🎀มาลาริน/ยังไม่มีวัคซีนทิพย์..อิสราเอลเฝ้าระวัง!ผลวิจัยพบวัคซีนโควิด'ไฟเซอร์'เพิ่มความเสี่ยงภูมิคุ้มกันต้านตัวเองรุนแรง

แป๊กอิสราเอลเฝ้าระวัง! ผลวิจัยพบวัคซีนโควิด 'ไฟเซอร์' เพิ่มความเสี่ยงภูมิคุ้มกันต้านตัวเองรุนแรง
เผยแพร่: 22 มิ.ย. 2564 06:12   ปรับปรุง: 22 มิ.ย. 2564 06:12   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เหล่านักวิจัยของอิสราเอลพบวัคซีนโควิด-19 ของไฟเซอร์ เพิ่มโอกาสเป็นโรค Thrombotic Thrombocytopenic Purpura (TTP) ที่เกิดขึ้นน้อยมาก จากการเปิดเผยของศูนย์การแพทย์ชาเมียร์ของอิสราเอลในวันจันทร์ (21มิ.ย.)

TTP คือโรคภูมิคุ้มกันต้านตนเอง (Autoimmune diseases) รุนแรง ซึ่งก่อให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันในอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย อาการของโรคนี้มีทั้งกะปลกกะเปลี้ย อ่อนเพลีย เจ็บหน้าอก ระบบประสาททำงานผิดปกติ รวมทั้งมีอาการตกเลือด

มีความกังวลเกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่าง TTP กับวัคซีนโควิด-19 มีมากขึ้น หลังพบการเพิ่มขึ้นของอุบัติการณ์โรคเลือดดังกล่าวใอิสราเอล จาก 2 ถึง 3 เคสต่อปี เป็น 4 รายภายในเวลาเพียงแค่ 1 เดือน

อย่างไรก็ดี หากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยโรค และเข้ารับการรักษาตั้งแต่มีอาการเริ่มแรก ก็จะช่วยเพิ่มโอกาสของการฟื้นตัวจากเดิม 10% สู่ระดับ 80% ในปัจจุบัน

จากข้อมูลของโรงพยาบาล พวกนักวิจัยพบว่าในเวลาต่อมาพวกนักวิจัยพบความเชื่อมโยงตามลำดับเวลาระหว่างวัคซีนโควิด-19 ของไฟเซอร์กับการเกิดอาการของโรคดังกล่าว

หลังจากตรวจพบ ทางโรงพยาบาลได้ขอให้คนไข้ที่มีอาการ TTP ที่ฟื้นตัวแล้วเข้ารับการฉีดวัคซีนภายใต้การอนุญาตทางการแพทย์เป็นพิเศษเท่านั้น และต้องอยู่ภายใต้การติดตามอาการอย่างใกล้ชิดหลังฉีดวัคซีน

นอกจากนี้แล้วทางโรงพยาบาลยังแนะนำให้คนที่มีสุขภาพแข็งแรงอยู่ในภาวะเฝ้าระวังหลังฉีดวัคซีน และรุดไปพบแพทย์ทันทีในกรณีเริ่มมีอาการของโรค TTP

(ที่มา : ซินหัว)

https://mgronline.com/around/detail/9640000060092

เม่าจอแดง2อิสราเอลเตือนวัคซีนไฟเซอร์เพิ่มความเสี่ยงลิ่มเลือดอุดตัน


22 มิถุนายน 2564
 
เม่านอนไม่หลับอิสราเอลเตือนวัคซีนไฟเซอร์เพิ่มความเสี่ยงลิ่มเลือดอุดตัน และเกล็ดเลือดต่ำ

ศูนย์การแพทย์ชาเมียร์ของอิสราเอลเปิดเผยว่า วัคซีนโควิด-19 ของบริษัทไฟเซอร์เพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิโรค Thrombotic Thrombocytopenic Purpura (TTP)

ทั้งนี้ TTP เป็นโรคที่ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันในอวัยวะต่างๆ ขณะที่มีเกล็ดเลือดต่ำ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลีย เจ็บหน้าอก ระบบประสาททำงานผิดปกติ รวมทั้งมีอาการตกเลือดในร่างกาย

นักวิจัยพบว่ามีความเชื่อมโยงกันระหว่างการฉีดวัคซีนไฟเซอร์และการเกิดอาการของโรคดังกล่าว

อย่างไรก็ดี หากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยโรค และเข้ารับการรักษาตั้งแต่มีอาการเริ่มแรก ก็จะช่วยเพิ่มโอกาสของการฟื้นตัวจากเดิม 10% สู่ระดับ 80% ในปัจจุบัน

ศูนย์การแพทย์ชาเมียร์ระบุว่า ผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนควรเฝ้าระวังสุขภาพ โดยหากมีอาการของโรค TTP ก็ให้รีบแจ้งโรงพยาบาลเพื่อเข้ารับการรักษาตัว

https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/944695

เพี้ยนจริงจังวัคซีนทุกชนิดยังมีความเสี่ยง

และยังไม่มีวัคซีนในอุดมคติที่ดีที่สุดในโลกนี้

วัคซีนที่ดีที่สุดสำหรับเวลาวิกฤต คือวัคซีนที่ฉีดได้เร็วที่สุด

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
คุณหมอพิเชฐ บัญญัติ รองอธิบดีฯ ท่านบอกว่าถ้าเลือกได้ระหว่างวัคซีน2ชนิด ก็จะเลือกSinovacแล้วตามด้วย AZ (เทคนิค Prime & Boost)

ท่านให้ คุณหมอชลธวัช สุวรรณปิยะศิริ ช่วยเขียนอธิบายเรื่องวีคซีน  mRNA แบบคนทั่วไปอ่านเข้าใจอย่างง่ายๆ


นพ.ชลธวัช สุวรรณปิยะศิริ








FB : DrJudd Chontavat
https://www.facebook.com/chontavat.suvanpiyasiri.7/posts/980423166036178

DrJudd Chontavat
นพ.ชลธวัช สุวรรณปิยะศิริ บุตรคนเดียวของคุณกำธร สุวรรณปิยะศิริ-คุณนันทวัน เมฆใหญ่  -- แพทย์ผู้มีพรสวรรค์เล่าเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย

https://mgronline.com/daily/detail/9620000118644
ลูกหลานผมที่เป็นหมอ : นับหัว
12 ธ.ค. 2562 15:54   โดย ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่