เพลง ฟุตะริโนะ นะสึ หรือ ฤดูร้อนของสองเรา แต่งโดยคุณซะกะอิ อิซึมิ (ชื่อจริง- คะมะจิ ซะจิโกะ) ผู้ล่วงลับไปแล้ว นักร้องนำแห่งวง ZARD (จริง ๆ แล้วตัวเธอเอง ก็คือ วง ZARD นั่นแหละ)
เพลงนี้เป็นเพลงที่แต่งด้วยถ้อยคำเรียบง่าย แต่อธิบายความชัดเจน อีกทั้งยังแฝงจินตนาการ แฝงถ้อยคำเชิงกวีไว้หลายแห่ง นำเสนอเรื่องราวในอดีตของหญิงสาวผู้หนึ่งที่พบชายคนรักในอดีตโดยบังเอิญได้อย่างเรียบง่าย เศร้าซึ้ง และซาบซึ้งไปกับความรู้สึกของ "เธอ" ผู้เป็นคนเล่าเรื่องราวในเพลงนั้น
คำประพันธ์เนื้อเพลงแบบนี้เป็นจุดเด่นของซะกะอิ อิซึมิ (นามสกุลเธอนี่ออกเสียงแบบไทย ๆ ว่า ซาไก ก็ได้ รับรองว่าคนญี่ปุ่นฟังรู้ ว่าหมายถึง ซะกะอิ) เมื่อรวมกับน้ำเสียงอันโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของเธอ ทำให้เพลงนี้เป็นเพลงอีกเพลงหนึ่งที่ผมชอบในบรรดาเพลงของ ZARD ทั้งหมดทั้งมวล
มาดูเนื้อเพลงทั้งหมดก่อน
二人の夏 futari no natsu
偶然に見かけたのバス停で guuzenni mikaketano basuteide
結婚するとうわさで聞いたけど kekkonsuruto uwasade kiitakedo
スーツ姿のあなたは suutsusugatano anatawa
やけに大人に見えた yakeni otonani mieta
少し距離感じたせい? sukoshikyori kanjita sei?
声掛けそびれたの koe kakesobiretano
忘れかけた二人の夏 wasurekaketa futarino natsu
胸によみがえる muneni yomigaeru
あれからもう arekara mou
どれくらいの時間(とき)が経ったのだろう dorekuraino tokiga tattanodarou
振り向くはずの furimukuhazuno
ないあなたにサヨナラ言った nai anatani sayonara itta
どうかずっと変わらずにいて douka zutto kawarazuni ite
大好きだった daisukidatta
笑顔だけは egaodakewa
別れてもしばらくは悲しくて wakaretemo shibarakuwa kanashikute
あなたの電話ずっと待っていたの anatanodenwa zutto matteitano
今はもうそれぞれに imawa mou sorezoreni
違うパートナー見つけ chigau paatonaa mitsuke
別の道歩き出した betsunomichi arukidashita
もう戻らないわ mou modoranaiwa
輝いてた二人の夏 kagayaiteta futarino natsu
波が褪めるように namiga sameru youni
いつかはきっと遠い記憶の itsukawa kitto tooi kiokuno
彼方に消えてく kanatani kieteku
あなたの写真 anatano shashin
大切にしまっておくわ taisetsuni shimatteokuwa
いつかどこかで itsuka dokokade
また逢えること mata aerukoto
祈ってるわ inotteruwa
元気でね genkidene
ประเด็นแรก การออกเสียง
พื้นฐานของทุกภาษาก็คือ คำ พื้นฐานของคำ ก็คือ พยางค์เสียงที่ออกมาแต่ละครั้ง
คนที่ศึกษาภาษาญี่ปุ่น ก่อนอื่นต้องทิ้งความเคยชินในภาษาเดิมของตัวเองก่อนครับ
พยางค์ทุกพยางค์ในภาษาญี่ปุ่นมีความยาวเท่ากันหมด โดยที่เสียงสระมีห้าเสียงอย่างที่คนเรียนเบื้องต้นทุกคนทราบดี คือเสียง อะ อิ อุ(อึ) เอะ โอะ
ไม่มีเสียงสระเกินจากนี้
สระเสียงยาว คือ จริง ๆ เป็นเสียงที่มาจาก "สองพยางค์" ครับ เช่น เสียงยาวของ อะ a คือ อา aa มีค่าเท่ากับ ออกเสียง อะสองพยางค์ติดต่อกัน
ลองเสียงเสียงภาษาไทยกับญี่ปุ่นดู จริง ๆ จะเป็นดังนี้
อะ a อา aa --- หมายความว่า เสียงอะ ของไทย จะมีความยาวของพยางค์สั้นสุด เสียง a ของญี่ปุ่นจะยาวกว่า อะ ของไทย แต่สั้นกว่าเสียง อาของไทย
(ดังนั้น คนชื่อ ทะนะกะ คนไทยถึงฟังเป็น ทานากะ ทั้งที่จริง ๆ แล้ว ทุกพยางค์ที่เขาออกเสียงมา ta na ka สามพยางค์ยาวเท่ากันหมด)
ส่วนเสียง aa ในภาษาญี่ปุ่น เสียงยาวกว่าเวลาออกเสียง อา ในภาษาไทย เพราะมันต้องยาวเป็นสองเท่าของเสียง a ด้วยเหตุว่าจริง ๆ มันนับเป็น "สองพยางค์"
ตรงนี้เป็นปัญหาหนึ่งในการออกเสียงภาษาญี่ปุ่นของคนไทย เพราะไม่ชินกับความยาวพยางค์แบบนี้
ยกตัวอย่าง ojiisan กับ ojisan คำแรก แปลว่า คุณปู่(หรือตา) คำหลังแปลว่า คุณลุง(หรืออาหรือน้าผู้ชาย)
ให้คนไทยออกเสียงคำแรก ถ้าออกเสียงว่า โอะจี๊ซัง ส่วนคำหลังออกเสียง โอะจิ(หรือจิ๊ ก็แล้วแต่) ซัง รับรอง คนญี่ปุ่นจะฟังว่า เป็นคำหลังทั้งสองกรณี
ต้องลากเสียง จี๊ ให้ยาวสองเท่าจริง ๆ คนญี่ปุ่นถึงฟังแล้วรับรู้ว่าเรากำลังพูดถึง ปู่(ตา) ไม่ใช่ ลุง
ฟังจากเพลงนี้ แค่สองประโยคแรก ก็เป็นตัวอย่างการออกเสียงภาษาญี่ปุ่นได้แล้ว ว่าคนญี่ปุ่นจริง ๆ ออกเสียงชัดทุกพยางค์ และนับพยางค์กันแบบว่า ตัวฮิรางานะหนึ่งตัวคือหนึ่งพยางค์จริง ๆ สระเสียงยาว ซึ่งคือตัวฮิรางานะสองตัว ก็นับเป็นสองพยางค์ต้องออกเสียงทีละพยางค์ด้วย ไม่ใช่ออกเป็นเสียงสระเสียงยาวแล้วลากยาวควบไปแบบเสียงของสระเสียงยาวในภาษาไทย
偶然に見かけたのバス停で guuzenni mikaketano basuteide
(ฉัน) เห็น (เธอ) โดยบังเอิญที่ป้ายรถเมล์น่ะจ้ะ
จะเห็นว่า คำแรก guuzen ซึ่งอ่านแบบไทย ๆ ว่า กู เซ็น
ในเพลง คุณซาไก อิซึมิร้องไว้ชัดมาก เธอร้องทีละพยางค์เลยว่า กุ-อุ-เซะ-(อึ)น- นิ (guuzen ni- โดยบังเอิญ)
นั่นคือ คำว่า guuzen ถ้าคนไทยออกเสียงว่า กู- เซ็น (หรือจะเป็น กูเซ็ง ก็แล้วแต่) เราจะหลงประเด็นคิดว่ามันมีสองพยางค์ และคนญี่ปุ่นจะฟังเหมือนว่าเราออกเสียงแค่สองพยางค์จริง ๆ
แต่สำหรับคนญี่ปุ่นคำนี้มี "สี่พยางค์" และออกเสียง น (หรือ จะออกเสียงว่า อึน ก็แล้วแต่) ตอนท้ายให้ชัด ๆ ด้วยเป็นหนึ่งพยางค์
คำว่า basutei ก็เช่นกัน ออกเสียงแบบไทย ๆ ก็คงประมาณ บ๊ะ-สึ-เท นับได้สามพย่างค์ โดยคนไทยบอกตัวเองว่า ก็ตัวเทเป็นเสียงยาว ฉันก็ออกเสียงยาวว่า เท ไม่ใช่ เทะ แล้วจะเอาอะไรกับฉันอีก
แต่จริง ๆ มันออกเสียงเป็น บะ-สึ-เท-อิ อย่างในเพลงนั่นแหละ (ถ้าคนไทยรักจะออกเสียงว่า เท ก็ต้องลากให้มันยาวสองเท่าจริง ๆ ด้วยคนญี่ปุ่นถึงจะรับรู้ว่าเป็นเสียง tei จริง)
ประโยคถัดมาเช่นกัน
結婚するとうわさで聞いたけど kekkkonsuruto uwasade kiitakedo
(ฉัน) ได้ยินข่าวลือมาว่า (เธอ) จะแต่งงานแล้วสินะ
kekkon แปลว่า การแต่งงาน (คำนาม) kekkon suru แปลว่า แต่งงาน (กริยา)
สังเกตในเพลงไหมครับ เขาออกเสียง kekkon ชัดเจนเป็นสี่พยางค์ ประมาณว่า เคะ-เอ็ก-โคะ-อึน
(พยางค์สุดท้ายอาจไม่ชัดเท่าไร เพราะมันตรงกับตัวโน้ตที่เสียงสั้นพอดี)
ตรงคำควบเสียงสะกด (ผมเรียกของผมเองนะ) ในโรมาจิ จะเขียนเป็นพยัญชนะต้นของพยางค์ถนัดไปถูกเบิ้ลมาเป็นตัวสะกดของสระในพยางค์หน้า
ใน ひらがな จะเห็นชัดว่า มันคือตัว っ (ทสึ ตัวเล็ก)
ถ้า kekon けこん ก็ออกเสียง เคะ-โคะ-น สามพยางค์
แต่ถ้าเป็น kekkon けっこん ออกเสียง เคะ-(เอ็ก)- โคะ- น สี่พยางค์ คนไทยอาจจะบอกว่า ก็ออกเสียงว่า เค็ก-คง ไง กลายเป็นสองพยางค์ไปซึ่งผิด
ถึงเราจะออกเสียง เค็กคง ก็ต้องออกเสียงแบบนี้ เค็ก-(เงียบไปหนึ่งพย่างค์)- คง- อึน(อย่าลืมออกเสียงอึนให้ชัดด้วย)
บรรทัดท้าย ๆ ในเพลง ตรง tooi kioku no kanata ni... ก็เช่นกัน
tooi = ไกล คนไทยออกเสียงว่า โท่ย
kioku = ความทรงจำ ออกเสียง คิโอ๊ะขุ คำนี้ง่าย
แต่ในเพลงจะเห็นว่า คุณอิซึมิร้องชัด ๆ เลยว่า โถะ-โอ๊ะ-อิ๊-คิ-โอะ-คุ-โหนะ...
สรุป ประเด็นแรกเรื่องของการออกเสียง ผมก็อยากให้ฟังเพลงสักรอบหนึ่งพร้อมกวาดสายตาตามเนื้อเพลงที่ให้ไว้ตอนต้นไปด้วย ก็จะเข้าใจได้เองครับ
ข้อเสียของการฟังวิธีการออกเสียงจากเพลง ก็คือ เพลงมันก็มีตัวโน้ตซึ่งมีความยาวและระดับเสียงต่างกันไป ทำให้ทุกพยางค์มีความยาวไม่เท่ากันไปบ้างเวลาถูกร้องเป็นเพลง แต่สิ่งที่อยากให้ซึมซับจากการฟังเพลง ในเรื่องการออกเสียง ก็คือ ให้เห็นว่า ภาษาญี่ปุ่นต้องออกเสียงทีละพยางค์ชัด ๆ แบบนี้แหละครับ ไม่มีสระเสียงยาว ไม่มีการสะกด (ตัว tsu เล็ก っ) หรอกในความเป็นจริง
และถึงแม้เราจะใช้วิธีลากเสียงยาว ตามแบบที่เราใช้ในภาษาไทย ก็ต้องเป็นการลากเสียงยาวสองเท่าจริง ๆ
ปล. ไม่พูดถึงประเด็นว่า k ออกเสียงเป็น ก หรือ ค กันแน่ ตัว n ที่ลงท้ายเป็นตัวสะกดตัวเดียวในภาษาญี่ปุ่น ออกเสียง น หรือ ง หรือ ม กันแน่ ตัว sh ch j y จะเทียบเสียงยังไง เป็น ช จ ย? ฯลฯ นะครับ ไม่งั้นคุยกันไม่จบ
จบจากเรื่องออกเสียง ก็มาแปลกันเลย สองบรรทัดแรก แปลไปแล้วดังนี้
偶然に見かけたのバス停で guuzenni mikaketano basuteide
(ฉัน) เห็น (เธอ) โดยบังเอิญที่ป้ายรถเมล์น่ะจ้ะ
結婚するとうわさで聞いたけど kekkkonsuruto uwasade kiitakedo
(ฉัน) ได้ยินข่าวลือมาว่า (เธอ) จะแต่งงานแล้วสินะ
ประเด็นที่หนึ่ง ภาษาญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะชอบละสิ่งที่ละไว้ในฐานเข้าใจได้ โดยเฉพาะประธานที่เป็นสรรพนามบุรุษที่หนึ่ง
ทั้งสองประโยค ถึงแม้ว่าจะไม่มี watashiwa わたしは อยู่ทั้งคู่ แต่ก็ต้องเข้าใจได้เองว่าประธานของประโยคคือ ฉัน และจากคำช่วย no の ที่ต่อท้ายกริยา mikaketa 見かけた ที่แปลว่า พบเห็น (ผันเป็นรูปอดีต) ทำให้รู้ว่าผู้พูดประโยคนี้ เป็น ผู้หญิง
ภาษาผู้หญิงจะลงท้ายประโยคด้วย โนะ (ในคำแปลเลยลองใส่คำว่า น่ะจ้ะ เข้าไป)
อะไรนะ? โนะอยู่กลางประโยค? อ๋อ ๆ ใช่ครับ นี่ก็เป็นอีกลักษณะหนึ่งของภาษาญี่ปุ่น คุณสามารถเรียงสลับส่วนต่าง ๆ ของประโยคได้ ค่อนข้างอิสระทีเดียว- แต่ไม่ถึงกับสลับได้ตามใจชอบโดยไร้หลักการนะครับ- ตราบใดที่ส่วนต่างๆ ของประโยคเหล่านั้นลงท้ายด้วย "คำช่วย" ที่ถูกต้อง
ประโยคนี้ ถ้าเรียงให้ถูกหลักไวยากรณ์เป็นประโยคบอกเล่าทั่วไปจะเป็น
偶然にバス停で見かけたの。 guuzenni basuteide mikaketano.
หรือจะเป็น バス停で偶然に見かけたの。 basuteide guuzenni mikaketano.
สังเกตไหมครับ ว่าพอเขียนแบบธรรมดาแล้วผมใส่ "มารุ" หรือเทียบได้กับ Full Stop . ในภาษาอังกฤษไว้ปิดท้ายประโยคด้วย
แต่เวลาเขียนเนื้อเพลง โดยทั่วไป (แปลว่ามีข้อยกเว้นบ้างนะครับ) จะไม่มีการใส่เครื่องหมายวรรคตอนพวกตัว มารุ แบบนี้ (ยกเว้นเครื่องหมายคำถามที่ต้องใส่ เพื่อบอกว่าเป็นคำถาม)
ประโยคนี้ จริง ๆ ละทั้งประธาน (ฉัน) และกรรม (เธอ) ไว้ด้วย คงโผล่แต่กริยา และส่วนขยายกริยาว่า พบเห็นอย่างไร (โดยบังเอิญ) และที่ไหน (ที่ป้ายรถเมล์)
แต่ในเนื้อเพลงเรียงเป็น โดยบังเอิญ - พบเธอ - ที่ป้ายรถเมล์
ก็เพื่อความสวยงามของภาษา อาจจะให้มันลงตัวกับทำนองด้วย แต่มันก็เป็นธรรมชาติด้วย
สื่อว่า คนพูดอยากรีบบอกก่อน ว่า ฉันพบเธอโดยบังเอิญมาล่ะ แล้วค่อยเสริมท้ายว่า ที่ป้ายรถเมล์น่ะ ประมาณนี้
ประโยคถัดมา
結婚するとうわさで聞いたけど kekkkonsuruto uwasade kiitakedo
ได้ยินข่าวลือมาว่าจะแต่งงานแล้วสินะ
เป็นการใช้คำช่วย โตะ と to เพื่อแสดงเนื้อหาของสิ่งที่ "ยินหรือฟัง" มา
ประโยคย่อยหน้า โตะ ก็ยังคงละประธานของประโยคเช่นเคย ซึ่งผู้ฟังต้องเดาได้ไม่ยากว่า ประธานที่ว่าไม่ใช่ตัวผู้พูดหรือผู้ที่กำลังเล่าเรื่องอยู่ เพราะเรื่องตัวเองจะแต่งงานไม่จำเป็นต้องไป "ฟัง" จากคนอื่น
เพราะฉะนั้นคนที่จะแต่งงานคือ คนที่คนเล่าเรื่องนี้ ไปเห็นมาโดยบังเอิญที่ป้ายรถเมล์นั่นเอง
แล้ว けど kedo ที่ลงท้ายประโยคล่ะ
ในห้องเรียนภาษาญี่ปุ่น เกะโดะคำนี้ เป็นคำช่วยที่ทำหน้าที่คำสันธาน (เชื่อมประโยค) แปลว่า แต่ หรือ but ในภาษาอังกฤษ ใช้เชื่อมประโยคที่ขัดแย้งกัน
แต่ในชีวิตประจำวัน คนญี่ปุ่นชอบลงท้ายด้วย "แต่" ค้างไว้ท้ายประโยคบ่อยมาก
เช่น 行きますけど。。。 ikimasu kedo.... (ฉัน) จะไป แต่...
(นอกจาก kedo ก็ยังมีคำว่า ga keredo keredomo ที่แปลเหมือนกัน แต่แล้วแต่ว่าใครชอบใช้คำไหน)
ตรงนี้โดยทั่วไป ไม่ได้หมายความว่า เขาจะพูดประโยคถัดมาที่ค้านกับประโยคก่อนหน้า (เช่น ฉันจะไป แต่เปลี่ยนใจแล้ว) อะไรหรอก แต่เป็นการทำให้ประโยคมันนุ่มนวล ไม่ฟังดูห้วน ๆ กล่าวคือ ต้องการให้ผู้ฟังมีส่วนร่วม และพูดตอบกลับมากกว่า เพื่อแสดงการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างสองฝ่าย
อย่างเช่น ถ้าพูดว่า อิคิมะสึ (ฉันจะไป) ก็คือ จบแค่นั้น แปลว่า บอกเล่าให้อีกฝ่ายรู้ว่า ฉันจะไปแล้วนะ ซึ่งเป็นเรื่องของฉัน เธอไม่เกี่ยว
แต่ถ้า อิคิมะสึเกะโดะ... แปลว่า คาดหวังให้อีกฝ่ายพูดอะไรสักหน่อย เช่น เชิญไปเถอะ (อ้าว) หรือ จะให้ไปส่งไหม ไปคนเดียวได้เนอะ ไม่มีอะไรใช่ไหม (ในกรณีที่รู้ว่าจริง ๆ คนพูดนั้นไม่อยากไป) ถ้าจะไปฝากซื้ออะไรหน่อย ฯลฯ ประมาณนี้ ซึ่งคนฟังอาจจะแค่พยักหน้ารับรู้ว่า จะไปก็ไปสิ แค่นั้นก็ได้ ไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด
ส่วน เกะโดะ ในเนื้อเพลงนี้ คงไม่ถึงกับมีความหมาย but เพราะประโยคที่ตามมา ก็ไม่เชิงมีความหมายขัดแย้งกับประโยคข้างหน้า ดังนั้น จึงคงเป็นแค่การเชื่อมประโยคเฉย ๆ ไม่มีความหมายอะไรมาก แต่ก็ทำให้ประโยคนี้ฟังดูนุ่มนวลขึ้น กว่าเป็นคำบอกเล่าธรรมดาว่า เออ ฉันรู้ข่าวแล้วนะ ว่าเธอจะแต่งงาน
มาเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นจากการแปลเพลงกัน:- เพลง 二人の夏 ของ ZARD
เพลงนี้เป็นเพลงที่แต่งด้วยถ้อยคำเรียบง่าย แต่อธิบายความชัดเจน อีกทั้งยังแฝงจินตนาการ แฝงถ้อยคำเชิงกวีไว้หลายแห่ง นำเสนอเรื่องราวในอดีตของหญิงสาวผู้หนึ่งที่พบชายคนรักในอดีตโดยบังเอิญได้อย่างเรียบง่าย เศร้าซึ้ง และซาบซึ้งไปกับความรู้สึกของ "เธอ" ผู้เป็นคนเล่าเรื่องราวในเพลงนั้น
คำประพันธ์เนื้อเพลงแบบนี้เป็นจุดเด่นของซะกะอิ อิซึมิ (นามสกุลเธอนี่ออกเสียงแบบไทย ๆ ว่า ซาไก ก็ได้ รับรองว่าคนญี่ปุ่นฟังรู้ ว่าหมายถึง ซะกะอิ) เมื่อรวมกับน้ำเสียงอันโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของเธอ ทำให้เพลงนี้เป็นเพลงอีกเพลงหนึ่งที่ผมชอบในบรรดาเพลงของ ZARD ทั้งหมดทั้งมวล
มาดูเนื้อเพลงทั้งหมดก่อน
二人の夏 futari no natsu
偶然に見かけたのバス停で guuzenni mikaketano basuteide
結婚するとうわさで聞いたけど kekkonsuruto uwasade kiitakedo
スーツ姿のあなたは suutsusugatano anatawa
やけに大人に見えた yakeni otonani mieta
少し距離感じたせい? sukoshikyori kanjita sei?
声掛けそびれたの koe kakesobiretano
忘れかけた二人の夏 wasurekaketa futarino natsu
胸によみがえる muneni yomigaeru
あれからもう arekara mou
どれくらいの時間(とき)が経ったのだろう dorekuraino tokiga tattanodarou
振り向くはずの furimukuhazuno
ないあなたにサヨナラ言った nai anatani sayonara itta
どうかずっと変わらずにいて douka zutto kawarazuni ite
大好きだった daisukidatta
笑顔だけは egaodakewa
別れてもしばらくは悲しくて wakaretemo shibarakuwa kanashikute
あなたの電話ずっと待っていたの anatanodenwa zutto matteitano
今はもうそれぞれに imawa mou sorezoreni
違うパートナー見つけ chigau paatonaa mitsuke
別の道歩き出した betsunomichi arukidashita
もう戻らないわ mou modoranaiwa
輝いてた二人の夏 kagayaiteta futarino natsu
波が褪めるように namiga sameru youni
いつかはきっと遠い記憶の itsukawa kitto tooi kiokuno
彼方に消えてく kanatani kieteku
あなたの写真 anatano shashin
大切にしまっておくわ taisetsuni shimatteokuwa
いつかどこかで itsuka dokokade
また逢えること mata aerukoto
祈ってるわ inotteruwa
元気でね genkidene
ประเด็นแรก การออกเสียง
พื้นฐานของทุกภาษาก็คือ คำ พื้นฐานของคำ ก็คือ พยางค์เสียงที่ออกมาแต่ละครั้ง
คนที่ศึกษาภาษาญี่ปุ่น ก่อนอื่นต้องทิ้งความเคยชินในภาษาเดิมของตัวเองก่อนครับ
พยางค์ทุกพยางค์ในภาษาญี่ปุ่นมีความยาวเท่ากันหมด โดยที่เสียงสระมีห้าเสียงอย่างที่คนเรียนเบื้องต้นทุกคนทราบดี คือเสียง อะ อิ อุ(อึ) เอะ โอะ
ไม่มีเสียงสระเกินจากนี้
สระเสียงยาว คือ จริง ๆ เป็นเสียงที่มาจาก "สองพยางค์" ครับ เช่น เสียงยาวของ อะ a คือ อา aa มีค่าเท่ากับ ออกเสียง อะสองพยางค์ติดต่อกัน
ลองเสียงเสียงภาษาไทยกับญี่ปุ่นดู จริง ๆ จะเป็นดังนี้
อะ a อา aa --- หมายความว่า เสียงอะ ของไทย จะมีความยาวของพยางค์สั้นสุด เสียง a ของญี่ปุ่นจะยาวกว่า อะ ของไทย แต่สั้นกว่าเสียง อาของไทย
(ดังนั้น คนชื่อ ทะนะกะ คนไทยถึงฟังเป็น ทานากะ ทั้งที่จริง ๆ แล้ว ทุกพยางค์ที่เขาออกเสียงมา ta na ka สามพยางค์ยาวเท่ากันหมด)
ส่วนเสียง aa ในภาษาญี่ปุ่น เสียงยาวกว่าเวลาออกเสียง อา ในภาษาไทย เพราะมันต้องยาวเป็นสองเท่าของเสียง a ด้วยเหตุว่าจริง ๆ มันนับเป็น "สองพยางค์"
ตรงนี้เป็นปัญหาหนึ่งในการออกเสียงภาษาญี่ปุ่นของคนไทย เพราะไม่ชินกับความยาวพยางค์แบบนี้
ยกตัวอย่าง ojiisan กับ ojisan คำแรก แปลว่า คุณปู่(หรือตา) คำหลังแปลว่า คุณลุง(หรืออาหรือน้าผู้ชาย)
ให้คนไทยออกเสียงคำแรก ถ้าออกเสียงว่า โอะจี๊ซัง ส่วนคำหลังออกเสียง โอะจิ(หรือจิ๊ ก็แล้วแต่) ซัง รับรอง คนญี่ปุ่นจะฟังว่า เป็นคำหลังทั้งสองกรณี
ต้องลากเสียง จี๊ ให้ยาวสองเท่าจริง ๆ คนญี่ปุ่นถึงฟังแล้วรับรู้ว่าเรากำลังพูดถึง ปู่(ตา) ไม่ใช่ ลุง
ฟังจากเพลงนี้ แค่สองประโยคแรก ก็เป็นตัวอย่างการออกเสียงภาษาญี่ปุ่นได้แล้ว ว่าคนญี่ปุ่นจริง ๆ ออกเสียงชัดทุกพยางค์ และนับพยางค์กันแบบว่า ตัวฮิรางานะหนึ่งตัวคือหนึ่งพยางค์จริง ๆ สระเสียงยาว ซึ่งคือตัวฮิรางานะสองตัว ก็นับเป็นสองพยางค์ต้องออกเสียงทีละพยางค์ด้วย ไม่ใช่ออกเป็นเสียงสระเสียงยาวแล้วลากยาวควบไปแบบเสียงของสระเสียงยาวในภาษาไทย
偶然に見かけたのバス停で guuzenni mikaketano basuteide
(ฉัน) เห็น (เธอ) โดยบังเอิญที่ป้ายรถเมล์น่ะจ้ะ
จะเห็นว่า คำแรก guuzen ซึ่งอ่านแบบไทย ๆ ว่า กู เซ็น
ในเพลง คุณซาไก อิซึมิร้องไว้ชัดมาก เธอร้องทีละพยางค์เลยว่า กุ-อุ-เซะ-(อึ)น- นิ (guuzen ni- โดยบังเอิญ)
นั่นคือ คำว่า guuzen ถ้าคนไทยออกเสียงว่า กู- เซ็น (หรือจะเป็น กูเซ็ง ก็แล้วแต่) เราจะหลงประเด็นคิดว่ามันมีสองพยางค์ และคนญี่ปุ่นจะฟังเหมือนว่าเราออกเสียงแค่สองพยางค์จริง ๆ
แต่สำหรับคนญี่ปุ่นคำนี้มี "สี่พยางค์" และออกเสียง น (หรือ จะออกเสียงว่า อึน ก็แล้วแต่) ตอนท้ายให้ชัด ๆ ด้วยเป็นหนึ่งพยางค์
คำว่า basutei ก็เช่นกัน ออกเสียงแบบไทย ๆ ก็คงประมาณ บ๊ะ-สึ-เท นับได้สามพย่างค์ โดยคนไทยบอกตัวเองว่า ก็ตัวเทเป็นเสียงยาว ฉันก็ออกเสียงยาวว่า เท ไม่ใช่ เทะ แล้วจะเอาอะไรกับฉันอีก
แต่จริง ๆ มันออกเสียงเป็น บะ-สึ-เท-อิ อย่างในเพลงนั่นแหละ (ถ้าคนไทยรักจะออกเสียงว่า เท ก็ต้องลากให้มันยาวสองเท่าจริง ๆ ด้วยคนญี่ปุ่นถึงจะรับรู้ว่าเป็นเสียง tei จริง)
ประโยคถัดมาเช่นกัน
結婚するとうわさで聞いたけど kekkkonsuruto uwasade kiitakedo
(ฉัน) ได้ยินข่าวลือมาว่า (เธอ) จะแต่งงานแล้วสินะ
kekkon แปลว่า การแต่งงาน (คำนาม) kekkon suru แปลว่า แต่งงาน (กริยา)
สังเกตในเพลงไหมครับ เขาออกเสียง kekkon ชัดเจนเป็นสี่พยางค์ ประมาณว่า เคะ-เอ็ก-โคะ-อึน
(พยางค์สุดท้ายอาจไม่ชัดเท่าไร เพราะมันตรงกับตัวโน้ตที่เสียงสั้นพอดี)
ตรงคำควบเสียงสะกด (ผมเรียกของผมเองนะ) ในโรมาจิ จะเขียนเป็นพยัญชนะต้นของพยางค์ถนัดไปถูกเบิ้ลมาเป็นตัวสะกดของสระในพยางค์หน้า
ใน ひらがな จะเห็นชัดว่า มันคือตัว っ (ทสึ ตัวเล็ก)
ถ้า kekon けこん ก็ออกเสียง เคะ-โคะ-น สามพยางค์
แต่ถ้าเป็น kekkon けっこん ออกเสียง เคะ-(เอ็ก)- โคะ- น สี่พยางค์ คนไทยอาจจะบอกว่า ก็ออกเสียงว่า เค็ก-คง ไง กลายเป็นสองพยางค์ไปซึ่งผิด
ถึงเราจะออกเสียง เค็กคง ก็ต้องออกเสียงแบบนี้ เค็ก-(เงียบไปหนึ่งพย่างค์)- คง- อึน(อย่าลืมออกเสียงอึนให้ชัดด้วย)
บรรทัดท้าย ๆ ในเพลง ตรง tooi kioku no kanata ni... ก็เช่นกัน
tooi = ไกล คนไทยออกเสียงว่า โท่ย
kioku = ความทรงจำ ออกเสียง คิโอ๊ะขุ คำนี้ง่าย
แต่ในเพลงจะเห็นว่า คุณอิซึมิร้องชัด ๆ เลยว่า โถะ-โอ๊ะ-อิ๊-คิ-โอะ-คุ-โหนะ...
สรุป ประเด็นแรกเรื่องของการออกเสียง ผมก็อยากให้ฟังเพลงสักรอบหนึ่งพร้อมกวาดสายตาตามเนื้อเพลงที่ให้ไว้ตอนต้นไปด้วย ก็จะเข้าใจได้เองครับ
ข้อเสียของการฟังวิธีการออกเสียงจากเพลง ก็คือ เพลงมันก็มีตัวโน้ตซึ่งมีความยาวและระดับเสียงต่างกันไป ทำให้ทุกพยางค์มีความยาวไม่เท่ากันไปบ้างเวลาถูกร้องเป็นเพลง แต่สิ่งที่อยากให้ซึมซับจากการฟังเพลง ในเรื่องการออกเสียง ก็คือ ให้เห็นว่า ภาษาญี่ปุ่นต้องออกเสียงทีละพยางค์ชัด ๆ แบบนี้แหละครับ ไม่มีสระเสียงยาว ไม่มีการสะกด (ตัว tsu เล็ก っ) หรอกในความเป็นจริง
และถึงแม้เราจะใช้วิธีลากเสียงยาว ตามแบบที่เราใช้ในภาษาไทย ก็ต้องเป็นการลากเสียงยาวสองเท่าจริง ๆ
ปล. ไม่พูดถึงประเด็นว่า k ออกเสียงเป็น ก หรือ ค กันแน่ ตัว n ที่ลงท้ายเป็นตัวสะกดตัวเดียวในภาษาญี่ปุ่น ออกเสียง น หรือ ง หรือ ม กันแน่ ตัว sh ch j y จะเทียบเสียงยังไง เป็น ช จ ย? ฯลฯ นะครับ ไม่งั้นคุยกันไม่จบ
จบจากเรื่องออกเสียง ก็มาแปลกันเลย สองบรรทัดแรก แปลไปแล้วดังนี้
偶然に見かけたのバス停で guuzenni mikaketano basuteide
(ฉัน) เห็น (เธอ) โดยบังเอิญที่ป้ายรถเมล์น่ะจ้ะ
結婚するとうわさで聞いたけど kekkkonsuruto uwasade kiitakedo
(ฉัน) ได้ยินข่าวลือมาว่า (เธอ) จะแต่งงานแล้วสินะ
ประเด็นที่หนึ่ง ภาษาญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะชอบละสิ่งที่ละไว้ในฐานเข้าใจได้ โดยเฉพาะประธานที่เป็นสรรพนามบุรุษที่หนึ่ง
ทั้งสองประโยค ถึงแม้ว่าจะไม่มี watashiwa わたしは อยู่ทั้งคู่ แต่ก็ต้องเข้าใจได้เองว่าประธานของประโยคคือ ฉัน และจากคำช่วย no の ที่ต่อท้ายกริยา mikaketa 見かけた ที่แปลว่า พบเห็น (ผันเป็นรูปอดีต) ทำให้รู้ว่าผู้พูดประโยคนี้ เป็น ผู้หญิง
ภาษาผู้หญิงจะลงท้ายประโยคด้วย โนะ (ในคำแปลเลยลองใส่คำว่า น่ะจ้ะ เข้าไป)
อะไรนะ? โนะอยู่กลางประโยค? อ๋อ ๆ ใช่ครับ นี่ก็เป็นอีกลักษณะหนึ่งของภาษาญี่ปุ่น คุณสามารถเรียงสลับส่วนต่าง ๆ ของประโยคได้ ค่อนข้างอิสระทีเดียว- แต่ไม่ถึงกับสลับได้ตามใจชอบโดยไร้หลักการนะครับ- ตราบใดที่ส่วนต่างๆ ของประโยคเหล่านั้นลงท้ายด้วย "คำช่วย" ที่ถูกต้อง
ประโยคนี้ ถ้าเรียงให้ถูกหลักไวยากรณ์เป็นประโยคบอกเล่าทั่วไปจะเป็น
偶然にバス停で見かけたの。 guuzenni basuteide mikaketano.
หรือจะเป็น バス停で偶然に見かけたの。 basuteide guuzenni mikaketano.
สังเกตไหมครับ ว่าพอเขียนแบบธรรมดาแล้วผมใส่ "มารุ" หรือเทียบได้กับ Full Stop . ในภาษาอังกฤษไว้ปิดท้ายประโยคด้วย
แต่เวลาเขียนเนื้อเพลง โดยทั่วไป (แปลว่ามีข้อยกเว้นบ้างนะครับ) จะไม่มีการใส่เครื่องหมายวรรคตอนพวกตัว มารุ แบบนี้ (ยกเว้นเครื่องหมายคำถามที่ต้องใส่ เพื่อบอกว่าเป็นคำถาม)
ประโยคนี้ จริง ๆ ละทั้งประธาน (ฉัน) และกรรม (เธอ) ไว้ด้วย คงโผล่แต่กริยา และส่วนขยายกริยาว่า พบเห็นอย่างไร (โดยบังเอิญ) และที่ไหน (ที่ป้ายรถเมล์)
แต่ในเนื้อเพลงเรียงเป็น โดยบังเอิญ - พบเธอ - ที่ป้ายรถเมล์
ก็เพื่อความสวยงามของภาษา อาจจะให้มันลงตัวกับทำนองด้วย แต่มันก็เป็นธรรมชาติด้วย
สื่อว่า คนพูดอยากรีบบอกก่อน ว่า ฉันพบเธอโดยบังเอิญมาล่ะ แล้วค่อยเสริมท้ายว่า ที่ป้ายรถเมล์น่ะ ประมาณนี้
ประโยคถัดมา
結婚するとうわさで聞いたけど kekkkonsuruto uwasade kiitakedo
ได้ยินข่าวลือมาว่าจะแต่งงานแล้วสินะ
เป็นการใช้คำช่วย โตะ と to เพื่อแสดงเนื้อหาของสิ่งที่ "ยินหรือฟัง" มา
ประโยคย่อยหน้า โตะ ก็ยังคงละประธานของประโยคเช่นเคย ซึ่งผู้ฟังต้องเดาได้ไม่ยากว่า ประธานที่ว่าไม่ใช่ตัวผู้พูดหรือผู้ที่กำลังเล่าเรื่องอยู่ เพราะเรื่องตัวเองจะแต่งงานไม่จำเป็นต้องไป "ฟัง" จากคนอื่น
เพราะฉะนั้นคนที่จะแต่งงานคือ คนที่คนเล่าเรื่องนี้ ไปเห็นมาโดยบังเอิญที่ป้ายรถเมล์นั่นเอง
แล้ว けど kedo ที่ลงท้ายประโยคล่ะ
ในห้องเรียนภาษาญี่ปุ่น เกะโดะคำนี้ เป็นคำช่วยที่ทำหน้าที่คำสันธาน (เชื่อมประโยค) แปลว่า แต่ หรือ but ในภาษาอังกฤษ ใช้เชื่อมประโยคที่ขัดแย้งกัน
แต่ในชีวิตประจำวัน คนญี่ปุ่นชอบลงท้ายด้วย "แต่" ค้างไว้ท้ายประโยคบ่อยมาก
เช่น 行きますけど。。。 ikimasu kedo.... (ฉัน) จะไป แต่...
(นอกจาก kedo ก็ยังมีคำว่า ga keredo keredomo ที่แปลเหมือนกัน แต่แล้วแต่ว่าใครชอบใช้คำไหน)
ตรงนี้โดยทั่วไป ไม่ได้หมายความว่า เขาจะพูดประโยคถัดมาที่ค้านกับประโยคก่อนหน้า (เช่น ฉันจะไป แต่เปลี่ยนใจแล้ว) อะไรหรอก แต่เป็นการทำให้ประโยคมันนุ่มนวล ไม่ฟังดูห้วน ๆ กล่าวคือ ต้องการให้ผู้ฟังมีส่วนร่วม และพูดตอบกลับมากกว่า เพื่อแสดงการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างสองฝ่าย
อย่างเช่น ถ้าพูดว่า อิคิมะสึ (ฉันจะไป) ก็คือ จบแค่นั้น แปลว่า บอกเล่าให้อีกฝ่ายรู้ว่า ฉันจะไปแล้วนะ ซึ่งเป็นเรื่องของฉัน เธอไม่เกี่ยว
แต่ถ้า อิคิมะสึเกะโดะ... แปลว่า คาดหวังให้อีกฝ่ายพูดอะไรสักหน่อย เช่น เชิญไปเถอะ (อ้าว) หรือ จะให้ไปส่งไหม ไปคนเดียวได้เนอะ ไม่มีอะไรใช่ไหม (ในกรณีที่รู้ว่าจริง ๆ คนพูดนั้นไม่อยากไป) ถ้าจะไปฝากซื้ออะไรหน่อย ฯลฯ ประมาณนี้ ซึ่งคนฟังอาจจะแค่พยักหน้ารับรู้ว่า จะไปก็ไปสิ แค่นั้นก็ได้ ไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด
ส่วน เกะโดะ ในเนื้อเพลงนี้ คงไม่ถึงกับมีความหมาย but เพราะประโยคที่ตามมา ก็ไม่เชิงมีความหมายขัดแย้งกับประโยคข้างหน้า ดังนั้น จึงคงเป็นแค่การเชื่อมประโยคเฉย ๆ ไม่มีความหมายอะไรมาก แต่ก็ทำให้ประโยคนี้ฟังดูนุ่มนวลขึ้น กว่าเป็นคำบอกเล่าธรรมดาว่า เออ ฉันรู้ข่าวแล้วนะ ว่าเธอจะแต่งงาน