💚มาลาริน/ดัชนีความยั่งยืนปี 64 ทั่วโลกถดถอยไปตามๆกัน..แต่ไทยยังรั้งอันดับ 1ในอาเซียน อันดับ 3 ของเอเชีย

กระทู้คำถาม

SDSN’ เผยอันดับดัชนีความยั่งยืนปี 64 ไทยรั้งอันดับ 43 หล่นจากปีก่อน 2 อันดับ ขณะการแพร่ระบาดของโควิด-19 
ทำให้ทั่วโลกากจน-ว่างงานเพิ่ม
 
..................

เพี้ยนปักหมุด
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า เครือข่ายทางออกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Solutions Network (SDSN) เผยแพร่รายงาน ‘Sustainable Development Report 2021’ และการจัดอันดับดัชนีความยั่งยืน (SDG Index) ประจำปี 2021 (พ.ศ.2564)

สำหรับปีนี้ ดัชนี SDGs ของประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 43 จาก 165 ประเทศ ตกลงมาจากเดิมปี 2563 อยู่ในอันดับที่ 41 จาก 166 ประเทศ และคะแนนดัชนีของปีนี้ (พ.ศ.2564) อยู่ที่ 74.2 คะแนน ต่ำกว่าปี 2020 ที่ได้ 74.5 คะแนน เพียงเล็กน้อย แต่ถือว่าสอดคล้องกับทิศทางของทั่วโลกที่มีคะแนนดัชนี SDGs ลดลงจากปีก่อนหน้านี้ 

ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบอันดับกับประเทศในทวีปเอเชียพบว่า ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 3 ของเอเชีย รองจากญี่ปุ่น (อันดับ 18) และเกาหลีใต้ (อันดับ 28) ตามลำดับ และยังคงเป็นประเทศที่มีคะแนนดัชนี SDGs สูงที่สุดในอาเซียนติดต่อกันเป็นปีที่ 3 (2562–ปัจจุบัน)

ส่วนสถานการณ์รายเป้าหมายในปีนี้ เป้าหมายที่ประเทศไทยบรรลุแล้ว (สีเขียว) คือ SDG 1 ยุติความยากจน โดยตัวชี้วัดของเป้าหมายนี้วัดจากจำนวนประชากรที่อยู่ในภายใต้เส้นความยากจนต่ำสุดที่เกณฑ์ของธนาคารโลกกำหนดไว้ที่ 1.9 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 60 บาท/วัน

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาตามเส้นความยากจนภายในประเทศปัจจุบัน ซึ่งถือว่าผู้ที่มีรายได้น้อยกว่า 3,000 บาท/เดือน เป็นคนยากจนนั้น จากรายงานสถานการณ์ความยากจนและเหลื่อมล้ำในปี 2562 ซึ่งเป็นการรายงานสถานการณ์ล่าสุดของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พบว่าประเทศไทยยังมีคนยากจนอยู่ราว 6.24% ของประชากร ในปี 2019 (2562)

นอกจากนี้ ในปี 2564 พบว่ามีประเด็นเป้าหมายที่มีความท้าทายสูง (สีแดง) มี 5 เป้าหมาย ได้แก่ การขจัดความหิวโหย (SDG 2) การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (SDG 3) การลดความเหลื่อมล้ำ (SDG 10) การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล (SDG 14) และการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศบนบก (SDG 15) ซึ่งถดถอยลงเมื่อเทียบกับปี 2563 ที่มีเพียง 2 เป้าหมาย คือ การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (SDG 3) และการลดความเหลื่อมล้ำ (SDG 10)



สำหรับประเทศที่อันดับดัชนีความยั่งยืน (SDG Index) 5 อันดับแรกของโลก ได้แก่ อันดับ 1 ฟินแลนด์ 85.9 คะแนน อันดับ 2 สวีเดน 85.6 คะแนน อันดับ 3 เดนมาร์ก 84.9 คะแนน อันดับ 4 เยอรมนี 82.5 คะแนน และอันดับ 5 เบลเยียม 82.2 คะแนน ขณะที่คะแนนดัชนี SDGs เฉลี่ยทั่วโลกลดลงกว่าปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 และโควิด-19 ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในปี 2573 เป็นไปได้ยากขึ้น

“ในปีนี้ (2021) คะแนนดัชนี SDGs เฉลี่ยกลับลดลงกว่าปีก่อนหน้าอันเป็นผลมาจากอัตราความยากจนและสถิติการว่างงานที่เพิ่มขึ้นจากการระบาดของโควิด–19 โดยนี่เป็นครั้งแรกที่คะแนนดัชนี SDGs ทั่วโลกลดลงกว่าคะแนนเฉลี่ยจากปีก่อนหน้า สะท้อนให้เห็นว่าการระบาดของ โควิด–19 กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในปี 2573 (2030) เป็นไปได้ยากขึ้น” รายงาน Sustainable Development Report 2021 ระบุ



https://www.isranews.org/article/isranews-news/99569-Thailand-SDG-Index-2021-news.html

เพี้ยนปักหมุดSDGs คืออะไร ? SDGs 17 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดย UN มีอะไรบ้าง   👇👇👇👇👇
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

พาพันขยันสรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับสถานะและอันดับใน SDG Index ของประเทศไทย



👉ดัชนี SDG จัดอันดับประเทศไทยอยู่ที่อันดับ 43 ของโลกจากทั้งหมด 165 ประเทศ ได้คะแนนรวมของดัชนี 74.2 คะแนน ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียใต้ที่ 65.7 คะแนน อย่างไรก็ดี อันดับและคะแนนของไทยลดลงเมื่อเทียบกับปี 2020 ที่ได้อันดับ 41 และคะแนนรวม 74.5 คะแนน

👉ประเทศไทยยังมีคะแนนสูงสุดเป็นอันดับ 1 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย โดยประเทศอันดับรองลงมา คือ เวียดนาม (อันดับ 51) มาเลเซีย (อันดับ65) สิงคโปร์ (อันดับ76) บรูไนดารุสซาลาม (อันดับ 84) อินโดนีเซีย (อันดับ97) เมียนมาร์ (อันดับ 101) กัมพูชา (อันดับ 102) ฟิลิปปินส์ (อันดับ 103) และลาว (อันดับ 110)

👉เปรียบเทียบกับปี 2020 มี SDG รวม 4 เป้าหมายที่มีสถานะแย่ลงและไม่มีเป้าหมายใดเลยที่ถูกขยับสถานะให้ดีขึ้น เป้าหมายทั้ง 4 ข้างต้น ประกอบด้วยSDG 2 (ขจัดความหิวโหย) จากสถานะ ท้าทาย (สีส้ม) มาเป็น ท้าทายมาก (สีแดง)ตัวชี้วัดที่มีสถานะแย่ลง คือ ตัวชี้วัดด้านความชุกของภาวะทุพโภชนาการ และตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับอัตราการส่งออกยาฆ่าแมลง (ตัวชี้วัดใหม่)

👉SDG 8 (งานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ) จากสถานะ ยังมีความท้าทายบางส่วน (สีเหลือง) มาเป็น ท้าทาย (สีส้ม)ตัวชี้วัดที่มีสถานะแย่ลง คือ อัตราการเติบโตของ GDP อัตราการว่างงาน และการรับประกันสิทธิแรงงานขั้นพื้นฐานอย่างมีประสิทธิผล

👉SDG 14 (การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล) จากสถานะ ท้าทาย (สีส้ม) มาเป็น ท้าทายมาก (สีแดง)ตัวชี้วัดที่มีสถานะแย่ลง คือ ร้อยละของพื้นที่โดยเฉลี่ยที่ได้รับการปกป้องในพื้นที่ทางทะเลที่สำคัญต่อความหลากหลายทางชีวภาพ และดัชนีสุขภาพมหาสมุทรด้านคะแนนน้ำสะอาด (มลพิษทางทะเล)

👉SDG 15 (การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศบนบก) จากสถานะ ท้าทาย (สีส้ม) มาเป็น ท้าทายมาก (สีแดง)ตัวชี้วัดที่มีสถานะแย่ลง คือ ขนาดพื้นที่เฉลี่ยที่ได้รับการปกป้องในพื้นที่บนบกที่สำคัญต่อความหลากหลายทางชีวภาพและพื้นที่ชุ่มน้ำ

👉ตั้งแต่ปี 2015 รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืนประจำปีได้ให้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันที่สุดเพื่อติดตามและจัดอันดับผลการดำเนินงาน SDGs ของประเทศสมาชิกสหประชาชาติทั้งหมด ในฐานะเครื่องมือติดตามอย่างไม่เป็นทางการที่จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Cambridge University ซึ่งเป็นส่วนหนุนเสริมความพยายามในการติดตามการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างเป็นทางการโดยรัฐบาลของประเทศต่าง ๆ และองค์การสหประชาชาติ
 


เพี้ยนลาเวนเดอร์ไม่ว่าอย่างไรไทยก็ยังโดดเด่นนำโด่งในประเทศอาเซียน

เชื่อว่ารับมือโควิดได้แล้ว  ไทยจะฟื้นฟูทางเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็ว

7 ปี มีการพัฒนาไม่น้อยหน้าประเทศอื่น  ถือว่ามีผลงานค่ะ


แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 12
รัฐบาลสร้างความเชื่อมั่นต่อการแก้ไขปัญหาโควิด ทั้งดูแล เยียวยา ควบคุม จัดหาและฉีดวัคซีน

เพื่อเป้าหมายประเทศปลอดภัย และเปิดเศรษฐกิจได้ในเร็ววัน

เพี้ยนไฟลุก
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่