าน”ชี้พรก.ฉุกเฉินช้าไม่ตอบโจทย์คุมโควิด
https://www.innnews.co.th/politics/news_629749/
"นายแพทย์ชลน่าน " ชี้ ออกพรก.ฉุกเฉินช้าไป ไม่ตอบโจทย์สกัดกั้นการแพร่เชื้อโควิด มองอาจทำให้คุมยากขึ้น
นายแพทย์
ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน และรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เปิดเผยกับสำนักข่าวINN ถึงข้อบังคับการประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการณ์ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) ว่า
รัฐบาลมีการประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินล่าช้าไป สำหรับการสกัดกั้นการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 เพราะหลังจากที่มีการประกาศปิดสถานบริการต่างๆ ไป ก็ทำให้ประชาชนเริ่มเดินทางกลับภูมิลำเนาเป็นจำนวนมาก และเมื่อมีการประกาศว่าจะมีการใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ก็ทำให้ประชาชนตื่นตระหนกทำให้มีการเดินทางกันอีกเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินในตอนนี้ จึงไม่ตอบโจทย์ของการปิดกั้นแหล่งแพร่ระบาดของเชื้อ แต่เหมือนเป็นการซ้ำเติมให้คนออกจากพื้นที่เสี่ยงมากขึ้น ซึ่งจะทำให้การควบคุมการแพร่ระบาดนั้นยากมากขึ้น
ทั้งนี้ นพ.
ชลน่าน กล่าวต่อว่า การหยุดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 นั้น ส่วนตัวมองว่า หากมาตรการต่างๆ ของรัฐบาลที่ออกมาก่อนหน้านี้มีความเข้มข้นและดีพอ ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินแต่อย่างใด
JJNY : หญิงหน่อยจี้พท.เสนอแต่รบ.ยังไม่ทำ/ชลน่านชี้พรก.ฉุกเฉินช้า/โวยแบงก์พักชำระหนี้ แต่จ่ายดอก100%/ป่วยโควิดเพิ่ม 111
https://www.matichon.co.th/politics/news_2090563
เมื่อวันที่ 26 มีนาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เฟซบุ๊ค คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ Sudarat Keyuraphanได้โพสต์กราฟิกซึ่งเป็น 3 มาตรการเยียวยา สำหรับเกษตรกร ผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งและกำลังมีปัญหาผลกระทบจาก โควิด-19 โดยมี 3 มาตรการที่เพื่อไทยนำเสนอ แต่รัฐบาลยังไม่ทำ ได้แก่
1. พักชำระหนี้ เกษตรกรทุกภาคส่วนเป็นเวลา 6 เดือนเป็นอย่างน้อย ซึ่งรัฐบาลยังไม่ทำ
2. เร่งจ่ายเงินชดเชยภัยแล้ง ให้เกษตรกรไร่ละ 2,500 บาท ไม่เกิน 20 ไร่ กรณีมีที่ดินน้อยให้ชดเชยรายได้ขั้นต่ำให้ครัวเรือนละ 25,000 บาท ซึ่งรัฐบาลยังไม่ทำ
3.จัดสรรงบประมาณ SML ในอัตรา S 500,000 , M 800,000 , L 1,000,000 ให้ทุกหมู่บ้านนำเงินไปพัฒนาแหล่งน้ำ ถนน สาธารณูปโภค โดยใช้แรงงานในพื้นที่เท่านั้น เพื่อกระจายรายได้ให้กับคนในหมู่บ้าน และชุมชน ซึ่ง รัฐบาลยังไม่ทำ
https://www.facebook.com/sudaratofficial/posts/2811342915611150
“ชลน่าน”ชี้พรก.ฉุกเฉินช้าไม่ตอบโจทย์คุมโควิด
https://www.innnews.co.th/politics/news_629749/
"นายแพทย์ชลน่าน " ชี้ ออกพรก.ฉุกเฉินช้าไป ไม่ตอบโจทย์สกัดกั้นการแพร่เชื้อโควิด มองอาจทำให้คุมยากขึ้น
นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน และรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เปิดเผยกับสำนักข่าวINN ถึงข้อบังคับการประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการณ์ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) ว่า
รัฐบาลมีการประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินล่าช้าไป สำหรับการสกัดกั้นการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 เพราะหลังจากที่มีการประกาศปิดสถานบริการต่างๆ ไป ก็ทำให้ประชาชนเริ่มเดินทางกลับภูมิลำเนาเป็นจำนวนมาก และเมื่อมีการประกาศว่าจะมีการใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ก็ทำให้ประชาชนตื่นตระหนกทำให้มีการเดินทางกันอีกเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินในตอนนี้ จึงไม่ตอบโจทย์ของการปิดกั้นแหล่งแพร่ระบาดของเชื้อ แต่เหมือนเป็นการซ้ำเติมให้คนออกจากพื้นที่เสี่ยงมากขึ้น ซึ่งจะทำให้การควบคุมการแพร่ระบาดนั้นยากมากขึ้น
ทั้งนี้ นพ.ชลน่าน กล่าวต่อว่า การหยุดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 นั้น ส่วนตัวมองว่า หากมาตรการต่างๆ ของรัฐบาลที่ออกมาก่อนหน้านี้มีความเข้มข้นและดีพอ ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินแต่อย่างใด