ขณะที่สังคมกำลังถกเถียงกันเรื่องวัคซีน โดยหยิบยกแง่มุมต่าง ๆ มาบลัฟกันว่า ของยี่ห้อนั้นดีกว่า ยี่ห้อนี้ด้อยกว่า สารพัดเหตุผลตามใจฉันจะสรรหามาตำหนิ จับผิดกัน แต่ในความเป็นจริง ไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า ปัจจุบันเราไม่มีอะไรที่ดีกว่าวัคซีนที่มีอยู่ในตอนนี้ ที่จะป้องกันโรคโควิด-19 ได้ ซึ่งเรื่องนี้มีคำยืนยันจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ
สรุปข้อมูลจาก นายแพทย์ทวี โชติพิทยสุนนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ แถลงเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2564
- ในฐานะกุมารแพทย์ 40 กว่าปี เกี่ยวข้องกับวัคซีนมาตลอดชีวิต ยืนยันว่า
วัคซีนเป็นอาวุธสำคัญในการต่อสู้กับเชื้อโรค
- ที่ผ่านมาวัคซีนที่จะนำมาใช้มีการวิจัย 5 – 10 ปี สำหรับวัคซีนโควิด 19 วิจัยเพียง 10 เดือน
- การนำมาใช้เป็นการอนุมัติให้ใช้ในภาวะฉุกเฉิน ต้องเฝ้าระวัง 1 วัน 7 วัน 30 วันหลังฉีด
- แม้ว่าขณะใดที่ผู้ป่วยโควิดลดลง ก็ยังต้องฉีดวัคซีนโควิดให้กับประชาชนต่อไป เพราะต้องสร้างภูมิคุ้มโรคนี้ให้กับประชาชนหรือเรียก “ภูมิคุ้มกันหมู่” ให้ทุกคนปลอดภัย
- คาดว่า โรคโควิดนี้จะต้องอยู่กับคนเราอีกยาวนาน
- ขณะนี้
ไทย มีวัคซีน 2 ชนิด คือ
ซิโนแวค และ
แอสตร้าเซนเนก้า
- ชนิดอื่นๆ กำลังอาจจะตามเข้ามา
ด้านประสิทธิภาพของวัคซีนซิโนแวค
- จากข้อมูลการวิจัยในประเทศบราซิลพบว่า 14 วันหลังฉีดเข็มแรก ป้องกันโรคได้เกือบ 50 เปอร์เซ็นต์
- เมื่อฉีดเข็ม 2 ภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 60 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งยอมรับได้
ส่วนแอสตร้าเซนเนก้า
- จากการศึกษา เมื่อฉีดเข็มแรกครบ 3 สัปดาห์ จะเริ่มป้องกันโรคได้
- เมื่อครบ 12 สัปดาห์ หลังเข็มแรกจะป้องกันโรคได้ ถึง 70 เปอร์เซ็นต์
วัคซีนทั้งสองชนิดไม่แตกต่างกันมาก อยู่ในเกณฑ์ที่ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยยอมรับว่ามีประสิทธิภาพที่ดี
ใช้ป้องกันเชื้อกลายพันธุ์ได้หรือไม่
-
ทั้งสองชนิดสามารถรับมือกับเชื้อกลายพันธุ์ได้
- การศึกษาวิจัยในจีน นำเชื้อและน้ำเหลืองของคนที่ฉีดซิโนแวค เปรียบเทียบกับผู้ที่หายป่วยแล้วพบว่าสามารถจัดการกับเชื้อได้ระดับหนึ่ง แต่ไม่ดีเท่าเชื้อดั้งเดิม
- ส่วนแอสตร้าเซนเนก้าป้องกันเชื้อกลายพันธุ์สายพันธุ์อังกฤษได้ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ และป้องกันต่อเชื้อดั้งเดิมได้ 84 เปอร์เซ็นต์
สำหรับ
วัคซีนที่จดทะเบียนทั่วโลกและทำในระยะที่ 3 เสร็จแล้ว มี 13-15 ตัว ที่กำลังใช้ในประเทศต่างๆ โดยทุกชนิด
มีประสิทธิภาพคล้ายกัน คือ
- ป้องกันเสียชีวิต
- ป้องกันโรครุนแรง
- ไม่ต้องเข้าไอซียู
- ไม่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ได้เกือบ 100 เปอร์เซนต์
- เป็นหัวใจของวัคซีนที่สร้างขึ้นมาเพื่อต้องการต่อสู้กับโรคที่รุนแรงมาก ๆ
- เพราะคนไข้ที่อยู่ในไอซียู 1 คน ใช้ทรัพยากร บุคลากร ยา มหาศาล
ด้านความปลอดภัยของวัคซีน พบว่า
-
ซิโนแวคมีผลข้างเคียงน้อยกว่าแอสตร้าเซนเนก้า โดย
พบประมาณ 20-30 เปอร์เซ็นต์ เช่น ปวด บวม แดง ร้อนบริเวณที่ฉีด ปวดเมื่อยตามตัว
หายภายใน 2 วัน
- ส่วนที่พบเมื่อเร็วๆ นี้ ในโรงพยาบาล 2 แห่ง มีอาการคล้ายอัมพฤกษ์ คณะผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์พบว่าเป็นผลข้างเคียงจากความวิตกกังวล ส่งผลให้เกิดอาการทางกายคล้ายหลอดเลือดตีบได้ ซึ่งทุกคนหายเป็นปกติภายใน 1-3 วัน ผลการสแกนสมองปกติ
- ส่วน
แอสตร้าเซนเนก้า ผลข้างเคียงชนิดไม่รุนแรงที่เกิดขึ้นคล้ายซิโนแวค พบประมาณ 40-50 เปอร์เซ็นต์ หายภายใน 48 ชม.
ส่วน
การเกิดลิ่มเลือดอุดตันนั้น
o ใน
คนเอเชียพบน้อย ส่วนใหญ่พบในชาวยุโรป แอฟริกา
o
ผู้ป่วยเบาหวาน โรคหัวใจ สูบบุหรี่จัด จะเกิดลิ่มเลือดได้ง่าย
o มีรายงานในต่างประเทศพบการเกิดลิ่มเลือดประมาณ 4 รายในล้านโดส แต่หากเป็นโควิดโอกาสเกิดลิ่มเลือดประมาณ 125,000 ต่อล้านคน ที่ป่วยเป็นโควิดและในคนสูบบุหรี่จัด พบ 1,700 ต่อ 1 ล้านคนที่สูบบุหรี่จัด
- จ
ากรายงานการฉีดวัคซีนล้านกว่ารายในประเทศไทยพบการแพ้วัคซีนรุนแรง (anaphylaxis) เพียง 7-8 ราย ไม่มีเสียชีวิต และมักเกิดในช่วง 30 นาที หลังฉีดวัคซีน ซึ่งอยู่ในระยะสังเกตอาการ ทำให้แพทย์สามารถช่วยเหลือได้ทัน
- ส่วนคนที่แพ้อาหารทะเล ถั่ว หรือเป็นโรคภูมิแพ้ สามารถฉีดได้ เพราะวัคซีนไม่ได้ทำจากสัตว์ ยกเว้นผู้ที่เคยแพ้วัคซีนต้องปรึกษาแพทย์
การรับวัคซีนโควิดมีประโยชน์
- ในการ
สร้างภูมิคุ้มกันต่อตัวผู้ฉีดเอง ป้องกันตัวเอง ป้องกันครอบครัวและป้องกันชุมชนสังคม
- เมื่อเทียบประโยชน์กับโทษแล้ว จะเห็นว่า
มีประโยชน์มากกว่าโทษอย่างมาก ทางการแพทย์จึงแนะนำอย่างยิ่ง
จะเลือกฉีดตัวไหนดี
-
ตัวไหนก็ใช้ได้ ดีทั้งนั้น
- ก่อนฉีดต้องรับข้อมูลให้พร้อม
-
สิ่งสำคัญที่สุด การฉีดวัคซีน คนที่ฉีดจะป้องกันตัวเองได้ ป้องกันคนในครอบครัวได้
- การระบาดระลอกนี้ คนวัยหนุ่มสาวติดเชื้อเยอะ นำเชื้อไปสู่เด็ก และผู้สูงอายุ
- คนที่มีโรคประจำตัวเสียชีวิต รวมทั้งผู้ที่เป็นโรคอ้วน มีค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30 หรือน้ำหนักตัวมากกว่า 100 กิโลกรัม ซึ่งความสามารถของปอดในการแลกเปลี่ยนออกซิเจนน้อยลง
“การฉีดวัคซีน เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการต่อสู้กับโรคนี้ ช่วยควบคุมการระบาดได้ เราจะมีโอกาสดำเนินกิจกรรมต่างๆ เช่น กินข้าวนอกบ้าน ไปไหนมาไหนสะดวกใจได้ยิ่งขึ้น เดินหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจต่อไป”
นายแพทย์ทวีกล่าว
-------------------------------------------
สรุปได้ว่า ถ้าอยากกลับไปใช้ชีวิตปกติ กิน เที่ยว พบปะสังสรรค์กันได้ ก็
ต้องฉีดวัคซีน ตัวไหนก็ได้ที่รัฐบาลนำเข้ามา เพราะผ่านการยืนยันดูแลจากคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแล้ว ซึ่งคนที่ฉีดจะสามารถป้องกันตัวเองได้
เมื่อป้องกันตัวเองได้ ก็สามารถป้องกันคนรอบข้างได้เช่นกัน ส่วนผลข้างเคียงที่พบ ไม่ได้เป็นอันตรายจนถึงขั้นพิการหรือเสียชีวิต แต่ที่เห็นว่าเป็นอัมพฤกษ์หรือเสียชีวิตนั้นมาจากสาเหตุอื่น ๆ อย่าเข้าใจกันผิด ๆ ไปเอง
ทั้งซิโนแวคและแอสตร้าเซเนก้ามีความปลอดภัย เป็นที่ยอมรับของคณะแพทย์ และมีการใช้อย่างปลอดภัยอยู่ทั่วโลก
สำหรับเรื่องราคาที่ถกเถียงกันนั้น หากซิโนแวคจะราคาสูงกว่าเล็กน้อยก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะใช้เทคนิคการผลิตจากเชื้อตายที่ทำยากและใช้เวลานาน แต่มั่นใจได้มากในเรื่องความปลอดภัยในระยะยาวว่าจะไม่มีผลกระทบต่อพันธุกรรมหรือผลรุนแรงอื่น ๆ จึงยอมรับได้ ส่วนวัคซีนของฝั่งอเมริกา อย่างไฟเซอร์และโมเดิร์นานั้น แม้ราคาจะต่ำกว่าเล็กน้อย แต่เมื่อรวมกับค่าเก็บรักษาและค่าขนส่ง ซึ่งต้องใช้ตู้ที่นำเข้า เพราะประเทศไทยไม่มี รวม ๆ แล้วก็น่าจะสูงกว่าวัคซีนชนิดอื่น ๆ ที่เก็บได้ในอุณหภูมิตู้เย็น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ที่มาข้อมูล : สำนักสารนิเทศ สพนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ฟังชัด ๆ จากปากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซิโนแวค และ แอสตร้าฯ ประสิทธิภาพดี รับมือเชื้อกลายพันธุ์ได้
สรุปข้อมูลจาก นายแพทย์ทวี โชติพิทยสุนนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ แถลงเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2564
- ในฐานะกุมารแพทย์ 40 กว่าปี เกี่ยวข้องกับวัคซีนมาตลอดชีวิต ยืนยันว่าวัคซีนเป็นอาวุธสำคัญในการต่อสู้กับเชื้อโรค
- ที่ผ่านมาวัคซีนที่จะนำมาใช้มีการวิจัย 5 – 10 ปี สำหรับวัคซีนโควิด 19 วิจัยเพียง 10 เดือน
- การนำมาใช้เป็นการอนุมัติให้ใช้ในภาวะฉุกเฉิน ต้องเฝ้าระวัง 1 วัน 7 วัน 30 วันหลังฉีด
- แม้ว่าขณะใดที่ผู้ป่วยโควิดลดลง ก็ยังต้องฉีดวัคซีนโควิดให้กับประชาชนต่อไป เพราะต้องสร้างภูมิคุ้มโรคนี้ให้กับประชาชนหรือเรียก “ภูมิคุ้มกันหมู่” ให้ทุกคนปลอดภัย
- คาดว่า โรคโควิดนี้จะต้องอยู่กับคนเราอีกยาวนาน
- ขณะนี้ไทย มีวัคซีน 2 ชนิด คือ ซิโนแวค และ แอสตร้าเซนเนก้า
- ชนิดอื่นๆ กำลังอาจจะตามเข้ามา
ด้านประสิทธิภาพของวัคซีนซิโนแวค
- จากข้อมูลการวิจัยในประเทศบราซิลพบว่า 14 วันหลังฉีดเข็มแรก ป้องกันโรคได้เกือบ 50 เปอร์เซ็นต์
- เมื่อฉีดเข็ม 2 ภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 60 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งยอมรับได้
ส่วนแอสตร้าเซนเนก้า
- จากการศึกษา เมื่อฉีดเข็มแรกครบ 3 สัปดาห์ จะเริ่มป้องกันโรคได้
- เมื่อครบ 12 สัปดาห์ หลังเข็มแรกจะป้องกันโรคได้ ถึง 70 เปอร์เซ็นต์
วัคซีนทั้งสองชนิดไม่แตกต่างกันมาก อยู่ในเกณฑ์ที่ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยยอมรับว่ามีประสิทธิภาพที่ดี
ใช้ป้องกันเชื้อกลายพันธุ์ได้หรือไม่
- ทั้งสองชนิดสามารถรับมือกับเชื้อกลายพันธุ์ได้
- การศึกษาวิจัยในจีน นำเชื้อและน้ำเหลืองของคนที่ฉีดซิโนแวค เปรียบเทียบกับผู้ที่หายป่วยแล้วพบว่าสามารถจัดการกับเชื้อได้ระดับหนึ่ง แต่ไม่ดีเท่าเชื้อดั้งเดิม
- ส่วนแอสตร้าเซนเนก้าป้องกันเชื้อกลายพันธุ์สายพันธุ์อังกฤษได้ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ และป้องกันต่อเชื้อดั้งเดิมได้ 84 เปอร์เซ็นต์
สำหรับวัคซีนที่จดทะเบียนทั่วโลกและทำในระยะที่ 3 เสร็จแล้ว มี 13-15 ตัว ที่กำลังใช้ในประเทศต่างๆ โดยทุกชนิดมีประสิทธิภาพคล้ายกัน คือ
- ป้องกันเสียชีวิต
- ป้องกันโรครุนแรง
- ไม่ต้องเข้าไอซียู
- ไม่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ได้เกือบ 100 เปอร์เซนต์
- เป็นหัวใจของวัคซีนที่สร้างขึ้นมาเพื่อต้องการต่อสู้กับโรคที่รุนแรงมาก ๆ
- เพราะคนไข้ที่อยู่ในไอซียู 1 คน ใช้ทรัพยากร บุคลากร ยา มหาศาล
ด้านความปลอดภัยของวัคซีน พบว่า
- ซิโนแวคมีผลข้างเคียงน้อยกว่าแอสตร้าเซนเนก้า โดยพบประมาณ 20-30 เปอร์เซ็นต์ เช่น ปวด บวม แดง ร้อนบริเวณที่ฉีด ปวดเมื่อยตามตัว หายภายใน 2 วัน
- ส่วนที่พบเมื่อเร็วๆ นี้ ในโรงพยาบาล 2 แห่ง มีอาการคล้ายอัมพฤกษ์ คณะผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์พบว่าเป็นผลข้างเคียงจากความวิตกกังวล ส่งผลให้เกิดอาการทางกายคล้ายหลอดเลือดตีบได้ ซึ่งทุกคนหายเป็นปกติภายใน 1-3 วัน ผลการสแกนสมองปกติ
- ส่วนแอสตร้าเซนเนก้า ผลข้างเคียงชนิดไม่รุนแรงที่เกิดขึ้นคล้ายซิโนแวค พบประมาณ 40-50 เปอร์เซ็นต์ หายภายใน 48 ชม.
ส่วนการเกิดลิ่มเลือดอุดตันนั้น
o ในคนเอเชียพบน้อย ส่วนใหญ่พบในชาวยุโรป แอฟริกา
o ผู้ป่วยเบาหวาน โรคหัวใจ สูบบุหรี่จัด จะเกิดลิ่มเลือดได้ง่าย
o มีรายงานในต่างประเทศพบการเกิดลิ่มเลือดประมาณ 4 รายในล้านโดส แต่หากเป็นโควิดโอกาสเกิดลิ่มเลือดประมาณ 125,000 ต่อล้านคน ที่ป่วยเป็นโควิดและในคนสูบบุหรี่จัด พบ 1,700 ต่อ 1 ล้านคนที่สูบบุหรี่จัด
- จากรายงานการฉีดวัคซีนล้านกว่ารายในประเทศไทยพบการแพ้วัคซีนรุนแรง (anaphylaxis) เพียง 7-8 ราย ไม่มีเสียชีวิต และมักเกิดในช่วง 30 นาที หลังฉีดวัคซีน ซึ่งอยู่ในระยะสังเกตอาการ ทำให้แพทย์สามารถช่วยเหลือได้ทัน
- ส่วนคนที่แพ้อาหารทะเล ถั่ว หรือเป็นโรคภูมิแพ้ สามารถฉีดได้ เพราะวัคซีนไม่ได้ทำจากสัตว์ ยกเว้นผู้ที่เคยแพ้วัคซีนต้องปรึกษาแพทย์
การรับวัคซีนโควิดมีประโยชน์
- ในการสร้างภูมิคุ้มกันต่อตัวผู้ฉีดเอง ป้องกันตัวเอง ป้องกันครอบครัวและป้องกันชุมชนสังคม
- เมื่อเทียบประโยชน์กับโทษแล้ว จะเห็นว่ามีประโยชน์มากกว่าโทษอย่างมาก ทางการแพทย์จึงแนะนำอย่างยิ่ง
จะเลือกฉีดตัวไหนดี
- ตัวไหนก็ใช้ได้ ดีทั้งนั้น
- ก่อนฉีดต้องรับข้อมูลให้พร้อม
- สิ่งสำคัญที่สุด การฉีดวัคซีน คนที่ฉีดจะป้องกันตัวเองได้ ป้องกันคนในครอบครัวได้
- การระบาดระลอกนี้ คนวัยหนุ่มสาวติดเชื้อเยอะ นำเชื้อไปสู่เด็ก และผู้สูงอายุ
- คนที่มีโรคประจำตัวเสียชีวิต รวมทั้งผู้ที่เป็นโรคอ้วน มีค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30 หรือน้ำหนักตัวมากกว่า 100 กิโลกรัม ซึ่งความสามารถของปอดในการแลกเปลี่ยนออกซิเจนน้อยลง
สำหรับเรื่องราคาที่ถกเถียงกันนั้น หากซิโนแวคจะราคาสูงกว่าเล็กน้อยก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะใช้เทคนิคการผลิตจากเชื้อตายที่ทำยากและใช้เวลานาน แต่มั่นใจได้มากในเรื่องความปลอดภัยในระยะยาวว่าจะไม่มีผลกระทบต่อพันธุกรรมหรือผลรุนแรงอื่น ๆ จึงยอมรับได้ ส่วนวัคซีนของฝั่งอเมริกา อย่างไฟเซอร์และโมเดิร์นานั้น แม้ราคาจะต่ำกว่าเล็กน้อย แต่เมื่อรวมกับค่าเก็บรักษาและค่าขนส่ง ซึ่งต้องใช้ตู้ที่นำเข้า เพราะประเทศไทยไม่มี รวม ๆ แล้วก็น่าจะสูงกว่าวัคซีนชนิดอื่น ๆ ที่เก็บได้ในอุณหภูมิตู้เย็น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้