เมื่อไม่นานมานี้ มะม่วงสดล็อตแรกของกัมพูชาส่งถึงท่าเรือชินโจว เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงแล้ว เป็นมะม่วงสด จำนวน 6 ตู้คอนเทนเนอร์ จำนวน 147 ตัน โดยมะม่วงทั้งหมดจะส่งไปจำหน่ายที่ตลาดกรุงปักกิ่ง มณฑเหอหนาน มณฑลเหลียวหนิง มณฑลเจ้อเจียง และมณฑลซานตง
.
มะม่วงล็อตนี้เป็นผลงานสำเร็จของความร่วมมือระหว่างจีนกับกัมพูชา หลังจากที่เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2563 สำนักงานศุลกากรแห่งชาติจีน (GACC) และกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และการประมงแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ได้ร่วมลงนามพิธีสารว่าด้วยสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งออกมะม่วงจากกัมพูชาไปจีน จากนั้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2564 สำนักงาน GACC ได้ประกาศรับรองการขึ้นทะเบียนสวนและโรงคัดบรรจุมะม่วงกัมพูชาที่ส่งออกไปประเทศจีน ทำให้ “มะม่วง” เป็นสินค้าเกษตรชนิดใหม่ และเป็นผลไม้สดชนิดที่ 2 ต่อจากกล้วยหอม ที่กัมพูชาสามารถส่งออกไปประเทศจีนได้
.
นายหลู เฟิง (Lu Feng) รองนายกเทศมนตรีเมืองชินโจว กล่าวว่า ท่าเรือชินโจววางแผนเปิดเส้นทางเดินเรือ (express service) สำหรับผลไม้สดกับประเทศสมาชิกอาเซียนเพิ่มขึ้น หลังจากที่ท่าเรือชินโจวได้เปิดให้บริการกับประเทศไทยและเวียดนามสำเร็จแล้ว และท่าเรือชินโจวจะเป็นจุดนำเข้าผลไม้อาเซียนของจีน และขยายตลาดไปยังเอเชียกลางและยุโรปด้วย
.
ในพิธีลงนามพิธีสารฯ เมื่อปีที่แล้ว นาย Veng Sakhon รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และการประมงกัมพูชา ได้เปิดเผยข้อมูลว่า กัมพูชามีพื้นที่ปลูกมะม่วงราว 124,319 เฮกตาร์ (ประมาณ 776,993 ไร่) ซึ่งให้ผลผลิตมะม่วงสดได้ปีละราว 1.44 ล้านตัน โดยนาย Veng ได้แสดงความเชื่อมั่นว่า นี่เป็นโอกาสทองของกัมพูชาในการคว้าส่วนแบ่งทางการตลาดของมะม่วงกัมพูชาในจีน และหลังจากส่งออกมะม่วงแล้ว คาดว่ากัมพูชาจะส่งออกสินค้าเกษตรไปยังตลาดจีนได้มากขึ้นอีกในอนาคต ได้แก่ ลำไย ทุเรียน และส้มโอ
.
นอกจากนี้ ท่าเรือชินโจว (Qinzhou Port) เป็นท่าเรือสำคัญในอ่าวเป่ยปู้กว่างซี หรือที่คนไทยรู้จักในชื่ออ่าวตังเกี๋ย และเป็นศูนย์กลางของระเบียงการขนส่งเชื่อมทางบกกับทางทะเลแห่งภาคตะวันตก (New Western Land and Sea Corridor -NWLSC) ปัจจุบัน มีเส้นทางเดินเรือ 48 เส้นทาง โดยเป็นเส้นทางเดินเรือกับอาเซียน 21 เส้นทาง
.
หลายปีมานี้ ผลไม้จากอาเซียนเป็น “สินค้านำเข้าดาวเด่น” ของท่าเรือชินโจว โดยเฉพาะผลไม้ไทย (ลำไย ทุเรียน มังคุด และมะม่วง) และผลไม้เวียดนาม โดยท่าเรืออ่าวเป่ยปู้กว่างซีได้เริ่มพัฒนาเส้นทางเดินเรือสายตรง (express service) สำหรับขนส่งผลไม้เป็นเส้นแรกเมื่อปี 2560 กับประเทศไทย (ปัจจุบัน มีเที่ยวเรือระหว่างท่าเรือชินโจว – ท่าเรือแหลมฉบัง และท่าเรือกรุงเทพฯ สัปดาห์ละหลายเที่ยว) ต่อด้วยประเทศเวียดนามและประเทศกัมพูชา (ท่าเรือสีหนุ)
.
ในปี 2563 ประเทศจีนนำเข้ามะม่วง (พิกัดศุลกากร 08045020) คิดเป็นน้ำหนักรวม 84,137 ตัน มูลค่าการนำเข้า 533.98 ล้านหยวน โดยแหล่งนำเข้าหลักมาจากประเทศเวียดนาม (341 ล้านหยวน สัดส่วน 63.86%) ประเทศไทย (87.72 ล้านหยวน สัดส่วน 16.43%) ไต้หวัน (57.9 ล้านหยวน สัดส่วน 10.86%) ออสเตรเลีย (20 ล้านหยวน สัดส่วน 3.76%) และเปรู (16.6 ล้านหยวน สัดส่วน 1.59%)
.
ทั้งนี้ หากพิจารณารายมณฑล พบว่า เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงเป็นมณฑลที่นำเข้ามะม่วงมากที่สุดในประเทศจีน คิดเป็นน้ำหนักรวม 65,972 ตัน (สัดส่วน 78.41% ของทั้งประเทศ) มูลค่าการนำเข้า 340.4 ล้านหยวน (รองลงมา ได้แก่ มณฑลฝูเจี้ยน สัดส่วน 9.10% และมณฑลกวางตุ้ง สัดส่วน 4.67% ของปริมาณการนำเข้า) โดยกว่างซีนำเข้ามะม่วงจาก 2 ประเทศ คือ เวียดนาม (น้ำหนัก 64,779 ตัน สัดส่วน 98.19% ของปริมาณการนำเข้า) และไทย (น้ำหนัก 1,192 ตัน สัดส่วน 1.81%)
.
เป็นที่น่าสังเกตว่า พื้นที่จีนตอนใต้และภาคตะวันตกของจีนเป็นแหล่งปลูกมะม่วงที่สำคัญ มีสายพันธุ์ที่หลากหลาย (ไม่ซ้ำกับสายพันธุ์ที่นิยมปลูกในไทย) และทำเป็นอุตสาหกรรม โดยเฉพาะที่เมืองไป่เซ่อ (Baise City) ของกว่างซี ที่ได้รับการขนานนามเป็น “แหล่งกำเนิดมะม่วงของประเทศจีน” มีการปลูกมะม่วงมากถึง 30 สายพันธุ์ โดยมะม่วงไป่เซ่อจะเริ่มเข้าสู่ฤดูเก็บเกี่ยวในช่วงต้นเดือนมิถุนายนเป็นต้นไป แต่ปริมาณการผลิตยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างเต็มที่ และปฏิเสธไม่ได้ว่า มะม่วงนำเข้าจากต่างประเทศมีคุณภาพ รสชาติ และเนื้อสัมผัสที่พิเศษแตกต่างจากมะม่วงท้องถิ่น
.
การที่ “มะม่วง” เป็นผลไม้ที่ชาวจีนนิยมบริโภค ทั้งการรับประทานผลสด มะม่วงแปรรูป หรือแม้กระทั่งการนำไปปรุงอาหารคาว จึงเป็นโอกาสสำหรับมะม่วงไทย โดยชาวจีนส่วนใหญ่รู้จักมะม่วงไทยผ่านเมนูข้าวเหนียวมะม่วง และทำให้เมนูนี้กลายเป็นเมนูของหวานสุดฮิตของร้านอาหารไทยในจีน แต่ร้านอาหารมักใช้มะม่วงท้องถิ่นที่รสชาติและเนื้อสัมผัสยังสู้มะม่วงน้ำดอกไม้ไทยไม่ได้ ดังนั้น การส่งเสริมการบริโภคมะม่วงไทยในตลาดจีนจึงไม่ใช่เรื่องยาก
.
ช่วงเวลาการออกสู่ตลาดที่ไม่ตรงกันเป็นช่องว่างทางการตลาดที่มะม่วงไทยสามารถเข้ามาขยายตลาดในพื้นที่กว่างซีและกระจายสู่มณฑลรอบข้างได้ กล่าวคือ มะม่วงไทยออกสู่ตลาดก่อนในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ขณะที่มะม่วงไป่เซ่อออกสู่ตลาดในช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม ดังนั้น ผู้ส่งออกสามารถใช้ความได้เปรียบจากที่ตั้งของไทยที่อยู่ไม่ไกลจากกว่างซี ส่งออกมะม่วงด้วยรถบรรทุกผ่านถนน R9 และ R12 เข้าที่ด่านโหย่วอี้กวานและด่านตงซิง หรือจะใช้รถบรรทุกต่อรถไฟที่สถานีด่งดังของเวียดนามเข้าที่ด่านรถไฟผิงเสียง และการขนส่งทางทะเลจากท่าเรือแหลมฉบังไปยังท่าเรือชินโจวและท่าเรือเมืองฝางเฉิงก่างได้อย่างสะดวกและรวดเร็วเช่นกัน
.
อย่างไรก็ตาม ผู้ส่งออกไทยไม่ควรมองข้ามการเลือกเส้นทางการขนส่ง การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ (packaging) ที่สามารถปกป้องผลมะม่วงระหว่างการขนส่ง เนื่องจากมะม่วงเป็นผลไม้เปลือกบางที่บอบช้ำง่าย จึงต้องใช้ความพิถีพิถันในการคัดเลือกบรรจุภัณฑ์ที่แข็งแรง ทนทาน และมีการเจาะรูเพื่อระบายอากาศ เพื่อป้องกันไม่ให้มะม่วงอับชื้นจนเน่าเสียได้ง่าย ร่วมกับการใช้ระบบโลจิสติกส์ห่วงโซ่ความเย็น (cold chain) เพื่อรักษาความสดใหม่ รวมถึงการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายผ่านแพลตฟอร์ม E-Commerce ที่เข้าถึงผู้บริโภคในวงกว้าง
.
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครหนานหนิง
ขอบคุณข่าวจาก :
https://globthailand.com/china-020621/
มะม่วงกัมพูชาพร้อมชิงส่วนแบ่งตลาดมะม่วงไทยในจีน
เมื่อไม่นานมานี้ มะม่วงสดล็อตแรกของกัมพูชาส่งถึงท่าเรือชินโจว เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงแล้ว เป็นมะม่วงสด จำนวน 6 ตู้คอนเทนเนอร์ จำนวน 147 ตัน โดยมะม่วงทั้งหมดจะส่งไปจำหน่ายที่ตลาดกรุงปักกิ่ง มณฑเหอหนาน มณฑลเหลียวหนิง มณฑลเจ้อเจียง และมณฑลซานตง
.
มะม่วงล็อตนี้เป็นผลงานสำเร็จของความร่วมมือระหว่างจีนกับกัมพูชา หลังจากที่เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2563 สำนักงานศุลกากรแห่งชาติจีน (GACC) และกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และการประมงแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ได้ร่วมลงนามพิธีสารว่าด้วยสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งออกมะม่วงจากกัมพูชาไปจีน จากนั้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2564 สำนักงาน GACC ได้ประกาศรับรองการขึ้นทะเบียนสวนและโรงคัดบรรจุมะม่วงกัมพูชาที่ส่งออกไปประเทศจีน ทำให้ “มะม่วง” เป็นสินค้าเกษตรชนิดใหม่ และเป็นผลไม้สดชนิดที่ 2 ต่อจากกล้วยหอม ที่กัมพูชาสามารถส่งออกไปประเทศจีนได้
.
นายหลู เฟิง (Lu Feng) รองนายกเทศมนตรีเมืองชินโจว กล่าวว่า ท่าเรือชินโจววางแผนเปิดเส้นทางเดินเรือ (express service) สำหรับผลไม้สดกับประเทศสมาชิกอาเซียนเพิ่มขึ้น หลังจากที่ท่าเรือชินโจวได้เปิดให้บริการกับประเทศไทยและเวียดนามสำเร็จแล้ว และท่าเรือชินโจวจะเป็นจุดนำเข้าผลไม้อาเซียนของจีน และขยายตลาดไปยังเอเชียกลางและยุโรปด้วย
.
ในพิธีลงนามพิธีสารฯ เมื่อปีที่แล้ว นาย Veng Sakhon รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และการประมงกัมพูชา ได้เปิดเผยข้อมูลว่า กัมพูชามีพื้นที่ปลูกมะม่วงราว 124,319 เฮกตาร์ (ประมาณ 776,993 ไร่) ซึ่งให้ผลผลิตมะม่วงสดได้ปีละราว 1.44 ล้านตัน โดยนาย Veng ได้แสดงความเชื่อมั่นว่า นี่เป็นโอกาสทองของกัมพูชาในการคว้าส่วนแบ่งทางการตลาดของมะม่วงกัมพูชาในจีน และหลังจากส่งออกมะม่วงแล้ว คาดว่ากัมพูชาจะส่งออกสินค้าเกษตรไปยังตลาดจีนได้มากขึ้นอีกในอนาคต ได้แก่ ลำไย ทุเรียน และส้มโอ
.
นอกจากนี้ ท่าเรือชินโจว (Qinzhou Port) เป็นท่าเรือสำคัญในอ่าวเป่ยปู้กว่างซี หรือที่คนไทยรู้จักในชื่ออ่าวตังเกี๋ย และเป็นศูนย์กลางของระเบียงการขนส่งเชื่อมทางบกกับทางทะเลแห่งภาคตะวันตก (New Western Land and Sea Corridor -NWLSC) ปัจจุบัน มีเส้นทางเดินเรือ 48 เส้นทาง โดยเป็นเส้นทางเดินเรือกับอาเซียน 21 เส้นทาง
.
หลายปีมานี้ ผลไม้จากอาเซียนเป็น “สินค้านำเข้าดาวเด่น” ของท่าเรือชินโจว โดยเฉพาะผลไม้ไทย (ลำไย ทุเรียน มังคุด และมะม่วง) และผลไม้เวียดนาม โดยท่าเรืออ่าวเป่ยปู้กว่างซีได้เริ่มพัฒนาเส้นทางเดินเรือสายตรง (express service) สำหรับขนส่งผลไม้เป็นเส้นแรกเมื่อปี 2560 กับประเทศไทย (ปัจจุบัน มีเที่ยวเรือระหว่างท่าเรือชินโจว – ท่าเรือแหลมฉบัง และท่าเรือกรุงเทพฯ สัปดาห์ละหลายเที่ยว) ต่อด้วยประเทศเวียดนามและประเทศกัมพูชา (ท่าเรือสีหนุ)
.
ในปี 2563 ประเทศจีนนำเข้ามะม่วง (พิกัดศุลกากร 08045020) คิดเป็นน้ำหนักรวม 84,137 ตัน มูลค่าการนำเข้า 533.98 ล้านหยวน โดยแหล่งนำเข้าหลักมาจากประเทศเวียดนาม (341 ล้านหยวน สัดส่วน 63.86%) ประเทศไทย (87.72 ล้านหยวน สัดส่วน 16.43%) ไต้หวัน (57.9 ล้านหยวน สัดส่วน 10.86%) ออสเตรเลีย (20 ล้านหยวน สัดส่วน 3.76%) และเปรู (16.6 ล้านหยวน สัดส่วน 1.59%)
.
ทั้งนี้ หากพิจารณารายมณฑล พบว่า เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงเป็นมณฑลที่นำเข้ามะม่วงมากที่สุดในประเทศจีน คิดเป็นน้ำหนักรวม 65,972 ตัน (สัดส่วน 78.41% ของทั้งประเทศ) มูลค่าการนำเข้า 340.4 ล้านหยวน (รองลงมา ได้แก่ มณฑลฝูเจี้ยน สัดส่วน 9.10% และมณฑลกวางตุ้ง สัดส่วน 4.67% ของปริมาณการนำเข้า) โดยกว่างซีนำเข้ามะม่วงจาก 2 ประเทศ คือ เวียดนาม (น้ำหนัก 64,779 ตัน สัดส่วน 98.19% ของปริมาณการนำเข้า) และไทย (น้ำหนัก 1,192 ตัน สัดส่วน 1.81%)
.
เป็นที่น่าสังเกตว่า พื้นที่จีนตอนใต้และภาคตะวันตกของจีนเป็นแหล่งปลูกมะม่วงที่สำคัญ มีสายพันธุ์ที่หลากหลาย (ไม่ซ้ำกับสายพันธุ์ที่นิยมปลูกในไทย) และทำเป็นอุตสาหกรรม โดยเฉพาะที่เมืองไป่เซ่อ (Baise City) ของกว่างซี ที่ได้รับการขนานนามเป็น “แหล่งกำเนิดมะม่วงของประเทศจีน” มีการปลูกมะม่วงมากถึง 30 สายพันธุ์ โดยมะม่วงไป่เซ่อจะเริ่มเข้าสู่ฤดูเก็บเกี่ยวในช่วงต้นเดือนมิถุนายนเป็นต้นไป แต่ปริมาณการผลิตยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างเต็มที่ และปฏิเสธไม่ได้ว่า มะม่วงนำเข้าจากต่างประเทศมีคุณภาพ รสชาติ และเนื้อสัมผัสที่พิเศษแตกต่างจากมะม่วงท้องถิ่น
.
การที่ “มะม่วง” เป็นผลไม้ที่ชาวจีนนิยมบริโภค ทั้งการรับประทานผลสด มะม่วงแปรรูป หรือแม้กระทั่งการนำไปปรุงอาหารคาว จึงเป็นโอกาสสำหรับมะม่วงไทย โดยชาวจีนส่วนใหญ่รู้จักมะม่วงไทยผ่านเมนูข้าวเหนียวมะม่วง และทำให้เมนูนี้กลายเป็นเมนูของหวานสุดฮิตของร้านอาหารไทยในจีน แต่ร้านอาหารมักใช้มะม่วงท้องถิ่นที่รสชาติและเนื้อสัมผัสยังสู้มะม่วงน้ำดอกไม้ไทยไม่ได้ ดังนั้น การส่งเสริมการบริโภคมะม่วงไทยในตลาดจีนจึงไม่ใช่เรื่องยาก
.
ช่วงเวลาการออกสู่ตลาดที่ไม่ตรงกันเป็นช่องว่างทางการตลาดที่มะม่วงไทยสามารถเข้ามาขยายตลาดในพื้นที่กว่างซีและกระจายสู่มณฑลรอบข้างได้ กล่าวคือ มะม่วงไทยออกสู่ตลาดก่อนในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ขณะที่มะม่วงไป่เซ่อออกสู่ตลาดในช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม ดังนั้น ผู้ส่งออกสามารถใช้ความได้เปรียบจากที่ตั้งของไทยที่อยู่ไม่ไกลจากกว่างซี ส่งออกมะม่วงด้วยรถบรรทุกผ่านถนน R9 และ R12 เข้าที่ด่านโหย่วอี้กวานและด่านตงซิง หรือจะใช้รถบรรทุกต่อรถไฟที่สถานีด่งดังของเวียดนามเข้าที่ด่านรถไฟผิงเสียง และการขนส่งทางทะเลจากท่าเรือแหลมฉบังไปยังท่าเรือชินโจวและท่าเรือเมืองฝางเฉิงก่างได้อย่างสะดวกและรวดเร็วเช่นกัน
.
อย่างไรก็ตาม ผู้ส่งออกไทยไม่ควรมองข้ามการเลือกเส้นทางการขนส่ง การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ (packaging) ที่สามารถปกป้องผลมะม่วงระหว่างการขนส่ง เนื่องจากมะม่วงเป็นผลไม้เปลือกบางที่บอบช้ำง่าย จึงต้องใช้ความพิถีพิถันในการคัดเลือกบรรจุภัณฑ์ที่แข็งแรง ทนทาน และมีการเจาะรูเพื่อระบายอากาศ เพื่อป้องกันไม่ให้มะม่วงอับชื้นจนเน่าเสียได้ง่าย ร่วมกับการใช้ระบบโลจิสติกส์ห่วงโซ่ความเย็น (cold chain) เพื่อรักษาความสดใหม่ รวมถึงการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายผ่านแพลตฟอร์ม E-Commerce ที่เข้าถึงผู้บริโภคในวงกว้าง
.
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครหนานหนิง
ขอบคุณข่าวจาก : https://globthailand.com/china-020621/