ถดถอย! ไทยรั้งอันดับ 43 ดัชนีความยั่งยืน ‘โควิด’ ทำทั่วโลก 'ยากจน-ว่างงาน' เพิ่ม
https://www.isranews.org/article/isranews-news/99569-Thailand-SDG-Index-2021-news.html
‘SDSN’ เผยอันดับดัชนีความยั่งยืนปี 64 ไทยรั้งอันดับ 43 หล่นจากปีก่อน 2 อันดับ ขณะการแพร่ระบาดของโควิด-19
ทำให้ทั่วโลกากจน-ว่างงานเพิ่ม
..................
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า เครือข่ายทางออกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Solutions Network (SDSN) เผยแพร่รายงาน ‘Sustainable Development Report 2021’ และการจัดอันดับดัชนีความยั่งยืน (SDG Index) ประจำปี 2021 (พ.ศ.2564)
สำหรับปีนี้ ดัชนี SDGs ของประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 43 จาก 165 ประเทศ ตกลงมาจากเดิมปี 2563 อยู่ในอันดับที่ 41 จาก 166 ประเทศ และคะแนนดัชนีของปีนี้ (พ.ศ.2564) อยู่ที่ 74.2 คะแนน ต่ำกว่าปี 2020 ที่ได้ 74.5 คะแนน เพียงเล็กน้อย แต่ถือว่าสอดคล้องกับทิศทางของทั่วโลกที่มีคะแนนดัชนี SDGs ลดลงจากปีก่อนหน้านี้
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบอันดับกับประเทศในทวีปเอเชียพบว่า ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 3 ของเอเชีย รองจากญี่ปุ่น (อันดับ 18) และเกาหลีใต้ (อันดับ 28) ตามลำดับ และยังคงเป็นประเทศที่มีคะแนนดัชนี SDGs สูงที่สุดในอาเซียนติดต่อกันเป็นปีที่ 3 (2562–ปัจจุบัน)
ส่วนสถานการณ์รายเป้าหมายในปีนี้ เป้าหมายที่ประเทศไทยบรรลุแล้ว (สีเขียว) คือ SDG 1 ยุติความยากจน โดยตัวชี้วัดของเป้าหมายนี้วัดจากจำนวนประชากรที่อยู่ในภายใต้เส้นความยากจนต่ำสุดที่เกณฑ์ของธนาคารโลกกำหนดไว้ที่ 1.9 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 60 บาท/วัน
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาตามเส้นความยากจนภายในประเทศปัจจุบัน ซึ่งถือว่าผู้ที่มีรายได้น้อยกว่า 3,000 บาท/เดือน เป็นคนยากจนนั้น จากรายงานสถานการณ์ความยากจนและเหลื่อมล้ำในปี 2562 ซึ่งเป็นการรายงานสถานการณ์ล่าสุดของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พบว่าประเทศไทยยังมีคนยากจนอยู่ราว 6.24% ของประชากร ในปี 2019 (2562)
นอกจากนี้ ในปี 2564 พบว่ามีประเด็นเป้าหมายที่มีความท้าทายสูง (สีแดง) มี 5 เป้าหมาย ได้แก่ การขจัดความหิวโหย (SDG 2) การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (SDG 3) การลดความเหลื่อมล้ำ (SDG 10) การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล (SDG 14) และการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศบนบก (SDG 15) ซึ่งถดถอยลงเมื่อเทียบกับปี 2563 ที่มีเพียง 2 เป้าหมาย คือ การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (SDG 3) และการลดความเหลื่อมล้ำ (SDG 10)
สำหรับประเทศที่อันดับดัชนีความยั่งยืน (SDG Index) 5 อันดับแรกของโลก ได้แก่ อันดับ 1 ฟินแลนด์ 85.9 คะแนน อันดับ 2 สวีเดน 85.6 คะแนน อันดับ 3 เดนมาร์ก 84.9 คะแนน อันดับ 4 เยอรมนี 82.5 คะแนน และอันดับ 5 เบลเยียม 82.2 คะแนน ขณะที่คะแนนดัชนี SDGs เฉลี่ยทั่วโลกลดลงกว่าปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 และโควิด-19 ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในปี 2573 เป็นไปได้ยากขึ้น
“
ในปีนี้ (2021) คะแนนดัชนี SDGs เฉลี่ยกลับลดลงกว่าปีก่อนหน้าอันเป็นผลมาจากอัตราความยากจนและสถิติการว่างงานที่เพิ่มขึ้นจากการระบาดของโควิด–19 โดยนี่เป็นครั้งแรกที่คะแนนดัชนี SDGs ทั่วโลกลดลงกว่าคะแนนเฉลี่ยจากปีก่อนหน้า สะท้อนให้เห็นว่าการระบาดของ โควิด–19 กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในปี 2573 (2030) เป็นไปได้ยากขึ้น” รายงาน Sustainable Development Report 2021 ระบุ
หนุ่มเหนือช็อกหนัก ฉีดวัคซีนครบ 2 โดส แต่ดันคนละยี่ห้อ
https://www.thairath.co.th/news/local/north/2116577
ชายวัย 51 ปี ที่เชียงใหม่ อยู่ในอาการวิตกกังวลเป็นอย่างมาก หลังเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิดครบ 2 เข็ม ครั้งแรก 21 พ.ค. ครั้งที่สอง 11 มิ.ย. แต่มาทราบภายหลังจากใบรับรองการฉีดวัคซีนว่าได้รับวัคซีนคนละยี่ห้อ ทำให้เกิดความเครียด เพราะกลัวมีอาการไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น
วันที่ 15 มิ.ย. มีชายชาว จ.เชียงใหม่ อายุ 51 ปี คนหนึ่ง ออกมาเปิดเผยว่า หลังจากฉีดวัคซีนครั้งแรก วันที่ 21 พ.ค. พบว่าอาการโรคเกาต์กำเริบ และต้องไปหาหมอฉีดยาบรรเทาอาการปวด หลังจากนั้นสองสามวันอาการก็เป็นปกติ ต่อมา ไปฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 11 มิ.ย. มีอาการง่วงนอนตลอด แต่ก็ไม่ได้คิดอะไร จนกระทั่งวันนี้หยิบใบรับรองการฉีดวัคซีนออกมาอ่านดู ปรากฏว่าได้รับวัคซีนคนละชนิดกัน เข็มแรกเป็นซิโนแวค ส่วนเข็มที่ 2 เป็นแอสตราเซเนกา
เมื่อโทรศัพท์ไปสอบถามเพื่อนๆ ที่ไปฉีดวันเดียวกัน ก็เป็นวัคซีนซิโนแวคทั้ง 2 เข็ม ทำให้ขณะนี้เกิดความวิตกกังวลเป็นอย่างมาก เพราะกลัวจะเกิดอาการข้างเคียงไม่พึงประสงค์ และหากเกิดขึ้นจริงไม่รู้ว่า มาจากวัคซีนชนิดไหน เพราะมีถึง 2 ยี่ห้อในร่างกาย
"ตอนนี้คิดไปต่างๆ นานา ว่าจะเป็นการฉีดผิดยี่ห้อจริง หรือบันทึกข้อมูลผิด ซึ่งจะเข้าไปที่โรงพยาบาลที่ฉีดวัคซีนให้ เพื่อขอคำชี้แจงอีกครั้ง" เจ้าตัวกล่าวด้วยน้ำเสียงวิตกกังวล
บขส.โอดผู้โดยสารเหลือ 2 หมื่นคนต่อวัน จาก 5-6 หมื่น เดินรถไม่ถึง 10% สั่งคุมเข้มปลอดภัยฤดูฝน
https://www.matichon.co.th/economy/news_2777853
บขส.พร้อมดูแลผู้โดยสารเดินทางในช่วงฤดูฝน สั่งกำชับพนักงานตรวจความพร้อมของรถโดยสารก่อนเดินทาง เพิ่มความระมัดระวังในการขับขี่ ควบคู่ไปกับการใช้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในสถานีขนส่งฯ และรถโดยสาร
นาย
สัญลักข์ ปัญวัฒนลิขิต กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้เข้าสู่ฤดูฝน หลายพื้นที่มีฝนตกอย่างต่อเนื่อง ทำให้ถนนลื่น เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย บขส. จึงได้เพิ่มมาตรการการเดินรถหน้าฝน โดยกำชับไปยังพนักงานประจำรถ บขส. และรถร่วมฯ ตรวจเช็คสภาพความพร้อมของรถโดยสารให้พร้อมใช้งาน เช่น สภาพยาง ก้านปัดน้ำฝน ไฟหน้า-หลัง ระบบเบรก เข็มขัดนิรภัย รวมทั้งกำชับให้พนักงานปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะใช้ความเร็วในการขับรถไม่เกิน 80-90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ตามที่กฎหมายกำหนด และเมื่อเจอฝนตก สภาพถนนเปียก เส้นทางที่น้ำท่วมขัง ให้ใช้ความเร็วลดลง เพิ่มความระมัดระวังในการขับรถให้มากขึ้น และแม้จะมีความชำนาญเส้นทางก็ไม่ควรขับขี่โดยประมาท เพื่อให้ผู้โดยสารถึงจุดหมายอย่างปลอดภัย
นอกจากนี้จากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในหลายพื้นที่ ส่งผลกระทบให้มีผู้โดยสารใช้บริการ ประมาณ 20,000 คนต่อวัน จากที่ช่วงก่อนจะมีการระบาด ระลอก 3 มีผู้ใช้บริการอยู่ที่ 50,000-60,000 คนต่อวัน ทำให้ขณะนี้ บขส.เดินรถไม่ถึง 10% โดยเส้นทางภาคเหนือ เปิดให้บริการ 7 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ – เชียงใหม่ , กรุงเทพฯ – ทุ่งช้าง , กรุงเทพฯ – อุตรดิตถ์ , กรุงเทพฯ – แม่สอด , กรุงเทพฯ – แม่สาย , กรุงเทพฯ – หล่มเก่า และกรุงเทพฯ – คลองลาน
เส้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก เปิดให้บริการ 10 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ -หนองบัวลำภู , กรุงเทพฯ – นครพนม , กรุงเทพฯ -เลย-เชียงคาน , กรุงเทพฯ-สุรินทร์, กรุงเทพฯ – บุรีรัมย์ , กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี , กรุงเทพฯ -มุกดาหาร , กรุงเทพฯ -รัตนบุรี , กรุงเทพฯ – ตราด และ กรุงเทพฯ -สระบุรี
เส้นทางภาคใต้ เปิดให้บริการ 12 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ -ยะลา , กรุงเทพฯ -สุไหงโกลก , กรุงเทพฯ -สงขลา , กรุงเทพฯ-หาดใหญ่-สงขลา, กรุงเทพฯ – ตรัง ,กรุงเทพฯ -นครศรีธรรมราช-ปากพนัง , หมอชิต2-หาดใหญ่ , หมอชิต2 -ตรัง-สตูล , หมอชิต2 – กระบี่ ,หมอชิต2-พังงา -โคกกลอย , หมอชิต2 – เกาะสมุย และ หมอชิต2-ตะกั่วป่า-โคกกลอย เป็นต้น
กรรมการผู้จัดการใหญ่ บขส. กล่าวด้วยว่า เพื่ออำนวยความสะดวกและลดความแออัดในการเข้าใช้สถานีขนส่งฯ ผู้ใช้บริการสามารถจองตั๋วล่วงหน้าเดินทางกับ บขส. ได้ ผ่าน website บขส.
https://tcl99web.transport.co.th/Home , ร้าน 7-Eleven เคาน์เตอร์เซอวิส ทุกสาขา หรือตัวแทนจำหน่ายตั๋วของ บขส. สอบถามข้อมูลการเดินทางเพิ่มเติม ได้ที่ Call Center1490 เรียก บขส. ตลอด 24 ชั่วโมง
อย่างไรก็ดีในการใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ ขอความร่วมมือผู้ใช้บริการ ปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุข D-M-H-T-T-A อาทิ เว้นระยะระหว่างกัน , หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้อื่น , สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลา , ล้างมือบ่อย ๆ , ลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชันไทยชนะ กรณีไม่สามารถใช้แอปพลิเคชันได้ สามารถกรอกข้อมูลตามแบบฟอร์มที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด และหากเคยไปในพื้นที่เสี่ยง หรือสัมผัสใกล้ชิดกับบุคคลในกลุ่มเสี่ยง ขอให้ใช้มาตรการกักตนเอง (Self-quarantine) อย่างเคร่งครัด เพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในวงกว้างด้วย
JJNY : 4in1 ถดถอย! ไทยรั้งอันดับ 43 ดัชนีความยั่งยืน│ช็อก ฉีดครบแต่คนละยี่ห้อ│บขส.โอดเดินรถไม่ถึง10%│บินไทยห่วงเงินสด
https://www.isranews.org/article/isranews-news/99569-Thailand-SDG-Index-2021-news.html
‘SDSN’ เผยอันดับดัชนีความยั่งยืนปี 64 ไทยรั้งอันดับ 43 หล่นจากปีก่อน 2 อันดับ ขณะการแพร่ระบาดของโควิด-19
ทำให้ทั่วโลกากจน-ว่างงานเพิ่ม
..................
สำหรับปีนี้ ดัชนี SDGs ของประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 43 จาก 165 ประเทศ ตกลงมาจากเดิมปี 2563 อยู่ในอันดับที่ 41 จาก 166 ประเทศ และคะแนนดัชนีของปีนี้ (พ.ศ.2564) อยู่ที่ 74.2 คะแนน ต่ำกว่าปี 2020 ที่ได้ 74.5 คะแนน เพียงเล็กน้อย แต่ถือว่าสอดคล้องกับทิศทางของทั่วโลกที่มีคะแนนดัชนี SDGs ลดลงจากปีก่อนหน้านี้
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบอันดับกับประเทศในทวีปเอเชียพบว่า ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 3 ของเอเชีย รองจากญี่ปุ่น (อันดับ 18) และเกาหลีใต้ (อันดับ 28) ตามลำดับ และยังคงเป็นประเทศที่มีคะแนนดัชนี SDGs สูงที่สุดในอาเซียนติดต่อกันเป็นปีที่ 3 (2562–ปัจจุบัน)
ส่วนสถานการณ์รายเป้าหมายในปีนี้ เป้าหมายที่ประเทศไทยบรรลุแล้ว (สีเขียว) คือ SDG 1 ยุติความยากจน โดยตัวชี้วัดของเป้าหมายนี้วัดจากจำนวนประชากรที่อยู่ในภายใต้เส้นความยากจนต่ำสุดที่เกณฑ์ของธนาคารโลกกำหนดไว้ที่ 1.9 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 60 บาท/วัน
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาตามเส้นความยากจนภายในประเทศปัจจุบัน ซึ่งถือว่าผู้ที่มีรายได้น้อยกว่า 3,000 บาท/เดือน เป็นคนยากจนนั้น จากรายงานสถานการณ์ความยากจนและเหลื่อมล้ำในปี 2562 ซึ่งเป็นการรายงานสถานการณ์ล่าสุดของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พบว่าประเทศไทยยังมีคนยากจนอยู่ราว 6.24% ของประชากร ในปี 2019 (2562)
นอกจากนี้ ในปี 2564 พบว่ามีประเด็นเป้าหมายที่มีความท้าทายสูง (สีแดง) มี 5 เป้าหมาย ได้แก่ การขจัดความหิวโหย (SDG 2) การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (SDG 3) การลดความเหลื่อมล้ำ (SDG 10) การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล (SDG 14) และการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศบนบก (SDG 15) ซึ่งถดถอยลงเมื่อเทียบกับปี 2563 ที่มีเพียง 2 เป้าหมาย คือ การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (SDG 3) และการลดความเหลื่อมล้ำ (SDG 10)
สำหรับประเทศที่อันดับดัชนีความยั่งยืน (SDG Index) 5 อันดับแรกของโลก ได้แก่ อันดับ 1 ฟินแลนด์ 85.9 คะแนน อันดับ 2 สวีเดน 85.6 คะแนน อันดับ 3 เดนมาร์ก 84.9 คะแนน อันดับ 4 เยอรมนี 82.5 คะแนน และอันดับ 5 เบลเยียม 82.2 คะแนน ขณะที่คะแนนดัชนี SDGs เฉลี่ยทั่วโลกลดลงกว่าปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 และโควิด-19 ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในปี 2573 เป็นไปได้ยากขึ้น
“ในปีนี้ (2021) คะแนนดัชนี SDGs เฉลี่ยกลับลดลงกว่าปีก่อนหน้าอันเป็นผลมาจากอัตราความยากจนและสถิติการว่างงานที่เพิ่มขึ้นจากการระบาดของโควิด–19 โดยนี่เป็นครั้งแรกที่คะแนนดัชนี SDGs ทั่วโลกลดลงกว่าคะแนนเฉลี่ยจากปีก่อนหน้า สะท้อนให้เห็นว่าการระบาดของ โควิด–19 กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในปี 2573 (2030) เป็นไปได้ยากขึ้น” รายงาน Sustainable Development Report 2021 ระบุ
หนุ่มเหนือช็อกหนัก ฉีดวัคซีนครบ 2 โดส แต่ดันคนละยี่ห้อ
https://www.thairath.co.th/news/local/north/2116577
ชายวัย 51 ปี ที่เชียงใหม่ อยู่ในอาการวิตกกังวลเป็นอย่างมาก หลังเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิดครบ 2 เข็ม ครั้งแรก 21 พ.ค. ครั้งที่สอง 11 มิ.ย. แต่มาทราบภายหลังจากใบรับรองการฉีดวัคซีนว่าได้รับวัคซีนคนละยี่ห้อ ทำให้เกิดความเครียด เพราะกลัวมีอาการไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น
วันที่ 15 มิ.ย. มีชายชาว จ.เชียงใหม่ อายุ 51 ปี คนหนึ่ง ออกมาเปิดเผยว่า หลังจากฉีดวัคซีนครั้งแรก วันที่ 21 พ.ค. พบว่าอาการโรคเกาต์กำเริบ และต้องไปหาหมอฉีดยาบรรเทาอาการปวด หลังจากนั้นสองสามวันอาการก็เป็นปกติ ต่อมา ไปฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 11 มิ.ย. มีอาการง่วงนอนตลอด แต่ก็ไม่ได้คิดอะไร จนกระทั่งวันนี้หยิบใบรับรองการฉีดวัคซีนออกมาอ่านดู ปรากฏว่าได้รับวัคซีนคนละชนิดกัน เข็มแรกเป็นซิโนแวค ส่วนเข็มที่ 2 เป็นแอสตราเซเนกา
เมื่อโทรศัพท์ไปสอบถามเพื่อนๆ ที่ไปฉีดวันเดียวกัน ก็เป็นวัคซีนซิโนแวคทั้ง 2 เข็ม ทำให้ขณะนี้เกิดความวิตกกังวลเป็นอย่างมาก เพราะกลัวจะเกิดอาการข้างเคียงไม่พึงประสงค์ และหากเกิดขึ้นจริงไม่รู้ว่า มาจากวัคซีนชนิดไหน เพราะมีถึง 2 ยี่ห้อในร่างกาย
"ตอนนี้คิดไปต่างๆ นานา ว่าจะเป็นการฉีดผิดยี่ห้อจริง หรือบันทึกข้อมูลผิด ซึ่งจะเข้าไปที่โรงพยาบาลที่ฉีดวัคซีนให้ เพื่อขอคำชี้แจงอีกครั้ง" เจ้าตัวกล่าวด้วยน้ำเสียงวิตกกังวล
บขส.โอดผู้โดยสารเหลือ 2 หมื่นคนต่อวัน จาก 5-6 หมื่น เดินรถไม่ถึง 10% สั่งคุมเข้มปลอดภัยฤดูฝน
https://www.matichon.co.th/economy/news_2777853
บขส.พร้อมดูแลผู้โดยสารเดินทางในช่วงฤดูฝน สั่งกำชับพนักงานตรวจความพร้อมของรถโดยสารก่อนเดินทาง เพิ่มความระมัดระวังในการขับขี่ ควบคู่ไปกับการใช้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในสถานีขนส่งฯ และรถโดยสาร
นายสัญลักข์ ปัญวัฒนลิขิต กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้เข้าสู่ฤดูฝน หลายพื้นที่มีฝนตกอย่างต่อเนื่อง ทำให้ถนนลื่น เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย บขส. จึงได้เพิ่มมาตรการการเดินรถหน้าฝน โดยกำชับไปยังพนักงานประจำรถ บขส. และรถร่วมฯ ตรวจเช็คสภาพความพร้อมของรถโดยสารให้พร้อมใช้งาน เช่น สภาพยาง ก้านปัดน้ำฝน ไฟหน้า-หลัง ระบบเบรก เข็มขัดนิรภัย รวมทั้งกำชับให้พนักงานปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะใช้ความเร็วในการขับรถไม่เกิน 80-90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ตามที่กฎหมายกำหนด และเมื่อเจอฝนตก สภาพถนนเปียก เส้นทางที่น้ำท่วมขัง ให้ใช้ความเร็วลดลง เพิ่มความระมัดระวังในการขับรถให้มากขึ้น และแม้จะมีความชำนาญเส้นทางก็ไม่ควรขับขี่โดยประมาท เพื่อให้ผู้โดยสารถึงจุดหมายอย่างปลอดภัย
นอกจากนี้จากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในหลายพื้นที่ ส่งผลกระทบให้มีผู้โดยสารใช้บริการ ประมาณ 20,000 คนต่อวัน จากที่ช่วงก่อนจะมีการระบาด ระลอก 3 มีผู้ใช้บริการอยู่ที่ 50,000-60,000 คนต่อวัน ทำให้ขณะนี้ บขส.เดินรถไม่ถึง 10% โดยเส้นทางภาคเหนือ เปิดให้บริการ 7 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ – เชียงใหม่ , กรุงเทพฯ – ทุ่งช้าง , กรุงเทพฯ – อุตรดิตถ์ , กรุงเทพฯ – แม่สอด , กรุงเทพฯ – แม่สาย , กรุงเทพฯ – หล่มเก่า และกรุงเทพฯ – คลองลาน
เส้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก เปิดให้บริการ 10 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ -หนองบัวลำภู , กรุงเทพฯ – นครพนม , กรุงเทพฯ -เลย-เชียงคาน , กรุงเทพฯ-สุรินทร์, กรุงเทพฯ – บุรีรัมย์ , กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี , กรุงเทพฯ -มุกดาหาร , กรุงเทพฯ -รัตนบุรี , กรุงเทพฯ – ตราด และ กรุงเทพฯ -สระบุรี
เส้นทางภาคใต้ เปิดให้บริการ 12 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ -ยะลา , กรุงเทพฯ -สุไหงโกลก , กรุงเทพฯ -สงขลา , กรุงเทพฯ-หาดใหญ่-สงขลา, กรุงเทพฯ – ตรัง ,กรุงเทพฯ -นครศรีธรรมราช-ปากพนัง , หมอชิต2-หาดใหญ่ , หมอชิต2 -ตรัง-สตูล , หมอชิต2 – กระบี่ ,หมอชิต2-พังงา -โคกกลอย , หมอชิต2 – เกาะสมุย และ หมอชิต2-ตะกั่วป่า-โคกกลอย เป็นต้น
กรรมการผู้จัดการใหญ่ บขส. กล่าวด้วยว่า เพื่ออำนวยความสะดวกและลดความแออัดในการเข้าใช้สถานีขนส่งฯ ผู้ใช้บริการสามารถจองตั๋วล่วงหน้าเดินทางกับ บขส. ได้ ผ่าน website บขส. https://tcl99web.transport.co.th/Home , ร้าน 7-Eleven เคาน์เตอร์เซอวิส ทุกสาขา หรือตัวแทนจำหน่ายตั๋วของ บขส. สอบถามข้อมูลการเดินทางเพิ่มเติม ได้ที่ Call Center1490 เรียก บขส. ตลอด 24 ชั่วโมง
อย่างไรก็ดีในการใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ ขอความร่วมมือผู้ใช้บริการ ปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุข D-M-H-T-T-A อาทิ เว้นระยะระหว่างกัน , หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้อื่น , สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลา , ล้างมือบ่อย ๆ , ลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชันไทยชนะ กรณีไม่สามารถใช้แอปพลิเคชันได้ สามารถกรอกข้อมูลตามแบบฟอร์มที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด และหากเคยไปในพื้นที่เสี่ยง หรือสัมผัสใกล้ชิดกับบุคคลในกลุ่มเสี่ยง ขอให้ใช้มาตรการกักตนเอง (Self-quarantine) อย่างเคร่งครัด เพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในวงกว้างด้วย