ตอนเดิม
ตอนที่ 18
เมื่อมีราชโองการก็แสดงแน่ชัดแล้วว่า รัชทายาทแห่งเมืองเวียงแถนได้แก่เจ้าชายจุมมณี โอรสลำดับที่สามของเจ้าฟ้ากองคำฟั่นและพระชายาชาวกะเหรี่ยง ซึ่งจักมีพระยศเป็นเจ้าแกมเมือง อันหมายถึงกำลังจะได้กินเมืองเวียงแถนตลอดจนเมืองบริวารของเวียงแถนทั้งหมดอีกด้วย และหากขึ้นนั่งบัลลังก์ในขณะที่มีพระชันษายังน้อย ก็จะมีราชธิดาพระองค์ใหญ่คอยค้ำจุนบัลลังก์ให้ ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
แล้วเจ้าชายที่เจริญชันษาแล้วอีกสองคนนั้นเล่า
เจ้าชายโหลงขนานมีท่าทีต่อเรื่องนี้ด้วยกิริยาที่เคร่งขรึม มิชัดเจนว่ารู้สึกเยี่ยงไร ส่วนเจ้าชายใหญ่ผู้เคยถูกคาดหมายว่าจะได้ครอบครองตำแหน่งนี้ หลบอยู่แต่ในตำหนัก ซึ่งแน่ชัดว่าเสียพระทัยนัก
เนื่องด้วยตนเองนั้นกาลก่อนก็เคยมีบรรดาเสนาอำมาตย์คอยสนับสนุนอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ครั้นสิ้นพระมารดาผู้คอยผลักดันอยู่เบื้องหลัง ลำพังแค่หนานแสนเมือง หนานจันผาและน้อยจอมแปง กับสมัครพรรคพวกของบุคคลเหล่านั้น ก็ยังพ่ายแพ้ให้กับพี่นางคนโตและเหล่าขุนทหารอีกฝ่าย ซึ่งนำโดยเจ้าชายแม่ทัพผู้แกร่งกล้านามว่าพรหมภูมินทร์ กับขุนศึกคู่บัลลังก์อย่างแม่ทัพอินเฟือน
...ก็ให้พวกมันเสวยสุขไปกันก่อนเถอะ เพราะไฟแค้นที่ร้อนระอุอยู่ภายใน ย่อมมิปรากฏมีเปลวไฟลุกไหม้ออกมาให้เห็น...
เจ้าชายผู้พลาดบัลลังก์ของเมืองนี้ครุ่นคิดอย่างขุ่นแค้น เพราะมิได้พอพระทัยในตำแหน่งเจ้าหลวงเมืองยากจน ที่ทั้งห่างไกลและทุรกันดาร อยู่ติดกับชายแดนจีนอย่างเมืองจองลอง หลังทนอดสูได้ไม่นาน เจ้าชายใหญ่ก็ขออนุญาตเจ้าฟ้าไปครองเมืองนั้นเสียโดยเร็ว ซึ่งเจ้าฟ้าก็เข้าพระทัยถึงความรู้สึกของโอรสผู้มิใช่สายเลือดของตนดี และแม้จะทรงทราบในทุกเรื่องราว แต่พระองค์ก็หาได้ถือสาหาความไม่ คิดเสียว่าแทนคุณให้เพื่อนตายอย่างแสนเมือง ยังคงให้ความรักต่อเจ้าชายมหาคำคืนเฉกเช่นเลือดในอก เลี้ยงดูไม่ต่างกับโอรสธิดาคนอื่น ๆ
แต่เป็นเพราะถูกพระมารดาให้ท้ายตามพระทัยมานาน เจ้าชายมหาคำคืนจึงมีอุปนิสัยดุร้าย มักเอาแต่ความต้องการของตนเองเป็นใหญ่ กระทำการล้วนแต่โหดร้ายทารุณ ไม่เหมาะสมปกครองบ้านเมือง เช่นเดียวกับเจ้าชายโหลงขนานซึ่งมีพฤติกรรมอันน่ารังเกียจ ไม่คู่ควรกับตำแหน่งกษัตริย์เลยแม้สักน้อย ดำรินี้ของเจ้าฟ้า จึงทำให้พระองค์จำต้องหักหาญน้ำพระทัยของสองโอรส
และด้วยเหตุที่เมืองจองลองไม่มีเจ้าหลวงครองเมือง จึงนับว่าเป็นจังหวะเหมาะพอดี อีกทั้งเจ้าฟ้าเคยได้ลั่นวาจาเอาไว้ว่าจะยกเมืองจองลองซึ่งเป็นบ้านเมืองเดิมของพระมารดาให้แก่เจ้าชายมหาคำคืน การให้เจ้าชายพระองค์นี้ไปเป็นเจ้าหลวงเมืองจองลอง จึงถือว่าควรแก่เหตุ ทั้งยังจะช่วยลดคำครหาเรื่องแต่งตั้งเจ้าแกมเมืองข้ามหน้าโอรสองค์โตได้อีกทางหนึ่งด้วย
ดำริแล้วเจ้าฟ้าจึงทรงอนุญาตแต่โดยดี ส่วนเจ้าชายโหลงขนานนั้นทรงมีดำริให้ไปผนวชเพื่อตัดฝิ่นให้ได้เสียก่อน แล้วค่อยให้ไปอภิเษกกับเจ้าหญิงเมืองบริวารอื่นต่อไป ซึ่งที่ไหนเลยจะทรงคาดคิดได้ว่า การปล่อยให้องค์ชายผู้คั่งแค้นไปจากเมืองเวียงแถนในครั้งนี้ จะเป็นดั่งสุภาษิตที่ว่า'ปล่อยเสือเข้าป่า' และทำให้ 'ฝนตกขี้หมูไหล' ซึ่งหมายถึงตนได้ปล่อยให้คนที่มีนิสัยดุร้ายเข้าไปในที่ซึ่งเขาเหล่านั้นจะกระทำกรรมชั่วได้ง่ายขึ้น และเปิดโอกาสให้มาพบกันในเวลาอันเหมาะเจาะ เพื่อร่วมกันทำชั่วนั่นเอง
(มีต่อ)
ริษยารักข้ามภพ บทที่ 18
เมื่อมีราชโองการก็แสดงแน่ชัดแล้วว่า รัชทายาทแห่งเมืองเวียงแถนได้แก่เจ้าชายจุมมณี โอรสลำดับที่สามของเจ้าฟ้ากองคำฟั่นและพระชายาชาวกะเหรี่ยง ซึ่งจักมีพระยศเป็นเจ้าแกมเมือง อันหมายถึงกำลังจะได้กินเมืองเวียงแถนตลอดจนเมืองบริวารของเวียงแถนทั้งหมดอีกด้วย และหากขึ้นนั่งบัลลังก์ในขณะที่มีพระชันษายังน้อย ก็จะมีราชธิดาพระองค์ใหญ่คอยค้ำจุนบัลลังก์ให้ ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
แล้วเจ้าชายที่เจริญชันษาแล้วอีกสองคนนั้นเล่า
เจ้าชายโหลงขนานมีท่าทีต่อเรื่องนี้ด้วยกิริยาที่เคร่งขรึม มิชัดเจนว่ารู้สึกเยี่ยงไร ส่วนเจ้าชายใหญ่ผู้เคยถูกคาดหมายว่าจะได้ครอบครองตำแหน่งนี้ หลบอยู่แต่ในตำหนัก ซึ่งแน่ชัดว่าเสียพระทัยนัก
เนื่องด้วยตนเองนั้นกาลก่อนก็เคยมีบรรดาเสนาอำมาตย์คอยสนับสนุนอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ครั้นสิ้นพระมารดาผู้คอยผลักดันอยู่เบื้องหลัง ลำพังแค่หนานแสนเมือง หนานจันผาและน้อยจอมแปง กับสมัครพรรคพวกของบุคคลเหล่านั้น ก็ยังพ่ายแพ้ให้กับพี่นางคนโตและเหล่าขุนทหารอีกฝ่าย ซึ่งนำโดยเจ้าชายแม่ทัพผู้แกร่งกล้านามว่าพรหมภูมินทร์ กับขุนศึกคู่บัลลังก์อย่างแม่ทัพอินเฟือน
...ก็ให้พวกมันเสวยสุขไปกันก่อนเถอะ เพราะไฟแค้นที่ร้อนระอุอยู่ภายใน ย่อมมิปรากฏมีเปลวไฟลุกไหม้ออกมาให้เห็น...
เจ้าชายผู้พลาดบัลลังก์ของเมืองนี้ครุ่นคิดอย่างขุ่นแค้น เพราะมิได้พอพระทัยในตำแหน่งเจ้าหลวงเมืองยากจน ที่ทั้งห่างไกลและทุรกันดาร อยู่ติดกับชายแดนจีนอย่างเมืองจองลอง หลังทนอดสูได้ไม่นาน เจ้าชายใหญ่ก็ขออนุญาตเจ้าฟ้าไปครองเมืองนั้นเสียโดยเร็ว ซึ่งเจ้าฟ้าก็เข้าพระทัยถึงความรู้สึกของโอรสผู้มิใช่สายเลือดของตนดี และแม้จะทรงทราบในทุกเรื่องราว แต่พระองค์ก็หาได้ถือสาหาความไม่ คิดเสียว่าแทนคุณให้เพื่อนตายอย่างแสนเมือง ยังคงให้ความรักต่อเจ้าชายมหาคำคืนเฉกเช่นเลือดในอก เลี้ยงดูไม่ต่างกับโอรสธิดาคนอื่น ๆ
แต่เป็นเพราะถูกพระมารดาให้ท้ายตามพระทัยมานาน เจ้าชายมหาคำคืนจึงมีอุปนิสัยดุร้าย มักเอาแต่ความต้องการของตนเองเป็นใหญ่ กระทำการล้วนแต่โหดร้ายทารุณ ไม่เหมาะสมปกครองบ้านเมือง เช่นเดียวกับเจ้าชายโหลงขนานซึ่งมีพฤติกรรมอันน่ารังเกียจ ไม่คู่ควรกับตำแหน่งกษัตริย์เลยแม้สักน้อย ดำรินี้ของเจ้าฟ้า จึงทำให้พระองค์จำต้องหักหาญน้ำพระทัยของสองโอรส
และด้วยเหตุที่เมืองจองลองไม่มีเจ้าหลวงครองเมือง จึงนับว่าเป็นจังหวะเหมาะพอดี อีกทั้งเจ้าฟ้าเคยได้ลั่นวาจาเอาไว้ว่าจะยกเมืองจองลองซึ่งเป็นบ้านเมืองเดิมของพระมารดาให้แก่เจ้าชายมหาคำคืน การให้เจ้าชายพระองค์นี้ไปเป็นเจ้าหลวงเมืองจองลอง จึงถือว่าควรแก่เหตุ ทั้งยังจะช่วยลดคำครหาเรื่องแต่งตั้งเจ้าแกมเมืองข้ามหน้าโอรสองค์โตได้อีกทางหนึ่งด้วย
ดำริแล้วเจ้าฟ้าจึงทรงอนุญาตแต่โดยดี ส่วนเจ้าชายโหลงขนานนั้นทรงมีดำริให้ไปผนวชเพื่อตัดฝิ่นให้ได้เสียก่อน แล้วค่อยให้ไปอภิเษกกับเจ้าหญิงเมืองบริวารอื่นต่อไป ซึ่งที่ไหนเลยจะทรงคาดคิดได้ว่า การปล่อยให้องค์ชายผู้คั่งแค้นไปจากเมืองเวียงแถนในครั้งนี้ จะเป็นดั่งสุภาษิตที่ว่า'ปล่อยเสือเข้าป่า' และทำให้ 'ฝนตกขี้หมูไหล' ซึ่งหมายถึงตนได้ปล่อยให้คนที่มีนิสัยดุร้ายเข้าไปในที่ซึ่งเขาเหล่านั้นจะกระทำกรรมชั่วได้ง่ายขึ้น และเปิดโอกาสให้มาพบกันในเวลาอันเหมาะเจาะ เพื่อร่วมกันทำชั่วนั่นเอง
(มีต่อ)