163 แพทย์ มช. แถลงจี้รัฐบาล เร่งจัดซื้อวัคซีนคุณภาพให้บุคลากรแพทย์-ปชช.ฟรี
https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_6526527
163 แพทย์ มช. แถลงจี้รัฐบาล เร่งจัดซื้อวัคซีนคุณภาพให้บุคลากรแพทย์-ปชช.ฟรี รวมทั้งจัดหาชุดตรวจ Rapid test อย่างเร่งด่วน พร้อมเปิดขั้นตอนจัดซื้อ
เมื่อวันที่ 23 ก.ค.64 กลุ่มแพทย์ 163 คน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออกแถลงการณ์ระบุว่า
แพทย์ประจำบ้าน แพทย์ประจำบ้านต่อยอด และอาจารย์แพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดังรายชื่อแนบ ในฐานะบุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานรับมือกับวิกฤตการระบาดของเชื้อโควิด-19 ขอเรียกร้องและแสดงจุดยืน ดังนี้
1. ให้รัฐบาลเร่งทำการตรวจโรคแบบเชิงรุก จัดหาชุดตรวจ Rapid test อย่างเร่งด่วน แจกจ่ายให้ประชาชน ในราคาที่เหมาะสม หรือไม่เสียค่าใช้จ่าย มีการให้ความรู้แก่ประชาชนในการตรวจโรคจากชุดตรวจ Rapid test ด้วยตนเอง
2. รัฐบาลต้องจัดซื้อและจัดสรรวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่มีประสิทธิภาพสูงตามหลักฐานงานวิจัยทางการแพทย์ระดับสากล เช่น mRNA vaccine, Protein subunit vaccine เป็นต้น ให้แก่บุคลากรทางการแพทย์และประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียม โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยกระทำการอย่างเร่งด่วนที่สุด
รวมทั้งเปิดเผยขั้นตอนในการจัดซื้อ และจัดสรรวัคซีนอย่างโปร่งใส ดำเนินการอย่างสุจริตและไม่มีประโยชน์ทับซ้อนใดๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชน
คอลัมนิสต์ดัง เขียนถึงอว. อย่าหลอกกันอีกเลย จัดสถิติฉีดวัคซีน ไทยนำชาติอาเซียน
https://www.matichon.co.th/politics/news_2845681
คอลัมนิสต์ดัง เขียนถึงอว. อย่าหลอกกันอีกเลย จัดสถิติฉีดวัคซีน ไทยนำชาติอาเซียน
วันนี้ (23 ก.ค.) นาย
สรกล อดุลยานนท์ หรือ หนุ่มเมืองจันท์ คอลัมนิสต์ชื่อดัง ได้โพสต์ข้อเขียนตั้งข้อสังเกตเรื่องการสรุปตัวเลขอันดับการฉีดวัคซีนในกลุ่มประเทศอาเซียนของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยมีรายละเอียดดังนี้
“อย่าหลอกกันอีกเลย
นั่งดูตัวเลขเรื่องการฉีดวัคซีนในกลุ่มประเทศอาเซียนของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) มาพักหนึ่งแล้ว
มีความรู้สึกอย่างหนึ่งปรี๊ดขึ้นมา
..เขาคิดว่าคนไทย”โ-่ ” ใช่ไหม?
เพราะ”ตัวเลข” เดียวกัน แต่การนำเสนอต่างกัน
ความรู้สึกจะเปลี่ยนไปทันที
อว.ใช้กลยุทธ์การนำเสนอ “ตัวเลข” เพื่อทำให้ประเทศไทยอยู่ในอันดับต้นๆของการฉีดวัคซีน
ลองมาดูวิธีการของเขาสิครับ
เริ่มจากรูปแรก “การฉีดวัคซีนโควิด-19 ในอาเซียน”
ตามปกติเขาจะวัดจากอัตราการฉีดวัคซีนต่อประชากรในประเทศ
แต่อว.เลือกนำเสนอตัวเลขจำนวนการฉีดวัคซีน
ประเทศไหนฉีดวัคซีนแล้วกี่คน
ไม่สนใจว่าประเทศนั้นจะมีประชากรเท่าไร
วิธีการนำเสนอแบบนี้ ประเทศไทยซึ่งถือเป็นประเทศที่มีประชากรสูงเป็นอันดับที่ 4 จาก 10 ประเทศ (รองจากอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม)
ไทยจะอยู่ในอันดับที่ 2 ของอาเซียนที่มีคนฉีดวัคซีนมากที่สุด
ทั้งที่วัดผลในแบบสากล คือ อัตราการฉีดวัคซีนต่อจำนวนประชากร
ไทยจะอยู่ในอันดับที่ 5
รองจากสิงคโปร์ กัมพูชา มาเลเซีย บรูไน
รูปที่สอง”การฉีดวัคซีนโควิด-19 ในอาเซียน”
พอมาเล่นเกมแบบสากล
คิดเป็นเปอร์เซ็นต์คนที่ฉีดวัคซีนต่อจำนวนประชากร
ดูลูกเล่นของกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาประเทศสิครับ
แทนที่จะเอา10 ประเทศในอาเซียนมาเรียงลำดับกันแบบซื่อๆ ว่าประเทศไหนฉีดวัคซีนเข็มแรกมากกว่ากัน
1.สิงคโปร์ 70.5%
2.กัมพูชา 35.8%
3.มาเลเซีย 30.9%
4.บรูไน 25.8%
5.ไทย 16.7%
6.อินโดนีเซีย 15.4%
แต่อว. เขาเล่นตัวเลขใหม่ครับ
เขาแบ่งกลุ่มประเทศอาเซียนเป็น 2 กลุ่ม
คือ
1. ประเทศขนาดใหญ่ที่มีประชากรมากกว่า 50 ล้านคน
2. ประเทศที่มีประชากรน้อยกว่า 50 ล้านคน
คำถาม…ทำไมต้องแบ่งที่ 50 ล้านคน?
คำตอบ คือ เพราะแบ่งแบบนี้แล้ว ประเทศไทยจะฉีดวัคซีนเป็นที่ 1 ในกลุ่ม
1.ไทย 2. อินโดนีเซีย
เป็นวิธีการเล่น”ตัวเลข” ง่ายๆ
อยากได้ที่ 1 ต้องใช้ตัวเลขประชากร 50 ล้านคน
เพราะถ้าลองขยับตัวเลขประชากรมาเป็น 30 ล้านคนจึงเป็นประเทศใหญ่
“มาเลเซีย” จะเข้ามาอยู่ในกลุ่มนี้ทันที
อัตราการฉีดวัคซีนของ”ไทย” จะหล่นลงมาเป็นอันดับที่ 2 ทันที
“มาเลเซีย” จะขึ้นมาเป็นที่ 1
อย่าลืมว่ากระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ อว. เป็นกระทรวงด้านการศึกษา และการวิจัย
เป็นองค์กรทาง”วิชาการ”
ไม่ใช่”การเมือง”
“ตัวเลข” ที่ออกมาต้องโปร่งใส
ซื่อๆ ชัดๆ วัดผลได้
แต่กลับเอา”ตัวเลข” มาเล่นกล
คิดว่าทำแบบนี้แล้วจะทำให้ประชาชนเชื่อมั่น หรือรู้สึกว่าประเทศไทยเก่งจัง
หวังว่า อว.คงไม่คิดว่าคนไทยโง่ หลอกง่าย
แค่ปรับตัวเลขนิดเดียวก็เชื่อแล้ว
อย่าทำแบบนี้เลยครับ
ตอนนี้อารมณ์คนไทยเปราะบางมาก
สงสารเราเถอะครับ
เราเพิ่งโดนหลอกว่าจะได้วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเดือนละ 10 ล้านโดสมาหมาดๆ
อย่าหลอกเราอีกเลย
อย่าลืมว่าถ้าเราจะเชื่อมั่นใครสักคน
คนนั้นต้องเป็นคนตรงไปตรงมา
โปร่งใส
ไม่โกหก
แต่ถ้าเราเจอใครทำตัวลับลมคมใน พูดความจริงครึ่งเดียว
คนนั้นต่อให้พูดความจริงในวันข้างหน้า
เราก็จะไม่เชื่อครับ
…รัฐบาลก็เช่นกัน
https://www.facebook.com/boycitychanFC/posts/4182747095114099
WHO ประกาศเพิ่มอีก 3 สายพันธุ์ "โควิด-19 สายพันธุ์ตรวจสอบเพิ่มเติม”
https://www.pptvhd36.com/news/ต่างประเทศ/152412
อนามัยโลกเพิ่มโควิด-19 รวดเดียว 3 สายพันธุ์เข้ารายชื่อ “สายพันธุ์ตรวจสอบเพิ่มเติม” รวมของเดิมเป็น 15 สายพันธุ์ ส่วนสายพันธุ์ VOC และ VOI ยังคงเดิม
นิวมีเดีย พีพีทีวี เข้าไปตรวจสอบระบบติดตามสายพันธุ์โควิด-19 ขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่า ทาง WHO ได้เพิ่มโควิด-19 อีก 3 สายพันธุ์ในรายชื่อกลุ่ม “
สายพันธุ์ตรวจสอบเพิ่มเติม (Alerts for Further Monitoring)” ตั้งแต่วันที่ 14 ก.ค. ที่ผ่านมา
โดยโควิด-19 ทั้ง 3 สายพันธุ์ดังกล่าวประกอบด้วย B.1.1.523, B.1.61 และ B.1.620
สายพันธุ์ตรวจสอบเพิ่มเติม คือโควิด-19 สายพันธุ์ที่มีข้อบ่งชี้ว่า อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงในอนาคต แต่หลักฐานทางระบาดวิทยายังไม่ชัดเจน จำเป็นต้องมีการตรวจสอบเพิ่มขึ้น
คาดว่า สาเหตุที่ทำให้โควิด-19 ทั้ง 3 สายพันธุ์นี้ถูกจัดอยู่ในระดับต้องตรวจสอบเพิ่มเติม เนื่องมาจากมีคุณลักษณะการกลายพันธุ์บางอย่างที่คล้ายคลึงกับสายพันธุ์ที่ต้องกังวล (VOC) และสายพันธุ์ต้องสนใจ (VOI)
สายพันธุ์ B.1.1.523 ระบาดแล้วใน 25 ประเทศทั่วโลก B.1.61 - ระบาดแล้วใน 27 ประเทศทั่วโลก และ B.1.620 ระบาดแล้วใน 44 ประเทศทั่วโลก โดยทั้ง 3 สายพันธุ์ต่างไม่พบข้อมูลชัดเจนว่า มีต้นตอการระบาดมาจากที่ไหนเป็นที่แรก ทราบเพียงว่า 2 สายพันธุ์แรกระบาดตั้งแต่ พ.ค. 2020 ส่วน B.1.620 พบครั้งแรกเดือน พ.ย. 2020
แต่มีการกลายพันธุ์ 3 ตำแหน่งที่น่าเป็นกังวล คือ
P314L, E484K และ
D614G ซึ่งเป็นตำแหน่งเดียวกับที่มีการกลายพันธุ์ในหลายสายพันธุ์ ได้แก่
สายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) เบตา (แอฟริกาใต้) เดลตา (อินเดีย) อีตา ไอโอตา (นิวยอร์ก) และแคปปา (อินเดีย)
การกลายพันธุ์ทั้ง 3 ตำแหน่งนี้ทำให้โควิด-19 สายพันธุ์ B.1.1.523, B.1.61 และ B.1.620
มีคุณสมบัติหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ และติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจได้ง่าย ซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญของโควิด-19 ที่ระบาดอยู่ในปัจจุบัน
ขณะนี้ยังไม่มีรายละเอียดชัดเจนว่า โควิด-19 ทั้ง 3 สายพันธุ์จะมีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด และในอนาคตจะยกระดับความอันตรายและกลายเป็นสายพันธุ์มีชื่อเช่นเดียวกับสายพันธุ์อัลฟาถึงแลมมบ์ดาหรือไม่ ยังคงเป็นเรื่องที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป
แต่ข่าวดีขณะนี้คือ ยังไม่มีการตรวจพบโควิด-19 B.1.1.523, B.1.61 และ B.1.620 ในประเทศไทยแม้แต่รายเดียว
ปัจจุบันโลกมีโควิด-19 อยู่ 8 สายพันธุ์ที่อยู่ในการติดตามอย่างใกล้ชิดของ WHO ได้แก่
สายพันธุ์ที่ต้องกังวล (Variants of Concern; VOC) 4 สายพันธุ์
• สายพันธุ์อัลฟา (Alpha) ชื่อทางการ B.1.1.7 พบที่แรกคือเมืองเคนต์ ประเทศอังกฤษ
• สายพันธุ์เบตา (Beta) ชื่อทางการ B.1.351 พบที่แรกคือประเทศแอฟริกาใต้
• สายพันธุ์แกมมา (Gamma) ชื่อทางการ P.1 พบที่แรกคือประเทศบราซิล
• สายพันธุ์เดลตา (Delta) ชื่อทางการ B.1.617.2 พบที่แรกคือประเทศอินเดีย
สายพันธุ์ที่ต้องให้ความสนใจ (Variants of Interest; VOI)
• สายพันธุ์อีตา (Eta) ชื่อทางการ B.1.525 พบที่แรกในหลายประเทศ
• สายพันธุ์ไอโอตา (Iota) ชื่อทางการ B.1.526 พบที่แรกคือกรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐฯ
• สายพันธุ์แคปปา (Kappa) ชื่อทางการ B.1.617.1 พบที่แรกคือประเทศอินเดีย
• สายพันธุ์แลมบ์ดา (Lambda) ชื่อทางการ C.37 พบที่แรกคือประเทศเปรู
สายพันธุ์ที่ต้องตรวจสอบเพิ่มเติม (Alerts for Further Monitoring) เมื่อรวม 3 สายพันธุ์ใหม่เข้าไปด้วยแล้ว มีทั้งหมด 15 สายพันธุ์
เรียบเรียงจาก
Outbreak Info /
WHO
JJNY : 4in1 163แพทย์มช.จี้เร่งจัดซื้อวัคซีน│คอลัมนิสต์ดังเขียนถึงอว.│WHOเพิ่ม 3สายพันธุ์สอบเพิ่ม│ส.ค้าปลีกวอนต่อลมหายใจ
https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_6526527
163 แพทย์ มช. แถลงจี้รัฐบาล เร่งจัดซื้อวัคซีนคุณภาพให้บุคลากรแพทย์-ปชช.ฟรี รวมทั้งจัดหาชุดตรวจ Rapid test อย่างเร่งด่วน พร้อมเปิดขั้นตอนจัดซื้อ
เมื่อวันที่ 23 ก.ค.64 กลุ่มแพทย์ 163 คน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออกแถลงการณ์ระบุว่า
แพทย์ประจำบ้าน แพทย์ประจำบ้านต่อยอด และอาจารย์แพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดังรายชื่อแนบ ในฐานะบุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานรับมือกับวิกฤตการระบาดของเชื้อโควิด-19 ขอเรียกร้องและแสดงจุดยืน ดังนี้
1. ให้รัฐบาลเร่งทำการตรวจโรคแบบเชิงรุก จัดหาชุดตรวจ Rapid test อย่างเร่งด่วน แจกจ่ายให้ประชาชน ในราคาที่เหมาะสม หรือไม่เสียค่าใช้จ่าย มีการให้ความรู้แก่ประชาชนในการตรวจโรคจากชุดตรวจ Rapid test ด้วยตนเอง
2. รัฐบาลต้องจัดซื้อและจัดสรรวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่มีประสิทธิภาพสูงตามหลักฐานงานวิจัยทางการแพทย์ระดับสากล เช่น mRNA vaccine, Protein subunit vaccine เป็นต้น ให้แก่บุคลากรทางการแพทย์และประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียม โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยกระทำการอย่างเร่งด่วนที่สุด
รวมทั้งเปิดเผยขั้นตอนในการจัดซื้อ และจัดสรรวัคซีนอย่างโปร่งใส ดำเนินการอย่างสุจริตและไม่มีประโยชน์ทับซ้อนใดๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชน
คอลัมนิสต์ดัง เขียนถึงอว. อย่าหลอกกันอีกเลย จัดสถิติฉีดวัคซีน ไทยนำชาติอาเซียน
https://www.matichon.co.th/politics/news_2845681
คอลัมนิสต์ดัง เขียนถึงอว. อย่าหลอกกันอีกเลย จัดสถิติฉีดวัคซีน ไทยนำชาติอาเซียน
วันนี้ (23 ก.ค.) นายสรกล อดุลยานนท์ หรือ หนุ่มเมืองจันท์ คอลัมนิสต์ชื่อดัง ได้โพสต์ข้อเขียนตั้งข้อสังเกตเรื่องการสรุปตัวเลขอันดับการฉีดวัคซีนในกลุ่มประเทศอาเซียนของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยมีรายละเอียดดังนี้
“อย่าหลอกกันอีกเลย
นั่งดูตัวเลขเรื่องการฉีดวัคซีนในกลุ่มประเทศอาเซียนของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) มาพักหนึ่งแล้ว
มีความรู้สึกอย่างหนึ่งปรี๊ดขึ้นมา
..เขาคิดว่าคนไทย”โ-่ ” ใช่ไหม?
เพราะ”ตัวเลข” เดียวกัน แต่การนำเสนอต่างกัน
ความรู้สึกจะเปลี่ยนไปทันที
อว.ใช้กลยุทธ์การนำเสนอ “ตัวเลข” เพื่อทำให้ประเทศไทยอยู่ในอันดับต้นๆของการฉีดวัคซีน
ลองมาดูวิธีการของเขาสิครับ
เริ่มจากรูปแรก “การฉีดวัคซีนโควิด-19 ในอาเซียน”
ตามปกติเขาจะวัดจากอัตราการฉีดวัคซีนต่อประชากรในประเทศ
แต่อว.เลือกนำเสนอตัวเลขจำนวนการฉีดวัคซีน
ประเทศไหนฉีดวัคซีนแล้วกี่คน
ไม่สนใจว่าประเทศนั้นจะมีประชากรเท่าไร
วิธีการนำเสนอแบบนี้ ประเทศไทยซึ่งถือเป็นประเทศที่มีประชากรสูงเป็นอันดับที่ 4 จาก 10 ประเทศ (รองจากอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม)
ไทยจะอยู่ในอันดับที่ 2 ของอาเซียนที่มีคนฉีดวัคซีนมากที่สุด
ทั้งที่วัดผลในแบบสากล คือ อัตราการฉีดวัคซีนต่อจำนวนประชากร
ไทยจะอยู่ในอันดับที่ 5
รองจากสิงคโปร์ กัมพูชา มาเลเซีย บรูไน
รูปที่สอง”การฉีดวัคซีนโควิด-19 ในอาเซียน”
พอมาเล่นเกมแบบสากล
คิดเป็นเปอร์เซ็นต์คนที่ฉีดวัคซีนต่อจำนวนประชากร
ดูลูกเล่นของกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาประเทศสิครับ
แทนที่จะเอา10 ประเทศในอาเซียนมาเรียงลำดับกันแบบซื่อๆ ว่าประเทศไหนฉีดวัคซีนเข็มแรกมากกว่ากัน
1.สิงคโปร์ 70.5%
2.กัมพูชา 35.8%
3.มาเลเซีย 30.9%
4.บรูไน 25.8%
5.ไทย 16.7%
6.อินโดนีเซีย 15.4%
แต่อว. เขาเล่นตัวเลขใหม่ครับ
เขาแบ่งกลุ่มประเทศอาเซียนเป็น 2 กลุ่ม
คือ
1. ประเทศขนาดใหญ่ที่มีประชากรมากกว่า 50 ล้านคน
2. ประเทศที่มีประชากรน้อยกว่า 50 ล้านคน
คำถาม…ทำไมต้องแบ่งที่ 50 ล้านคน?
คำตอบ คือ เพราะแบ่งแบบนี้แล้ว ประเทศไทยจะฉีดวัคซีนเป็นที่ 1 ในกลุ่ม
1.ไทย 2. อินโดนีเซีย
เป็นวิธีการเล่น”ตัวเลข” ง่ายๆ
อยากได้ที่ 1 ต้องใช้ตัวเลขประชากร 50 ล้านคน
เพราะถ้าลองขยับตัวเลขประชากรมาเป็น 30 ล้านคนจึงเป็นประเทศใหญ่
“มาเลเซีย” จะเข้ามาอยู่ในกลุ่มนี้ทันที
อัตราการฉีดวัคซีนของ”ไทย” จะหล่นลงมาเป็นอันดับที่ 2 ทันที
“มาเลเซีย” จะขึ้นมาเป็นที่ 1
อย่าลืมว่ากระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ อว. เป็นกระทรวงด้านการศึกษา และการวิจัย
เป็นองค์กรทาง”วิชาการ”
ไม่ใช่”การเมือง”
“ตัวเลข” ที่ออกมาต้องโปร่งใส
ซื่อๆ ชัดๆ วัดผลได้
แต่กลับเอา”ตัวเลข” มาเล่นกล
คิดว่าทำแบบนี้แล้วจะทำให้ประชาชนเชื่อมั่น หรือรู้สึกว่าประเทศไทยเก่งจัง
หวังว่า อว.คงไม่คิดว่าคนไทยโง่ หลอกง่าย
แค่ปรับตัวเลขนิดเดียวก็เชื่อแล้ว
อย่าทำแบบนี้เลยครับ
ตอนนี้อารมณ์คนไทยเปราะบางมาก
สงสารเราเถอะครับ
เราเพิ่งโดนหลอกว่าจะได้วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเดือนละ 10 ล้านโดสมาหมาดๆ
อย่าหลอกเราอีกเลย
อย่าลืมว่าถ้าเราจะเชื่อมั่นใครสักคน
คนนั้นต้องเป็นคนตรงไปตรงมา
โปร่งใส
ไม่โกหก
แต่ถ้าเราเจอใครทำตัวลับลมคมใน พูดความจริงครึ่งเดียว
คนนั้นต่อให้พูดความจริงในวันข้างหน้า
เราก็จะไม่เชื่อครับ
…รัฐบาลก็เช่นกัน
https://www.facebook.com/boycitychanFC/posts/4182747095114099
WHO ประกาศเพิ่มอีก 3 สายพันธุ์ "โควิด-19 สายพันธุ์ตรวจสอบเพิ่มเติม”
https://www.pptvhd36.com/news/ต่างประเทศ/152412
อนามัยโลกเพิ่มโควิด-19 รวดเดียว 3 สายพันธุ์เข้ารายชื่อ “สายพันธุ์ตรวจสอบเพิ่มเติม” รวมของเดิมเป็น 15 สายพันธุ์ ส่วนสายพันธุ์ VOC และ VOI ยังคงเดิม
นิวมีเดีย พีพีทีวี เข้าไปตรวจสอบระบบติดตามสายพันธุ์โควิด-19 ขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่า ทาง WHO ได้เพิ่มโควิด-19 อีก 3 สายพันธุ์ในรายชื่อกลุ่ม “สายพันธุ์ตรวจสอบเพิ่มเติม (Alerts for Further Monitoring)” ตั้งแต่วันที่ 14 ก.ค. ที่ผ่านมา
โดยโควิด-19 ทั้ง 3 สายพันธุ์ดังกล่าวประกอบด้วย B.1.1.523, B.1.61 และ B.1.620
สายพันธุ์ตรวจสอบเพิ่มเติม คือโควิด-19 สายพันธุ์ที่มีข้อบ่งชี้ว่า อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงในอนาคต แต่หลักฐานทางระบาดวิทยายังไม่ชัดเจน จำเป็นต้องมีการตรวจสอบเพิ่มขึ้น
คาดว่า สาเหตุที่ทำให้โควิด-19 ทั้ง 3 สายพันธุ์นี้ถูกจัดอยู่ในระดับต้องตรวจสอบเพิ่มเติม เนื่องมาจากมีคุณลักษณะการกลายพันธุ์บางอย่างที่คล้ายคลึงกับสายพันธุ์ที่ต้องกังวล (VOC) และสายพันธุ์ต้องสนใจ (VOI)
สายพันธุ์ B.1.1.523 ระบาดแล้วใน 25 ประเทศทั่วโลก B.1.61 - ระบาดแล้วใน 27 ประเทศทั่วโลก และ B.1.620 ระบาดแล้วใน 44 ประเทศทั่วโลก โดยทั้ง 3 สายพันธุ์ต่างไม่พบข้อมูลชัดเจนว่า มีต้นตอการระบาดมาจากที่ไหนเป็นที่แรก ทราบเพียงว่า 2 สายพันธุ์แรกระบาดตั้งแต่ พ.ค. 2020 ส่วน B.1.620 พบครั้งแรกเดือน พ.ย. 2020
แต่มีการกลายพันธุ์ 3 ตำแหน่งที่น่าเป็นกังวล คือ P314L, E484K และ D614G ซึ่งเป็นตำแหน่งเดียวกับที่มีการกลายพันธุ์ในหลายสายพันธุ์ ได้แก่
สายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) เบตา (แอฟริกาใต้) เดลตา (อินเดีย) อีตา ไอโอตา (นิวยอร์ก) และแคปปา (อินเดีย)
การกลายพันธุ์ทั้ง 3 ตำแหน่งนี้ทำให้โควิด-19 สายพันธุ์ B.1.1.523, B.1.61 และ B.1.620 มีคุณสมบัติหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ และติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจได้ง่าย ซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญของโควิด-19 ที่ระบาดอยู่ในปัจจุบัน
ขณะนี้ยังไม่มีรายละเอียดชัดเจนว่า โควิด-19 ทั้ง 3 สายพันธุ์จะมีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด และในอนาคตจะยกระดับความอันตรายและกลายเป็นสายพันธุ์มีชื่อเช่นเดียวกับสายพันธุ์อัลฟาถึงแลมมบ์ดาหรือไม่ ยังคงเป็นเรื่องที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป
แต่ข่าวดีขณะนี้คือ ยังไม่มีการตรวจพบโควิด-19 B.1.1.523, B.1.61 และ B.1.620 ในประเทศไทยแม้แต่รายเดียว
ปัจจุบันโลกมีโควิด-19 อยู่ 8 สายพันธุ์ที่อยู่ในการติดตามอย่างใกล้ชิดของ WHO ได้แก่
สายพันธุ์ที่ต้องกังวล (Variants of Concern; VOC) 4 สายพันธุ์
• สายพันธุ์อัลฟา (Alpha) ชื่อทางการ B.1.1.7 พบที่แรกคือเมืองเคนต์ ประเทศอังกฤษ
• สายพันธุ์เบตา (Beta) ชื่อทางการ B.1.351 พบที่แรกคือประเทศแอฟริกาใต้
• สายพันธุ์แกมมา (Gamma) ชื่อทางการ P.1 พบที่แรกคือประเทศบราซิล
• สายพันธุ์เดลตา (Delta) ชื่อทางการ B.1.617.2 พบที่แรกคือประเทศอินเดีย
สายพันธุ์ที่ต้องให้ความสนใจ (Variants of Interest; VOI)
• สายพันธุ์อีตา (Eta) ชื่อทางการ B.1.525 พบที่แรกในหลายประเทศ
• สายพันธุ์ไอโอตา (Iota) ชื่อทางการ B.1.526 พบที่แรกคือกรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐฯ
• สายพันธุ์แคปปา (Kappa) ชื่อทางการ B.1.617.1 พบที่แรกคือประเทศอินเดีย
• สายพันธุ์แลมบ์ดา (Lambda) ชื่อทางการ C.37 พบที่แรกคือประเทศเปรู
สายพันธุ์ที่ต้องตรวจสอบเพิ่มเติม (Alerts for Further Monitoring) เมื่อรวม 3 สายพันธุ์ใหม่เข้าไปด้วยแล้ว มีทั้งหมด 15 สายพันธุ์
เรียบเรียงจาก Outbreak Info / WHO