สรุปปม #ริมน้ำ วิจารณ์หนัก กันไฟเซอร์ฉีดทำวิจัย แต่แพทย์ด่านหน้าให้ฉีดแอสตร้าฯ
https://www.matichon.co.th/social/news_2830277
สรุปปม #ริมน้ำ วิจารณ์หนัก กันไฟเซอร์ฉีดทำวิจัย แต่แพทย์ด่านหน้าให้ฉีดแอสตร้าฯ
นับเป็นอีกแท็กหนึ่งในโลกออนไลน์ ที่ชาวเน็ตให้ความสนใจ และวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก ในช่วงเวลาวิกฤตโควิด ที่แต่ละวันมีตัวเลขผู้ติดเชื้อเฉียดหมื่น และมีคนเสียชีวิตเกือบแตะหลักร้อยเข้าไปทุกที แต่สถานการณ์วัคซีนของประเทศไทย ยังคงขาดแคลน ซึ่ง #ริมน้ำ นั้น ได้มีเหล่าบุคลากรทางการแพทย์ ได้ออกมาเปิดเผยความจริง ด้านการจัดการวัคซีนไฟเซอร์ ที่เหล่าบุคลากรทางการแพทย์ ได้ออกมาเรียกร้องให้ฉีดเป็นบูสเตอร์ให้กับเจ้าหน้าที่ด่านหน้า ไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
ประเด็นดังกล่าวนั้น ได้มีการเปิดห้องในคลับเฮาส์ เพื่อร่วมวิพากษ์วิจารณ์ โดย
หมอตั้ม มาสเตอร์เชฟ หรือ นพ.
ดิษกุล ประสิทธิ์เรืองสุข ได้นำมาสรุปประเด็นไว้ดังนี้
“สรุปสั้นๆ สำหรับคนอ่านดราม่า #ริมน้ำ แล้วไม่เข้าใจ เดี๋ยวย่อให้ฟัง
1. ตามมติของ ศบค. มีการอนุมัติให้ Pfizer ฉีดกระตุ้นบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าเป็นเข็มที่ 3
2. มีการเปิดเผยข้อมูลจากอาจารย์ #ริมน้ำ ว่ามีการทำวิจัยโดยใช้ Pf เทียบกับ Az เป็นเข็มกระตุ้น โดนตนเองเสียสละเป็นกลุ่ม Pf
3. เริ่มมีการตั้งข้อสงสัยว่า งานวิจัยดังกล่าวเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มคนใกล้ชิดหรือไม่ เพราะการประกาศรับสมัครในกลุ่มเล็กๆ และพอเปิดเผยข้อมูลออกมา กลุ่ม Pf ได้รับการจองเต็มแล้ว
4. มีการตั้งคำถามเกี่ยวกับจริยธรรมทางการแพทย์ เพราะทราบอยู่แล้วว่า mRNA vaccine ดีกว่า viral vecter
สมมติง่ายๆคือ สมมติว่าทำการทดลองเทียบยาลดความดัน Enalapril เทียบกับ Furosemide ซึ่งรู้แล้วว่า furosemide ลดความดันไม่ได้ แถม side effect
กระจุยกระจาย อันนี้คือว่า งานวิจัยนอกจากไม่สร้างประโยชน์ ยังทำให้โทษและทำให้ผู้ร่วมวิจัยเสียโอกาส อันนี้ไม่ผ่านงานวิจัยแน่นอน
5. อีกคำถามนึงคือ ทำไมถึงมีการจองตัวเอง และเลือกกลุ่มได้ ทั้งๆที่งานวิจัยในปัจจุบัน จะยอมรับการ blind ผู้ทำงานวิจัย และผู้เข้าร่วมวิจัยถ้าทำได้ จึงมีคำถามตามมาว่า จุดประสงค์จริงๆคือจะทำวิจัยจริงๆ หรือเป็นการเอื้อประโยชน์ให้คนบางกลุ่มกันแน่ (เพราะรู้กันแค่วงแคบ และ Pf เต็มแล้ว)
6 มีการทะยอยฉีดให้กับบุคลากรด่านหน้าแล้ว แต่เป็นตัว “Az”
(ทั้งๆที่ตอนแรกแจ้งว่า จะใช้งานวิจัยนี้ให้การตีพิมพ์ว่า ยาไหนกระตุ้นได้ดีกว่า)
สุดท้ายนี้มั่นใจว่าสถาบัน #ริมน้ำ เป็นสถาบันที่สอนเรื่องจริยธรรมทางการแพทย์เข้มข้นมากๆ แต่พอเห็นเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น กลับไม่มีตัวอย่างดีๆให้แพทย์รุ่นหลังได้เห็นเป็นตัวอย่างเลย
Action speaks louder than words”
https://twitter.com/p_dissakul/status/1415186612942557187
ทั้งนี้ โลกออนไลน์ยังมีการนำโพสต์ในเฟซบุ๊กของหมอเด็กรายหนึ่ง ที่ได้เปิดเผยว่า ได้เป็นอาสาสมัครวิจัยฉีดไฟเซอร์นี้ด้วย โดยว่าเป็นการตัดสินใจที่ยาก แต่ต้องยอมรับความเสี่ยง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โลกออนไลน์ ต่างออกมาวิพากษ์วิจารณ์กรณีดังกล่าวที่เกิดขึ้น หลายคนมองว่า ไม่จำเป็นต้องมีการทำวิจัยใดๆ เนื่องจากเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าวัคซีน mRNA นั้น มีประสิทธิภาพเช่นไรและมีผลวิจัยทั่วโลก และมองว่า หากเป็นการเสียสละนั้น คนไทยจำนวนมากก็อยากเสียสละทดลองฉีดไฟเซอร์เช่นกัน
มากไปกว่านั้น ยังมองว่า วัคซีนดังกล่าวควรจะให้กับแพทย์ด่านหน้า ที่ต้องรักษาผู้ป่วยโควิดทุกวันดีกว่าหรือไม่ และกลุ่มแพทย์เหล่านี้ คือผู้ที่ได้เรียกร้องให้นำเอา mRNA มาเป็นวัคซีนหลักของประเทศไทย
ขณะที่
วิโรจน์ ลักขณาดิศร ส.ส.พรรคก้าวไกล ได้ออกมาทวิตในประเด็นดังกล่าวว่า
การจัดสรรวัคซีน Pfizer ที่ได้รับบริจาคมา ต้องมีความโปร่งใส ต้องให้ความสำคัญกับบุคลากรด่านหน้า และกลุ่มเสี่ยง เป็นอันดับแรก
การนำไปทำวิจัย ต้องเปิดเผยโครงการวิจัย และเปิดรับอาสาสมัครอย่างโปร่งใส มีการรายงานผลการวิจัยให้สาธารณชนทราบอย่างต่อเนื่อง
หากมีการนำเอา Pfizer ที่ได้รับบริจาคมา มาทำวิจัย ผมคิดว่า ควรจะเปิดเผยโครงการวิจัย เปิดหลักเกณฑ์การคัดเลือกกลุ่มอาสาสมัคร ให้โปร่งใส
มีการชี้แจงว่า กลุ่มอาสาสมัคร นั้นประกอบไปด้วยบุคลากรกลุ่มใด จำนวนเท่าไหร่ ใช้วัคซีนในการวิจัยกี่โดส
https://twitter.com/wirojlak/status/1415335339334402049
โควิด ทำระส่ำ 'เวิลด์แบงก์' หั่นจีดีพีไทยลงอีก
https://www.matichon.co.th/economy/news_2830410
โควิด ทำระส่ำ ‘เวิลด์แบงก์’ หั่นจีดีพีไทยลงอีก
เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) เผยแพร่รายงานตามติดเศรษฐกิจไทย “เส้นทางสู่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ” ฉบับล่าสุด ถึงภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทย ระบุว่า เศรษฐกิจไทยยังคงถูกกระหน่ำอย่างหนักต่อไปอีกจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และคาดการณ์ว่าจะขยายตัวได้เพียงร้อยละ 2.2 ในปี 2564 ซึ่งปรับลดลงจากร้อยละ 3.4 ที่คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนมีนาคม โดยการให้ความช่วยเหลือคนยากจนและกลุ่มเปราะบาง รวมถึงแรงงานนอกระบบ ยังจำเป็นต้องดำเนินการต่อไปเนื่องจากโควิด-19 ยังคงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย
อนาคตที่ดูซึมลงเป็นผลมาจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดระลอกสามที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้ที่มีต่อการบริโภคภาคเอกชน และแนวโน้มนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะเข้ามามีจำนวนที่ต่ำมากจนถึงสิ้นปี 2564 ประเทศไทยมีสถิติจำนวนการเข้ามาของนักท่องเที่ยว 40 ล้านคนในปี 2562 แต่จำนวนที่คาดการณ์สำหรับปี 2564 ถูกปรับลดลงอย่างมากจาก 4 – 5 ล้านคนเหลือเพียง 6 แสนคนเท่านั้น
“ผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงจากโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อการจ้างงาน รายได้ และความยากจน แต่การรับมือด้วยมาตรการความคุ้มครองทางสังคมที่ครบถ้วนของรัฐบาลส่งผลเป็นที่น่าพอใจในการบรรเทาผลกระทบ” นายเบอร์กิต แฮนเซิล ผู้จัดการธนาคารโลกประจำประเทศไทย กล่าว “พื้นที่การคลังของประเทศไทยยังคงมีเพียงพอสำหรับการดำเนินมาตรการช่วยเหลือคนยากจนและผู้ที่ลำบากมากที่สุดในช่วงเวลาหลายเดือนข้างหน้า”
ประเทศไทยมีการดำเนินการที่ค่อนข้างดีในแง่ของระดับและความรวดเร็วในการรับมือด้านการคลัง รัฐบาลได้ขยายมาตรการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่ประชาชนจากเดิมที่อยู่ในระดับไม่มากนักมาเป็นชุดของมาตรการให้เงินเยียวยาในระดับแถวหน้าของโลกเพื่อการรับมือกับโควิด-19 การจำลองสถานการณ์เบื้องต้นบ่งบอกว่าจะมีคนจนเพิ่มขึ้นมาอีกกว่า 780,000 คนในปี 2563 หากรัฐบาลไม่ได้เพิ่มความช่วยเหลือทางสังคม
“วิกฤตในปี 2563 แสดงให้เห็นถึงความสามารถของประเทศไทยในการใช้งานระบบเลขประจำตัวประชาชนดิจิทัลที่เข้มแข็งและครอบคลุม ระบบดิจิทัลที่รองรับการใช้งานได้ดีและทำงานข้ามแพล็ตฟอร์มได้ และฐานข้อมูลเพื่อการบริหารงานภาครัฐจำนวนมากในการคัดกรองผู้มีคุณสมบัติสำหรับมาตรการให้เงินเยียวยาที่ออกมาใหม่ ก้าวต่อไปของประเทศไทยจะต้องอาศัยการผนึกกำลังความพยายามต่างๆ เหล่านี้และการเตรียมพร้อมให้ดียิ่งขึ้นไปอีกเพื่อรับมือกับวิกฤต โดยการจัดตั้งระบบการลงทะเบียนทางสังคม” น.ส.ฟรานเชสกา ลามานนา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของธนาคารโลก กล่าว
กิจกรรมทางเศรษฐกิจคาดว่าจะไม่กลับมาอยู่ในระดับก่อนหน้าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ไปจนกระทั่งปี 2565 โดยอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศน่าจะอยู่ที่ร้อยละ 5.1 อย่างไรก็ตาม ความเร็วในการฟื้นตัวจะขึ้นอยู่กับความคืบหน้าในการดำเนินการฉีดวัคซีนของประเทศไทย ประสิทธิผลของมาตรการสนับสนุนทางการคลัง และระดับการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ การส่งออกสินค้าคาดว่าจะช่วยพยุงเศรษฐกิจไทยในปี 2564 จากการฟื้นตัวของอุปสงค์โลกสำหรับชิ้นส่วนยานยนตร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรกล และผลิตผลทางการเกษตร ความเสี่ยงในด้านลบมีค่อนข้างมากเนื่องจากการฟื้นตัวอาจต้องล่าช้าออกไปเพราะมีโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ๆ เกิดขึ้น ทำให้การรักษาและวัคซีนที่มีอยู่ไม่เป็นผล
“มาตรการตรวจเชื้อ สืบย้อน กักตัวที่เหมาะสม และการดำเนินการฉีดวัคซีนให้ทั่วถึงจะมีความจำเป็นเพื่อหลีกเลี่ยงการล็อคดาวน์ กระตุ้นการเพิ่มการเคลื่อนย้ายและการบริโภคภายในประเทศให้ต่อเนื่อง และเพื่อให้ประเทศสามารถเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้” นายเกียรติพงศ์ อริยปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสประจำประเทศไทยของธนาคารโลก กล่าว “ในระยะยาว การปฏิรูปเพื่อลดต้นทุนและอุปสรรคการค้าจะช่วยให้ไทยได้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก”
รายงานฉบับนี้ยังเสนอด้วยว่ารัฐบาลควรต้องลงทุนในการสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบความคุ้มครองทางสังคมของประเทศ สิ่งสำคัญอันดับแรกในอนาคตอันใกล้คือการให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนกลุ่มเปราะบาง โดยดูแลให้มีการให้ความช่วยเหลือตรงกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิผลเพื่อจำกัดภาระทางการคลังโดยรวม นอกจากนี้วิกฤตครั้งนี้ยังแสดงให้เห็นว่าจำเป็นต้องมีระบบให้ความคุ้มครองทางสังคมที่ครอบคลุมภาคการทำงานนอกระบบที่มีขนาดใหญ่ตลอดเวลาด้วย ไม่ใช่เฉพาะแต่ในช่วงวิกฤตเท่านั้น
กสิกรไทย หั่นจีดีพีโต 1% จากผลกระทบโควิด-19 ที่รุนแรงขึ้น
https://www.prachachat.net/economy/news-714470
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปีนี้เหลือโตแค่ 1% จากเดิมคาด 1.8% เหตุโควิด-19 มีความรุนแรงขึ้น กระทบ “ธุรกิจ-จ้างงาน” ลามฉุด “กำลังซื้อ-ความเชื่อมั่นผู้บริโภค”
วันที่ 15 กรกฎาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ประกาศปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2564 อยู่ที่ 1.0% จากประมาณการเดิมที่ 1.8% เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 มีความรุนแรงกว่าที่เคยประเมิน ส่งผลกระทบให้ระบบสาธารณสุขของไทยเผชิญข้อจำกัด
จึงมีความจำเป็นต้องมีมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มงวดขึ้น ซึ่งส่งผลให้ผลกระทบต่อภาคธุรกิจและการจ้างงานมีมากขึ้น และมีผลกระทบต่อเนื่องไปยังกำลังซื้อและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคให้ทรุดตัวไปกว่าเดิม ในขณะที่มาตรการเยียวยาจากทางภาครัฐคาดว่าจะช่วยประคองการดำรงชีพที่จำเป็นของประชาชน แต่ไม่สามารถชดเชยผลกระทบทางเศรษฐกิจโดยรวม
โดยท่ามกลางการกลายพันธุ์ของไวรัสและจำนวนผู้ติดเชื้อที่กลับมาเพิ่มขึ้นในหลายประเทศ รวมถึงในประเทศไทย ส่งผลให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยปรับลดกรอบประมาณการจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2564 ลงอยู่ที่ 2.5-6.5 แสนคน จากกรอบประมาณการเดิมที่ 2.5 แสน-1.2 ล้านคน
แม้ว่าจะมีการเริ่มเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติด้วยโครงการ “ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์” และโครงการ “สมุย พลัส โมเดล” อย่างไรก็ดี แผนการเปิดประเทศในพื้นที่อื่นๆ รวมถึงจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาท่องเที่ยวในไทย จะขึ้นอยู่กับสถานการณ์การแพร่ระบาดและการเร่งฉีดวัคซีนเป็นหลัก ขณะที่ในต่างประเทศก็ยังเผชิญความเสี่ยงจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง
อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัวดีกว่าที่คาด ส่งผลให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองการส่งออกไทยปี 2564 จะขยายตัวในอัตราที่เร่งขึ้นมาอยู่ที่ 11.5% ทั้งนี้ ประมาณการส่งออกนี้ได้มีการคำนึงถึงปัจจัยเสี่ยงเชิงลบจากปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ ค่าระวางเรือที่สูงขึ้น รวมถึงประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับการแพร่ระบาดในประเทศที่อาจจะส่งผลต่อการขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรม
ทิศทางเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปี 2564 ยังขึ้นอยู่กับสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศที่ยังคงเผชิญความเสี่ยงสูง ทั้งจากการแพร่ระบาดของสายพันธุ์ใหม่ ประสิทธิภาพของวัคซีน รวมถึงการเร่งฉีดวัคซีนที่อาจต่ำกว่าเป้าหมาย
JJNY : 4in1 สรุปปม#ริมน้ำ กันไฟเซอร์ทำวิจัย│'เวิลด์แบงก์'หั่นจีดีพีไทย│กสิกรไทยหั่นจีดีพี│จ่อสอบ‘บิ๊กป๊อก’ปมบ้านพักทหาร
https://www.matichon.co.th/social/news_2830277
สรุปปม #ริมน้ำ วิจารณ์หนัก กันไฟเซอร์ฉีดทำวิจัย แต่แพทย์ด่านหน้าให้ฉีดแอสตร้าฯ
นับเป็นอีกแท็กหนึ่งในโลกออนไลน์ ที่ชาวเน็ตให้ความสนใจ และวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก ในช่วงเวลาวิกฤตโควิด ที่แต่ละวันมีตัวเลขผู้ติดเชื้อเฉียดหมื่น และมีคนเสียชีวิตเกือบแตะหลักร้อยเข้าไปทุกที แต่สถานการณ์วัคซีนของประเทศไทย ยังคงขาดแคลน ซึ่ง #ริมน้ำ นั้น ได้มีเหล่าบุคลากรทางการแพทย์ ได้ออกมาเปิดเผยความจริง ด้านการจัดการวัคซีนไฟเซอร์ ที่เหล่าบุคลากรทางการแพทย์ ได้ออกมาเรียกร้องให้ฉีดเป็นบูสเตอร์ให้กับเจ้าหน้าที่ด่านหน้า ไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
ประเด็นดังกล่าวนั้น ได้มีการเปิดห้องในคลับเฮาส์ เพื่อร่วมวิพากษ์วิจารณ์ โดยหมอตั้ม มาสเตอร์เชฟ หรือ นพ. ดิษกุล ประสิทธิ์เรืองสุข ได้นำมาสรุปประเด็นไว้ดังนี้
“สรุปสั้นๆ สำหรับคนอ่านดราม่า #ริมน้ำ แล้วไม่เข้าใจ เดี๋ยวย่อให้ฟัง
1. ตามมติของ ศบค. มีการอนุมัติให้ Pfizer ฉีดกระตุ้นบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าเป็นเข็มที่ 3
2. มีการเปิดเผยข้อมูลจากอาจารย์ #ริมน้ำ ว่ามีการทำวิจัยโดยใช้ Pf เทียบกับ Az เป็นเข็มกระตุ้น โดนตนเองเสียสละเป็นกลุ่ม Pf
3. เริ่มมีการตั้งข้อสงสัยว่า งานวิจัยดังกล่าวเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มคนใกล้ชิดหรือไม่ เพราะการประกาศรับสมัครในกลุ่มเล็กๆ และพอเปิดเผยข้อมูลออกมา กลุ่ม Pf ได้รับการจองเต็มแล้ว
4. มีการตั้งคำถามเกี่ยวกับจริยธรรมทางการแพทย์ เพราะทราบอยู่แล้วว่า mRNA vaccine ดีกว่า viral vecter
สมมติง่ายๆคือ สมมติว่าทำการทดลองเทียบยาลดความดัน Enalapril เทียบกับ Furosemide ซึ่งรู้แล้วว่า furosemide ลดความดันไม่ได้ แถม side effect
กระจุยกระจาย อันนี้คือว่า งานวิจัยนอกจากไม่สร้างประโยชน์ ยังทำให้โทษและทำให้ผู้ร่วมวิจัยเสียโอกาส อันนี้ไม่ผ่านงานวิจัยแน่นอน
5. อีกคำถามนึงคือ ทำไมถึงมีการจองตัวเอง และเลือกกลุ่มได้ ทั้งๆที่งานวิจัยในปัจจุบัน จะยอมรับการ blind ผู้ทำงานวิจัย และผู้เข้าร่วมวิจัยถ้าทำได้ จึงมีคำถามตามมาว่า จุดประสงค์จริงๆคือจะทำวิจัยจริงๆ หรือเป็นการเอื้อประโยชน์ให้คนบางกลุ่มกันแน่ (เพราะรู้กันแค่วงแคบ และ Pf เต็มแล้ว)
6 มีการทะยอยฉีดให้กับบุคลากรด่านหน้าแล้ว แต่เป็นตัว “Az”
(ทั้งๆที่ตอนแรกแจ้งว่า จะใช้งานวิจัยนี้ให้การตีพิมพ์ว่า ยาไหนกระตุ้นได้ดีกว่า)
สุดท้ายนี้มั่นใจว่าสถาบัน #ริมน้ำ เป็นสถาบันที่สอนเรื่องจริยธรรมทางการแพทย์เข้มข้นมากๆ แต่พอเห็นเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น กลับไม่มีตัวอย่างดีๆให้แพทย์รุ่นหลังได้เห็นเป็นตัวอย่างเลย
Action speaks louder than words”
https://twitter.com/p_dissakul/status/1415186612942557187
ทั้งนี้ โลกออนไลน์ยังมีการนำโพสต์ในเฟซบุ๊กของหมอเด็กรายหนึ่ง ที่ได้เปิดเผยว่า ได้เป็นอาสาสมัครวิจัยฉีดไฟเซอร์นี้ด้วย โดยว่าเป็นการตัดสินใจที่ยาก แต่ต้องยอมรับความเสี่ยง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โลกออนไลน์ ต่างออกมาวิพากษ์วิจารณ์กรณีดังกล่าวที่เกิดขึ้น หลายคนมองว่า ไม่จำเป็นต้องมีการทำวิจัยใดๆ เนื่องจากเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าวัคซีน mRNA นั้น มีประสิทธิภาพเช่นไรและมีผลวิจัยทั่วโลก และมองว่า หากเป็นการเสียสละนั้น คนไทยจำนวนมากก็อยากเสียสละทดลองฉีดไฟเซอร์เช่นกัน
มากไปกว่านั้น ยังมองว่า วัคซีนดังกล่าวควรจะให้กับแพทย์ด่านหน้า ที่ต้องรักษาผู้ป่วยโควิดทุกวันดีกว่าหรือไม่ และกลุ่มแพทย์เหล่านี้ คือผู้ที่ได้เรียกร้องให้นำเอา mRNA มาเป็นวัคซีนหลักของประเทศไทย
ขณะที่ วิโรจน์ ลักขณาดิศร ส.ส.พรรคก้าวไกล ได้ออกมาทวิตในประเด็นดังกล่าวว่า
การจัดสรรวัคซีน Pfizer ที่ได้รับบริจาคมา ต้องมีความโปร่งใส ต้องให้ความสำคัญกับบุคลากรด่านหน้า และกลุ่มเสี่ยง เป็นอันดับแรก
การนำไปทำวิจัย ต้องเปิดเผยโครงการวิจัย และเปิดรับอาสาสมัครอย่างโปร่งใส มีการรายงานผลการวิจัยให้สาธารณชนทราบอย่างต่อเนื่อง
หากมีการนำเอา Pfizer ที่ได้รับบริจาคมา มาทำวิจัย ผมคิดว่า ควรจะเปิดเผยโครงการวิจัย เปิดหลักเกณฑ์การคัดเลือกกลุ่มอาสาสมัคร ให้โปร่งใส
มีการชี้แจงว่า กลุ่มอาสาสมัคร นั้นประกอบไปด้วยบุคลากรกลุ่มใด จำนวนเท่าไหร่ ใช้วัคซีนในการวิจัยกี่โดส
https://twitter.com/wirojlak/status/1415335339334402049
โควิด ทำระส่ำ 'เวิลด์แบงก์' หั่นจีดีพีไทยลงอีก
https://www.matichon.co.th/economy/news_2830410
โควิด ทำระส่ำ ‘เวิลด์แบงก์’ หั่นจีดีพีไทยลงอีก
เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) เผยแพร่รายงานตามติดเศรษฐกิจไทย “เส้นทางสู่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ” ฉบับล่าสุด ถึงภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทย ระบุว่า เศรษฐกิจไทยยังคงถูกกระหน่ำอย่างหนักต่อไปอีกจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และคาดการณ์ว่าจะขยายตัวได้เพียงร้อยละ 2.2 ในปี 2564 ซึ่งปรับลดลงจากร้อยละ 3.4 ที่คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนมีนาคม โดยการให้ความช่วยเหลือคนยากจนและกลุ่มเปราะบาง รวมถึงแรงงานนอกระบบ ยังจำเป็นต้องดำเนินการต่อไปเนื่องจากโควิด-19 ยังคงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย
อนาคตที่ดูซึมลงเป็นผลมาจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดระลอกสามที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้ที่มีต่อการบริโภคภาคเอกชน และแนวโน้มนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะเข้ามามีจำนวนที่ต่ำมากจนถึงสิ้นปี 2564 ประเทศไทยมีสถิติจำนวนการเข้ามาของนักท่องเที่ยว 40 ล้านคนในปี 2562 แต่จำนวนที่คาดการณ์สำหรับปี 2564 ถูกปรับลดลงอย่างมากจาก 4 – 5 ล้านคนเหลือเพียง 6 แสนคนเท่านั้น
“ผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงจากโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อการจ้างงาน รายได้ และความยากจน แต่การรับมือด้วยมาตรการความคุ้มครองทางสังคมที่ครบถ้วนของรัฐบาลส่งผลเป็นที่น่าพอใจในการบรรเทาผลกระทบ” นายเบอร์กิต แฮนเซิล ผู้จัดการธนาคารโลกประจำประเทศไทย กล่าว “พื้นที่การคลังของประเทศไทยยังคงมีเพียงพอสำหรับการดำเนินมาตรการช่วยเหลือคนยากจนและผู้ที่ลำบากมากที่สุดในช่วงเวลาหลายเดือนข้างหน้า”
ประเทศไทยมีการดำเนินการที่ค่อนข้างดีในแง่ของระดับและความรวดเร็วในการรับมือด้านการคลัง รัฐบาลได้ขยายมาตรการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่ประชาชนจากเดิมที่อยู่ในระดับไม่มากนักมาเป็นชุดของมาตรการให้เงินเยียวยาในระดับแถวหน้าของโลกเพื่อการรับมือกับโควิด-19 การจำลองสถานการณ์เบื้องต้นบ่งบอกว่าจะมีคนจนเพิ่มขึ้นมาอีกกว่า 780,000 คนในปี 2563 หากรัฐบาลไม่ได้เพิ่มความช่วยเหลือทางสังคม
“วิกฤตในปี 2563 แสดงให้เห็นถึงความสามารถของประเทศไทยในการใช้งานระบบเลขประจำตัวประชาชนดิจิทัลที่เข้มแข็งและครอบคลุม ระบบดิจิทัลที่รองรับการใช้งานได้ดีและทำงานข้ามแพล็ตฟอร์มได้ และฐานข้อมูลเพื่อการบริหารงานภาครัฐจำนวนมากในการคัดกรองผู้มีคุณสมบัติสำหรับมาตรการให้เงินเยียวยาที่ออกมาใหม่ ก้าวต่อไปของประเทศไทยจะต้องอาศัยการผนึกกำลังความพยายามต่างๆ เหล่านี้และการเตรียมพร้อมให้ดียิ่งขึ้นไปอีกเพื่อรับมือกับวิกฤต โดยการจัดตั้งระบบการลงทะเบียนทางสังคม” น.ส.ฟรานเชสกา ลามานนา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของธนาคารโลก กล่าว
กิจกรรมทางเศรษฐกิจคาดว่าจะไม่กลับมาอยู่ในระดับก่อนหน้าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ไปจนกระทั่งปี 2565 โดยอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศน่าจะอยู่ที่ร้อยละ 5.1 อย่างไรก็ตาม ความเร็วในการฟื้นตัวจะขึ้นอยู่กับความคืบหน้าในการดำเนินการฉีดวัคซีนของประเทศไทย ประสิทธิผลของมาตรการสนับสนุนทางการคลัง และระดับการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ การส่งออกสินค้าคาดว่าจะช่วยพยุงเศรษฐกิจไทยในปี 2564 จากการฟื้นตัวของอุปสงค์โลกสำหรับชิ้นส่วนยานยนตร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรกล และผลิตผลทางการเกษตร ความเสี่ยงในด้านลบมีค่อนข้างมากเนื่องจากการฟื้นตัวอาจต้องล่าช้าออกไปเพราะมีโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ๆ เกิดขึ้น ทำให้การรักษาและวัคซีนที่มีอยู่ไม่เป็นผล
“มาตรการตรวจเชื้อ สืบย้อน กักตัวที่เหมาะสม และการดำเนินการฉีดวัคซีนให้ทั่วถึงจะมีความจำเป็นเพื่อหลีกเลี่ยงการล็อคดาวน์ กระตุ้นการเพิ่มการเคลื่อนย้ายและการบริโภคภายในประเทศให้ต่อเนื่อง และเพื่อให้ประเทศสามารถเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้” นายเกียรติพงศ์ อริยปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสประจำประเทศไทยของธนาคารโลก กล่าว “ในระยะยาว การปฏิรูปเพื่อลดต้นทุนและอุปสรรคการค้าจะช่วยให้ไทยได้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก”
รายงานฉบับนี้ยังเสนอด้วยว่ารัฐบาลควรต้องลงทุนในการสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบความคุ้มครองทางสังคมของประเทศ สิ่งสำคัญอันดับแรกในอนาคตอันใกล้คือการให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนกลุ่มเปราะบาง โดยดูแลให้มีการให้ความช่วยเหลือตรงกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิผลเพื่อจำกัดภาระทางการคลังโดยรวม นอกจากนี้วิกฤตครั้งนี้ยังแสดงให้เห็นว่าจำเป็นต้องมีระบบให้ความคุ้มครองทางสังคมที่ครอบคลุมภาคการทำงานนอกระบบที่มีขนาดใหญ่ตลอดเวลาด้วย ไม่ใช่เฉพาะแต่ในช่วงวิกฤตเท่านั้น
กสิกรไทย หั่นจีดีพีโต 1% จากผลกระทบโควิด-19 ที่รุนแรงขึ้น
https://www.prachachat.net/economy/news-714470
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปีนี้เหลือโตแค่ 1% จากเดิมคาด 1.8% เหตุโควิด-19 มีความรุนแรงขึ้น กระทบ “ธุรกิจ-จ้างงาน” ลามฉุด “กำลังซื้อ-ความเชื่อมั่นผู้บริโภค”
วันที่ 15 กรกฎาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ประกาศปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2564 อยู่ที่ 1.0% จากประมาณการเดิมที่ 1.8% เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 มีความรุนแรงกว่าที่เคยประเมิน ส่งผลกระทบให้ระบบสาธารณสุขของไทยเผชิญข้อจำกัด
จึงมีความจำเป็นต้องมีมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มงวดขึ้น ซึ่งส่งผลให้ผลกระทบต่อภาคธุรกิจและการจ้างงานมีมากขึ้น และมีผลกระทบต่อเนื่องไปยังกำลังซื้อและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคให้ทรุดตัวไปกว่าเดิม ในขณะที่มาตรการเยียวยาจากทางภาครัฐคาดว่าจะช่วยประคองการดำรงชีพที่จำเป็นของประชาชน แต่ไม่สามารถชดเชยผลกระทบทางเศรษฐกิจโดยรวม
โดยท่ามกลางการกลายพันธุ์ของไวรัสและจำนวนผู้ติดเชื้อที่กลับมาเพิ่มขึ้นในหลายประเทศ รวมถึงในประเทศไทย ส่งผลให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยปรับลดกรอบประมาณการจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2564 ลงอยู่ที่ 2.5-6.5 แสนคน จากกรอบประมาณการเดิมที่ 2.5 แสน-1.2 ล้านคน
แม้ว่าจะมีการเริ่มเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติด้วยโครงการ “ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์” และโครงการ “สมุย พลัส โมเดล” อย่างไรก็ดี แผนการเปิดประเทศในพื้นที่อื่นๆ รวมถึงจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาท่องเที่ยวในไทย จะขึ้นอยู่กับสถานการณ์การแพร่ระบาดและการเร่งฉีดวัคซีนเป็นหลัก ขณะที่ในต่างประเทศก็ยังเผชิญความเสี่ยงจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง
อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัวดีกว่าที่คาด ส่งผลให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองการส่งออกไทยปี 2564 จะขยายตัวในอัตราที่เร่งขึ้นมาอยู่ที่ 11.5% ทั้งนี้ ประมาณการส่งออกนี้ได้มีการคำนึงถึงปัจจัยเสี่ยงเชิงลบจากปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ ค่าระวางเรือที่สูงขึ้น รวมถึงประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับการแพร่ระบาดในประเทศที่อาจจะส่งผลต่อการขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรม
ทิศทางเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปี 2564 ยังขึ้นอยู่กับสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศที่ยังคงเผชิญความเสี่ยงสูง ทั้งจากการแพร่ระบาดของสายพันธุ์ใหม่ ประสิทธิภาพของวัคซีน รวมถึงการเร่งฉีดวัคซีนที่อาจต่ำกว่าเป้าหมาย