ชาวโคราชนับร้อยต้องการปรับสูตรเข็ม 2 เป็นแอสตร้าฯ ไม่ยอมฉีดกลัวภูมิไม่ขึ้น
https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_6507399
ชาวโคราชนับร้อยต้องการปรับสูตรเข็ม 2 เป็นแอสตร้าฯ แต่วัคซีนมีจำกัด บางคนไม่ยอมฉีดกลัวภูมิไม่ขึ้น เข็ม 3 ต้องการฉีดวัคซีนทางเลือกที่มีคุณภาพที่ดี
เมื่อวันที่ 13 ก.ค.64 ที่โคราชฮอลล์ ชั้น 4 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า จ.นครราชสีมา สถานที่ให้บริการฉีดวัคซีนของโรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา พบประชาชนที่ได้คิวฉีดวัคซีนชิโนแวคและแอสตร้าเซนเนก้า ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มครอบครัวและผู้สูงอายุ ที่มีบุตรหลานคอยดูแลอย่างใกล้ชิด ทยอยเดินทางมาแสดงตน ขอเข้าฉีดวัคซีนทั้ง 2 ชนิด ซึ่งมีทั้งเข็มแรกและเข็ม 2 จนเต็มห้องฉีดและล้นออกมาด้านหน้า
บางรายถ่ายเซลฟี่คู่กับป้ายข้อความเป็นสีสัน อาทิ #ฉีดเข็มสองแล้วนะ, พวกเราฉีดวัคซีนเข็มสองแล้วเด้อ #เซ็นทรัลโคราช, ฉีดแล้วสบ๊ายยยย ฯลฯ ส่วนหนึ่งฉีดเข็มแรกฉีดซิโนแวคแต่เข็ม 2 ต้องการแอสตร้าเซนเนก้า เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน แต่บุคลากรไม่สามารถจัดเตรียมวัคซีนได้ตามที่ต้องการ จึงมีส่วนหนึ่งเดินทางกลับ
นายแพทย์
เจษฎ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการภารกิจด้านอำนวยการโรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา เปิดเผยว่า ภารกิจนัดคิวการฉีดวัคซีน 1,600 คน ซึ่งมีผู้ตัดสินใจฉีดซิโนแวคเข็ม 2 ประมาณ 50 คน ที่เหลือจำนวนต้องการรอฉีดแอสตร้าเซนเนก้า สำหรับสูตรการเปลี่ยนแปลงวัคซีนถือเป็นการเพิ่มภูมิคุ้มกัน เนื่องจากสายพันธุ์เดลต้าเข้ามาระบาด ส่งผลให้ประสิทธิของวัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม ไม่สามารถต้านทานเชื้อกลายพันธุ์นี้ได้ ขณะนี้สถานะหลายแห่งมีวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าไม่เพียงพอต่อความต้องการ จึงชี้แจงสร้างการรับรู้ ทำความเข้าใจข้อเท็จจริง เพื่อให้ประชาชนรับทราบและตัดสินใจด้วยตัวเอง
ด้านนาย
ปรีชา ศรีโสตถิกุล อายุ 70 ปี ชาว ต.ในเมือง อ.เมือง นครราชสีมา กล่าวว่า ตนและภรรยามาฉีดวัคซีนซิโนแวคเข็มที่ 2 กรณีต้องการเปลี่ยนวัคซีนเข็มที่ 2 เป็นแอสตร้าเซนเนก้า ต้องรอวันได้ จึงตัดสินใจฉีดมิเช่นนั้นต้องรอนาน และไม่ต้องการเดินทางบ่อยๆ ยอมรับกังวลเชื้อโรคกลายพันธุ์ทำให้วัคซีน 2 เข็มไม่น่าเพียงพอทำให้ปลอดภัย หากเป็นไปได้เข็มที่ 3 ต้องการฉีดวัคซีนทางเลือก หรือ MRNA ที่มีคุณภาพที่ดีกว่า
ชาวนนท์โวย! เดิมนัดฉีดแอสตร้าฯ โดนเปลี่ยนสูตร ซิโนแวค+แอสตร้าฯ
https://www.matichon.co.th/region/news_2827771
ชาวนนท์โวย! เดิมนัดฉีดแอสตร้าฯ โดนเปลี่ยนสูตรผสม ซิโนแวค โอดยอมทิ้ง ซิโนฟาร์ม กลับมาเจอซิโนแวค ลั่นไม่ฉีด
จากกรณีที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อเห็นชอบการฉีดวัคซีนโควิด-19 สลับชนิด โดยเข็มที่ 1 เป็นซิโนแวค เข็มที่ 2 เป็นแอสตร้าเซนเนก้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าโดยให้โรงพยาบาลต่างๆดำเนินการทันทีนั้น
ล่าสุดผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรีได้นำนโยบายดังกล่าวไปใช้แล้ว โดยพบว่ามีการปรับสูตรการฉีดใหม่ทั้งหมด แม้กระทั่งผู้ที่ได้รับการจองจัดสรรวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม ก็ถูกเปลี่ยนเป็นการฉีดวัคซีน ซิโนแวค 1 เข็ม และแแอสตร้าเซนเนก้า 1 เข็ม แทน ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับประชาชนเป็นจำนวนมาก
ทั้งนี้โพสต์ประกาศแจ้งนัดฉีดวัคซีนกับ “
นนท์พร้อม” เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม มีการระบุยี่ห้อวัคซีนที่จะได้รับในแต่ละศูนย์ฉีดวัคซีนเช่น ที่แจ้งวัฒนะฮอล เซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ จะมีการฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าจำนวน 5,000
ก่อนที่ล่าสุดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี จะโพสต์ข้อความ แจ้งนัดฉีดวัคซีนกับ นนท์พร้อม ในวันที่ 13 กรกฎาคม โดยระบุว่ามีการ
”
ปรับสูตรใหม่ ตามมติคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เริ่มตั้งแต่ 13 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป โดยเข็ม 1 จะเป็นวัคซีน Sinovac และเข็ม 2 AstraZeneca
ทั้งนี้มีประชาชนที่ได้รับนัดฉีดวัคซีนกับนนท์พร้อมเข้ามาแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะผู้ที่เดิมได้รับการจองวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเอาไว้ บ้างก็ประกาศว่าจะไม่ฉีดแน่นอน เนื่องจากรอมานานแต่มาถูกเปลี่ยนกลางคัน บางรายระบุว่า ยอมทิ้งคิวจองวัคซีนซิโนฟาร์ม เพื่อมาฉีดแอสตร้าเซนเนก้า แต่กลับถูกเปลี่ยนภายหลังก่อนฉีด
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1725007884362595&id=944802815716443
พบ “หมอจบใหม่” ติดโควิด-19 หลังช่วยงาน 2 สัปดาห์ แม้ฉีดวัคซีนครบ
https://www.pptvhd36.com/news/สุขภาพ/151623
มติที่จะกระตุ้นภูมิคุ้มกัน เข็มที่ 3 ให้บุคลากรทางการแพทย์ ด้วยวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า แทนวัคซีน mRNA ที่บุคลากรร้องขอ ถูกตั้งคำถามจากกลุ่มบุคลากรด่านหน้า และ ประชาชน ล่าสุด ทีมข่าวสัมภาษณ์เปิดใจ บุคลากรด่านหน้า ซึ่งเป็นหมอจบใหม่ ที่เพิ่งถูกขอให้ไปช่วยงานดูแลโควิดได้แค่ 2 สัปดาห์ ติดโควิดทั้งที่ฉีดวัคซีนครบ 2 โดส คุณหมอบอกว่า วัคซีนเชื้อตายไม่ทำให้สถานการณ์ดีขึ้น และ อาจหากแพทย์ติดโควิดจะทำให้ผู้ป่วยโรคอื่นเสี่ยงไปด้วย
นายแพทย์
ณัฐพล นุ่มอ่อน เป็นแพทย์อายุรแพทย์ชำนาญการ โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร จังหวัดชัยนาท ตั้งแต่ต้นปี 2564 คุณหมอ
ณัฐพล เข้ากทม.เพื่อเรียนต่อเฉพาะทางเกี่ยวกับโรคระบบทางเดินหายใจ แต่หลังสถานการณ์โควิดวิกฤต ถูกขอให้อยู่ช่วยดูแลผู้ป่วยโควิด /ทำงานในแผนกผู้ป่วยวิกฤตทางเดินหายใจ โรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ ได้ 2 สัปดาห์ ก็พลาดติดเชื้อ ทั้งที่ฉีดวัคซีนซิโนแวค ครบ 2 เข็มแล้ว โดยตอนนี้ติดเชื้อนาน 5 วัน รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นที่ทำงาน แต่ตอนนี้เปลี่ยนสถานะเป็นคนไข้แทน
คุณหมอ
ณัฐพล เล่าว่า ตอนที่ทำงานช่วยผู้ป่วยโควิด เขามีหน้าที่ดูแล ทำหัตถการให้ผู้ป่วยโควิดอาการหนัก 11 คน ทั้ง ใส่ท่อช่วยหายใจ เจาะเส้นเลือดดำ รวมไปถึงประเมินอาการอย่างใกล้ชิด งานทั้งหมดเป็นงานเสี่ยงสูงที่อาจติดเชื้อได้ตลอดเวลา โดยอาการเริ่มแรก ของคุณหมอ
ณัฐพล คือ ไอ เจ็บคอ แต่ไม่ตัวร้อน ตอนแรกคิดว่าเกิดจากอาการภูมิแพ้ แต่จากนั้นพบมีแพทย์ในแผนกติดเชื้อ จึงไปตรวจและพบว่า เขาก็ติดเชื้อเช่นกัน
“มันมีเรื่องของการทำงานที่ต้องเข้าไปด้านในครับ เช่น ต้องไปทำหัตถการผู้ป่วยครับ ไปใส่ท่อช่วยหายใจ ไปใส่เส้นเลือดดำอะไรอย่างนี้ครับ ต้องไปทำหัตถการใดๆ ข้างใน มันก็มีโอกาสที่จะติดเชื้อในนั้นได้เหมือนกันครับ เพราะว่า คือเราป้องกันตัวไปดีอย่างนี้ครับ มันก็จะมีปัญหาในเรื่องของระหว่างทำงาน แบบบางทีมันมีอุบัติเหตุมีAccident เกิดขึ้นได้”
ทั้งนี้คุณหมอ
ณัฐพล แสดงความเห็น กรณีที่ กระทรวงสาธารณสุข เตรียมฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า เป็นวัคซีนเข็มที่ 3 ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ โดยบอกว่า มองว่าอยากให้ฉีดวัคซีน mRNA ให้มากกว่า เพราะ วัคซีนที่ทำจากเชื้อตาย ทั้ง ซิโนแวค และ แอสตร้าเซนเนก้า ไม่สามารถป้องกับการติดเชื้อได้ ทำได้แค่ลดความรุนแรงของโรค มองว่า หากกลุ่มบุคลากรด่านหน้าติดโควิดอาจทำให้การรักษาผู้ป่วยลำบากขึ้น และ อาจทำให้ผู้ป่วยกลุ่มอื่นที่ไม่ใช่โควิด ติดเชื้อเพิ่มไปด้วย นอกจากนี้ยังบอกอีกว่า เมื่อบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อ 1 คน ทำให้เพื่อนคนอื่น ๆ ทำงานหนักมากขึ้น
“ ทางแพทย์และทีมรักษา สิ่งที่กังวลมากกว่าการติดเชื้อ ก็คือเรื่องของการนำเชื้อไปสู่ผู้ป่วยนะครับ เพราะว่าในส่วนของ mRNA เนี่ย มันสามารถป้องกันที่เราจะสามารถนำติดเชื้อ แล้วนำเชื้อไปสู่ผู้ป่วยได้ครับ ในส่วนของซิโนแวคเอง มันสามารถลดการติดเชื้อได้จริง แต่ว่าเท่าที่เห็นก็คือ มันยังเกิดการติดเชื้อโดยเฉพาะสายพันธุ์ใหม่ ที่เกิดจากสายพันธุ์เดลต้านะครับ”
สำหรับภาพรวมการติดเชื้อและเสียชีวิตของบุคลากรทางการแพทย์ที่ฉีดวัคซีนในประเทศ มีข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลโควิด-19 ที่จัดทำขึ้นเมื่อวานนี้(12ก.ค.) ระบุว่า ในไทย มีบุคลากรทางการแพทย์ทั้งหมด 721,000 คน ได้รับการฉีดวัคซีน 700,000 คน ในจำนวนนี้พบการติดโควิด 707 คน ส่วนบุคลากรที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน มี 21,000 คน พบการติดเชื้อโควิด 173 คน /ข้อมูลนี้ถูกสรุปว่า ผู้ที่ไม่ฉีดวัคซีน มีโอกาสติดเชื้อมากกว่าคนที่ฉีดวัคซีนแล้ว 8 เท่า
JJNY : 4in1 ชาวโคราชนับร้อยต้องการเข็ม2เป็นแอสตร้าฯ│ชาวนนท์โวย!โดนเปลี่ยนสูตร│หมอจบใหม่ติดแม้ฉีดครบ│ชี้ศก.เสี่ยงขาลงหนัก
https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_6507399
บางรายถ่ายเซลฟี่คู่กับป้ายข้อความเป็นสีสัน อาทิ #ฉีดเข็มสองแล้วนะ, พวกเราฉีดวัคซีนเข็มสองแล้วเด้อ #เซ็นทรัลโคราช, ฉีดแล้วสบ๊ายยยย ฯลฯ ส่วนหนึ่งฉีดเข็มแรกฉีดซิโนแวคแต่เข็ม 2 ต้องการแอสตร้าเซนเนก้า เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน แต่บุคลากรไม่สามารถจัดเตรียมวัคซีนได้ตามที่ต้องการ จึงมีส่วนหนึ่งเดินทางกลับ
นายแพทย์เจษฎ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการภารกิจด้านอำนวยการโรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา เปิดเผยว่า ภารกิจนัดคิวการฉีดวัคซีน 1,600 คน ซึ่งมีผู้ตัดสินใจฉีดซิโนแวคเข็ม 2 ประมาณ 50 คน ที่เหลือจำนวนต้องการรอฉีดแอสตร้าเซนเนก้า สำหรับสูตรการเปลี่ยนแปลงวัคซีนถือเป็นการเพิ่มภูมิคุ้มกัน เนื่องจากสายพันธุ์เดลต้าเข้ามาระบาด ส่งผลให้ประสิทธิของวัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม ไม่สามารถต้านทานเชื้อกลายพันธุ์นี้ได้ ขณะนี้สถานะหลายแห่งมีวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าไม่เพียงพอต่อความต้องการ จึงชี้แจงสร้างการรับรู้ ทำความเข้าใจข้อเท็จจริง เพื่อให้ประชาชนรับทราบและตัดสินใจด้วยตัวเอง
ด้านนายปรีชา ศรีโสตถิกุล อายุ 70 ปี ชาว ต.ในเมือง อ.เมือง นครราชสีมา กล่าวว่า ตนและภรรยามาฉีดวัคซีนซิโนแวคเข็มที่ 2 กรณีต้องการเปลี่ยนวัคซีนเข็มที่ 2 เป็นแอสตร้าเซนเนก้า ต้องรอวันได้ จึงตัดสินใจฉีดมิเช่นนั้นต้องรอนาน และไม่ต้องการเดินทางบ่อยๆ ยอมรับกังวลเชื้อโรคกลายพันธุ์ทำให้วัคซีน 2 เข็มไม่น่าเพียงพอทำให้ปลอดภัย หากเป็นไปได้เข็มที่ 3 ต้องการฉีดวัคซีนทางเลือก หรือ MRNA ที่มีคุณภาพที่ดีกว่า
ชาวนนท์โวย! เดิมนัดฉีดแอสตร้าฯ โดนเปลี่ยนสูตร ซิโนแวค+แอสตร้าฯ
https://www.matichon.co.th/region/news_2827771
ชาวนนท์โวย! เดิมนัดฉีดแอสตร้าฯ โดนเปลี่ยนสูตรผสม ซิโนแวค โอดยอมทิ้ง ซิโนฟาร์ม กลับมาเจอซิโนแวค ลั่นไม่ฉีด
จากกรณีที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อเห็นชอบการฉีดวัคซีนโควิด-19 สลับชนิด โดยเข็มที่ 1 เป็นซิโนแวค เข็มที่ 2 เป็นแอสตร้าเซนเนก้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าโดยให้โรงพยาบาลต่างๆดำเนินการทันทีนั้น
ล่าสุดผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรีได้นำนโยบายดังกล่าวไปใช้แล้ว โดยพบว่ามีการปรับสูตรการฉีดใหม่ทั้งหมด แม้กระทั่งผู้ที่ได้รับการจองจัดสรรวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม ก็ถูกเปลี่ยนเป็นการฉีดวัคซีน ซิโนแวค 1 เข็ม และแแอสตร้าเซนเนก้า 1 เข็ม แทน ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับประชาชนเป็นจำนวนมาก
ทั้งนี้โพสต์ประกาศแจ้งนัดฉีดวัคซีนกับ “นนท์พร้อม” เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม มีการระบุยี่ห้อวัคซีนที่จะได้รับในแต่ละศูนย์ฉีดวัคซีนเช่น ที่แจ้งวัฒนะฮอล เซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ จะมีการฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าจำนวน 5,000
ก่อนที่ล่าสุดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี จะโพสต์ข้อความ แจ้งนัดฉีดวัคซีนกับ นนท์พร้อม ในวันที่ 13 กรกฎาคม โดยระบุว่ามีการ
”ปรับสูตรใหม่ ตามมติคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เริ่มตั้งแต่ 13 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป โดยเข็ม 1 จะเป็นวัคซีน Sinovac และเข็ม 2 AstraZeneca
ทั้งนี้มีประชาชนที่ได้รับนัดฉีดวัคซีนกับนนท์พร้อมเข้ามาแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะผู้ที่เดิมได้รับการจองวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเอาไว้ บ้างก็ประกาศว่าจะไม่ฉีดแน่นอน เนื่องจากรอมานานแต่มาถูกเปลี่ยนกลางคัน บางรายระบุว่า ยอมทิ้งคิวจองวัคซีนซิโนฟาร์ม เพื่อมาฉีดแอสตร้าเซนเนก้า แต่กลับถูกเปลี่ยนภายหลังก่อนฉีด
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1725007884362595&id=944802815716443
พบ “หมอจบใหม่” ติดโควิด-19 หลังช่วยงาน 2 สัปดาห์ แม้ฉีดวัคซีนครบ
https://www.pptvhd36.com/news/สุขภาพ/151623
มติที่จะกระตุ้นภูมิคุ้มกัน เข็มที่ 3 ให้บุคลากรทางการแพทย์ ด้วยวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า แทนวัคซีน mRNA ที่บุคลากรร้องขอ ถูกตั้งคำถามจากกลุ่มบุคลากรด่านหน้า และ ประชาชน ล่าสุด ทีมข่าวสัมภาษณ์เปิดใจ บุคลากรด่านหน้า ซึ่งเป็นหมอจบใหม่ ที่เพิ่งถูกขอให้ไปช่วยงานดูแลโควิดได้แค่ 2 สัปดาห์ ติดโควิดทั้งที่ฉีดวัคซีนครบ 2 โดส คุณหมอบอกว่า วัคซีนเชื้อตายไม่ทำให้สถานการณ์ดีขึ้น และ อาจหากแพทย์ติดโควิดจะทำให้ผู้ป่วยโรคอื่นเสี่ยงไปด้วย
นายแพทย์ ณัฐพล นุ่มอ่อน เป็นแพทย์อายุรแพทย์ชำนาญการ โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร จังหวัดชัยนาท ตั้งแต่ต้นปี 2564 คุณหมอณัฐพล เข้ากทม.เพื่อเรียนต่อเฉพาะทางเกี่ยวกับโรคระบบทางเดินหายใจ แต่หลังสถานการณ์โควิดวิกฤต ถูกขอให้อยู่ช่วยดูแลผู้ป่วยโควิด /ทำงานในแผนกผู้ป่วยวิกฤตทางเดินหายใจ โรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ ได้ 2 สัปดาห์ ก็พลาดติดเชื้อ ทั้งที่ฉีดวัคซีนซิโนแวค ครบ 2 เข็มแล้ว โดยตอนนี้ติดเชื้อนาน 5 วัน รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นที่ทำงาน แต่ตอนนี้เปลี่ยนสถานะเป็นคนไข้แทน
คุณหมอณัฐพล เล่าว่า ตอนที่ทำงานช่วยผู้ป่วยโควิด เขามีหน้าที่ดูแล ทำหัตถการให้ผู้ป่วยโควิดอาการหนัก 11 คน ทั้ง ใส่ท่อช่วยหายใจ เจาะเส้นเลือดดำ รวมไปถึงประเมินอาการอย่างใกล้ชิด งานทั้งหมดเป็นงานเสี่ยงสูงที่อาจติดเชื้อได้ตลอดเวลา โดยอาการเริ่มแรก ของคุณหมอณัฐพล คือ ไอ เจ็บคอ แต่ไม่ตัวร้อน ตอนแรกคิดว่าเกิดจากอาการภูมิแพ้ แต่จากนั้นพบมีแพทย์ในแผนกติดเชื้อ จึงไปตรวจและพบว่า เขาก็ติดเชื้อเช่นกัน
“มันมีเรื่องของการทำงานที่ต้องเข้าไปด้านในครับ เช่น ต้องไปทำหัตถการผู้ป่วยครับ ไปใส่ท่อช่วยหายใจ ไปใส่เส้นเลือดดำอะไรอย่างนี้ครับ ต้องไปทำหัตถการใดๆ ข้างใน มันก็มีโอกาสที่จะติดเชื้อในนั้นได้เหมือนกันครับ เพราะว่า คือเราป้องกันตัวไปดีอย่างนี้ครับ มันก็จะมีปัญหาในเรื่องของระหว่างทำงาน แบบบางทีมันมีอุบัติเหตุมีAccident เกิดขึ้นได้”
ทั้งนี้คุณหมอณัฐพล แสดงความเห็น กรณีที่ กระทรวงสาธารณสุข เตรียมฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า เป็นวัคซีนเข็มที่ 3 ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ โดยบอกว่า มองว่าอยากให้ฉีดวัคซีน mRNA ให้มากกว่า เพราะ วัคซีนที่ทำจากเชื้อตาย ทั้ง ซิโนแวค และ แอสตร้าเซนเนก้า ไม่สามารถป้องกับการติดเชื้อได้ ทำได้แค่ลดความรุนแรงของโรค มองว่า หากกลุ่มบุคลากรด่านหน้าติดโควิดอาจทำให้การรักษาผู้ป่วยลำบากขึ้น และ อาจทำให้ผู้ป่วยกลุ่มอื่นที่ไม่ใช่โควิด ติดเชื้อเพิ่มไปด้วย นอกจากนี้ยังบอกอีกว่า เมื่อบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อ 1 คน ทำให้เพื่อนคนอื่น ๆ ทำงานหนักมากขึ้น
“ ทางแพทย์และทีมรักษา สิ่งที่กังวลมากกว่าการติดเชื้อ ก็คือเรื่องของการนำเชื้อไปสู่ผู้ป่วยนะครับ เพราะว่าในส่วนของ mRNA เนี่ย มันสามารถป้องกันที่เราจะสามารถนำติดเชื้อ แล้วนำเชื้อไปสู่ผู้ป่วยได้ครับ ในส่วนของซิโนแวคเอง มันสามารถลดการติดเชื้อได้จริง แต่ว่าเท่าที่เห็นก็คือ มันยังเกิดการติดเชื้อโดยเฉพาะสายพันธุ์ใหม่ ที่เกิดจากสายพันธุ์เดลต้านะครับ”
สำหรับภาพรวมการติดเชื้อและเสียชีวิตของบุคลากรทางการแพทย์ที่ฉีดวัคซีนในประเทศ มีข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลโควิด-19 ที่จัดทำขึ้นเมื่อวานนี้(12ก.ค.) ระบุว่า ในไทย มีบุคลากรทางการแพทย์ทั้งหมด 721,000 คน ได้รับการฉีดวัคซีน 700,000 คน ในจำนวนนี้พบการติดโควิด 707 คน ส่วนบุคลากรที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน มี 21,000 คน พบการติดเชื้อโควิด 173 คน /ข้อมูลนี้ถูกสรุปว่า ผู้ที่ไม่ฉีดวัคซีน มีโอกาสติดเชื้อมากกว่าคนที่ฉีดวัคซีนแล้ว 8 เท่า