อาการสงสัย..เบาหวานในเด็ก

เบาหวานในเด็ก   หลายท่าน คงมี คำถาม ว่า มี ด้วยหรือ questionquestion
ซึ่งคำตอบ ...คือ  มี ค่ะ 
คนส่วนหนึ่งคิดว่าโรคเบาหวานพบเฉพาะในผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุ แต่ในความเป็นจริงเด็กและวัยรุ่นก็เป็นโรคเบาหวานได้เช่นกัน 
ซึ่งมีความแตกต่างกันในรายละเอียดอยู่บ้าง

วันนี้พี่หมอฝั่งธน...จะพามาให้ความรู้   ideaอาการสงสัย..เบาหวานในเด็กidea

“เบาหวาน” เป็นความผิดปกติในการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตหรือเปลี่ยนสารอาหารเป็นน้ำตาล
เพราะร่างกายหรือส่วนที่เรียกว่า ตับอ่อนไม่สามารถผลิตหรือสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้น้อยกว่าปกติ
ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้งานยังส่วนต่างๆ ของเซลล์เพื่อเอาไปเผาผลาญได้ ทำให้ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
ร่างกายจึงต้องขับน้ำตาลออกทางปัสสาวะ สำหรับเด็กที่เป็นโรคเบาหวานร่างกายจะผอมลง น้ำหนักลด

เบาหวานที่พบในเด็กนั้นมีด้วยกัน 2 ชนิด 
โรคเบาหวานชนิดที่ 1 (type 1 diabetes) เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุดสำหรับเบาหวานในเด็กและวัยรุ่น 
เกิดจากเซลล์ตับอ่อนที่เรียกว่า บีต้าเซลล์ ถูกทำลาย ต้องได้รับการรักษาด้วยการฉีดอินซูลินเท่านั้น และมักเป็นโรคเมื่ออายุยังน้อย
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (type 2 diabetes) ส่วนใหญ่มักเกิดในช่วงที่เข้าวัยรุ่นแล้ว โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 
ได้แก่ ภาวะอ้วน ปัจจัยทางพันธุกรรม และประวัติการคลอดที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อยหรือมากกว่าปกติ 
กลไกเกิดจากร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ร่วมกับตับอ่อนบกพร่องในการหลั่งอินซูลิน



ความแตกต่างของโรคเบาหวานในเด็กและโรคเบาหวานในผู้ใหญ่ exclaim
โรคเบาหวานในเด็กและวัยรุ่นมีความคล้ายคลึงกับโรคเบาหวานในผู้ใหญ่ แต่ก็มีความแตกต่างกัน 
1.ชนิดของเบาหวาน ส่วนมากเบาหวานที่พบในเด็กจะเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 แต่ในผู้ใหญ่จะพบชนิดที่ 2 ได้มากกว่า
ในปัจจุบันพบเบาหวานชนิดที่ 2 ในเด็กเพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการที่พบเด็กอ้วนเพิ่มขึ้น
2.การดูแลรักษา เนื่องจากเด็กและวัยรุ่นเป็นวัยที่ยังมีการเติบโต และช่วงวัยรุ่นเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ ด้าน
ทั้งอารมณ์ การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย และฮอร์โมนต่าง ๆ รวมทั้งยังอยู่ในช่วงวัยเรียน
มีคนรอบข้างที่ต้องมีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลรักษา ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว ครู และเพื่อน รวมทั้งบุคลากรทางการแพทย์ด้านต่าง ๆ
การดูแลรักษาผู้ป่วยเด็กจึงมีความละเอียดซับซ้อนมาก
3.ระยะเวลาที่เป็นเบาหวาน ถ้าเริ่มเป็นเบาหวานตั้งแต่เด็ก โอกาสที่จะพบภาวะแทรกซ้อนในอนาคตก็มีมากขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งรายที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี

อาการที่สังเกตได้ exclaim
ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะเวลากลางคืน ดื่มน้ำมากกว่าปกติ หรือกระหายน้ำบ่อยครั้ง มีความอยากอาหารอยู่บ่อยๆ
การมองเห็นพร่ามัวไม่ชัดเจนหรือเกิดภาพซ้อน, บาดแผลหายช้า ลมหายใจมีกลิ่นคล้ายผลไม้หวาน
รู้สึกเหนื่อยล้าและหงุดหงิดง่าย น้ำหนักลดลงทั้งที่กินจุ การติดเชื้อที่ผิวหนัง เป็นแผลแล้วอักเสบง่ายหายยาก 
ในเด็กหญิงบางรายอาจติดเชื้อในช่องคลอด

ปัจจุบัน ยังไม่มีการระบุได้จากวงการแพทย์สากล โดยเฉพาะโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และที่มีสาเหตุมาจากทางกรรมพันธุ์
แต่มีหลักฐานการวิจัยจากมหาวิทยาลัยเคมบริดว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2
สามารถดูแลและป้องกันตัวเองในเบื้องต้นได้จากการปรับการใช้ชีวิตประจำวันให้มีวินัยมากขึ้น
เช่น หากมีภาวะน้ำหนักเกินต้องลดน้ำหนักเพื่อลดความเสี่ยง การเลือกกินอาหารที่มีแคลอรี่ต่ำ
หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสหวานจัด มันจัด เลือกกินอาหารตามหลักโภชนาการจัดการกับความเครียดได้อย่างเหมาะสม
รวมถึงการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
 


การดูแลและรักษาโรคเบาหวานสำหรับผู้ป่วยทุกคน ทุกเพศ ทุกวัยเป็นสิ่งสำคัญ
เพราะจะมีส่วนป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะมากับโรคเบาหวานทั้ง 2 ประเภทได้ และต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
● โรคเบาหวานชนิดที่ 1
จะต้องใช้อินซูลินเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยจะต้องตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ 
และการคำนวณปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ได้รับประทานและดื่ม 
วิธีนี้จะทำให้รู้ปริมาณการใช้อินซูลินต่อปริมาณสารอาหารที่บริโภคได้อย่างเหมาะสม 
การสร้างสุขภาพที่ดี การออกกำลังกายเป็นประจำ และกินอาหารให้ครบ 5 หมู่อย่างเหมาะสมตามหลักโภชนาการ 
สิ่งเหล่านี้จะช่วยลดความเสี่ยงของโรคเบาหวานในเด็กและวัยรุ่นได้
● โรคเบาหวานชนิดที่ 2
จัดการการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่อย่างเหมาะสมตามหลักโภชนาการ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 
และการรักษาน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐาน แต่บางรายก็ต้องใช้ยาด้วย เช่น ยาเม็ดและอินซูลิน หรือการรักษาอื่นๆ 
และควรทดสอบระดับกลูโคสในเลือดเหมือนผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 
และรักษาตามหลักเวชปฏิบัติทั่วไป ที่จะเป็นแนวทางได้ว่าควรจะดูแลและรักษาอย่างไรให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

ความรู้เพิ่มเติม
https://www.youtube.com/watch?v=9Vq4ZgwGgMM
https://www.thonburihospital.com/package/pk_dm2023/
https://www.thonburihospital.com/specialisecenter/pediatric-center/

lovelovelove
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่