💚มาลาริน💚น่าปลื้มค่ะ...รายงานการพัฒนาที่ยั่งยืน” ไทยได้อันดับ44 ของโลก อันดับ3 ของเอเชีย อันดับ1 ของอาเซียน

กระทู้คำถาม


การจัดอันดับการพัฒนาอย่างยั่งยืนของUN
-ไทยได้อันดับที่ 44 ของโลก ฟินแลนด์อันดับหนึ่ง อเมริกาอันดับ 41
-ไทยเป็นอันดับที่ 3 ของเอเชีย ตามหลังญี่ปุ่นและเกาหลีใต้
-การพัฒนาที่โดดเด่นที่สุดของไทยคือการลดประชากรยากจนในประเทศ


10 อันดับแรกของโลก ใน SDG Index ปี 2565
1. ฟินแลนด์
2. เดนมาร์ก
3. สวีเดน
4. นอร์เวย์
5. ออสเตรีย
6. เยอรมนี
7. ฝรั่งเศส
8. สวิตเซอร์แลนด์
9. ไอร์แลนด์
10. เอสโตเนีย

10 อันดับแรกของ SDG Index ปี 2565 นี้ล้วนเป็นประเทศที่อยู่ในทวีปยุโรปทั้งหมด ไม่ต่างจากการจัดอันดับในปีที่ผ่านมา ในขณะที่ 10 อันดับท้ายตารางล้วนเป็นประเทศแอฟริกาเขตใต้ทะเลทรายซาฮาราที่ยากจน ความแตกต่างที่ชัดเจนนี้จึงทำให้เห็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่ประชาคมโลกจะต้องขยายแผนการลงทุนระดับโลกเพื่อการขับเคลื่อน SDGs ให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มความสามารถในการสร้างความก้าวหน้าในการบรรลุ SDGs ให้ทันเวลาแก่กลุ่มประเทศยากจนด้วย


สถานการณ์ SDGs ในอาเซียน

10 ประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียใต้ตามการแบ่งกลุ่มประเทศตามรายงาน SDR ได้ชื่อเป็นภูมิภาคที่มีความก้าวหน้าในการดำเนินงานขับเคลื่อน SDGs มากที่สุด นับตั้งแต่มีการรับเอา SDGs มาเป็นกรอบการพัฒนาระดับโลกร่วมกัน โดยกัมพูชาเป็นหนึ่งในสองประเทศ (ร่วมกับบังคลาเทศ) ที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดในบรรดาประเทศทั้งหมด หากนำคะแนนของทั้ง 10 ประเทศมาหาค่าเฉลี่ย จะพบว่า คะแนน SDG Index ของกลุ่มอาเซียนของปี 2565 อยู่ที่ 68.3 คะแนน ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียใต้ที่อยู่ที่ 65.9 คะแนน

อาเซียนมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ไทย บรูไนดารุซซาลาม เมียนมา ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย

 สถานการณ์สถานะและแนวโน้ม SDGs ของ 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน

เมื่อพิจารณาสถานะของทั้ง 17 เป้าหมาย SDGs จะเห็นว่าเป้าหมาย SDGs ที่มีความท้าทายมาก (สีแดง) ร่วมกันของทั้งสิบประเทศสมาชิกอาเซียนใน 5 อันดับแรก คือเป้าหมายดังต่อไปนี้

SDG15 ระบบนิเวศบนบก – เป็นเป้าหมายที่ทั้ง 10 ประเทศ มีสถานะท้าทายมากร่วมกัน

SDG14 ทรัพยากรทางทะเล – มีสถานะท้าทายมาก ร่วมกันใน 9 ประเทศ ยกเว้น ลาว (ไม่มีพื้นที่ติดทะเล)

SDG3 สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี – มีสถานะท้าทายมาก ร่วมกันใน 8 ประเทศ ได้แก่ ไทย เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และลาว

SDG16 ความสงบสุข ยุติธรรม และสถาบันที่เข้มแข็ง – มีสถานะท้าทายมาก ร่วมกันใน 7 ประเทศ ได้แก่ ไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เมียนมา กัมพูชา และลาว

SDG2 ขจัดความหิวโหย – มีสถานะท้าทายมาก ร่วมกันใน 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไนดารุซซาลาม ฟิลิปปินส์ และลาว

สถานการณ์ SDGs ของประเทศไทย

ความพยายามในการดำเนินการเพื่อขับเคลื่อน SDGs อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งจากภาครัฐ ด้วยการผนวกเป็นเป้าหมายการพัฒนาระดับประเทศ ผ่านความเชื่อมโยงของทั้งแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทั้งฉบับที่ 12 และ ฉบับที่ 13 พร้อมทั้งการทำงานอย่างเข้มแข็งและมุ่งมั่นของทั้งภาคประชาสังคมและภาคเอกชนเสมอมา ทำให้อันดับ SDG Index ของประเทศไทย อยู่ในระดับต้น ๆ เมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียใต้ และในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนจากการจัดอันดับหลายปีซ้อน



สำหรับรายงานปี 2565 นี้ อันดับ SDG Index ของไทย อยู่ที่อันดับ 44 จากทั้งหมด 163 ประเทศ ลงมาจากอันดับ 43 จาก 165 ประเทศ ในการจัดอันดับปี 2564 มีคะแนน SDG Index อยู่ที่ 74.1 คะแนน ลดลงจากปี 2564 เล็กน้อยเพียง 0.1 คะแนน ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับภาพรวมคะแนน SDG Index ระดับโลกที่ลดลงเรื่อยมาตั้งแต่วิกฤตโควิด-19 และเมื่อเปรียบเทียบในระดับทวีป ประเทศไทยได้อันดับ SDG Index เป็นอันดับที่ 3 ของเอเชียรองลงมาจากญี่ปุ่น (อันดับ 19) และเกาหลีใต้ (อันดับ 27) เท่านั้น ทั้งยังเป็นอันดับ 1 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียใต้ และรั้งอันดับ 1 ของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน เป็นปีที่ 5 ติดต่อกัน (2562 – 2565)

เมื่อพิจารณาในระดับเป้าหมาย SDGs สำหรับประเทศไทยนั้นมีเป้าหมาย SDGs ที่อยู่ในสถานะบรรลุแล้ว (สีเขียว) ตั้งแต่รายงานปี 2562 ทั้งหมด 1 เป้าหมาย ได้แก่ SDG1 (ขจัดความยากจน) โดยตัวชี้วัดหลักของการประเมินระดับโลกของเป้าหมายนี้ในการคำนวณคะแแนน SDG Index ปี 2565 นี้คือ เส้นความยากจนสากล (poverty line) ที่เขียนไว้ที่ 1.90 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน (65 บาท) และ 3.20 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน (110 บาท) ซึ่งพบว่าไม่มีประชากรไทยตกอยู่ใต้เส้นความยากจนสากลนี้แล้ว อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาเรื่องความยากจนโดยใช้เกณฑ์เส้นความยากจนของประเทศไทย ปี 2563 ซึ่งกำหนดไว้ที่ 2,762 บาทต่อคนต่อเดือน รายงานเรื่องสถานการณ์ความยากจนความเหลื่อมล้ำปี 2563 ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พบว่ามีประชากรที่ถือว่าเป็นคนจน 68.4% และคิดเป็นจำนวนคนจน 4.8 ล้านคนทั่วประเทศ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า


สำหรับเป้าหมาย SDGs ที่อยู่ในสถานะมีความท้าทายมาก (สีแดง) ยังคงมีจำนวน 5 เป้าหมายเท่ากับปีก่อน แต่มีการเปลี่ยนแปลงในเป้าหมาย กล่าวคือ ในรายงานปี 2564 เป้าหมาย SDG2 SDG3 SDG10 SDG14 และ SDG15 คือเป้าหมายที่มีความท้าทายสูง ในปีนี้ ผลการดำเนินงานของ SDG10 ดีขึ้น จึงขยับสถานะมาเป็นเป้าหมายที่ท้าทาย (สีส้ม) และมีเป้าหมาย SDG16 ได้กลายมาเป็นเป้าหมายที่มีความท้าทายสูงแทน โดยสามารถสรุป ..

เป้าหมายและตัวชี้วัดที่มีความท้าทายมากของประเทศไทย จาก SDG Index ปี 2565 ได้ดังนี้

SDG2 ขจัดความหิวโหย – มีความท้าทายมากในตัวชี้วัดเรื่องดัชนีการจัดการไนโตรเจนอย่างยั่งยืน (Sustainable Nitrogen management index) และ การส่งออกยาฆ่าแมลงที่เป็นอันตราย ซึ่งล้วนเกี่ยวข้องกับภาคการเกษตร

SDG3 การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี – มีความท้าทายมากในตัวชี้วัดเรื่องอุบัติการณ์ของวัณโรค และอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน 

SDG14 ทรัพยากรทางทะเล – มีความท้าทายมากในตัวชี้วัดเรื่องพื้นที่ทางทะเลที่มีความสำคัญต่อความหลากหลายทางชีวภาพที่ได้รับการคุ้มครอง และดัชนีสุขภาพมหาสมุทรในคะแนนความสะอาดของน้ำทะเล 

SDG15 ระบบนิเวศบนบก – มีความท้าทายมากในตัวชี้วัดเรื่องพื้นที่แหล่งน้ำจืดที่มีความสำคัญต่อความหลากหลายทางชีวภาพที่ได้รับการคุ้มครอง และดัชชีบัญชีชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม (Red list index of species survival)

SDG16 สังคมสงบสุข ยุติธรรม และสถาบันที่เข้มแข็ง – มีความท้าทายมากในตัวชี้วัดเรื่องอัตราการฆาตกรรม* และดัชนีการรับรู้การทุจริตคอร์รัปชัน (Corruption perception index)

คะแนน “ความมุ่งมั่นและความพยายามของรัฐบาลในการดำเนินการขับเคลื่อน SDGs”

ความน่าสนใจประการหนึ่งของรายงาน SDR ในปีนี้ คือ การให้คะแนน “ความมุ่งมั่นและความพยายามของรัฐบาลในการดำเนินการขับเคลื่อน SDGs” ซึ่งเป็นผลจากการสำรวจของ SDSN เพื่อติดตามว่ารัฐบาลในแต่ละประเทศได้ผนวกรวม SDGs เข้าไปในการทำงานมากน้อยเพียงใด โดยพิจารณาจากตัวชี้วัด ได้แก่....👇

มีการแถลงการณ์ทางการระดับสูงเกี่ยวกับ SDGs
มีการผนวก SDGs เข้าไปในยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติงานระดับประเทศ
มีการผนวก SDGs เข้าไปในงบประมาณระดับชาติ
มีการติดตามและประเมินผล SDGs ระดับชาติ
มีการกำหนดหน่วยงานเจ้าภาพในการดำเนินงาน SDGs
มีการผนวก SDGs เข้าไปในแผนฟื้นฟูโควิด-19 ระดับชาติ และ
มีการรายงานผลการทบทวนการดำเนินงานตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ระดับชาติโดยสมัครใจ (Voluntary National Review: VNR)

โดยในปีนี้ SDSN ได้รวบรวมผลสำรวจจากกว่า 60 ประเทศ ประเมิน และให้คะแนนความมุ่งมั่น ตามช่วงลำดับคะแนน ตั้งแต่ 0-40 คะแนน เท่ากับ ระดับต่ำมาก 40-50 คะแนน เท่ากับ ระดับต่ำ 50-65 คะแนน เท่ากับ ระดับปานกลาง 65-80 คะแนน เท่ากับ ระดับสูง และ 80-100 คะแนน เท่ากับ ระดับสูงมาก

การประเมินครั้งนี้พบว่า ยังไม่มีประเทศใดเลยที่ได้คะแนนไปถึงระดับสูงมาก อย่างไรก็ตาม มีทั้งหมด 15 ประเทศที่มีคะแนนถึงช่วงระดับสูง ได้แก่ อาร์เจนตินา ออสเตรีย เบนิน โคลอมเบีย เดนมาร์ก ฟินแลนด์ เยอรมนี ญี่ปุ่น เม็กซิโก เนเธอร์แลนด์ ไนจีเรีย สโลวีเนีย สเปน สวีเดน และสวิตเซอร์แลนด์

ส่วนประเทศไทยได้คะแนนความมุ่งมั่นและความพยายามของรัฐบาลในการดำเนินการขับเคลื่อน SDGs อยู่ที่ช่วงระดับปานกลาง ร่วมกับอีก 23 ประเทศ ซึ่งเป็นช่วงคะแนนที่ประเทศส่วนใหญ่ได้

อย่างไรก็ตาม การให้คะแนนความมุ่งมั่นและความพยายามของรัฐบาลในปีนี้ ยังคงเป็นเวอร์ชันนำร่อง (pilot version) เนื่องจากข้อมูลนโยบายที่มีอยู่ในปัจจุบันอยู่ภายใต้ข้อควรพิจารณาและข้อจำกัดหลายประการ

https://www.sdgmove.com/2022/06/02/sdg-updates-sustainable-development-report-sdg-index-2022/

ประเทศไทยได้อันดับดีเพราะรัฐบาลลุงตู่ค่ะ....👍👍👍👍👍👍

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
สมัยรัฐบาลนี่ประเทศไทยได้จัดอันดับดีๆเยอะมากเลยนะนี่   น่าจะเกิน 20 การจัดอันดับแล้วด้วย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่