กมธ.งบฯ ล่ม! เพื่อไทย โวยพปชร. หนีประชุมไปขอนแก่น ไล่ ถ้าไม่ทำหน้าที่ก็ออกไป
https://www.matichon.co.th/politics/news_2781712
กมธ.งบฯ ล่ม หลัง กมธ.ซีก พปชร. หายไปขอนแก่น “วิเชียร” สั่งปิดการประชุมเลยโดยไม่นับองค์ประชุม “เพื่อไทย” บอก งง นี่ใครเป็นรบ.ใครเป็นฝ่ายค้าน อัด ถ้าทำหน้าที่ไม่ได้ก็อออกไป
เมื่อเวลา 17.00 น. วันที่ 17 มิถุนายน ที่รัฐสภา นาย
ยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม และนาย
จิรายุ ห่วงทรัพย์ ส.ส.กทม. ในฐานะโฆษกกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 โดยนาย
ยุทธพงศ์ กล่าวว่า วันนี้เป็นการประชุมงบในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ เริ่มตั้งแต่ เวลา 09.00 น. ก่อนจะพักประชุมเพื่อทานข้างกลางวัน พอเข้ามาช่วงบ่ายก็พิจารณาต่อ โดยกำลังจะเข้าสู่การพิจารณางบของกรมการค้าภายใน และกรมทรัพย์สินทางปัญญญา แต่ยังไม่ทันได้มีการพิจารณากำลังเสนอภาพรวม แต่มีกมธ.อยู่ในห้องประชุมน้อยมาก กมธ.ชุดนี้มี 72 คน ต้องมีองค์ประชุม 1 ใน 3 จึงจะพิจารณาได้ นาย
พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน ส.ส.เชียงราย พรรคพท. จึงเสนอนับองค์ประชุม ขณะนั้น มีฟากรัฐบาลนั่งอยู่เพียงประมาณ 12 คน ผู้มาชี้แจงมีจำนวนมากกว่า กมธ.เสียอีก เมื่อมีการเสนอนับองค์ประชุม จึงได้มีการสั่งให้พักการประชุม 10 นาที ให้ไปตามส.ส.จากห้องประชุมใหญ่มา แต่ก็ไม่มีกมธ.อยู่ในห้องประชุมใหญ่ จากนั้นเวลา 16.50 น. นาย
วิเชียร ชวลิต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ซึ่งทำหน้าที่ประธาน กมธ. จึงสั่งเลิกประชุมเลย โดยไม่นับองค์ประชุม เพราะนับไปก็รู้ว่าไม่ครบ และนัดประชุมใหม่ในวันที่ 18 มิถุนายน เวลา 09.00 น. ซึ่งตนก็ไม่รู้ว่า องค์ประชุมจะครบ จนเปิดประชุมได้หรือไม่ ทั้งนี้ งบประมาณถือเป็นกฎหมายสำคัญ เรากำลังพิจารณางบประมาณกว่า 3.1 ล้านล้านบาท แต่ กมธ.ซีกรัฐบาลกลับไม่มีความรับผิดชอบ
ด้าน นาย
จิรายุ กล่าวว่า ซีกพปชร.ไม่อยู่เพราะไปขอนแก่น มีซีกประชาธิปัตย์ (ปชป.) ที่เข้ามาร่วมประชุมมากพอสมควรก็ยังงงๆ แม้แต่นาย
วิรัช รัตนเศรษฐ ประธานวิปรัฐบาลยังไม่อยู่ พวกตนนั่งเป็นองค์ประชุม นั่งซักผู้ที่มาชี้แจง จนพวกตนก็งง ว่านี่พวกตนเป็นรัฐบาล หรือฝ่ายค้าน ทั้งนี้ พวกตนในฐานะฝ่ายค้านไม่ได้ตีรวน แต่คิดว่า รัฐบาลควรเป็นตัวนำในการซักถาม และรัฐบาลควรให้ความสำคัญกับงบประมาณ เพราะงบประมาณที่จัดมานี้เป็นการจัดก่อนสถานการณ์โควิดระลอกที่ 3 ยิ่งต้องซักถามเพื่อนำมาปรับปรุง พวกตนรู้สึกผิดหวังกับการที่กมธ.ฟากรัฐบาลหายไปเช่นนี้ ก่อนเลิกประชุมเหลือ กมธ.ฟากรัฐบาลอยู่เพียง 10 กว่าคนเท่านั้น ส่วนใหญ่เป็นปชป. และภูมิใจไทย (ภท.) มีเพียงประธานที่ประชุมเท่านั้นที่เป็นพปชร. ตนอยากเรียนไปยังฟากรัฐบาลว่า รัฐบาลต้องรักษามารยาททางการเมือง ถ้าท่านทำไม่ได้ก็ออกไป แล้วให้ฝ่ายค้านขึ้นมาเป็นรัฐบาลดู เราจะทำให้ดูว่าองค์ประชุมนั่งกันอยู่ครบเป็นอย่างไร
ทำเนียบฯผวาซ้ำ หลังสภาพบแม่บ้านติดเชื้อโควิด-19 เผยทำหน้าที่ห้องรับรอง ครม.
https://www.matichon.co.th/politics/news_2782022
ทำเนียบฯผวาซ้ำ หลังสภาพบแม่บ้านติดเชื้อโควิด-19 เผยทำหน้าที่ห้องรับรอง ครม.ช่วงพิจารณางบฯ และ พ.ร.ก.กู้เงิน
ผู้สื่อข่าวรายงานจากทำเนียบรัฐบาล ว่าหลังจากที่สภาผู้แทนราษฎรพบลูกจ้างของสำนักงานเลขาธิการสภาฯ ซึ่งเป็นข้าราชการที่เกษียณอายุราชการที่เข้ามาช่วยงานช่วงการประชุมสภาที่บริเวณชั้น 2 ของอาคารประชุม ติดเชื้อโควิด-19 และอยู่ระหว่างการเข้ารับการรักษา
ล่าสุด มีการแจ้งประสานมายังทำเนียบรัฐบาลให้ผู้บังคับบัญชารับทราบกรณีที่เกิดขึ้นเนื่องจากแม่บ้านคนดังกล่าวทำหน้าที่ประจำอยู่ห้องรับรองคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชั้น 3 ตรวจพบเชื้อโควิดเมื่อวันที่ 16 มิถุนายนที่ผ่านมา ซึ่งจากการตรวจสอบไทม์ไลน์ แม่บ้านคนดังกล่าวเข้ามาปฏิบัติงานที่ห้อง ครม.ชั้น 3 ในวันที่ 31 พ.ค.-2 มิ.ย. ซึ่งมีการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 และเมื่อวันที่ 9 มิ.ย. ซึ่งเป็นการพิจารณาร่างพระราชกำหนดกู้เงิน 500,000 ล้านบาท ทั้งนี้ เมื่อทางทำเนียบรับทราบได้มีการแจ้งและประสานไปยังผู้เกี่ยวข้องว่าผู้ใดสัมผัสใกล้ชิดกับแม่บ้านคนดังกล่าว ขอให้พิจารณาดำเนินการตามตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขต่อไป
“ส่งออก” สำลักพิษค่าขนส่ง ต้นทุนพุ่ง ลูกค้าเลื่อนรับสินค้า
https://www.prachachat.net/economy/news-691443
ค่าระวางเรือพุ่ง ทุบส่งออกไทย Q3 ลูกค้าต่างประเทศแห่ขอ “เลื่อนรับมอบสินค้า” พืชผลเกษตร อาหารแปรรูปอ่วมสุด “เอเซีย โกลเด้น ไรซ์-ซี.พี.อินเตอร์เทรด” โอดส่งออกข้าวไปสหรัฐต้นทุนขนส่งตันละ 500 เหรียญ แพงแซงราคาข้าวเปลือก อาหารกระป๋องเจอ 2 เด้ง ต้นทุนกระป๋องขึ้นพุ่ง 20% “พาณิชย์” เร่งช่วยเปิดทางเรือขนคอนเทนเนอร์เข้าอีก 2 ลำ มิ.ย.นี้ กัดฟันยืนเป้าส่งออกปี’64 โต 4%
วิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด-19 แม้จะฉุดรายได้การท่องเที่ยว การลงทุน และการบริโภคภายใน แต่การส่งออกช่วง 4 เดือนแรก (ม.ค.-เม.ย.) ปี 2564 ขยายตัว 4.78% ถือเป็นเครื่องจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม ล่าสุดสัญญาณการส่งออกในช่วงไตรมาส 3 แนวโน้มอาจไม่สดใสเหมือนที่คาดการณ์ไว้ จากปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ที่ยังเกิดขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ประเทศผู้ส่งออกต้องเปิดศึกแย่งชิงตู้คอนเทนเนอร์เพื่อการส่งออกหลังเศรษฐกิจทั่วโลกเริ่มฟื้น เกิดปัญหาต้นทุนค่าระวางเรือ หรือค่าเฟรตปรับตัวสูงขึ้นมาก
ปัญหาดังกล่าว กดดันให้สินค้าส่งออกไทยหลายรายการต้องปรับขึ้นราคา ทำให้ผู้นำเข้าในต่างประเทศแบกรับราคาไม่ไหว ขอเลื่อนการส่งมอบสินค้าตามสัญญาออกไป
วิกฤตซ้อนวิกฤต
นาย
วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้ได้เกิดปรากฏการณ์ลูกค้าปลายทางในต่างประเทศขอเลื่อนระยะเวลาส่งมอบสินค้าจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ
สาเหตุหลักมาจากค่าระวางการขนส่งสินค้าทางเรือหรือค่าเฟรตพุ่งสูงขึ้นมาก จากก่อนหน้านี้ที่เกิดปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ไม่เพียงพอส่งออก ประกอบกับต้นทุนของผู้ส่งออกปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง ทำให้หลายอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบรุนแรง
“ภาพรวมการส่งออกที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้ ตลาดส่งออกไม่ได้มีปัญหา แต่ปัญหาที่ต่อเนื่องเป็นเรื่องการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ ปริมาณตู้ไม่เพียงพอส่งออก ถึงตอนนี้ลูกค้าขอเลื่อนส่งมอบสินค้าเพราะค่าเฟรตแพง ผลที่เกิดขึ้นอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปถูกกระทบมาก โดยเฉพาะผักและผลไม้ และอาหารทะเลกระป๋อง ที่เดิมได้รับผลกระทบจากต้นทุนกระป๋องที่เพิ่มขึ้นอยู่แล้ว
เมื่อค่าระวางเรือปรับขึ้นจึงเหมือนเจอวิกฤตซ้อนวิกฤต สวนทางกับตลาดที่ต้องการสินค้าราคาถูกลง เพราะเศรษฐกิจไม่ดี หากเทียบกันแล้ว เวลานี้ต้นทุนผู้ส่งออกวิ่งเร็วกว่าอัตราการขยายตัวของการส่งออก”
นาย
วิศิษฐ์กล่าวว่า ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับต้นทุนการผลิตของผู้ส่งออกที่ปรับสูงขึ้นมาจากความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้นฉับพลัน จากก่อนหน้านี้เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงัก ผู้ผลิตที่เคยผลิตสินค้าบางชนิดก็ลดปริมาณการผลิต และปริมาณการสต๊อกสินค้า ภายหลังเมื่อมีการฉีดวัคซีน เศรษฐกิจเริ่มกลับมา การผลิตเพื่อการส่งออกกลับมา แต่วัตถุดิบบางอย่างอาจมีปัญหา เพราะไม่มีใครสต๊อกไว้ ตัวอย่าง เช่น ชิปอิเล็กทรอนิกส์ เหล็ก ยาง พลาสติก ฝ้าย โพลีเอสเตอร์ เมื่อความต้องการพลิกกลับมาจึงเกิดการขาดแคลน ทำให้ต้นทุนพุ่งสูงขึ้น
ต้นทุนอาหารสำเร็จรูปพุ่ง 50%
นาย
ธรรศ ทังสมบัติ นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูปไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันคำสั่งซื้อในกลุ่มสินค้าอาหารแปรรูป โดยเฉพาะตลาดสำคัญยังอยู่ที่สหรัฐ และยุโรป ซึ่งเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้นจากการฉีดวัคซีนให้กับประชากรในประเทศ ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจ การบริโภคฟื้นตัว มีความต้องการสินค้า และมีคำสั่งซื้อสินค้าอาหารแปรรูปไทยเข้ามาอย่างต่อเนื่อง
สมาคมคาดว่าปี 2564 ภาพรวมการส่งออกจะขยายตัว 3-5% แต่สิ่งที่ผู้ส่งออกอาหารแปรรูปเป็นห่วง และเกรงว่าจะกลายเป็นอุปสรรคมากระทบต่อการส่งออก คือ เรื่องของค่าระวางเรือที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะช่วงไตรมาส 4 ปีนี้
เห็นได้จากค่าระวางเรือเส้นทางสหรัฐขึ้นมาอยู่ที่ 10,000 เหรียญสหรัฐต่อตู้ 20 ฟุต จากเดิม 3,000-4,000 เหรียญสหรัฐต่อตู้ 20 ฟุต เส้นทางยุโรปขึ้นมาอยู่ที่ 4,000 เหรียญสหรัฐต่อตู้ 20 ฟุต จากเดิมอยู่ที่ 1,200-1,300 เหรียญสหรัฐต่อตู้ ซึ่งจะลดแรงจูงใจผู้นำเข้าในการนำเข้าสินค้า เนื่องจากต้นทุนพุ่งสูงขึ้นหลายเท่าตัว ขณะที่ต้นทุนการผลิตสินค้าจากแผ่นเหล็กที่นำมาผลิตเป็นกระป๋องก็ขยับสูงขึ้นด้วย ส่วนนี้คิดเป็นต้นทุนสินค้าที่ 40-50% ซึ่งสูงมาก นอกจากนี้ยังมีปัญหาขาดแคลนแรงงานเก็บเกี่ยววัตถุดิบ ฯลฯ
ค่าเฟรตเรือแพงกว่าข้าวเปลือก
นาย
สมบัติ เฉลิมวุฒินันท์ ประธานบริษัท เอเซีย โกลเด้นท์ ไรซ์ จำกัด เปิดเผยว่า สถานการณ์การส่งออกข้าวไทยลดลงต่อเนื่องเช่นเดียวกัน โดยช่วง 4 เดือนแรก ไทยส่งออกได้เพียง 1.45 ล้านตัน ลดลง 31% ยิ่งเจอปัญหาตู้เรือหายาก แถมตอนนี้ค่าเฟรตเรือไปยุโรป สหรัฐ ปรับขึ้นสูงกว่า 100% โดยเฉพาะตลาดสหรัฐ ซึ่งเป็นตลาดส่งออกข้าวหอมมะลิสำคัญ ค่าเฟรตขึ้นไปถึง 10,000 เหรียญสหรัฐต่อตู้ คำนวณแล้วค่าเฟรต “แพงกว่า” ราคาข้าวเปลือก เรากำลังหาแนวทางแก้ไข แต่เป็นปัจจัยภายนอกควบคุมได้ลำบาก
ด้านนาย
สุเมธ เหล่าโมราพร ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด เปิดเผยทำนองเดียวกันว่า ตอนนี้สถานการณ์ราคาข้าวที่ขายแบบราคา เอฟ.โอ.บี. ปรับลดลงจาก 1,000 เหรียญสหรัฐ เหลือ 800 เหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นราคาข้าวเปลือกแห้งลดลงจากตันละ 16,000-18,000 บาท เหลือ 11,000 บาท แต่ถ้ารวมค่าเฟรตเรือ ราคาจะขยับขึ้นมาก
ปัจจุบันค่าระวางไปตลาดสหรัฐ ตู้ละ 10,000 เหรียญ ถ้าบรรจุตู้ขนาด 20 ตัน เฉลี่ยตันละ 500 เหรียญสหรัฐแล้ว ซึ่งต้นทุนนี้ผู้ส่งออกทุกประเทศที่ส่งออกไปสหรัฐขยับขึ้นเหมือนกัน เวียดนามก็แพง ไทยก็แพง แต่อินเดียจะได้เปรียบไทย เพราะถ้าเป็นตลาดส่งออกแอฟริกาจะอยู่ใกล้อินเดียมากกว่าไทยที่ต้องส่งออกไปทางแหลมมลายู ทำให้อินเดียมีต้นทุนค่าขนส่งถูกกว่าไทย
“แต่สิ่งที่น่าห่วงเป็นปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ หรือตู้เรือชอร์ตมากกว่าต้นทุนค่าเฟรต เพราะลูกค้าเราส่วนใหญ่จะเป็นพรีเมี่ยม ต้นทุนข้าวแพงราคาขายปลีกยังไปได้ เพราะเวียดนามก็แพงด้วย แต่ตู้ชอร์ตทำให้ออร์เดอร์ที่รับไว้ส่งออกไม่ได้
สมมุติผู้ส่งออกรับออร์เดอร์มาได้ 100% หาเรือได้แค่ 30% ขาดตู้อีก 70% ก็ต้องรอเรือ คาดว่าปัญหานี้จะอยู่กับเราไปถึงปลายปี การหมุนเวียนตู้จึงจะกลับมา ส่วนตัวมองว่าปีนี้ไทยน่าจะส่งออกข้าวได้ 5 ล้านตัน จากปี 2563 ส่งออกได้ 5.5 ล้านตัน”
ขณะเดียวกัน ผลจากการที่ราคาส่งออกข้าวปรับลดลง ด้านหนึ่งอาจจะทำให้ผู้ซื้อหันมาซื้อข้าวไทย ทำให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน แต่อีกด้านหนึ่งรัฐบาลจะต้องจ่ายชดเชยมากขึ้น และมีผลต่อกำลังซื้อในประเทศด้วย
การ์เมนต์เจอโรคเลื่อนด้วย
ด้านนาย
ยุทธนา ศิลป์สรรค์วิชช์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย และประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ผู้ส่งออกเครื่องนุ่งห่มก็มีปัญหาถูกลูกค้าเลื่อนการรับมอบสินค้าจากต้นทุนค่าเฟรตปรับสูงขึ้นเช่นกัน ส่วนใหญ่เป็นลูกค้าในสหรัฐ และสหภาพยุโรป
ทั้งนี้ ต้นทุนค่าเฟรตจะคิดเป็นสัดส่วน 3-8% แล้วแต่สินค้าที่ส่งออก ถ้าส่งออกเต็มตู้ ต้นทุนค่าเฟรตจะอยู่ที่ 3-4% แต่ถ้าผลิตส่งออกปริมาณไม่มาก ไม่เต็มตู้ ต้นทุนจะอยู่ที่ 6-8% มองว่าแนวโน้มค่าเฟรตน่าจะค่อย ๆ ลดลงช่วงปลายปี
JJNY : 4in1 กมธ.งบฯล่ม!โวยพปชร.หนีประชุม│สภาพบแม่บ้านติดโควิด│“ส่งออก”สำลักพิษค่าขนส่ง│แพทย์อินโดติดโควิดแม้ฉีดวัคซีน
https://www.matichon.co.th/politics/news_2781712
กมธ.งบฯ ล่ม หลัง กมธ.ซีก พปชร. หายไปขอนแก่น “วิเชียร” สั่งปิดการประชุมเลยโดยไม่นับองค์ประชุม “เพื่อไทย” บอก งง นี่ใครเป็นรบ.ใครเป็นฝ่ายค้าน อัด ถ้าทำหน้าที่ไม่ได้ก็อออกไป
เมื่อเวลา 17.00 น. วันที่ 17 มิถุนายน ที่รัฐสภา นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม และนายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ส.ส.กทม. ในฐานะโฆษกกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 โดยนายยุทธพงศ์ กล่าวว่า วันนี้เป็นการประชุมงบในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ เริ่มตั้งแต่ เวลา 09.00 น. ก่อนจะพักประชุมเพื่อทานข้างกลางวัน พอเข้ามาช่วงบ่ายก็พิจารณาต่อ โดยกำลังจะเข้าสู่การพิจารณางบของกรมการค้าภายใน และกรมทรัพย์สินทางปัญญญา แต่ยังไม่ทันได้มีการพิจารณากำลังเสนอภาพรวม แต่มีกมธ.อยู่ในห้องประชุมน้อยมาก กมธ.ชุดนี้มี 72 คน ต้องมีองค์ประชุม 1 ใน 3 จึงจะพิจารณาได้ นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน ส.ส.เชียงราย พรรคพท. จึงเสนอนับองค์ประชุม ขณะนั้น มีฟากรัฐบาลนั่งอยู่เพียงประมาณ 12 คน ผู้มาชี้แจงมีจำนวนมากกว่า กมธ.เสียอีก เมื่อมีการเสนอนับองค์ประชุม จึงได้มีการสั่งให้พักการประชุม 10 นาที ให้ไปตามส.ส.จากห้องประชุมใหญ่มา แต่ก็ไม่มีกมธ.อยู่ในห้องประชุมใหญ่ จากนั้นเวลา 16.50 น. นายวิเชียร ชวลิต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ซึ่งทำหน้าที่ประธาน กมธ. จึงสั่งเลิกประชุมเลย โดยไม่นับองค์ประชุม เพราะนับไปก็รู้ว่าไม่ครบ และนัดประชุมใหม่ในวันที่ 18 มิถุนายน เวลา 09.00 น. ซึ่งตนก็ไม่รู้ว่า องค์ประชุมจะครบ จนเปิดประชุมได้หรือไม่ ทั้งนี้ งบประมาณถือเป็นกฎหมายสำคัญ เรากำลังพิจารณางบประมาณกว่า 3.1 ล้านล้านบาท แต่ กมธ.ซีกรัฐบาลกลับไม่มีความรับผิดชอบ
ด้าน นายจิรายุ กล่าวว่า ซีกพปชร.ไม่อยู่เพราะไปขอนแก่น มีซีกประชาธิปัตย์ (ปชป.) ที่เข้ามาร่วมประชุมมากพอสมควรก็ยังงงๆ แม้แต่นายวิรัช รัตนเศรษฐ ประธานวิปรัฐบาลยังไม่อยู่ พวกตนนั่งเป็นองค์ประชุม นั่งซักผู้ที่มาชี้แจง จนพวกตนก็งง ว่านี่พวกตนเป็นรัฐบาล หรือฝ่ายค้าน ทั้งนี้ พวกตนในฐานะฝ่ายค้านไม่ได้ตีรวน แต่คิดว่า รัฐบาลควรเป็นตัวนำในการซักถาม และรัฐบาลควรให้ความสำคัญกับงบประมาณ เพราะงบประมาณที่จัดมานี้เป็นการจัดก่อนสถานการณ์โควิดระลอกที่ 3 ยิ่งต้องซักถามเพื่อนำมาปรับปรุง พวกตนรู้สึกผิดหวังกับการที่กมธ.ฟากรัฐบาลหายไปเช่นนี้ ก่อนเลิกประชุมเหลือ กมธ.ฟากรัฐบาลอยู่เพียง 10 กว่าคนเท่านั้น ส่วนใหญ่เป็นปชป. และภูมิใจไทย (ภท.) มีเพียงประธานที่ประชุมเท่านั้นที่เป็นพปชร. ตนอยากเรียนไปยังฟากรัฐบาลว่า รัฐบาลต้องรักษามารยาททางการเมือง ถ้าท่านทำไม่ได้ก็ออกไป แล้วให้ฝ่ายค้านขึ้นมาเป็นรัฐบาลดู เราจะทำให้ดูว่าองค์ประชุมนั่งกันอยู่ครบเป็นอย่างไร
ทำเนียบฯผวาซ้ำ หลังสภาพบแม่บ้านติดเชื้อโควิด-19 เผยทำหน้าที่ห้องรับรอง ครม.
https://www.matichon.co.th/politics/news_2782022
ทำเนียบฯผวาซ้ำ หลังสภาพบแม่บ้านติดเชื้อโควิด-19 เผยทำหน้าที่ห้องรับรอง ครม.ช่วงพิจารณางบฯ และ พ.ร.ก.กู้เงิน
ผู้สื่อข่าวรายงานจากทำเนียบรัฐบาล ว่าหลังจากที่สภาผู้แทนราษฎรพบลูกจ้างของสำนักงานเลขาธิการสภาฯ ซึ่งเป็นข้าราชการที่เกษียณอายุราชการที่เข้ามาช่วยงานช่วงการประชุมสภาที่บริเวณชั้น 2 ของอาคารประชุม ติดเชื้อโควิด-19 และอยู่ระหว่างการเข้ารับการรักษา
ล่าสุด มีการแจ้งประสานมายังทำเนียบรัฐบาลให้ผู้บังคับบัญชารับทราบกรณีที่เกิดขึ้นเนื่องจากแม่บ้านคนดังกล่าวทำหน้าที่ประจำอยู่ห้องรับรองคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชั้น 3 ตรวจพบเชื้อโควิดเมื่อวันที่ 16 มิถุนายนที่ผ่านมา ซึ่งจากการตรวจสอบไทม์ไลน์ แม่บ้านคนดังกล่าวเข้ามาปฏิบัติงานที่ห้อง ครม.ชั้น 3 ในวันที่ 31 พ.ค.-2 มิ.ย. ซึ่งมีการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 และเมื่อวันที่ 9 มิ.ย. ซึ่งเป็นการพิจารณาร่างพระราชกำหนดกู้เงิน 500,000 ล้านบาท ทั้งนี้ เมื่อทางทำเนียบรับทราบได้มีการแจ้งและประสานไปยังผู้เกี่ยวข้องว่าผู้ใดสัมผัสใกล้ชิดกับแม่บ้านคนดังกล่าว ขอให้พิจารณาดำเนินการตามตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขต่อไป
“ส่งออก” สำลักพิษค่าขนส่ง ต้นทุนพุ่ง ลูกค้าเลื่อนรับสินค้า
https://www.prachachat.net/economy/news-691443
ค่าระวางเรือพุ่ง ทุบส่งออกไทย Q3 ลูกค้าต่างประเทศแห่ขอ “เลื่อนรับมอบสินค้า” พืชผลเกษตร อาหารแปรรูปอ่วมสุด “เอเซีย โกลเด้น ไรซ์-ซี.พี.อินเตอร์เทรด” โอดส่งออกข้าวไปสหรัฐต้นทุนขนส่งตันละ 500 เหรียญ แพงแซงราคาข้าวเปลือก อาหารกระป๋องเจอ 2 เด้ง ต้นทุนกระป๋องขึ้นพุ่ง 20% “พาณิชย์” เร่งช่วยเปิดทางเรือขนคอนเทนเนอร์เข้าอีก 2 ลำ มิ.ย.นี้ กัดฟันยืนเป้าส่งออกปี’64 โต 4%
วิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด-19 แม้จะฉุดรายได้การท่องเที่ยว การลงทุน และการบริโภคภายใน แต่การส่งออกช่วง 4 เดือนแรก (ม.ค.-เม.ย.) ปี 2564 ขยายตัว 4.78% ถือเป็นเครื่องจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม ล่าสุดสัญญาณการส่งออกในช่วงไตรมาส 3 แนวโน้มอาจไม่สดใสเหมือนที่คาดการณ์ไว้ จากปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ที่ยังเกิดขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ประเทศผู้ส่งออกต้องเปิดศึกแย่งชิงตู้คอนเทนเนอร์เพื่อการส่งออกหลังเศรษฐกิจทั่วโลกเริ่มฟื้น เกิดปัญหาต้นทุนค่าระวางเรือ หรือค่าเฟรตปรับตัวสูงขึ้นมาก
ปัญหาดังกล่าว กดดันให้สินค้าส่งออกไทยหลายรายการต้องปรับขึ้นราคา ทำให้ผู้นำเข้าในต่างประเทศแบกรับราคาไม่ไหว ขอเลื่อนการส่งมอบสินค้าตามสัญญาออกไป
วิกฤตซ้อนวิกฤต
นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้ได้เกิดปรากฏการณ์ลูกค้าปลายทางในต่างประเทศขอเลื่อนระยะเวลาส่งมอบสินค้าจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ
สาเหตุหลักมาจากค่าระวางการขนส่งสินค้าทางเรือหรือค่าเฟรตพุ่งสูงขึ้นมาก จากก่อนหน้านี้ที่เกิดปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ไม่เพียงพอส่งออก ประกอบกับต้นทุนของผู้ส่งออกปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง ทำให้หลายอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบรุนแรง
“ภาพรวมการส่งออกที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้ ตลาดส่งออกไม่ได้มีปัญหา แต่ปัญหาที่ต่อเนื่องเป็นเรื่องการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ ปริมาณตู้ไม่เพียงพอส่งออก ถึงตอนนี้ลูกค้าขอเลื่อนส่งมอบสินค้าเพราะค่าเฟรตแพง ผลที่เกิดขึ้นอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปถูกกระทบมาก โดยเฉพาะผักและผลไม้ และอาหารทะเลกระป๋อง ที่เดิมได้รับผลกระทบจากต้นทุนกระป๋องที่เพิ่มขึ้นอยู่แล้ว
เมื่อค่าระวางเรือปรับขึ้นจึงเหมือนเจอวิกฤตซ้อนวิกฤต สวนทางกับตลาดที่ต้องการสินค้าราคาถูกลง เพราะเศรษฐกิจไม่ดี หากเทียบกันแล้ว เวลานี้ต้นทุนผู้ส่งออกวิ่งเร็วกว่าอัตราการขยายตัวของการส่งออก”
นายวิศิษฐ์กล่าวว่า ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับต้นทุนการผลิตของผู้ส่งออกที่ปรับสูงขึ้นมาจากความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้นฉับพลัน จากก่อนหน้านี้เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงัก ผู้ผลิตที่เคยผลิตสินค้าบางชนิดก็ลดปริมาณการผลิต และปริมาณการสต๊อกสินค้า ภายหลังเมื่อมีการฉีดวัคซีน เศรษฐกิจเริ่มกลับมา การผลิตเพื่อการส่งออกกลับมา แต่วัตถุดิบบางอย่างอาจมีปัญหา เพราะไม่มีใครสต๊อกไว้ ตัวอย่าง เช่น ชิปอิเล็กทรอนิกส์ เหล็ก ยาง พลาสติก ฝ้าย โพลีเอสเตอร์ เมื่อความต้องการพลิกกลับมาจึงเกิดการขาดแคลน ทำให้ต้นทุนพุ่งสูงขึ้น
ต้นทุนอาหารสำเร็จรูปพุ่ง 50%
นายธรรศ ทังสมบัติ นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูปไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันคำสั่งซื้อในกลุ่มสินค้าอาหารแปรรูป โดยเฉพาะตลาดสำคัญยังอยู่ที่สหรัฐ และยุโรป ซึ่งเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้นจากการฉีดวัคซีนให้กับประชากรในประเทศ ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจ การบริโภคฟื้นตัว มีความต้องการสินค้า และมีคำสั่งซื้อสินค้าอาหารแปรรูปไทยเข้ามาอย่างต่อเนื่อง
สมาคมคาดว่าปี 2564 ภาพรวมการส่งออกจะขยายตัว 3-5% แต่สิ่งที่ผู้ส่งออกอาหารแปรรูปเป็นห่วง และเกรงว่าจะกลายเป็นอุปสรรคมากระทบต่อการส่งออก คือ เรื่องของค่าระวางเรือที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะช่วงไตรมาส 4 ปีนี้
เห็นได้จากค่าระวางเรือเส้นทางสหรัฐขึ้นมาอยู่ที่ 10,000 เหรียญสหรัฐต่อตู้ 20 ฟุต จากเดิม 3,000-4,000 เหรียญสหรัฐต่อตู้ 20 ฟุต เส้นทางยุโรปขึ้นมาอยู่ที่ 4,000 เหรียญสหรัฐต่อตู้ 20 ฟุต จากเดิมอยู่ที่ 1,200-1,300 เหรียญสหรัฐต่อตู้ ซึ่งจะลดแรงจูงใจผู้นำเข้าในการนำเข้าสินค้า เนื่องจากต้นทุนพุ่งสูงขึ้นหลายเท่าตัว ขณะที่ต้นทุนการผลิตสินค้าจากแผ่นเหล็กที่นำมาผลิตเป็นกระป๋องก็ขยับสูงขึ้นด้วย ส่วนนี้คิดเป็นต้นทุนสินค้าที่ 40-50% ซึ่งสูงมาก นอกจากนี้ยังมีปัญหาขาดแคลนแรงงานเก็บเกี่ยววัตถุดิบ ฯลฯ
ค่าเฟรตเรือแพงกว่าข้าวเปลือก
นายสมบัติ เฉลิมวุฒินันท์ ประธานบริษัท เอเซีย โกลเด้นท์ ไรซ์ จำกัด เปิดเผยว่า สถานการณ์การส่งออกข้าวไทยลดลงต่อเนื่องเช่นเดียวกัน โดยช่วง 4 เดือนแรก ไทยส่งออกได้เพียง 1.45 ล้านตัน ลดลง 31% ยิ่งเจอปัญหาตู้เรือหายาก แถมตอนนี้ค่าเฟรตเรือไปยุโรป สหรัฐ ปรับขึ้นสูงกว่า 100% โดยเฉพาะตลาดสหรัฐ ซึ่งเป็นตลาดส่งออกข้าวหอมมะลิสำคัญ ค่าเฟรตขึ้นไปถึง 10,000 เหรียญสหรัฐต่อตู้ คำนวณแล้วค่าเฟรต “แพงกว่า” ราคาข้าวเปลือก เรากำลังหาแนวทางแก้ไข แต่เป็นปัจจัยภายนอกควบคุมได้ลำบาก
ด้านนายสุเมธ เหล่าโมราพร ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด เปิดเผยทำนองเดียวกันว่า ตอนนี้สถานการณ์ราคาข้าวที่ขายแบบราคา เอฟ.โอ.บี. ปรับลดลงจาก 1,000 เหรียญสหรัฐ เหลือ 800 เหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นราคาข้าวเปลือกแห้งลดลงจากตันละ 16,000-18,000 บาท เหลือ 11,000 บาท แต่ถ้ารวมค่าเฟรตเรือ ราคาจะขยับขึ้นมาก
ปัจจุบันค่าระวางไปตลาดสหรัฐ ตู้ละ 10,000 เหรียญ ถ้าบรรจุตู้ขนาด 20 ตัน เฉลี่ยตันละ 500 เหรียญสหรัฐแล้ว ซึ่งต้นทุนนี้ผู้ส่งออกทุกประเทศที่ส่งออกไปสหรัฐขยับขึ้นเหมือนกัน เวียดนามก็แพง ไทยก็แพง แต่อินเดียจะได้เปรียบไทย เพราะถ้าเป็นตลาดส่งออกแอฟริกาจะอยู่ใกล้อินเดียมากกว่าไทยที่ต้องส่งออกไปทางแหลมมลายู ทำให้อินเดียมีต้นทุนค่าขนส่งถูกกว่าไทย
“แต่สิ่งที่น่าห่วงเป็นปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ หรือตู้เรือชอร์ตมากกว่าต้นทุนค่าเฟรต เพราะลูกค้าเราส่วนใหญ่จะเป็นพรีเมี่ยม ต้นทุนข้าวแพงราคาขายปลีกยังไปได้ เพราะเวียดนามก็แพงด้วย แต่ตู้ชอร์ตทำให้ออร์เดอร์ที่รับไว้ส่งออกไม่ได้
สมมุติผู้ส่งออกรับออร์เดอร์มาได้ 100% หาเรือได้แค่ 30% ขาดตู้อีก 70% ก็ต้องรอเรือ คาดว่าปัญหานี้จะอยู่กับเราไปถึงปลายปี การหมุนเวียนตู้จึงจะกลับมา ส่วนตัวมองว่าปีนี้ไทยน่าจะส่งออกข้าวได้ 5 ล้านตัน จากปี 2563 ส่งออกได้ 5.5 ล้านตัน”
ขณะเดียวกัน ผลจากการที่ราคาส่งออกข้าวปรับลดลง ด้านหนึ่งอาจจะทำให้ผู้ซื้อหันมาซื้อข้าวไทย ทำให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน แต่อีกด้านหนึ่งรัฐบาลจะต้องจ่ายชดเชยมากขึ้น และมีผลต่อกำลังซื้อในประเทศด้วย
การ์เมนต์เจอโรคเลื่อนด้วย
ด้านนายยุทธนา ศิลป์สรรค์วิชช์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย และประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ผู้ส่งออกเครื่องนุ่งห่มก็มีปัญหาถูกลูกค้าเลื่อนการรับมอบสินค้าจากต้นทุนค่าเฟรตปรับสูงขึ้นเช่นกัน ส่วนใหญ่เป็นลูกค้าในสหรัฐ และสหภาพยุโรป
ทั้งนี้ ต้นทุนค่าเฟรตจะคิดเป็นสัดส่วน 3-8% แล้วแต่สินค้าที่ส่งออก ถ้าส่งออกเต็มตู้ ต้นทุนค่าเฟรตจะอยู่ที่ 3-4% แต่ถ้าผลิตส่งออกปริมาณไม่มาก ไม่เต็มตู้ ต้นทุนจะอยู่ที่ 6-8% มองว่าแนวโน้มค่าเฟรตน่าจะค่อย ๆ ลดลงช่วงปลายปี