NGO สหรัฐฯจัดไทยอันดับ 78 ดัชนียุติธรรมโลก พบคะแนนแย่สุดด้านกระบวนการทางอาญา
https://www.isranews.org/article/isranews-news/133123-invest-Justicee.html
WJP โครงการยุติธรรมโลกจากสหรัฐฯ จัดไทยได้อันดับ 78 ดัชนียุติธรรมโลก พบอันดับดีขึ้นกว่าปี 66 แต่คะแนนไทยยังรั้งท้ายเรื่องกระบวนการทางอาญาได้แค่ 0.41คะแนน พบคะแนนดีสุดด้านความสงบเรียบร้อยได้ 0.74 คะแนน ส่วนคะแนนด้านปราศจากทุจริตได้แค่ 0.46 คะแนน
--------------------------------------------------------------------------------------------------
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่าเมื่อปลายเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา โครงการความยุติธรรมโลกหรือ WJP ซึ่งเป็นองค์กรประชาสังคมระหว่างประเทศที่มีพันธกิจในการ "
ทำงานเพื่อพัฒนาหลักนิติธรรมทั่วโลก" มีที่ทำการหลักที่กรุงวอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกา ได้เผยแพร่ดัชนีหลักนิติธรรมของปี 2567 หรือ World Justice Project: Rule of Law Index 2024 โดยประเทศไทยได้อันดับในดัชนีนี้อยู่ที่อันดับ 78 ดีขึ้นกว่าปี 2566 ที่ไทยอยู่ในอันดับ 82 โดยไทยได้คะแนนรวม 0.50 คะแนน จากเต็ม 1.00 คะแนน โดยมีประเทศอื่นๆที่ได้คะแนน 0.50 เช่นเดียวกับประเทศไทยได้แก่ ประเทศตูนิเซียอยู่ในอันดับที่ 76 ประเทศกายอานา อยู่ในอันดับที่ 77 ประเทศอินเดียอยู่ในอันดับที่ 79 ประเทศบราซิลอยู่ในอันดับที่ 80 ประเทศเวียดนามในอันดับที่ 81 และประเทศเบลีซอยู่ในอันดับที่ 82
สำหรับคะแนนในปลีกย่อยในด้านต่างๆจำนวน 8 ด้าน ได้แก่ 1. ข้อจํากัดเกี่ยวกับอํานาจของรัฐบาล ไทยได้ 0.46 คะแนน 2. การปราศจากทุจริตคอร์รัปชั่น ไทยได้ 0.46 คะแนน 3.การมีรัฐบาลที่เปิดกว้าง ไทยได้ 0.48 คะแนน 4. สิทธิขั้นพื้นฐาน ไทยได้ 0.48 คะแนน 5. ความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัย ไทยได้ 0.74 คะแนน 6.การบังคับใช้กฎระเบียบ ไทยได้ 0.45 คะแนน 7.ความยุติธรรมทางแพ่ง ไทยได้ 0.50 คะแนน และ 8.กระบวนการยุติธรรมทางอาญา ไทยได้ 0.41 คะแนน
ส่วนประเทศอื่นๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนนั้นพบว่าประเทศสิงคโปร์ อยู่ในอันดับที่ 16 ได้ 0.78 คะแนน มาเลเซียอยู่ในอันดับที่ 55 ได้ 0.57 คะแนน อินโดนีเซียอยู่ในอันดับที่ 68 ได้ 0.53 คะแนน ฟิลิปปินส์อยู่ในอันดับที่ 99 ได้ 0.46 คะแนน เมียนมาอยู่ในอันดับที่ 138 ได้ 0.34 คะแนน และกัมพูชาอยู่ในอันดับที่ 141 ได้ 0.31 คะแนน ส่วนประเทศอื่นๆไม่มีข้อมูล
สำหรับประเทศที่ได้อันดับ 1 ในดัชนีได้แก่ประเทศเดนมาร์กได้ 0.90 คะแนน และประเทศที่ได้อันดับสุดท้ายซึ่งคืออันดับที่ 142 ได้แก่เวเนซุเอลา ได้ 0.26 คะแนน
เรียบเรียงจาก :
https://worldjusticeproject.org/rule-of-law-index/
อดีตพนง.ธกส.พยานจำนำข้าว โวยถูกไล่พ้นคอนโด สถานที่คุ้มครองพยาน
https://www.matichon.co.th/local/crime/news_4883648
นุช ชญาดา อดีตพนักงาน ธ.ก.ส. เข้าเเจ้งความ หลังถูกชายอ้างเป็นเจ้าของห้องไล่ออก ทั้งที่ห้องดังกล่าวใช้ในการคุ้มครองพยาน
เมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 5 พฤศจิกายน น.ส.
ชญาดา ตระกูลรุ่งโรจน์ อดีตพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ที่เคยเป็นข่าวดังเมื่อราวปี 2561-2562 กรณียื่นเรื่องร้องเรียนคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) หลังตรวจพบความผิดปกติเกี่ยวกับการจ่ายเงินในโครงการรับจำนำข้าว เข้าเเจ้งความกับตำรวจ สน.มักกะสัน หลักถูกนายเอ (นามสมมุติ) อ้างตัวว่าเป็นเจ้าของคอนโด บุกเข้ามาไล่ออกจากห้องที่ใช้เป็นที่คุ้มครองพยาน
น.ส.
ชญาดากล่าวว่า ภายหลังจากที่ตนชนะคดีในศาลชั้นต้นที่ ธ.ก.ส.ฟ้องเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2567 มีความรู้สึกว่าได้ถูกข่มขู่คุกคาม จากผู้ไม่ประสงค์ดีมาโดยตลอด จนมาวันที่ 29 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา ทางนิติบุคคลอ้างว่ามีผู้พักอาศัยภายในคอนโดร้องเรียนมาว่า กระบะทรายเเมวที่ตนตากไว้ที่ริมระเบียงของห้องที่ตนเช่าอยู่จากโครงการคุมครองพยาน ชั้น 6 ที่ติดกับชั้น 5 ที่เป็นส่วนกลางของคอนโดส่งกลิ่นเหม็นรบกวนผู้อยู่อาศัยท่านอื่น จากนั้นนิติบุคคลได้ให้เจ้าหน้าที่ใช้บันไดพาดที่ระเบียงหลังห้องและปีนเข้าขึ้นมาแล้วนำเอากระบะทรายออกไปไว้ด้านล่าง ทำให้ตนมีความรู้สึกหวาดกลัวและไม่ปลอดภัย เนื่องจากตนพักอาศัยอยู่ในห้องเพียงลำพังประกอบกับยังมีคดีความที่ยังต้องต่อสู้ บางวันเครียดจนนอนเเทบไม่หลับ จึงได้ตัดสินใจเข้าเเจ้งความในวันที่ 19 ตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งในระหว่างเดือนกันยายนและตุลาคม ได้ขอภาพกล้องวงจรปิดจากทางนิติบุคคล แต่ก็ไม่เคยได้
น.ส
.ชญาดากล่าวว่า หลังจากนั้นได้มีนาย
เอ ที่มาเเสดงตัวเป็นเจ้าของห้องดังกล่าว และได้ขับไล่ตนให้ออกจากห้องโดยพยายามให้ทางทางนิติบุคคลยกเลิกคีย์การ์ดของตน ทั้งที่ห้องดังกล่าวเป็นห้องที่ตนได้สิทธิเข้าพักจากการคุ้มครองพยานซึ่งอยู่ระหว่างต่อสู้คดี โดยจากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่าห้องดังกล่าวได้มีการถูกอายัดจากสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) เมื่อปี 2564 แล้ว ตนจึงได้สิทธิเข้าพัก แล้วนาย
เอจะอ้างสิทธิว่าเป็นผู้ครอบครองอย่างถูกต้องตามกฎหมายได้อย่างไร
ที่ผ่านมาตนเองก็เป็นผู้จ่ายเงินค่าส่วนกลางมาตลอด 3 ปี แต่ก็ไม่เคยได้รับการดูแลจากนิติบุคคลของคอนโดดังกล่าวเท่าที่ควร
ในส่วนของทางคดีตอนนี้อยู่ระหว่างรอศาลฎีกานัดฟังคำพิพากษา โดยระหว่าง ที่ต่อสู้คดี คู่กรณีก็มีการติดต่อมาเจรจาตลอด และหว่านล้อมให้ยอมความ แต่ตนเองก็ตัดสินใจแล้วว่า จะขอสู้ต่อไปเพราะรับปากกับประชาชนไว้ สุดท้ายอยากฝากข้อความไปถึงนาย
ทักษิณ ชินวัตร และ น.ส.
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าหากจะรื้อคดีจำนำข้าว ต้องมีพยานหลักฐานใหม่ ไม่ใช่สร้างพยานหลักฐานเท็จ และตนขอยืนยันว่าข้าว 10 ปีกินไม่ได้
ด้านนาย
เอ ผู้ที่อ้างตัวว่าเป็นเจ้าของห้อง กล่าวว่า เมื่อ 3 ปีก่อน พ่อของตน ซึ่ง เป็นผู้ที่ฝักใฝ่เกี่ยวกับเรื่องทางการเมืองได้รู้จักกับ น.ส.
ชญาดา แล้วทราบว่ากำลังอยู่ระหว่างต่อสู้คดีและต้องการที่พักอาศัยที่มีความปลอดภัยจึงได้มอบคีย์การ์ดและอนุญาตให้เข้ามาพักอาศัยอยู่ที่ห้องนี้ โดยที่ตนไม่ทราบ แต่ภายหลังได้มาทราบเรื่องเมื่อปี 2564 จากนิติบุคคลจึงได้เดินทางเข้ามาขับไล่และมีการเจรจากันมาโดยตลอด ตนเองไม่ได้มีความรู้ทางด้านของกฎหมายมากนักจึงไม่รู้ว่าจะต้องดำเนินการกับคู่กรณีอย่างไร เลยได้เข้าปรึกษากับนิติบุคคลของคอนโด เพื่อนำเอกสารมาพบเจ้าหน้าที่ตำรวจในการยืนยันสิทธิว่าห้องดังกล่าวเป็นของตนจริง
พริษฐ์ แนะ กกต. ทบทวนวันเลือกตั้งอบจ.68 เป็นวันอาทิตย์ เอื้อปชช.ออกมาใช้สิทธิ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4883804
‘พริษฐ์’ แนะ กกต. ทบทวนวันเลือกตั้ง อบจ. 2568 เป็นวันอาทิตย์ อำนวยความสะดวกประชาชนออกมาใช้สิทธิออกเสียง
เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2567 นาย
พริษฐ์ วัชรสินธุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน โพสต์เฟสบุ๊กโดยระบุว่า
[กกต. ควรทบทวนให้วันเลือกตั้ง อบจ. 2568 เป็นวันอาทิตย์ เพื่ออำนวยความสะดวกประชาชนในการออกมาใช้สิทธิออกเสียง]
จากข่าวล่าสุด ผมเห็นว่าทางสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้เห็นชอบร่างแผนการจัดการเลือกตั้ง อบจ. (สำหรับสมาชิกสภา อบจ. และสำหรับ นายก อบจ. ที่ดำรงตำแหน่งครบวาระ) โดยกำหนดวันเลือกตั้งเป็นวันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568
ผมเห็นว่าเป็นเรื่องน่ากังวลอย่างยิ่งที่ กกต. ตัดสินใจกำหนดวันเลือกตั้งเป็นวันเสาร์แทนที่จะเป็นอาทิตย์ เพราะอาจกระทบต่อความสะดวกของพี่น้องประชาชนในการไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง
1.คนทำงานจำนวนมาก (เช่น คนทำงานโรงงาน พนักงานบริษัทเอกชน) มีแนวโน้มที่จะทำงานวันเสาร์มากกว่าวันอาทิตย์
2.ในเมื่อการเลือกตั้งท้องถิ่น ณ ปัจจุบัน ไม่มีการเปิดให้เลือกตั้งล่วงหน้าทั้งในและนอกเขต คนที่ทำงานในคนละจังหวัดจากจังหวัดภูมิลำเนาที่มีสิทธิ (แม้จะไม่ได้ทำงานเสาร์และอาทิตย์) อาจต้องใช้เวลาวันเสาร์ในการเดินทางกลับบ้านเพื่อไปใช้สิทธิในวันอาทิตย์ / ถ้าการเลือกตั้งเป็นเสาร์ เวลาที่มีในการเดินทางกลับจะถูกบีบลง
ทั้งหมดนี้ยิ่งดูเป็นการตัดสินใจที่น่าชวนสงสัยเพราะ กกต.ยังไม่ได้ออกมาชี้แจงเหตุผลที่ชัดเจนว่าทำไมรอบนี้ถึงตัดสินใจไม่กำหนดวันเลือกตั้งเป็นวันอาทิตย์
1.ที่ผ่านมา การเลือกตั้งทุกครั้งที่ผ่านมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 2560 (ไม่นับการเลือกตั้งซ่อมหรือการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นเพราะมีคนลาออกก่อนครบวาระ) เกิดขึ้นในวันอาทิตย์มาโดยตลอด
– เลือกตั้ง ส.ส. = อาทิตย์ 24 มีนาคม 2562
– เลือกตั้ง อบจ. = อาทิตย์ 20 ธันวาคม 2563
– เลือกตั้ง เทศบาล = อาทิตย์ 28 มีนาคม 2564
– เลือกตั้ง อบต. = อาทิตย์ 28 พฤศจิกายน 2564
– เลือกตั้ง กทม./พัทยา = อาทิตย์ 22 พฤษภาคม 2565
– เลือกตั้ง สส. = อาทิตย์ 14 พฤษภาคม 2566
2.หากจะจัดการเลือกตั้งในวันอาทิตย์ กกต. ก็ย่อมทำได้ภายในกรอบ 45 วันนับแต่วันที่สมาชิกสภา อบจ. และ นายก อบจ. ดำรงตำแหน่งครบวาระ (19 ธันวาคม 2567) ตาม มาตรา 11 ของ พ.ร.บ.เลือกตั้งท้องถิ่น 2562
– หากจัดในวันที่ 45 ได้ ก็จะตรงกับ อาทิตย์ 2 กุมภาพันธ์ 2568 พอดี
– หากต้องจัดก่อนวันที่ 45 ก็อาจเลือกเป็น อาทิตย์ 26 มกราคม 2568 แทนได้
ในเมื่อกรอบเวลาทั้งหมดยังเป็นเพียงแผนการที่ กกต. ยังสามารถปรับเปลี่ยนได้ ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า กกต. จะทบทวนเปลี่ยนวันเลือกตั้ง อบจ. ในรอบนี้ ให้มาตรงกันวันอาทิตย์เหมือนทุกๆครั้ง เพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในการไปใช้สิทธิออกเสียง (ถ้า กกต. จะยืนยันวันเสาร์ ก็ควรต้องออกมาอธิบายด้วยเหตุผลที่ชัดเจนว่าเป็นเพราะเหตุใดและรับฟังความเห็นของประชาชนว่าเห็นด้วยกับเหตุผลดังกล่าวหรือไม่)
ดั้งเดิม ทางผมและ กมธ. พัฒนาการเมืองฯ มีนัดเข้าพบ กกต. ในวันที่ 7 พ.ย.นี้ เพื่อหารือกันหลายวาระรวมถึงข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมายเลือกตั้งท้องถิ่น แต่ทาง กมธ. ได้รับแจ้งเมื่อต้นสัปดาห์ว่าทาง กกต. ขอเลื่อนไปเป็นวันที่ 28 พ.ย.แทน-ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า กกต. จะได้ข้อสรุปเรื่องการทบทวนวันเลือกตั้ง อบจ. ก่อนการประชุมในวันดังกล่าว
https://www.facebook.com/paritw/posts/pfbid0dcHGuQEDbrJ5xf48NQj8wrwhiuddJgZ3joRAGbvLuBMAG4U6bVNcYituKyVERoWRl
พิษน้ำมันปาล์มแพง บี100 พุ่ง 2 บาท ยังไม่กระทบขายปลีกดีเซล
https://www.matichon.co.th/economy/news_4883623
พิษน้ำมันปาล์มแพง บี100 พุ่ง 2 บาท ยังไม่กระทบขายปลีกดีเซล
รายงานข่าวจาก กระทรวงพลังงาน แจ้งว่า กรณีราคาน้ำมันปาล์มปรับเพิ่มขึ้น เบื้องต้นไบโอดีเซล หรือ บี100 ได้รับผลกระทบเช่นกัน โดยสัปดาห์ที่ผ่านมา บี100 อยู่ที่ 48.33 บาทต่อลิตร เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2.07 บาทลิตร ถือเป็นต้นทุนสำคัญในการผลิตน้ำมันดีเซล ซึ่งปัจจุบันมี 2 ชนิด คือ บี7 และบี20 แต่เนื่องจากโครงสร้างราคาน้ำมันได้รับอานิสงส์จากเงินบาทแข็งค่า และราคาน้ำมันดิบตลาดโลกยังอยู่ระดับที่ดูแลได้ ไม่ได้ผันผวนมากนัก
“
เมื่อถัวเฉลี่ยราคาต้นทุนจากทุกปัจจัยจึงทำให้ราคาดีเซลกลุ่มดีเซลไม่ได้รับผลกระทบจากราคา บี100 มากนัก แต่กระทรวงพลังงานจะเกาะติดราคาอย่างใกล้ชิด และเบื้องต้นยังคงสัดส่วนผสม บี100 อัตรา 7% และ20% ต่อไป แต่หากสถานการณ์รุนแรงขึ้นก็ต้องมาพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกครั้ง” รายงานข่าวระบุ.
JJNY : 5in1 ไทยอันดับ 78 ดัชนียุติธรรมโลก│อดีตพนง.ธกส.โวยถูกไล่│พริษฐ์แนะกกต.│พิษน้ำมันปาล์มแพง│ควันพิษปกคลุมกรุงนิวเดลี
https://www.isranews.org/article/isranews-news/133123-invest-Justicee.html
WJP โครงการยุติธรรมโลกจากสหรัฐฯ จัดไทยได้อันดับ 78 ดัชนียุติธรรมโลก พบอันดับดีขึ้นกว่าปี 66 แต่คะแนนไทยยังรั้งท้ายเรื่องกระบวนการทางอาญาได้แค่ 0.41คะแนน พบคะแนนดีสุดด้านความสงบเรียบร้อยได้ 0.74 คะแนน ส่วนคะแนนด้านปราศจากทุจริตได้แค่ 0.46 คะแนน
สำหรับคะแนนในปลีกย่อยในด้านต่างๆจำนวน 8 ด้าน ได้แก่ 1. ข้อจํากัดเกี่ยวกับอํานาจของรัฐบาล ไทยได้ 0.46 คะแนน 2. การปราศจากทุจริตคอร์รัปชั่น ไทยได้ 0.46 คะแนน 3.การมีรัฐบาลที่เปิดกว้าง ไทยได้ 0.48 คะแนน 4. สิทธิขั้นพื้นฐาน ไทยได้ 0.48 คะแนน 5. ความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัย ไทยได้ 0.74 คะแนน 6.การบังคับใช้กฎระเบียบ ไทยได้ 0.45 คะแนน 7.ความยุติธรรมทางแพ่ง ไทยได้ 0.50 คะแนน และ 8.กระบวนการยุติธรรมทางอาญา ไทยได้ 0.41 คะแนน
ส่วนประเทศอื่นๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนนั้นพบว่าประเทศสิงคโปร์ อยู่ในอันดับที่ 16 ได้ 0.78 คะแนน มาเลเซียอยู่ในอันดับที่ 55 ได้ 0.57 คะแนน อินโดนีเซียอยู่ในอันดับที่ 68 ได้ 0.53 คะแนน ฟิลิปปินส์อยู่ในอันดับที่ 99 ได้ 0.46 คะแนน เมียนมาอยู่ในอันดับที่ 138 ได้ 0.34 คะแนน และกัมพูชาอยู่ในอันดับที่ 141 ได้ 0.31 คะแนน ส่วนประเทศอื่นๆไม่มีข้อมูล
สำหรับประเทศที่ได้อันดับ 1 ในดัชนีได้แก่ประเทศเดนมาร์กได้ 0.90 คะแนน และประเทศที่ได้อันดับสุดท้ายซึ่งคืออันดับที่ 142 ได้แก่เวเนซุเอลา ได้ 0.26 คะแนน
เรียบเรียงจาก : https://worldjusticeproject.org/rule-of-law-index/
อดีตพนง.ธกส.พยานจำนำข้าว โวยถูกไล่พ้นคอนโด สถานที่คุ้มครองพยาน
https://www.matichon.co.th/local/crime/news_4883648
นุช ชญาดา อดีตพนักงาน ธ.ก.ส. เข้าเเจ้งความ หลังถูกชายอ้างเป็นเจ้าของห้องไล่ออก ทั้งที่ห้องดังกล่าวใช้ในการคุ้มครองพยาน
เมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 5 พฤศจิกายน น.ส.ชญาดา ตระกูลรุ่งโรจน์ อดีตพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ที่เคยเป็นข่าวดังเมื่อราวปี 2561-2562 กรณียื่นเรื่องร้องเรียนคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) หลังตรวจพบความผิดปกติเกี่ยวกับการจ่ายเงินในโครงการรับจำนำข้าว เข้าเเจ้งความกับตำรวจ สน.มักกะสัน หลักถูกนายเอ (นามสมมุติ) อ้างตัวว่าเป็นเจ้าของคอนโด บุกเข้ามาไล่ออกจากห้องที่ใช้เป็นที่คุ้มครองพยาน
น.ส.ชญาดากล่าวว่า ภายหลังจากที่ตนชนะคดีในศาลชั้นต้นที่ ธ.ก.ส.ฟ้องเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2567 มีความรู้สึกว่าได้ถูกข่มขู่คุกคาม จากผู้ไม่ประสงค์ดีมาโดยตลอด จนมาวันที่ 29 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา ทางนิติบุคคลอ้างว่ามีผู้พักอาศัยภายในคอนโดร้องเรียนมาว่า กระบะทรายเเมวที่ตนตากไว้ที่ริมระเบียงของห้องที่ตนเช่าอยู่จากโครงการคุมครองพยาน ชั้น 6 ที่ติดกับชั้น 5 ที่เป็นส่วนกลางของคอนโดส่งกลิ่นเหม็นรบกวนผู้อยู่อาศัยท่านอื่น จากนั้นนิติบุคคลได้ให้เจ้าหน้าที่ใช้บันไดพาดที่ระเบียงหลังห้องและปีนเข้าขึ้นมาแล้วนำเอากระบะทรายออกไปไว้ด้านล่าง ทำให้ตนมีความรู้สึกหวาดกลัวและไม่ปลอดภัย เนื่องจากตนพักอาศัยอยู่ในห้องเพียงลำพังประกอบกับยังมีคดีความที่ยังต้องต่อสู้ บางวันเครียดจนนอนเเทบไม่หลับ จึงได้ตัดสินใจเข้าเเจ้งความในวันที่ 19 ตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งในระหว่างเดือนกันยายนและตุลาคม ได้ขอภาพกล้องวงจรปิดจากทางนิติบุคคล แต่ก็ไม่เคยได้
น.ส.ชญาดากล่าวว่า หลังจากนั้นได้มีนายเอ ที่มาเเสดงตัวเป็นเจ้าของห้องดังกล่าว และได้ขับไล่ตนให้ออกจากห้องโดยพยายามให้ทางทางนิติบุคคลยกเลิกคีย์การ์ดของตน ทั้งที่ห้องดังกล่าวเป็นห้องที่ตนได้สิทธิเข้าพักจากการคุ้มครองพยานซึ่งอยู่ระหว่างต่อสู้คดี โดยจากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่าห้องดังกล่าวได้มีการถูกอายัดจากสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) เมื่อปี 2564 แล้ว ตนจึงได้สิทธิเข้าพัก แล้วนายเอจะอ้างสิทธิว่าเป็นผู้ครอบครองอย่างถูกต้องตามกฎหมายได้อย่างไร
ที่ผ่านมาตนเองก็เป็นผู้จ่ายเงินค่าส่วนกลางมาตลอด 3 ปี แต่ก็ไม่เคยได้รับการดูแลจากนิติบุคคลของคอนโดดังกล่าวเท่าที่ควร
ในส่วนของทางคดีตอนนี้อยู่ระหว่างรอศาลฎีกานัดฟังคำพิพากษา โดยระหว่าง ที่ต่อสู้คดี คู่กรณีก็มีการติดต่อมาเจรจาตลอด และหว่านล้อมให้ยอมความ แต่ตนเองก็ตัดสินใจแล้วว่า จะขอสู้ต่อไปเพราะรับปากกับประชาชนไว้ สุดท้ายอยากฝากข้อความไปถึงนายทักษิณ ชินวัตร และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าหากจะรื้อคดีจำนำข้าว ต้องมีพยานหลักฐานใหม่ ไม่ใช่สร้างพยานหลักฐานเท็จ และตนขอยืนยันว่าข้าว 10 ปีกินไม่ได้
ด้านนายเอ ผู้ที่อ้างตัวว่าเป็นเจ้าของห้อง กล่าวว่า เมื่อ 3 ปีก่อน พ่อของตน ซึ่ง เป็นผู้ที่ฝักใฝ่เกี่ยวกับเรื่องทางการเมืองได้รู้จักกับ น.ส.ชญาดา แล้วทราบว่ากำลังอยู่ระหว่างต่อสู้คดีและต้องการที่พักอาศัยที่มีความปลอดภัยจึงได้มอบคีย์การ์ดและอนุญาตให้เข้ามาพักอาศัยอยู่ที่ห้องนี้ โดยที่ตนไม่ทราบ แต่ภายหลังได้มาทราบเรื่องเมื่อปี 2564 จากนิติบุคคลจึงได้เดินทางเข้ามาขับไล่และมีการเจรจากันมาโดยตลอด ตนเองไม่ได้มีความรู้ทางด้านของกฎหมายมากนักจึงไม่รู้ว่าจะต้องดำเนินการกับคู่กรณีอย่างไร เลยได้เข้าปรึกษากับนิติบุคคลของคอนโด เพื่อนำเอกสารมาพบเจ้าหน้าที่ตำรวจในการยืนยันสิทธิว่าห้องดังกล่าวเป็นของตนจริง
พริษฐ์ แนะ กกต. ทบทวนวันเลือกตั้งอบจ.68 เป็นวันอาทิตย์ เอื้อปชช.ออกมาใช้สิทธิ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4883804
‘พริษฐ์’ แนะ กกต. ทบทวนวันเลือกตั้ง อบจ. 2568 เป็นวันอาทิตย์ อำนวยความสะดวกประชาชนออกมาใช้สิทธิออกเสียง
เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2567 นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน โพสต์เฟสบุ๊กโดยระบุว่า
[กกต. ควรทบทวนให้วันเลือกตั้ง อบจ. 2568 เป็นวันอาทิตย์ เพื่ออำนวยความสะดวกประชาชนในการออกมาใช้สิทธิออกเสียง]
จากข่าวล่าสุด ผมเห็นว่าทางสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้เห็นชอบร่างแผนการจัดการเลือกตั้ง อบจ. (สำหรับสมาชิกสภา อบจ. และสำหรับ นายก อบจ. ที่ดำรงตำแหน่งครบวาระ) โดยกำหนดวันเลือกตั้งเป็นวันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568
ผมเห็นว่าเป็นเรื่องน่ากังวลอย่างยิ่งที่ กกต. ตัดสินใจกำหนดวันเลือกตั้งเป็นวันเสาร์แทนที่จะเป็นอาทิตย์ เพราะอาจกระทบต่อความสะดวกของพี่น้องประชาชนในการไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง
1.คนทำงานจำนวนมาก (เช่น คนทำงานโรงงาน พนักงานบริษัทเอกชน) มีแนวโน้มที่จะทำงานวันเสาร์มากกว่าวันอาทิตย์
2.ในเมื่อการเลือกตั้งท้องถิ่น ณ ปัจจุบัน ไม่มีการเปิดให้เลือกตั้งล่วงหน้าทั้งในและนอกเขต คนที่ทำงานในคนละจังหวัดจากจังหวัดภูมิลำเนาที่มีสิทธิ (แม้จะไม่ได้ทำงานเสาร์และอาทิตย์) อาจต้องใช้เวลาวันเสาร์ในการเดินทางกลับบ้านเพื่อไปใช้สิทธิในวันอาทิตย์ / ถ้าการเลือกตั้งเป็นเสาร์ เวลาที่มีในการเดินทางกลับจะถูกบีบลง
ทั้งหมดนี้ยิ่งดูเป็นการตัดสินใจที่น่าชวนสงสัยเพราะ กกต.ยังไม่ได้ออกมาชี้แจงเหตุผลที่ชัดเจนว่าทำไมรอบนี้ถึงตัดสินใจไม่กำหนดวันเลือกตั้งเป็นวันอาทิตย์
1.ที่ผ่านมา การเลือกตั้งทุกครั้งที่ผ่านมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 2560 (ไม่นับการเลือกตั้งซ่อมหรือการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นเพราะมีคนลาออกก่อนครบวาระ) เกิดขึ้นในวันอาทิตย์มาโดยตลอด
– เลือกตั้ง ส.ส. = อาทิตย์ 24 มีนาคม 2562
– เลือกตั้ง อบจ. = อาทิตย์ 20 ธันวาคม 2563
– เลือกตั้ง เทศบาล = อาทิตย์ 28 มีนาคม 2564
– เลือกตั้ง อบต. = อาทิตย์ 28 พฤศจิกายน 2564
– เลือกตั้ง กทม./พัทยา = อาทิตย์ 22 พฤษภาคม 2565
– เลือกตั้ง สส. = อาทิตย์ 14 พฤษภาคม 2566
2.หากจะจัดการเลือกตั้งในวันอาทิตย์ กกต. ก็ย่อมทำได้ภายในกรอบ 45 วันนับแต่วันที่สมาชิกสภา อบจ. และ นายก อบจ. ดำรงตำแหน่งครบวาระ (19 ธันวาคม 2567) ตาม มาตรา 11 ของ พ.ร.บ.เลือกตั้งท้องถิ่น 2562
– หากจัดในวันที่ 45 ได้ ก็จะตรงกับ อาทิตย์ 2 กุมภาพันธ์ 2568 พอดี
– หากต้องจัดก่อนวันที่ 45 ก็อาจเลือกเป็น อาทิตย์ 26 มกราคม 2568 แทนได้
ในเมื่อกรอบเวลาทั้งหมดยังเป็นเพียงแผนการที่ กกต. ยังสามารถปรับเปลี่ยนได้ ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า กกต. จะทบทวนเปลี่ยนวันเลือกตั้ง อบจ. ในรอบนี้ ให้มาตรงกันวันอาทิตย์เหมือนทุกๆครั้ง เพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในการไปใช้สิทธิออกเสียง (ถ้า กกต. จะยืนยันวันเสาร์ ก็ควรต้องออกมาอธิบายด้วยเหตุผลที่ชัดเจนว่าเป็นเพราะเหตุใดและรับฟังความเห็นของประชาชนว่าเห็นด้วยกับเหตุผลดังกล่าวหรือไม่)
ดั้งเดิม ทางผมและ กมธ. พัฒนาการเมืองฯ มีนัดเข้าพบ กกต. ในวันที่ 7 พ.ย.นี้ เพื่อหารือกันหลายวาระรวมถึงข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมายเลือกตั้งท้องถิ่น แต่ทาง กมธ. ได้รับแจ้งเมื่อต้นสัปดาห์ว่าทาง กกต. ขอเลื่อนไปเป็นวันที่ 28 พ.ย.แทน-ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า กกต. จะได้ข้อสรุปเรื่องการทบทวนวันเลือกตั้ง อบจ. ก่อนการประชุมในวันดังกล่าว
https://www.facebook.com/paritw/posts/pfbid0dcHGuQEDbrJ5xf48NQj8wrwhiuddJgZ3joRAGbvLuBMAG4U6bVNcYituKyVERoWRl
พิษน้ำมันปาล์มแพง บี100 พุ่ง 2 บาท ยังไม่กระทบขายปลีกดีเซล
https://www.matichon.co.th/economy/news_4883623
พิษน้ำมันปาล์มแพง บี100 พุ่ง 2 บาท ยังไม่กระทบขายปลีกดีเซล
รายงานข่าวจาก กระทรวงพลังงาน แจ้งว่า กรณีราคาน้ำมันปาล์มปรับเพิ่มขึ้น เบื้องต้นไบโอดีเซล หรือ บี100 ได้รับผลกระทบเช่นกัน โดยสัปดาห์ที่ผ่านมา บี100 อยู่ที่ 48.33 บาทต่อลิตร เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2.07 บาทลิตร ถือเป็นต้นทุนสำคัญในการผลิตน้ำมันดีเซล ซึ่งปัจจุบันมี 2 ชนิด คือ บี7 และบี20 แต่เนื่องจากโครงสร้างราคาน้ำมันได้รับอานิสงส์จากเงินบาทแข็งค่า และราคาน้ำมันดิบตลาดโลกยังอยู่ระดับที่ดูแลได้ ไม่ได้ผันผวนมากนัก
“เมื่อถัวเฉลี่ยราคาต้นทุนจากทุกปัจจัยจึงทำให้ราคาดีเซลกลุ่มดีเซลไม่ได้รับผลกระทบจากราคา บี100 มากนัก แต่กระทรวงพลังงานจะเกาะติดราคาอย่างใกล้ชิด และเบื้องต้นยังคงสัดส่วนผสม บี100 อัตรา 7% และ20% ต่อไป แต่หากสถานการณ์รุนแรงขึ้นก็ต้องมาพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกครั้ง” รายงานข่าวระบุ.