JJNY : 5in1 ถามหาสัญญาสั่งซื้อวัคซีนแต่ไม่ได้│สหรัฐบริจาคไฟเซอร์│หมอด่านหน้าท้อ│แท็กซี่ค้างค่าเช่า จบชีวิต│ADBหั่นจีดีพี

อนุครุภัณฑ์ฯเดือด ‘ยุทธพงศ์’ ซัด ‘หมอโอภาส’ ถามหาสัญญาสั่งซื้อวัคซีนแต่ไม่ได้ จี้ ‘อนุทิน’ เปลี่ยนตัวอธิบดีกรมควบคุมโรคด่วน
https://www.matichon.co.th/politics/news_2838972
 
 
อนุครุภัณฑ์ฯเดือด “ยุทธพงศ์” ซัด “หมอโอภาส” ถามหาสัญญาสั่งซื้อวัคซีนแต่ไม่ได้ จี้ “อนุทิน” เปลี่ยนตัวอธิบดีกรมควบคุมโรคด่วน ชี้หากบริหารอย่างนี้คนตายวันละพันแน่
 
เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 20 กรกฎาคม ที่รัฐสภา ในการประชุมคณะอนุกรรมาธิการ (กมธ.) ครุภัณฑ์ และไอซีที ในคณะ กมธ.วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ 2565 ที่มีนายสรวุฒิ เนื่องจำนงค์ ส.ส.ชลบุรี พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) และประธานคณะอนุ กมธ.เป็นประธานการประชุม ได้มีการพิจารณางบประมาณของกรมควบคุมโรค เกี่ยวกับการจัดซื้อวัคซีนโควิด-19 โดยมี นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เข้าชี้แจง
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างการประชุมตอนหนึ่ง นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย (พท.) ในฐานะ กมธ.ซีกฝ่ายค้าน ได้สอบถาม นพ.โอภาส ว่าเหตุใดกรมควบคุมโรคถึงจัดซื้อแต่วัคซีนซิโนแวค พร้อมทั้งขอให้เปิดเผยเอกสารสัญญาการจัดซื้อวัคซีนแอสตร้าเซเน้กา
 
โดยนายยุทธพงศ์กล่าวว่า จากหนังสือคณะกรรมการกลั่นกรองเงินกู้ ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กำหนดให้นำงบประมาณ 6.1 พันล้านบาท ซึ่งเป็นเงินเยียวยา ไปจัดหาวัคซีนโดยเห็นควรให้กรมควบคุมโรคดำเนินการในการพิจารณาจัดหาวัคซีน หนังสือดังกล่าวยังระบุด้วยว่าขณะนี้โควิด-19 กลายพันธุ์แล้ว ดังนั้น ให้หาวัคซีนที่ใช้เทคโนโลยีอื่นที่สามารถป้องกันเชื้อโควิดกลายพันธุ์ได้ หรือแปลว่าไม่ให้ใช้ซิโนแวค แต่ให้ใช้ยี่ห้ออื่น ซึ่งในการชี้แจงก่อนหน้านี้อธิบดีกรมควบคุมโรค ระบุว่าได้สอบถามไปยังองค์การเภสัชกรรมได้ความว่ามีแต่ซิโนแวค อย่างอื่นไม่มี ตนอยากถามว่าทำไมราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จึงจัดซื้อวัคซีนซิโนฟาร์มได้ หรือแม้แต่เอกชนก็ยังหาวัคซีนยี่ห้ออื่นได้
 
เมื่อถามย้ำอีกครั้ง อธิบดีกรมควบคุมโรคตอบใหม่เป็นครั้งที่สองว่า คณะกรรมการกลั่นกรองฯ ไม่ได้บอกว่า ไม่ให้ซื้อซิโนแวค แต่กำหนดว่าให้จัดหายี่ห้ออื่นที่สามารถป้องกันการกลายพันธุ์ควบคู่ไปด้วย อีกเรื่องที่เป็นปัญหา ไม่รู้อะไรนักหนา คือสัญญาการจัดซื้อแอสตร้าเซเนก้า ตั้งแต่ในห้องประชุมใหญ่ของคณะ กมธ. จนถึงวันนี้ผ่านไป 5 วัน ก็ยังลับอยู่ ดังนั้น อธิบดีต้องเอามาให้ผม แอสตร้าเซเนก้าจัดซื้อได้เท่าไหร่ต้องเปิดเผย” นายยุทธพงศ์ ซักถาม
 
ด้าน นพ.โอภาส กล่าวชี้แจงว่า จากเอกสารของสภาพัฒน์ฯ ชัดเจนว่าให้จัดหาวัคซีนควบคู่กัน จำนวน 10.9 ล้านโดส กรมควบคุมโรค ได้จัดหาแล้ว และได้มีการเจรจา ซึ่งวันนี้ได้ลงนามกับไฟเซอร์เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือแจ้งสภาพัฒน์ฯ เพื่อนำเงินกู้จำนวนดังกล่าวมาใช้ต่อไป
 
ขอย้ำว่าควบคู่ไม่ได้แปลว่าไม่ให้ซื้อ การหาวัคซีนระหว่างเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม มีความสำคัญมาก เพื่อจะได้ฉีดให้กับประชาชนอย่างรวดเร็ว เวลากรมควบคุมโรคจัดหาวัคซีน จะจัดหาจากผู้ผลิตและตัวแทนต่างๆ ซึ่งในประเทศไทย คือ องค์การเภสัชกรรม ทางกรมควบคุมโรคได้มีหนังสือสอบถามไปว่ามีวัคซีนอะไรให้กับกรมควบคุมโรคบ้าง ซึ่งทางองค์กรเภสัชฯ แจ้งกลับมาว่ามีวัคซีนซิโนแวคให้ “ นพ.โอภาส ชี้แจง
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อทั้งสองฝ่ายได้ชี้แจงเรียบร้อย นายสรวุฒิ ซึ่งทำหน้าที่ประธานการประชุมอยู่นั้น ได้เชิญผู้สื่อข่าวออกจากห้องประชุมคณะอนุ กมธ. เพื่อพิจารณาต่อ
 
ต่อมาเวลา 11.55 น. นายยุทธพงศ์ แถลงว่า ที่ผ่านมาการฉีดวัคซีนคือวาระแห่งชาติ รัฐบาลบอกว่าจะฉีดวันละ 5 แสนโดส แต่ปรากฎว่าทุกวันนี้ยังไม่เคยมีวันใดที่ประชาชนชี้ได้ตามเป้าที่กำหนดไว้ ซึ่งที่ประชุมคณะ กมธ.วิสามัญพิจารณางบประมาณฯ ได้ซักถามว่าตกลงได้จัดซื้อวัคซีนจำนวนและราคาเท่าใด แต่ไม่ได้รับคำตอบ โดยปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่มาชี้แจงต่อ กมธ.วิสามัญ ได้แต่ชี้แจงในภาพรวม เมื่อถามหาสัญญาในการซื้อขาย ปลัดสาธารณสุข กลับโยนไปให้อธิบดีกรมควบคุมโรค ซึ่งก็ยังไม่ได้รับคำตอบ จนกระทั่งเมื่อเช้าวันนี้ที่ประชุมคณะกมธ. ได้ทวงถามเอกสารจากนายวิเชียร ชวลิต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะประธานกมธ.งบฯ ซึ่งนายวิเชียรไม่ยอมให้ โดยอ้างว่าไม่สามารถเปิดเผยได้ เนื่องจากเอกสารดังกล่าวอยู่ในชั้นความลับ ขณะเดียวกัน วันนี้ อธิบดีกรมควบคุมโรคก็มาชี้แจงต่อคณะอนุกมธ.ฯ อยากถามว่าทำไมจึงจัดซื้อแต่ซิโนแวค ทั้งที่เชื้อกลายพันธุ์ไปแล้ว ทางสำนักงบฯ บอกว่าให้หายี่ห้ออื่น ทำไมไม่หา
 
“ผมอยากได้หนังสือการสั่งซื้อแอสตร้าเซเนก้า ว่ามีจำนวนเท่าไหร่ ไม่ควรจะเป็นข้อมูลในชั้นความลับ เพราะเห็นว่าถ้า กมธ.ไม่สามารถตรวจสอบการใช้งบประมาณของแผ่นดินก็ไม่ต้องทำอะไรแล้ว ถ้าปล่อยให้นพ.โอภาส บริหารอย่างนี้ คนจะติดโรคและตายเป็นพันคนต่อวัน ดังนั้น ผมจะรอสัญญาการจัดซื้อ แม้จะเลยเคอร์ฟิวก็จะรอ” นายยุทธพงศ์กล่าว
 
“ขอเรียกร้องไปยังนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้เปลี่ยนตัวอธิบดีกรมควบคุมโรค จะให้บริหารต่อไปเช่นนี้ไม่ได้ งบประมาณ 6.1 พันล้านบาท ไม่ใช่จำนวนน้อย และเป็นเงินกู้ด้วย คณะกรรมการกลั่นกรองเงินกู้ กำหนดให้จัดซื้อวัคซีนที่ป้องกันไวรัสกลายพันธุ์ แต่ก็ยังคงซื้อวัคซีนซิโนแวค ซื้อมาก็เป็นปัญหาว่าจะนำไปทิ้งที่ใด เพราะประชาชนไม่เชื่อมั่น ไม่ยอมฉีดซิโนแวค นี่คือใบเสร็จที่ยืนยันว่าทำไมถึงมีคนติดเชื้อเพิ่มขึ้นทุกวัน อย่างนี้อธิบดีกรมควบคุมโรคต้องรับผิดชอบ” นายยุทธพงศ์กล่าว
 

 
สหรัฐ บริจาคไฟเซอร์ 1.5 ล้านโดส เกือบพันล้านให้ไทย ในฐานะพันธมิตรเก่าแก่สุดในเอเชีย
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6519690
 
สหรัฐ บริจาคไฟเซอร์ 1.5 ล้านโดส มูลค่าเกือบพันล้านให้ไทย ในฐานะพันธมิตรที่เก่าแก่ที่สุดในเอเชีย หวังเร่งฉีดวัคซีนให้พลเมืองปลอดภัย-ฟื้นเศรษฐกิจได้รวดเร็ว
  
วันที่ 20 ก.ค.64 เฟซบุ๊ก สถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย U.S. Embassy Bangkok โพสต์ภาพพร้อมข้อความ ระบุว่า 

สหรัฐฯ จะบริจาควัคซีนโควิด-19 ของไฟเซอร์ำนวน 1.5 ล้านโดส มูลค่า 30 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ (985,335,000 บาท)ให้กับไทย
 
การบริจาคครั้งนี้ รวมถึงวัคซีนหลายล้านโดสที่สหรัฐฯ มอบให้กับประเทศเพื่อนบ้านของไทย จะช่วยให้ไทยและประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเร่งการฉีดวัคซีนเพื่อให้พลเมืองของตนปลอดภัย ตลอดจนฟื้นฟูเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็ว
 
มาเปลี่ยนกรอบรูปโปรไฟล์เฟซบุ๊กของเพื่อน ๆ เพื่อร่วมฉลองก้าวสำคัญของความร่วมมือด้านสาธารณสุขระหว่างสหรัฐฯ-ไทย ในครั้งนี้กันนะคะ
 
https://www.facebook.com/usembassybkk/posts/4440931085927999
 

 
หมอด่านหน้าท้อ เบี้ยเลี้ยงไม่ออก ค่ารถเที่ยวละ 8 บาท คนขาด เตียงเต็ม
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6519482
 
บุคลากรทางการแพทย์ ต้องทำงานอย่างหนักมาต่อเนื่องยาวนานหลายเดือนแล้ว และดูเหมือนว่า ยอดผู้ป่วยยังไม่ยอมลดลงแต่อย่างใด โดยเฉพาะหมอด่านหน้า ที่ดูแลคนไข้หนักจำนวนมาก
 
ล่าสุด พล.อ.ท.นพ.อนุตตร จิตตินันทน์ (หมออนุตตร) ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย โพสต์เล่าเรื่องราว การทำงานด่านหน้าของแพทย์ที่ช่วยโรงพยาบาล ซึ่งพบหลากหลายปัญหา ทั้งเรื่องค่าเสี่ยงภัย เบี้ยเลี้ยงที่ได้ แต่ไม่รู้ว่าจะได้เมื่อไหร่ ปัญหาเคสหนักที่เพิ่มมากขึ้นตลอดเวลา ทีมแพทย์หมุนเวียนที่มีช่องว่างเวลาของการหมุนเวียน
 
ปัญหาคนไข้ครบกำหนดกลับบ้านแต่ไม่ยอมกลับ เพราะไม่มีงาน ไม่มีเงิน ไม่มีกิน ทำให้ปัญหาเตียงเต็มไม่หายไป ปัญหาการประชุมเสนอความเห็นที่ต้องรอผู้มีอำนาจระดับบนสั่งการ บุคลากรเริ่มวางแผนลาออกจากงานอย่างจริงจัง
 
โดยโพสต์ฉบับเต็มระบุว่า 
  
“ขอรายงานสายตรงของน้องหมอเมด ที่ไปช่วยงานโรงพยาบาลสนามบุษราคัม ต่อจากสัปดาห์ก่อนครับข้อมูล ณ วันที่ 19/07/2564 ยอดเตียงรวม 3,700 เตียง เท่าเดิม

– ICU 12 เตียง : ETT 8 เตียง, HFNC 4 เตียง
  
* จุดประสงค์เพื่อเอาไว้ดูแลเคสเพื่อรอ refer แต่การ refer ยากมา กลายมาเป็น refer ไม่ออกเลย
**มีการคุยกันเรื่องที่จะสร้าง ICU แยกออกมาอีกส่วน เพื่อให้ดูคนไข้ได้มากยิ่งขึ้น อาจต้องมีการแยกทีม ICU ออกมาต่างห่าง ส่วนตัวคิดว่ามันน่าจะดีกับผู้ป่วยถ้าทำได้จริง แต่มันเป็นการเพิ่มอะไรไปเรื่อย โดยที่ทรัพยากรเท่าเดิม ไม่ได้ตระหนักถึงศักยภาพที่แท้จริงของทรัพยากร และบุคลากรเลย
  
– HFNC 209 เตียง : ซึ่งมีจำนวน High Setting ที่มากขึ้น รวมทั้งมีการ advance care plan ในคนไข้ที่มีโรคประจำตัวเยอะ อายุเยอะ เพราะถ้า on ETT ไม่มีที่ refer ก็ดูแลไม่ไหวอยู่ดีครับ
  
– ที่เหลือ เป็น ผู้ป่วยสีเหลือง และสีเขียว (ไม่ทราบว่าอย่างละเท่าไหร่ครับ) สถานที่ และ บุคลากรเฉพาะแพทย์ – ยังเหมือนเดิม จากที่เคยเล่าให้อาจารย์ฟังเมื่อรอบที่แล้ว
 
1. เรื่องคนไข้เสียชีวิต : ปัจจุบันมีการคุยเรื่อว advance care plan ในคนไข้ที่ดูหนักเกินศักยภาพ แต่เมื่อเสียชีวิตก็ส่งตัวไปที่พระนั่งเกล้า เพื่อจัดการด้านหลังการเสียชีวิตที่พระนั่งเกล้าตามระบบครับ เข้าใจว่าจะได้ไม่ต้องมาสร้างระบบจัดการเรื่องหลังการเสียชีวิตที่นี่ครับ
  
2. ค่าตอบแทน : มีการประชุมในวันที่อาจารย์โพสต์ใน FB คืนนั้นเลยครับ และมีประกาศแจ้งมาอีกประปราย โดยสรุปว่า\
 
– ยืนค่าเสี่ยงภัยได้ทุกเวร แต่ก็ยังให้คำตอบไม่ได้ว่าได้เมื่อไหร่
 
– ค่า OT : ให้เบิกจากจำนวนเวรที่อยู่ทั้งหมด ที่อยู่เกินจากเวลาราชการ โดยครั้งแรกแจ้งว่าได้ 750 บาท/8 ชม.แต่มีคนไปดูระเบียบมาว่าจริง ๆ ต้องได้ 1,800 บาท/8 ชม. สุดท้ายจึงมาเปลี่ยนว่าให้ 1,800 บาท/8 ชม. ก็เลยคิดว่าในเมื่อระเบียบมีแต่แรก ทำไมต้องมาลดค่า OT เราในการแจ้งครั้งแรก
 
– ค่าที่พัก / ค่าเดินทาง : ค่าที่พักเบิกได้ แต่สำหรับคนที่ไม่อยู่ที่พักที่จัดให้ จะให้เบิกค่าเดินทาง จากเดิมที่แจ้งที่กระทรวงว่าวันละ ไม่เกิน 600 บาทตามระเบียบ เป็นได้เท่าอัตรารถประจำทาง ค่าโดยสารเที่ยวละ 8 บาท (แม้ว่าบางทีเราออกเวรเที่ยงคืน ในยามที่ห้ามออกจากเคหะสถาน)
 
*อาจารย์ที่มาประชุมบอกว่าในรายละเอียดวันที่มีคนแจ้งที่กระทรวงอาจารย์ไม่ทราบ เพราะอาจารย์ไม่ได้ไปร่วมที่กระทรวงในวันนั้นครับ (แสดงให้เห็นอะไรบางอย่างครับ )
 
– เบี้ยเลี้ยงเบิกไม่ได้ เพราะที่ รพ.บุษราคัม มีอาหาร เช้า-กลางวัน-เย็น ครับ วันไหนที่ไม่ได้อยู่เวรก็ให้นั่งรถมากินข้าวที่ รพ. (ระยะทาง 7.1 กม. ตาม google MAP)
 
3. ระยะเวลาการทำงาน : ทำงานที่นี่ต่อในเดือน สิงหาคม ส่วนหลังจากนั้นยังไม่ทราบ ต้องรอเบื้องบนสั่งการมา ยังไม่มีระบบการหมุนเวียนอายุรแพทย์กลุ่มอื่นมาช่วย ต้องรอคำสั่ง ทุกอย่างรอเสนอ และรอตอบรับ รอ รอ รอ รอ รอ รอ ซึ่งต้นสังกัดบางแห่งที่ผู้ป่วย และภาระงานหนักได้มีการท้วงติงเรื่องนี้แล้ว แต่ก็ยังยืนยันว่าพวกเราต้องอยู่ต่อครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่