ถามเกี่ยวกับระบบผู้นำของจีนและรัสเซีย

รบกวนถามเกี่ยวกับผู้นำจีนและรัสเซียครับ

อย่างที่หลายท่านที่ติดตามการเมืองระหว่างประเทศอาจทราบกันแล้วว่า เมื่อประมาณปี 2017 ทางการจีนได้แก้ไขรัฐธรรมนูญในส่วนที่จำกัดวาระการดำรงตำแหน่งของผู้นำ ทำให้ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง สามารถดำรงตำแหน่งต่อไปได้โดยไม่จำกัดวาระ ในส่วนของรัสเซียนั้น แรกเริ่มเดิมทีประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเพิ่มอำนาจในตำแหน่งอื่นๆ หลายฝ่ายคาดการณ์ว่า อาจเป็นไปเพื่อเป็นการปูทางให้ปูตินได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้นำเงาในตำแหน่งต่างๆเหล่านั้น ในขณะที่รัสเซียมีประธานาธิบดีคนใหม่ (ซึ่งน่าจะมาจากคนที่เขาเลือก) แต่ต่อมาได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญยกเลิกการจำกัดการลงสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดี ซึ่งถ้าเป็นจริง และเขาสามารถชนะการเลือกตั้งได้อีก (ซึ่งก็มีโอกาสสูงมาก) ก็จะสามารถเป็นผู้นำได้อีกจนถึงปี 2036 เลยทีเดียว

ตรงนี้เลยมีข้อสงสัยดังนี้ครับ
1.แนวทางระหว่างสองประเทศนี้ แบบไหนจะปลอดภัยกับทั้งประเทศและตัวผู้นำเองมากกว่ากันครับ ระหว่างการอยู่ในตำแหน่งแบบไม่จำกัดวาระ การไม่จำกัดการลงสมัครรับเลือกตั้ง หรือการให้คนที่ไว้ใจมาดำรงตำแหน่งในขณะที่ตนมาดำรงตำแหน่งผู้นำเงา
2.การที่ทั้งสองประเทศมีแนวทางต้องการให้ผู้นำดำรงตำแหน่งในระยะยาวแบบนี้ แสดงให้เห็นถึงอะไรบ้างครับ อย่างหนึ่งที่ จขกท. เห็นคือ ทั้งจีนและรัสเซียอาจจะยังไม่เห็นผู้ที่จะมาเป็นทายาททางการเมืองของผู้นำได้ ในช่วงที่ระเบียบโลกยังไม่ลงตัวและการขับเคี่ยวกับชาติตะวันตกยังมีอยู่ เลยต้องให้ผู้นำคนเก่าอยู่ในอำนาจต่อไปก่อน อย่างน้อยก็จนกว่าจะพบผู้ที่เหมาะสม (ซึ่ง คหสต. สำหรับ จขกท. แล้วมองว่ายากที่จะหาพบ เพราะคนรุ่นใหม่ๆหรือแม้แต่รุ่นกลางๆเองที่เติบโตมากับโลกาภิวัตน์ หรือยุคสมัยใหม่ การจะหาคนที่ยึดถือแนวคิดดั้งเดิมของพรรคหรือผู้นำรุ่นเก่าๆอาจจะยากมาก ถ้าเป็นจีนอาจง่ายกว่ารัสเซียเพราะการอบรบปลูกฝังของพรรคคอมมิวนิสต์ค่อนข้างเข้มข้นกว่า)

รบกวนช่วยตอบด้วยครับ ขอบคุณครับ หากมีส่วนใดที่เข้าใจผิดหรือผิดพลาดไปก็ขออภัยด้วยครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่