ผลวิจัยแพทย์ มข ชี้ Sinovac กระตุ้นภูมิชนิด CMI ได้น้อย
แพทย์ มข. จึงสรุปว่าผู้รับซิโนแวค ครบ 2 เข็ม ควรบูสต์เข็ม 3 ชี้ ไวรัสเวคเตอร์ หรือ mRNA เพื่อป้องกันการระบาดวิกฤติ โควิด -19
เมื่อวันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม 2564 มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้แถลงข่าว ผลวิจัยการตรวจภูมิคุ้มกันของผู้ที่รับวัคซีนSinovac โดย นักวิจัยคณะแพทยศาสตร์ ในการนี้ได้รับเกียรติจาก ศ. ดร. สุรศักดิ์ วงศ์รัตนชีวิน คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยประธานในพิธี ผศ. ดร. สุปราณี พันธุ์ธนวิบูลย์ อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ หัวหน้าโครงการวิจัย ผศ. นพ. อธิบดี มีสิงห์ อาจารย์ประจำภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ อาจารย์ณัฐสมล ธนกุลรังสฤษดิ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ ร่วมการแถลงข่าว ณ ห้องสารสิน อาคารสิริคุณากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น
สืบเนื่องจากการรับมือสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย มีการนำเข้าและใช้วัคซีนชนิดเชื้อตายเป็นส่วนมากเพื่อฉีดให้บุคลากรด่านหน้า ก่อนที่จะมีการใช้วัคซีนชนิดไวรัสเวคเตอร์และ ชนิด mRNA ในเวลาต่อมา
ศ. ดร. สุรศักดิ์ วงศ์รัตนชีวิน คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ในฐานะที่ปรึกษาโครงการ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในฐานะสถาบันวิชาการชั้นสูงและเก่าแก่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีนโยบายที่จะช่วยสังคมในทุกๆด้าน โดยในสถานการณ์โรค COVID-19 ที่มีการระบาดอย่างรุนแรงในประเทศไทย มหาวิทยาลัยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญถึงการศึกษาวิจัยเรื่องวัคซีนโควิด-19 เพราะวัคซีนเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะหยุดยั้งการระบาดได้และทำให้สังคมไทยกลับคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็ว มหาวิทยาลัยจึงได้ให้การสนับสนุนอย่างเร่งด่วนเพื่อให้แพทย์ และนักวิจัย ได้มีโอกาสช่วยสังคมและทำงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ การวิจัยครั้งนี้ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ทำการศึกษาภูมิคุ้มกันของผู้ที่ได้รับวัคซีน Sinovac จำนวน 2 เข็ม ทั้งภูมิคุ้มกัน ด้านแอนติบอดี และด้านเซลล์ โดยจะเป็นครั้งแรกที่มี การรายงาน ภูมิคุ้มกันด้านเซลล์ของผู้ที่ได้รับวัคซีนนี้ เพื่อให้เป็นแนวทางในการป้องกันโรคต่อไป
ผศ. ดร. สุปราณี พันธุ์ธนวิบูลย์ อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวว่า ไวรัสเป็นอนุภาคขนาดเล็กที่ต้องเพิ่มจำนวนภายในเซลล์ ภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ใช้ในการป้องกันกำจัดเชื้อไวรัสนั้นประกอบด้วย ภูมิคุ้มกันด้านแอนติบอดี และภูมิคุ้มกันด้านเซลล์ (ทีเซลล์) ในการทำงานแอนติบอดีที่จะช่วยยับยั้งไม่ให้ไวรัสเข้าสู่เซลล์ และเมื่อใดก็ตามที่ไวรัสเข้าสู่เซลล์ได้ ภูมิคุ้มกันด้านเซลล์จะรับหน้าที่หลักในการกำจัดเซลล์ที่ติดเชื้อเพื่อไม่ให้ไวรัสเพิ่มจำนวนและก่อโรค ดังนั้นการป้องกันกำจัดเชื้อไวรัสที่มีประสิทธิภาพต้องอาศัยภูมิคุ้มกันทั้ง 2 ชนิด
“ผลวิจัยการตรวจภูมิคุ้มกันของผู้ที่รับวัคซีน Sinovac เป็นการศึกษาแอนติบอดี และ ทีเซลล์ของผู้ที่รับวัคซีน Sinovac ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล นักศึกษาแพทย์ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 335 คน โดยเก็บข้อมูลจากการ เจาะเลือดทั้งหมด 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 ก่อนฉีดวัคซีน ครั้งที่ 2 หลังจากฉีดวัคซีนเข็มแรก 1 ครั้งที่ 3 หลังจากฉีดวัคซีนเข็มสอง 1 เดือน(รูปที่ 1) อาสาสมัครที่ได้รับวัคซีนสามารถสร้างแอนติบอดีที่จำเพาะต่อโปรตีนของเชื้อได้ ร้อยละ 89 หลังจากรับวัคซีนเข็มแรก และ หลังจากรับวัคซีนครบ 2 เข็ม สามารถตรวจวัดระดับปริมาณของแอนติบอดีที่จำเพาะได้ครบทุกคน(100%) ในปริมาณที่แตกต่างกันโดยมีค่ากลางอยู่ที่ 1292 AU/ml (รูปที่ 1) ส่วนผลการศึกษาทีเซลล์พบว่ามีปริมาณที่ถูกกระตุ้นของ CD4+ T cell ในอาสาสมัครหลังรับวัคซีนสูงขึ้นเล็กน้อยหลังฉีดในขณะที่ CD8+ T cell ไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับก่อนฉีดวัคซีน (รูปที่ 2)”
ผศ. ดร. สุปราณี กล่าวต่อไปว่า จากผลการศึกษาเบื้องต้นสรุปได้ว่า การรับวัคซีน Sinovac ในอาสาสมัครกลุ่มที่ทำการทดลอง สามารถกระตุ้นให้เกิดภูมิแอนติบอดีได้ดี แต่การกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของทีเซลล์มีน้อย จึงแนะนำให้ผู้ที่รับซิโนแวคครบ 2 เข็ม ควรได้รับการกระตุ้นทีเซลล์ด้วยวัคซีนชนิดอื่นที่ไม่ใช่รูปแบบเชื้อตาย เพื่อประสิทธิภาพการป้องกันโรคที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งหลังจากที่มีการเปลี่ยนรูปแบบวัคซีนของอาสาสมัครกลุ่มเดิม จะมีการศึกษา ภูมิแอนติบอดี และ ภูมิเซลล์ อีกครั้ง
ผศ. นพ. อธิบดี มีสิงห์ อาจารย์ประจำภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า จากผลงานวิจัยจากทีมวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ ทำให้เราได้ทราบว่าการฉีดวัคซีนซิโนแวค 2 เข็มสามารถกระตุ้นให้สร้างภูมิชนิดแอนติบอดีที่จำเพาะได้ โดยในเข็มแรกจะยังมีระดับ แอนติบอดีที่ต่ำ และ จะเพิ่มมากขึ้นหลังจากเข็มที่ 2 แต่กระตุ้นภูมิด้านเซลล์นั้นยังกระตุ้นได้ไม่ดีเท่าที่ควร เนื่องจากเป็นข้อจำกัดของเทคโนโลยีเชื้อตาย
“ฉะนั้นผู้ที่รับวัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้วัคซีนบูสต์เข็มที่ 3 โดยเฉพาะในภาวะที่มีการกลายพันธุ์ของเชื้อเช่นสายพันธุ์เดลต้า เพราะระดับ แอนติบอดี ที่สร้างขึ้นนั้นอาจไม่เพียงพอต่อการป้องกันสายพันธุ์ใหม่ได้ สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่ให้มีการฉีดวัคซีนไขว้ คือเข็มแรกเป็น เชื้อตาย หรือ Sinovac และเข็มที่สองเป็น Viral Vector Vaccine หรือ AstraZeneca เนื่องจากมีการศึกษาในต่างประเทศพบว่า AZ สามารถกระตุ้น T cells ได้ดี เพื่อประสิทธิภาพในการกระตุ้นภูมิได้ทั้งสองด้าน การฉีดเข็ม 3 ให้กับผู้ที่ได้รับ SV 2 เข็มจึงควรที่จะเป็นวัคซีนที่มีความสามารถในการกระตุ้นภูมิด้านเซลล์ได้ดี ได้แก่ วัคซีนชนิดไวรัสเวคเตอร์ AZ หรือชนิด mRNA” ผศ. นพ. อธิบดี กล่าวปิดท้าย
ที่มา:
https://th.kku.ac.th/72246/
ผลวิจัยแพทย์ มข ชี้ Sinovac กระตุ้นภูมิชนิด T -cell ( CMI ) ได้น้อย
แพทย์ มข. จึงสรุปว่าผู้รับซิโนแวค ครบ 2 เข็ม ควรบูสต์เข็ม 3 ชี้ ไวรัสเวคเตอร์ หรือ mRNA เพื่อป้องกันการระบาดวิกฤติ โควิด -19
เมื่อวันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม 2564 มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้แถลงข่าว ผลวิจัยการตรวจภูมิคุ้มกันของผู้ที่รับวัคซีนSinovac โดย นักวิจัยคณะแพทยศาสตร์ ในการนี้ได้รับเกียรติจาก ศ. ดร. สุรศักดิ์ วงศ์รัตนชีวิน คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยประธานในพิธี ผศ. ดร. สุปราณี พันธุ์ธนวิบูลย์ อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ หัวหน้าโครงการวิจัย ผศ. นพ. อธิบดี มีสิงห์ อาจารย์ประจำภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ อาจารย์ณัฐสมล ธนกุลรังสฤษดิ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ ร่วมการแถลงข่าว ณ ห้องสารสิน อาคารสิริคุณากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น
สืบเนื่องจากการรับมือสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย มีการนำเข้าและใช้วัคซีนชนิดเชื้อตายเป็นส่วนมากเพื่อฉีดให้บุคลากรด่านหน้า ก่อนที่จะมีการใช้วัคซีนชนิดไวรัสเวคเตอร์และ ชนิด mRNA ในเวลาต่อมา
ศ. ดร. สุรศักดิ์ วงศ์รัตนชีวิน คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ในฐานะที่ปรึกษาโครงการ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในฐานะสถาบันวิชาการชั้นสูงและเก่าแก่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีนโยบายที่จะช่วยสังคมในทุกๆด้าน โดยในสถานการณ์โรค COVID-19 ที่มีการระบาดอย่างรุนแรงในประเทศไทย มหาวิทยาลัยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญถึงการศึกษาวิจัยเรื่องวัคซีนโควิด-19 เพราะวัคซีนเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะหยุดยั้งการระบาดได้และทำให้สังคมไทยกลับคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็ว มหาวิทยาลัยจึงได้ให้การสนับสนุนอย่างเร่งด่วนเพื่อให้แพทย์ และนักวิจัย ได้มีโอกาสช่วยสังคมและทำงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ การวิจัยครั้งนี้ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ทำการศึกษาภูมิคุ้มกันของผู้ที่ได้รับวัคซีน Sinovac จำนวน 2 เข็ม ทั้งภูมิคุ้มกัน ด้านแอนติบอดี และด้านเซลล์ โดยจะเป็นครั้งแรกที่มี การรายงาน ภูมิคุ้มกันด้านเซลล์ของผู้ที่ได้รับวัคซีนนี้ เพื่อให้เป็นแนวทางในการป้องกันโรคต่อไป
ผศ. ดร. สุปราณี พันธุ์ธนวิบูลย์ อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวว่า ไวรัสเป็นอนุภาคขนาดเล็กที่ต้องเพิ่มจำนวนภายในเซลล์ ภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ใช้ในการป้องกันกำจัดเชื้อไวรัสนั้นประกอบด้วย ภูมิคุ้มกันด้านแอนติบอดี และภูมิคุ้มกันด้านเซลล์ (ทีเซลล์) ในการทำงานแอนติบอดีที่จะช่วยยับยั้งไม่ให้ไวรัสเข้าสู่เซลล์ และเมื่อใดก็ตามที่ไวรัสเข้าสู่เซลล์ได้ ภูมิคุ้มกันด้านเซลล์จะรับหน้าที่หลักในการกำจัดเซลล์ที่ติดเชื้อเพื่อไม่ให้ไวรัสเพิ่มจำนวนและก่อโรค ดังนั้นการป้องกันกำจัดเชื้อไวรัสที่มีประสิทธิภาพต้องอาศัยภูมิคุ้มกันทั้ง 2 ชนิด
“ผลวิจัยการตรวจภูมิคุ้มกันของผู้ที่รับวัคซีน Sinovac เป็นการศึกษาแอนติบอดี และ ทีเซลล์ของผู้ที่รับวัคซีน Sinovac ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล นักศึกษาแพทย์ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 335 คน โดยเก็บข้อมูลจากการ เจาะเลือดทั้งหมด 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 ก่อนฉีดวัคซีน ครั้งที่ 2 หลังจากฉีดวัคซีนเข็มแรก 1 ครั้งที่ 3 หลังจากฉีดวัคซีนเข็มสอง 1 เดือน(รูปที่ 1) อาสาสมัครที่ได้รับวัคซีนสามารถสร้างแอนติบอดีที่จำเพาะต่อโปรตีนของเชื้อได้ ร้อยละ 89 หลังจากรับวัคซีนเข็มแรก และ หลังจากรับวัคซีนครบ 2 เข็ม สามารถตรวจวัดระดับปริมาณของแอนติบอดีที่จำเพาะได้ครบทุกคน(100%) ในปริมาณที่แตกต่างกันโดยมีค่ากลางอยู่ที่ 1292 AU/ml (รูปที่ 1) ส่วนผลการศึกษาทีเซลล์พบว่ามีปริมาณที่ถูกกระตุ้นของ CD4+ T cell ในอาสาสมัครหลังรับวัคซีนสูงขึ้นเล็กน้อยหลังฉีดในขณะที่ CD8+ T cell ไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับก่อนฉีดวัคซีน (รูปที่ 2)”
ผศ. ดร. สุปราณี กล่าวต่อไปว่า จากผลการศึกษาเบื้องต้นสรุปได้ว่า การรับวัคซีน Sinovac ในอาสาสมัครกลุ่มที่ทำการทดลอง สามารถกระตุ้นให้เกิดภูมิแอนติบอดีได้ดี แต่การกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของทีเซลล์มีน้อย จึงแนะนำให้ผู้ที่รับซิโนแวคครบ 2 เข็ม ควรได้รับการกระตุ้นทีเซลล์ด้วยวัคซีนชนิดอื่นที่ไม่ใช่รูปแบบเชื้อตาย เพื่อประสิทธิภาพการป้องกันโรคที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งหลังจากที่มีการเปลี่ยนรูปแบบวัคซีนของอาสาสมัครกลุ่มเดิม จะมีการศึกษา ภูมิแอนติบอดี และ ภูมิเซลล์ อีกครั้ง
ผศ. นพ. อธิบดี มีสิงห์ อาจารย์ประจำภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า จากผลงานวิจัยจากทีมวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ ทำให้เราได้ทราบว่าการฉีดวัคซีนซิโนแวค 2 เข็มสามารถกระตุ้นให้สร้างภูมิชนิดแอนติบอดีที่จำเพาะได้ โดยในเข็มแรกจะยังมีระดับ แอนติบอดีที่ต่ำ และ จะเพิ่มมากขึ้นหลังจากเข็มที่ 2 แต่กระตุ้นภูมิด้านเซลล์นั้นยังกระตุ้นได้ไม่ดีเท่าที่ควร เนื่องจากเป็นข้อจำกัดของเทคโนโลยีเชื้อตาย
“ฉะนั้นผู้ที่รับวัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้วัคซีนบูสต์เข็มที่ 3 โดยเฉพาะในภาวะที่มีการกลายพันธุ์ของเชื้อเช่นสายพันธุ์เดลต้า เพราะระดับ แอนติบอดี ที่สร้างขึ้นนั้นอาจไม่เพียงพอต่อการป้องกันสายพันธุ์ใหม่ได้ สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่ให้มีการฉีดวัคซีนไขว้ คือเข็มแรกเป็น เชื้อตาย หรือ Sinovac และเข็มที่สองเป็น Viral Vector Vaccine หรือ AstraZeneca เนื่องจากมีการศึกษาในต่างประเทศพบว่า AZ สามารถกระตุ้น T cells ได้ดี เพื่อประสิทธิภาพในการกระตุ้นภูมิได้ทั้งสองด้าน การฉีดเข็ม 3 ให้กับผู้ที่ได้รับ SV 2 เข็มจึงควรที่จะเป็นวัคซีนที่มีความสามารถในการกระตุ้นภูมิด้านเซลล์ได้ดี ได้แก่ วัคซีนชนิดไวรัสเวคเตอร์ AZ หรือชนิด mRNA” ผศ. นพ. อธิบดี กล่าวปิดท้าย
ที่มา: https://th.kku.ac.th/72246/