ปัญหาสุขภาพอันดับต้น ๆ ของคนไทยหนีไม่พ้นโรคเบาหวาน มีสาเหตุได้จากหลายปัจจัย
การดูแลตัวเอง รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นการป้องกันโรคที่สำคัญ
แต่หากป่วยเป็นโรคเบาหวานแล้ว ธรรมชาติของโรคไม่สามารถหายขาดได้ 100% หรือหายได้ด้วยตัวเอง
แต่ในกระบวนการรักษาโรคเบาหวานทำได้เพียงควบคุมให้โรคอยู่ใน “ระยะสงบ”
ซึ่งหมายถึงระยะที่โรคไม่แสดงอาการเบาหวานใด ๆ และร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับปกติ
โดยระยะสงบนี้สามารถคงอยู่ได้นานเป็นเดือนหรือเป็นปีขึ้นอยู่กับการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยแต่ละคน
วันนี้พี่หมอฝั่งธน..จะมาให้ความรู้ ถ้าคุม "เบาหวาน" ไม่ได้ ก็เสี่ยงโรคเพิ่ม
เบาหวาน เป็นโรคที่เกิดจากการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป
โดยที่ร่างกายไม่สามารถผลิตหรือใช้งานอินซูลินอย่างถูกต้อง
นั่นส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น และอาจทำให้เกิดอาการที่ร้ายแรงต่อร่างกายได้
โรคเบาหวานอาจเกิดจากพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ไม่ดี เช่น การบริโภคอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูง
และขาดการออกกำลังกาย หรืออาจมีปัจจัยจากพันธุกรรม
แต่สาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานเป็นอันตรายนั่นก็คือ
การมีโรคแทรกซ้อน หรือที่เรียกว่าภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน (Diabetes complication)
เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต โรคตา โรคเกี่ยวกับระบบประสาท โรคความดันโลหิตสูง
รวมถึงโรคของหลอดเลือดส่วนปลาย ที่อาจส่งผลทำให้ร่างกายทุพพลภาพ หรือถึงขั้นเสียชีวิตได้
การดูแลรักษาโรคเบาหวานที่ดีคือ การควบคุมระดับน้ำตาล เป็นการป้องกันและลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ชนิดเฉียบพลัน
จะเป็นลักษณะของภาวะน้ำตาลในเลือดที่ส่งผลต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น
ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ จะมีอาการซึม สับสน มึนงง ใจสั่น ชัก
หรืออาจถึงขั้นหมดสติได้ และหากอาการหนักกว่านั้น ก็อาจเป็นอันตรายจนถึงเสียชีวิต
ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง อาการนี้จะทำให้ภาวะของเลือดเป็นกรด
ส่งผลให้หมดสติ หรือระบบอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายได้รับความเสียหาย
ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ชนิดเรื้อรัง
สาเหตุเกิดจากการที่มีน้ำตาลในเลือดสูง เป็นระยะเวลายาวนาน ส่งผลให้ผนังหลอดเลือดทั่วร่างกาย ถูกทำลาย
เสื่อม ทำให้ตีบ แข็ง ส่งผลให้เกิดการอุดตัน และเกิดภาวะแทรกซ้อน ที่หลอดเลือดขนาดเล็กและหลอดเลือดขนาดใหญ่ เช่น
ภาวะแทรกซ้อนที่หลอดเลือดขนาดเล็ก
-ภาวะแทรกซ้อนที่จอประสาทตา หากเกิดภาวะดังกล่าว จะส่งผลให้เกิดอาการสายตามัว มีเงาดำมาบดบัง มองเห็นภาพซ้อน
ซึ่งเป็นอาการของโรคทางตาต่าง ๆ เช่น ต้อกระจก ต้อหิน เบาหวานขึ้นตา จอประสาทตาเสื่อม ที่ร้ายแรงกว่านั้น
ก็จะทำให้จอรับภาพฉีกขาด แตก สูญเสียการมองเห็น หรือถึงขั้นตาบอดได้
-ภาวะแทรกซ้อนที่ไต เกิดจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูงกว่าระดับปกติ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการไหลเวียนของเลือดที่ไต
ทำให้มีโปรตีนรั่วในปัสสาวะ ส่งผลให้การทำงานของไตลดลง เกิดน้ำคั่ง ของเสียคั่ง เบาหวานลงไต ตัวบวม แขนขาบวม
การดูแลรักษาในเบื้องต้นคือการฟอกไต ล้างไต และหากร้ายแรงอาจถึงขั้นต้องเปลี่ยนไต
เพื่อหลีกเลี่ยงและป้องกันการเกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน
-ภาวะแทรกซ้อนที่เส้นประสาท จะเกิดอาการชาที่ปลายมือหรือปลายเท้า เหมือนถูกแทง
มีอาการปวดแสบปวดร้อน หรือสูญเสียการรับรู้ความรู้สึกส่วนใหญ่ จะเกิดอาการในเวลากลางคืน
สาเหตุเกิดมาจากส่วนปลายประสาทอักเสบลุกลาม ทำให้ประสาทสัมผัสลดลง และอาจทำให้กล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรงได้
ภาวะแทรกซ้อนที่หลอดเลือดขนาดใหญ่
ทำให้เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ เส้นเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เพราะเกิดการตีบตันของหลอดเลือดใหญ่
ทำให้เป็นโรคหลอดเลือดสมอง เกิดจากภาวะเส้นเลือดตีบเช่นกัน หรือความดันโลหิตและไขมันในเลือด อยู่ในระดับที่ผิดปกติ
ทำให้เป็นโรคหลอดเลือดส่วนปลายอุดตัน โดยเฉพาะที่ขา หรือเกิดแผลที่ปลายเท้า จนทำให้เกิดการติดเชื้อ สาเหตุเกิดมาจากการดูแลควบคุมโรคเบาหวานได้ไม่ดีเท่าที่ควร หากรักษาไม่ทันการ อาจทำให้สูญเสียรุนแรงถึงขั้นถูกตัดเท้าได้
การดูแลควบคุมภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน
ควบคุมระดับไขมันคอเลสเตอรอล ไม่ให้เกิน 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
ควบคุมระดับความดันโลหิต ไม่ให้เกิน 130/80 มิลลิเมตรปรอท
ควบคุมระดับน้ำตาล ให้อยู่ระหว่าง 80 - 130 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
ควบคุมระดับน้ำตาลสะสม HbA1C (Hemoglobin A1C) 6.5 - 7.5%
ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงและโรคร่วมของผู้ป่วย ซึ่งการควบคุมปัจจัยเหล่านี้
ต้องอาศัยการเข้ารับคำปรึกษาและตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
หลักในการดูแลตัวเองของผู้ป่วยเบาหวาน
ออกกำลังกายอย่างพอเหมาะ เพื่อเสริมภูมิให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง
การออกกำลังกายมีส่วนช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือ
และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ ช่วยป้องกันโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ
ดื่มน้ำให้เพียงพอ หากผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลไม่ดี
จะทำให้สูญเสียน้ำในร่างกายจากการปัสสาวะบ่อย การดื่มน้ำเปล่าอย่างเพียงพอ
จะเป็นการช่วยปรับความสมดุลให้กับร่างกาย
ทำใจให้สบาย ลดความวิตกกังวล และความเครียด เพราะความเครียดมีส่วนทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
ดูแลเรื่องอาหารการกิน งดการกินอาหารหวาน งดกินแป้งในปริมาณมากเกินไป
เน้นการกินผักผลไม้สด ธัญพืช โปรตีน เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ฯลฯ
งดเว้นอาหารที่มีไขมันทรานส์ หรือกรดไขมันไม่อิ่มตัว เช่น เนยเทียม ครีมเทียม นมข้นหวาน ฯลฯ
และเครื่องดื่มต่าง ๆ เช่น ชา หรือกาแฟ รวมทั้งหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และดื่มสุรา
ควบคุมน้ำหนัก การควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในภาวะที่เหมาะสม
สามารถช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ คอเลสเตอรอล และน้ำตาลในเลือดได้
หมั่นพบแพทย์ตรวจสุขภาพเป็นประจำ การตรวจเลือด ตรวจวัดความดันโลหิต
ตรวจวัดระดับน้ำตาลสะสมในเลือด วัดระดับไขมัน รวมทั้งการศึกษาข้อมูลด้านต่าง ๆ ของโรคเบาหวานเพื่อดูแลตัวเอง
จะช่วยให้สามารถประเมิน และดูแลสุขภาพได้เป็นอย่างดี
สำหรับการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 ก็อาจมีความแตกต่างกันดังนี้
โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เป็นเบาหวานที่เกิดจากเซลล์ตับอ่อนเสียหายไม่สามารถสร้างอินซูลินมาควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้
การรักษาโรคเบาหวานชนิดนี้จะต้องควบคุมอาหารที่รับประทานร่วมกับการวางแผนออกกำลังกาย
และอาจต้องหมั่นตรวจระดับในเลือดและฉีดอินซูลินแบบหลายครั้งในหนึ่งวัน (MDI) ด้วยตัวเอง
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นเบาหวานที่เกิดจากภาวะดื้ออินซูลิน มักพบในผู้ที่มีโรคอ้วนและอยู่ในวัยผู้ใหญ่ อายุ 40 ปีขึ้นไป
ผู้ป่วยเบาหวานในประเทศไทยส่วนใหญ่ร้อยละ 95-97 เป็นโรคเบาหวานชนิดนี้
ซึ่งการควบคุมโรคเบาหวานชนิดนี้จะต้องควบคุมอาหารที่รับประทานวางแผนออกกำลังกาย
หมั่นตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเอง ในผู้ป่วยบางรายอาจจะต้องรับประทานยาหรือฉีดอินซูลินช่วยในการรักษา
ถ้าคุม "เบาหวาน" ไม่ได้ ก็เสี่ยงโรคเพิ่ม
การดูแลตัวเอง รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นการป้องกันโรคที่สำคัญ
แต่หากป่วยเป็นโรคเบาหวานแล้ว ธรรมชาติของโรคไม่สามารถหายขาดได้ 100% หรือหายได้ด้วยตัวเอง
แต่ในกระบวนการรักษาโรคเบาหวานทำได้เพียงควบคุมให้โรคอยู่ใน “ระยะสงบ”
ซึ่งหมายถึงระยะที่โรคไม่แสดงอาการเบาหวานใด ๆ และร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับปกติ
โดยระยะสงบนี้สามารถคงอยู่ได้นานเป็นเดือนหรือเป็นปีขึ้นอยู่กับการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยแต่ละคน
วันนี้พี่หมอฝั่งธน..จะมาให้ความรู้ ถ้าคุม "เบาหวาน" ไม่ได้ ก็เสี่ยงโรคเพิ่ม
เบาหวาน เป็นโรคที่เกิดจากการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป
โดยที่ร่างกายไม่สามารถผลิตหรือใช้งานอินซูลินอย่างถูกต้อง
นั่นส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น และอาจทำให้เกิดอาการที่ร้ายแรงต่อร่างกายได้
โรคเบาหวานอาจเกิดจากพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ไม่ดี เช่น การบริโภคอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูง
และขาดการออกกำลังกาย หรืออาจมีปัจจัยจากพันธุกรรม
แต่สาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานเป็นอันตรายนั่นก็คือ
การมีโรคแทรกซ้อน หรือที่เรียกว่าภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน (Diabetes complication)
เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต โรคตา โรคเกี่ยวกับระบบประสาท โรคความดันโลหิตสูง
รวมถึงโรคของหลอดเลือดส่วนปลาย ที่อาจส่งผลทำให้ร่างกายทุพพลภาพ หรือถึงขั้นเสียชีวิตได้
การดูแลรักษาโรคเบาหวานที่ดีคือ การควบคุมระดับน้ำตาล เป็นการป้องกันและลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ชนิดเฉียบพลัน
จะเป็นลักษณะของภาวะน้ำตาลในเลือดที่ส่งผลต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น
ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ จะมีอาการซึม สับสน มึนงง ใจสั่น ชัก
หรืออาจถึงขั้นหมดสติได้ และหากอาการหนักกว่านั้น ก็อาจเป็นอันตรายจนถึงเสียชีวิต
ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง อาการนี้จะทำให้ภาวะของเลือดเป็นกรด
ส่งผลให้หมดสติ หรือระบบอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายได้รับความเสียหาย
ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ชนิดเรื้อรัง
สาเหตุเกิดจากการที่มีน้ำตาลในเลือดสูง เป็นระยะเวลายาวนาน ส่งผลให้ผนังหลอดเลือดทั่วร่างกาย ถูกทำลาย
เสื่อม ทำให้ตีบ แข็ง ส่งผลให้เกิดการอุดตัน และเกิดภาวะแทรกซ้อน ที่หลอดเลือดขนาดเล็กและหลอดเลือดขนาดใหญ่ เช่น
ภาวะแทรกซ้อนที่หลอดเลือดขนาดเล็ก
-ภาวะแทรกซ้อนที่จอประสาทตา หากเกิดภาวะดังกล่าว จะส่งผลให้เกิดอาการสายตามัว มีเงาดำมาบดบัง มองเห็นภาพซ้อน
ซึ่งเป็นอาการของโรคทางตาต่าง ๆ เช่น ต้อกระจก ต้อหิน เบาหวานขึ้นตา จอประสาทตาเสื่อม ที่ร้ายแรงกว่านั้น
ก็จะทำให้จอรับภาพฉีกขาด แตก สูญเสียการมองเห็น หรือถึงขั้นตาบอดได้
-ภาวะแทรกซ้อนที่ไต เกิดจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูงกว่าระดับปกติ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการไหลเวียนของเลือดที่ไต
ทำให้มีโปรตีนรั่วในปัสสาวะ ส่งผลให้การทำงานของไตลดลง เกิดน้ำคั่ง ของเสียคั่ง เบาหวานลงไต ตัวบวม แขนขาบวม
การดูแลรักษาในเบื้องต้นคือการฟอกไต ล้างไต และหากร้ายแรงอาจถึงขั้นต้องเปลี่ยนไต
เพื่อหลีกเลี่ยงและป้องกันการเกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน
-ภาวะแทรกซ้อนที่เส้นประสาท จะเกิดอาการชาที่ปลายมือหรือปลายเท้า เหมือนถูกแทง
มีอาการปวดแสบปวดร้อน หรือสูญเสียการรับรู้ความรู้สึกส่วนใหญ่ จะเกิดอาการในเวลากลางคืน
สาเหตุเกิดมาจากส่วนปลายประสาทอักเสบลุกลาม ทำให้ประสาทสัมผัสลดลง และอาจทำให้กล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรงได้
ภาวะแทรกซ้อนที่หลอดเลือดขนาดใหญ่
ทำให้เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ เส้นเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เพราะเกิดการตีบตันของหลอดเลือดใหญ่
ทำให้เป็นโรคหลอดเลือดสมอง เกิดจากภาวะเส้นเลือดตีบเช่นกัน หรือความดันโลหิตและไขมันในเลือด อยู่ในระดับที่ผิดปกติ
ทำให้เป็นโรคหลอดเลือดส่วนปลายอุดตัน โดยเฉพาะที่ขา หรือเกิดแผลที่ปลายเท้า จนทำให้เกิดการติดเชื้อ สาเหตุเกิดมาจากการดูแลควบคุมโรคเบาหวานได้ไม่ดีเท่าที่ควร หากรักษาไม่ทันการ อาจทำให้สูญเสียรุนแรงถึงขั้นถูกตัดเท้าได้
การดูแลควบคุมภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน
ควบคุมระดับไขมันคอเลสเตอรอล ไม่ให้เกิน 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
ควบคุมระดับความดันโลหิต ไม่ให้เกิน 130/80 มิลลิเมตรปรอท
ควบคุมระดับน้ำตาล ให้อยู่ระหว่าง 80 - 130 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
ควบคุมระดับน้ำตาลสะสม HbA1C (Hemoglobin A1C) 6.5 - 7.5%
ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงและโรคร่วมของผู้ป่วย ซึ่งการควบคุมปัจจัยเหล่านี้
ต้องอาศัยการเข้ารับคำปรึกษาและตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
หลักในการดูแลตัวเองของผู้ป่วยเบาหวาน
ออกกำลังกายอย่างพอเหมาะ เพื่อเสริมภูมิให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง
การออกกำลังกายมีส่วนช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือ
และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ ช่วยป้องกันโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ
ดื่มน้ำให้เพียงพอ หากผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลไม่ดี
จะทำให้สูญเสียน้ำในร่างกายจากการปัสสาวะบ่อย การดื่มน้ำเปล่าอย่างเพียงพอ
จะเป็นการช่วยปรับความสมดุลให้กับร่างกาย
ทำใจให้สบาย ลดความวิตกกังวล และความเครียด เพราะความเครียดมีส่วนทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
ดูแลเรื่องอาหารการกิน งดการกินอาหารหวาน งดกินแป้งในปริมาณมากเกินไป
เน้นการกินผักผลไม้สด ธัญพืช โปรตีน เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ฯลฯ
งดเว้นอาหารที่มีไขมันทรานส์ หรือกรดไขมันไม่อิ่มตัว เช่น เนยเทียม ครีมเทียม นมข้นหวาน ฯลฯ
และเครื่องดื่มต่าง ๆ เช่น ชา หรือกาแฟ รวมทั้งหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และดื่มสุรา
ควบคุมน้ำหนัก การควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในภาวะที่เหมาะสม
สามารถช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ คอเลสเตอรอล และน้ำตาลในเลือดได้
หมั่นพบแพทย์ตรวจสุขภาพเป็นประจำ การตรวจเลือด ตรวจวัดความดันโลหิต
ตรวจวัดระดับน้ำตาลสะสมในเลือด วัดระดับไขมัน รวมทั้งการศึกษาข้อมูลด้านต่าง ๆ ของโรคเบาหวานเพื่อดูแลตัวเอง
จะช่วยให้สามารถประเมิน และดูแลสุขภาพได้เป็นอย่างดี
สำหรับการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 ก็อาจมีความแตกต่างกันดังนี้
โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เป็นเบาหวานที่เกิดจากเซลล์ตับอ่อนเสียหายไม่สามารถสร้างอินซูลินมาควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้
การรักษาโรคเบาหวานชนิดนี้จะต้องควบคุมอาหารที่รับประทานร่วมกับการวางแผนออกกำลังกาย
และอาจต้องหมั่นตรวจระดับในเลือดและฉีดอินซูลินแบบหลายครั้งในหนึ่งวัน (MDI) ด้วยตัวเอง
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นเบาหวานที่เกิดจากภาวะดื้ออินซูลิน มักพบในผู้ที่มีโรคอ้วนและอยู่ในวัยผู้ใหญ่ อายุ 40 ปีขึ้นไป
ผู้ป่วยเบาหวานในประเทศไทยส่วนใหญ่ร้อยละ 95-97 เป็นโรคเบาหวานชนิดนี้
ซึ่งการควบคุมโรคเบาหวานชนิดนี้จะต้องควบคุมอาหารที่รับประทานวางแผนออกกำลังกาย
หมั่นตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเอง ในผู้ป่วยบางรายอาจจะต้องรับประทานยาหรือฉีดอินซูลินช่วยในการรักษา