การดูแลร่างกายในช่วงที่ท้องนั้น ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก การเจ็บไข้ได้ป่วยในช่วงที่ตั้งครรภ์ อาจทำให้ร่างกายของคุณแม่อ่อนแอลง หรืออาจทำให้เด็กในท้องป่วยไปด้วยได้ หนึ่งในปัญหาสุขภาพที่คนท้องต้องระวัง คือ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง น้ำตาลในเลือดสูง อันตรายแค่ไหน เกิดจากอะไร วันนี้ theAsianparent Thailand มีคำตอบมาให้
ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง คืออะไร เกิดจากอะไร
น้ำตาลในเลือดสูง คือ ภาวะที่ร่างกายของคนเรา มีระดับน้ำตาลในเลือดมากเกินไป เกิดจากการที่ร่างกายมีอินซูลินน้อย หรือร่างกายไม่สามารถนำอินซูลินไปใช้ได้ตามปกติ มักจะเกิดกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน หากปล่อยไว้นานและไม่ได้รับการรักษา เส้นประสาท หลอดเลือด เนื้อเยื่อ ไต และอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย อาจได้รับความเสียหาย รวมทั้งอาจมีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจวายหรือโรคหลอดเลือดสมองได้อีกด้วย
คนที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง มักมีอาการอย่างไร
ผู้ป่วยที่มีน้ำตาลในเลือดสูง อาจมีอาการตั้งแต่เล็กน้อย ไปจนถึงขั้นโคม่า เช่น
- มีน้ำตาลในเลือดสูง
- เหนื่อยง่าย ร่างกายอ่อนแอ
- ติดเชื้อทางช่องคลอดและผิวหนัง
- รู้สึกหิวบ่อยกว่าปกติ
- มีอาการปวดศีรษะ
- เห็นภาพซ้อน
- ปวดฉี่บ่อย
- น้ำหนักลด
- แผลหายช้า
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ปวดช่องท้อง
- ปากมีกลิ่นเหมือนผลไม้
- หายใจถี่
- ปากแห้ง
- สับสน งุนงง
- หัวใจเต้นเร็ว
- มีอาการโคม่า
คนที่เสี่ยงมีน้ำตาลในเลือดสูง
กลุ่มคนที่เสี่ยงมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ได้แก่ คนที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่ทานอาหารอย่างระมัดระวัง คนที่มีน้ำหนักตัวเยอะ คนที่มีญาติหรือคนในครอบครัวที่เคยเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 คนที่เป็นโรคความดันโลหิตหรือคอเลสเตอรอลสูง
อาการแทรกซ้อนที่เกิดจากน้ำตาลในเลือดสูง
คุณแม่ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงและไม่ได้เข้ารับการรักษา อาจต้องพบเจอกับภาวะแทรกซ้อนระยะยาวอย่างโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด ระบบประสาทได้รับความเสียหาย ไตวาย เหงือกและฟันติดเชื้อ จอประสาทตาเสียหายหรืออาจตาบอด และอาจเป็นแผลติดเชื้ออย่างรุนแรง จนอาจต้องตัดอวัยวะส่วนนั้นทิ้ง นอกจากนี้ ยังอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น
- Diabetic Ketoacidosis ถือเป็นภาวะฉุกเฉิน เกิดจากการที่ร่างกายมีอินซูลินไม่เพียงพอ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น จนร่างกายนำไขมันมาใช้เป็นพลังงาน ซึ่งร่างกายจะผลิตกรดที่เรียกว่าคีโตนออกมา หากกรดชนิดนี้ซึมเข้าสู่ปัสสาวะมากเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดอาการโคม่าและเสียชีวิตได้ในที่สุด
- Hyperosmolar Hyperglycemic State หรือ HHS คือ ภาวะที่เกิดขึ้น เมื่อร่างกายไม่สามารถนำอินซูลินไปใช้ได้ตามปกติ โดยคนที่มีภาวะน้ี อาจมีน้ำตาลในเลือดสูงถึง 1,000 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หากปล่อยไว้นานอาจทำให้เสียชีวิตได้เช่นเดียวกัน
น้ำตาลในเลือดสูง รักษายังไง
ผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้ง 2 ชนิด ที่มีน้ำตาลในเลือดสูง สามารถรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พยายามจัดการกับความเครียด และรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง เพื่อลดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงได้ แต่ถ้าหากไม่ได้เป็นเบาหวาน แต่มีอาการดังที่ได้กล่าวไปในข้างต้น ให้เข้าพบแพทย์เพื่อรับการตรวจร่างกายและรักษาให้ไวที่สุด
วิธีป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
การป้องกันไม่ให้ร่างกายเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงนั้น ทำได้ด้วยวิธีต่อไปนี้
- หากกำลังรับประทานยาอินซูลินหรือยารักษาโรคเบาหวานอยู่ ก็ควรรับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
- เมื่อต้องทำการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง ให้ทำอย่างระมัดระมัด และทำอย่างสม่ำเสมอตามที่แพทย์แนะนำ
- ออกกำลังกาย เพื่อช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
- งดสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์แต่พอประมาณ
- ควบน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพื่อไม่ให้เสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
- ดื่มน้ำให้มากยิ่งขึ้น เพื่อช่วยขับน้ำตาลออกมาทางปัสสาวะ
- รับประทานอาหารบางชนิดให้น้อยลง เช่น กิมจิ กระเจี๊ยบ คะน้า ผลไม้รสเปรี้ยว โยเกิร์ต แอปเปิ้ล อะโวคาโด เป็นต้น เนื่องจากอาหารเหล่านี้ อาจทำให้ น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้
- หมั่นสังเกตตัวเองว่ามีอาการผิดปกติใด ๆ เกิดขึ้นไหม หากมีอาการท้องเสีย อาเจียนไม่หยุด รวมถึงมีไข้ติดต่อกันนานกว่า 24 ชั่วโมง ให้รีบเข้าพบแพทย์ทันทีเพื่อตรวจหาสาเหตุของอาการและทำการรักษา
https://th.theasianparent.com/hyperglycemia
น้ำตาลในเลือดสูง อันตรายต่อคนท้องอย่างไร ป้องกันได้หรือไม่
ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง คืออะไร เกิดจากอะไร
น้ำตาลในเลือดสูง คือ ภาวะที่ร่างกายของคนเรา มีระดับน้ำตาลในเลือดมากเกินไป เกิดจากการที่ร่างกายมีอินซูลินน้อย หรือร่างกายไม่สามารถนำอินซูลินไปใช้ได้ตามปกติ มักจะเกิดกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน หากปล่อยไว้นานและไม่ได้รับการรักษา เส้นประสาท หลอดเลือด เนื้อเยื่อ ไต และอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย อาจได้รับความเสียหาย รวมทั้งอาจมีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจวายหรือโรคหลอดเลือดสมองได้อีกด้วย
คนที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง มักมีอาการอย่างไร
ผู้ป่วยที่มีน้ำตาลในเลือดสูง อาจมีอาการตั้งแต่เล็กน้อย ไปจนถึงขั้นโคม่า เช่น
- มีน้ำตาลในเลือดสูง
- เหนื่อยง่าย ร่างกายอ่อนแอ
- ติดเชื้อทางช่องคลอดและผิวหนัง
- รู้สึกหิวบ่อยกว่าปกติ
- มีอาการปวดศีรษะ
- เห็นภาพซ้อน
- ปวดฉี่บ่อย
- น้ำหนักลด
- แผลหายช้า
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ปวดช่องท้อง
- ปากมีกลิ่นเหมือนผลไม้
- หายใจถี่
- ปากแห้ง
- สับสน งุนงง
- หัวใจเต้นเร็ว
- มีอาการโคม่า
คนที่เสี่ยงมีน้ำตาลในเลือดสูง
กลุ่มคนที่เสี่ยงมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ได้แก่ คนที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่ทานอาหารอย่างระมัดระวัง คนที่มีน้ำหนักตัวเยอะ คนที่มีญาติหรือคนในครอบครัวที่เคยเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 คนที่เป็นโรคความดันโลหิตหรือคอเลสเตอรอลสูง
อาการแทรกซ้อนที่เกิดจากน้ำตาลในเลือดสูง
คุณแม่ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงและไม่ได้เข้ารับการรักษา อาจต้องพบเจอกับภาวะแทรกซ้อนระยะยาวอย่างโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด ระบบประสาทได้รับความเสียหาย ไตวาย เหงือกและฟันติดเชื้อ จอประสาทตาเสียหายหรืออาจตาบอด และอาจเป็นแผลติดเชื้ออย่างรุนแรง จนอาจต้องตัดอวัยวะส่วนนั้นทิ้ง นอกจากนี้ ยังอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น
- Diabetic Ketoacidosis ถือเป็นภาวะฉุกเฉิน เกิดจากการที่ร่างกายมีอินซูลินไม่เพียงพอ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น จนร่างกายนำไขมันมาใช้เป็นพลังงาน ซึ่งร่างกายจะผลิตกรดที่เรียกว่าคีโตนออกมา หากกรดชนิดนี้ซึมเข้าสู่ปัสสาวะมากเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดอาการโคม่าและเสียชีวิตได้ในที่สุด
- Hyperosmolar Hyperglycemic State หรือ HHS คือ ภาวะที่เกิดขึ้น เมื่อร่างกายไม่สามารถนำอินซูลินไปใช้ได้ตามปกติ โดยคนที่มีภาวะน้ี อาจมีน้ำตาลในเลือดสูงถึง 1,000 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หากปล่อยไว้นานอาจทำให้เสียชีวิตได้เช่นเดียวกัน
น้ำตาลในเลือดสูง รักษายังไง
ผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้ง 2 ชนิด ที่มีน้ำตาลในเลือดสูง สามารถรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พยายามจัดการกับความเครียด และรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง เพื่อลดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงได้ แต่ถ้าหากไม่ได้เป็นเบาหวาน แต่มีอาการดังที่ได้กล่าวไปในข้างต้น ให้เข้าพบแพทย์เพื่อรับการตรวจร่างกายและรักษาให้ไวที่สุด
วิธีป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
การป้องกันไม่ให้ร่างกายเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงนั้น ทำได้ด้วยวิธีต่อไปนี้
- หากกำลังรับประทานยาอินซูลินหรือยารักษาโรคเบาหวานอยู่ ก็ควรรับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
- เมื่อต้องทำการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง ให้ทำอย่างระมัดระมัด และทำอย่างสม่ำเสมอตามที่แพทย์แนะนำ
- ออกกำลังกาย เพื่อช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
- งดสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์แต่พอประมาณ
- ควบน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพื่อไม่ให้เสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
- ดื่มน้ำให้มากยิ่งขึ้น เพื่อช่วยขับน้ำตาลออกมาทางปัสสาวะ
- รับประทานอาหารบางชนิดให้น้อยลง เช่น กิมจิ กระเจี๊ยบ คะน้า ผลไม้รสเปรี้ยว โยเกิร์ต แอปเปิ้ล อะโวคาโด เป็นต้น เนื่องจากอาหารเหล่านี้ อาจทำให้ น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้
- หมั่นสังเกตตัวเองว่ามีอาการผิดปกติใด ๆ เกิดขึ้นไหม หากมีอาการท้องเสีย อาเจียนไม่หยุด รวมถึงมีไข้ติดต่อกันนานกว่า 24 ชั่วโมง ให้รีบเข้าพบแพทย์ทันทีเพื่อตรวจหาสาเหตุของอาการและทำการรักษา
https://th.theasianparent.com/hyperglycemia