ทำไมต้องตรวจหาภูมิต้านทานต่อเชื้อ SARS-COV2 ?
แม้ว่า
#การตรวจระดับภูมิต้านทานต่อเชื้อ SARS-COV2 จะไม่ใช่การบอกถึงประสิทธิภาพของภูมิคุ้มกันทั้งหมดของร่างกายต่อการติดเชื้อที่ทำให้ก่อโรค COVID-19 แต่ก็เป็นส่วนสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อและลดความรุนแรงของโรคลงได้
เมื่อร่างกายได้รับเชื้อหรือได้รับการกระตุ้นด้วยวัคซีนเม็ดเลือดขาวชนิด T lymphocyte จะมีหน้าที่ในการกระตุ้นและสั่งการเม็ดเลือดขาวชนิด B lymphocyte ให้สร้างภูมิต้านทานเฉพาะต่อเชื้อ SARS-COV2 ขึ้นมา นั่นคือ Anti spike protein IgG ซึ่งเป็นภูมิต้านทานที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเข้าสู่เซลล์ของไวรัส และกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันอื่นๆ เข้าทำลายไวรัสอย่างตรงจุดและเหมาะสม
#ระดับของภูมิคุ้มกันที่สูงพอจะช่วยยับยั้งการรุกรานของไวรัสได้ทันท่วงที ช่วยลดและป้องกันการติดเชื้อ หรือหากติดเชื้อก็จะช่วยลดความรุนแรงของโรคลงไปได้มาก
ตามธรรมชาติหลังการติดเชื้อหรือรับวัคซีน ระดับภูมิคุ้มกันจะค่อยๆ ลดลงตามเวลา ในทางการแพทย์จะมีระดับที่ต้องยับยั้งเชื้อได้อย่างน้อย 50% ในการทดสอบจึงจะถือว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อได้ ซึ่งภูมิคุ้มกันตั้งต้นที่มีระดับสูงการลดลงของภูมิคุ้มกันไปจนถึงระดับดังกล่าว จะใช้เวลานานกว่าผู้ที่มีภูมิตั้งต้นในระดับต่ำ ทำให้ระยะเวลาที่สามารถป้องกันได้นั้นมีระยะเวลาที่นานกว่า
และแม้ว่าเชื้อกลายพันธุ์จะมีความจำเพาะต่อภูมิต้านทานต่อวัคซีนลดลง แต่ภูมิต้านทานในระดับสูงก็ยังมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อกลายพันธุ์ได้ดีในระดับหนึ่ง เมื่อเทียบกับภูมิที่มีระดับต่ำกว่า
แม้ว่าภูมิคุ้มกันจะลดลงไปตามระยะเวลา แต่เม็ดเลือดขาวในร่างกายจะมีความจำในการสร้างภูมิขึ้นมาใหม่ เมื่อมีการติดเชื้อหรือได้รับการกระตุ้นด้วยวัคซีน แต่จะต้องใช้ระยะเวลาหลายวันถึงจะมีระดับของภูมิคุ้มกันที่สูงพอ
*** จึงอธิบายได้ว่าผู้ที่ฉีดวัคซีนไปนานแล้วอาจจะยังติดเชื้อได้ แต่ก็จะไม่แสดงอาการรุนแรง เพราะมีภูมิที่ร่างกายสร้างขึ้นมาต่อสู้กับไวรัสได้ในภายหลังนั่นเอง
รายละเอียดการตรวจคลิก >> https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/905
ทำไมต้องตรวจหาภูมิต้านทานต่อเชื้อ SARS-COV2 ?
ทำไมต้องตรวจหาภูมิต้านทานต่อเชื้อ SARS-COV2 ?
แม้ว่า #การตรวจระดับภูมิต้านทานต่อเชื้อ SARS-COV2 จะไม่ใช่การบอกถึงประสิทธิภาพของภูมิคุ้มกันทั้งหมดของร่างกายต่อการติดเชื้อที่ทำให้ก่อโรค COVID-19 แต่ก็เป็นส่วนสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อและลดความรุนแรงของโรคลงได้
เมื่อร่างกายได้รับเชื้อหรือได้รับการกระตุ้นด้วยวัคซีนเม็ดเลือดขาวชนิด T lymphocyte จะมีหน้าที่ในการกระตุ้นและสั่งการเม็ดเลือดขาวชนิด B lymphocyte ให้สร้างภูมิต้านทานเฉพาะต่อเชื้อ SARS-COV2 ขึ้นมา นั่นคือ Anti spike protein IgG ซึ่งเป็นภูมิต้านทานที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเข้าสู่เซลล์ของไวรัส และกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันอื่นๆ เข้าทำลายไวรัสอย่างตรงจุดและเหมาะสม #ระดับของภูมิคุ้มกันที่สูงพอจะช่วยยับยั้งการรุกรานของไวรัสได้ทันท่วงที ช่วยลดและป้องกันการติดเชื้อ หรือหากติดเชื้อก็จะช่วยลดความรุนแรงของโรคลงไปได้มาก
ตามธรรมชาติหลังการติดเชื้อหรือรับวัคซีน ระดับภูมิคุ้มกันจะค่อยๆ ลดลงตามเวลา ในทางการแพทย์จะมีระดับที่ต้องยับยั้งเชื้อได้อย่างน้อย 50% ในการทดสอบจึงจะถือว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อได้ ซึ่งภูมิคุ้มกันตั้งต้นที่มีระดับสูงการลดลงของภูมิคุ้มกันไปจนถึงระดับดังกล่าว จะใช้เวลานานกว่าผู้ที่มีภูมิตั้งต้นในระดับต่ำ ทำให้ระยะเวลาที่สามารถป้องกันได้นั้นมีระยะเวลาที่นานกว่า
และแม้ว่าเชื้อกลายพันธุ์จะมีความจำเพาะต่อภูมิต้านทานต่อวัคซีนลดลง แต่ภูมิต้านทานในระดับสูงก็ยังมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อกลายพันธุ์ได้ดีในระดับหนึ่ง เมื่อเทียบกับภูมิที่มีระดับต่ำกว่า
แม้ว่าภูมิคุ้มกันจะลดลงไปตามระยะเวลา แต่เม็ดเลือดขาวในร่างกายจะมีความจำในการสร้างภูมิขึ้นมาใหม่ เมื่อมีการติดเชื้อหรือได้รับการกระตุ้นด้วยวัคซีน แต่จะต้องใช้ระยะเวลาหลายวันถึงจะมีระดับของภูมิคุ้มกันที่สูงพอ
*** จึงอธิบายได้ว่าผู้ที่ฉีดวัคซีนไปนานแล้วอาจจะยังติดเชื้อได้ แต่ก็จะไม่แสดงอาการรุนแรง เพราะมีภูมิที่ร่างกายสร้างขึ้นมาต่อสู้กับไวรัสได้ในภายหลังนั่นเอง
รายละเอียดการตรวจคลิก >> https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/905