จากสำนักข่าวxinhuaของจีน
เมื่อวันที่ 28 ธันวาคมที่ผ่านมา รถไฟความเร็วสูงเซี่ยงไฮ้-คุนหมิง เปิดให้ใช้งานตลอดเส้นทางอย่างเป็นทางการหลังจากการก่อสร้างเส้นทางช่วงสุดท้ายแล้วเสร็จ ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความสำเร็จของเมกะโปรเจกต์เครือข่ายทางรถไฟ “ขวาง 4 ตั้ง 4” ของจีน
เครือข่ายทางรถไฟความเร็วสูงที่โยงใยไปมาไม่เพียงแต่ช่วยย่นระยะทางระหว่างหลายๆ เมืองทางตอนใต้กับเมืองเศรษฐกิจในภาคตะวันออกที่ติดชายฝั่งทะเลเท่านั้น แต่ยังทำให้เมืองรอบๆที่อยู่ใกล้เคียงและเมืองในเส้นทางได้รับผลประโยชน์อย่างมากมายไม่ว่าจะในเชิงเศรษฐกิจหรือการติดต่อสื่อสาร
การท่องเที่ยวเป็นสิ่งแรกที่เห็นได้ชัดเจน เพราะการเดินทางที่สะดวกสบายคือหัวใจหลักของการท่องเที่ยว และเป็นสิ่งที่นำรายได้เข้ามาให้ผู้คนในท้องถิ่น เห็นได้ว่า หลังจากที่รถไฟเร็วสูง กุ้ยหยาง-กว่างโจว หนานหนิง-กว่างโจวเริ่มวิ่งเมื่อปลายเดือนธันวาคมปี 2014 กุ้ยโจวก็มีความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีอย่างเห็นได้ชัด โดยตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนพฤศจิกายนปี 2016 สัดส่วนของนักท่องเที่ยวที่ไปเยือนกุ้ยโจวเพิ่มขึ้นกว่าปีก่อนร้อยละ 41.51 ส่วนรายได้จากการท่องเที่ยวก็เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 43.53 เรียกได้ว่าเป็นการเติบโตแบบก้าวกระโดดเลยทีเดียว
นอกจากนี้ เมืองกุ้ยหลิน สถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของมณฑลกว่างซีก็ได้รับผลประโยชน์จากรถไฟความเร็วสูงเช่นกัน เพราะในปี 2015 กุ้ยหลินมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวมากถึง 45 ล้านคน โดยร้อยละ 75 ของนักท่องเที่ยวเดินทางมากับรถไฟความเร็วสูง ส่วนชนกลุ่มน้อยในยูนนานก็มีโอกาสได้นั่งรถไฟไปยังเมืองอื่นๆได้ง่ายขึ้น ในขณะเดียวกันก็นับเป็นการส่งเสริมให้คนอื่นมีโอกาสมาสัมผัสสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติที่สวยงาม ผักผลไม้ที่อร่อย และวัฒนธรรมของบรรดากลุ่มชาติพันธุ์ในยูนนานมากยิ่งขึ้น
ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ การเดินทางที่สะดวกทำให้มณฑล กว่างโจว กว่างซี และกุ้ยโจว มีความร่วมมือกันในด้านต่างๆมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านการท่องเที่ยว การลงทุน โดยเมื่อไม่นานมานี้ผู้ประกอบด้านการท่องเที่ยว อลูมิเนียม เฟอร์นิเจอร์ การเงิน ฯลฯ ใน13 เมืองที่อยู่ในเส้นทางรถไฟเร็วสูงได้สร้างความร่วมมือร่วมกันในฐานะพันธมิตร
นอกจากการท่องเที่ยวแล้วสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ การก่อตัวของเขตเศรษฐกิจรถไฟเร็วสูง เพราะหลังจากที่มีการเปิดใช้รถไฟเร็วสูง หนานหนิง-กว่างโจว และ กุ้ยหยาง-กว่างโจวแล้ว จึงเกิดเป็นเส้นทางรถไฟรูปตัว Y ที่วิ่งผ่านมณฑล กว่างโจว กว่างซี และกุ้ยโจว ทำให้ระยะเวลาในการเดินทางไปมาระหว่างกันลดสั้นลงอย่างมาก เกิดเป็น “เขตเศรษฐกิจ 4 ชั่วโมง” ที่กระตุ้นให้เกิดการลงทุนในด้านต่างๆ อีกมากมาย
สถิติ ชี้ให้เห็นว่า มีนักลงทุนสนใจมาลงทุนในกุ้ยโจวมากขึ้นชนิดที่ว่าหน้ามือเป็นหลังมือ โดยในปี 2016 หน่วยงานด้านการลงทุนของมณฑลกุ้ยโจวมีโครงการการลงทุนน้อยใหญ่ทั้งหมด 454 โครงการ รวมมูลค่าการลงทุน 1.2 ล้านล้านหยวน
ทั้งนี้ จีนกำลังเริ่มวางแผนการก่อสร้าง เครือข่ายรถไฟเร็วสูง“ขวาง 8 ตั้ง 8” ที่ตั้งเป้าว่าในปี 2020 จะมีเครือข่ายเส้นทางรถไฟทั่วประเทศทั้งหมด 1.5 แสนกิโลเมตร ซึ่งในจำนวนนี้เป็นรถไฟความเร็วสูง 3 หมื่นกิโลเมตร และจะต้องครอบคลุมในพื้นที่ร้อยละ 80 ของเมืองใหญ่ และจีนยังตั้งเป้าไว้ว่าภายในปี 2030 จะต้องมีทางรถไฟทั่วประเทศเป็นระยะทาง 2 แสน กิโลเมตร เป็นเส้นทางรถไฟความเร็วสูง 4.5 หมื่นกิโลเมตร
วิ่งถึงไหน... เงินถึงนั่น!หลายเมืองของจีนได้ประโยชน์จากรถไฟเร็วสูงไปเต็มๆ
เมื่อวันที่ 28 ธันวาคมที่ผ่านมา รถไฟความเร็วสูงเซี่ยงไฮ้-คุนหมิง เปิดให้ใช้งานตลอดเส้นทางอย่างเป็นทางการหลังจากการก่อสร้างเส้นทางช่วงสุดท้ายแล้วเสร็จ ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความสำเร็จของเมกะโปรเจกต์เครือข่ายทางรถไฟ “ขวาง 4 ตั้ง 4” ของจีน
เครือข่ายทางรถไฟความเร็วสูงที่โยงใยไปมาไม่เพียงแต่ช่วยย่นระยะทางระหว่างหลายๆ เมืองทางตอนใต้กับเมืองเศรษฐกิจในภาคตะวันออกที่ติดชายฝั่งทะเลเท่านั้น แต่ยังทำให้เมืองรอบๆที่อยู่ใกล้เคียงและเมืองในเส้นทางได้รับผลประโยชน์อย่างมากมายไม่ว่าจะในเชิงเศรษฐกิจหรือการติดต่อสื่อสาร
การท่องเที่ยวเป็นสิ่งแรกที่เห็นได้ชัดเจน เพราะการเดินทางที่สะดวกสบายคือหัวใจหลักของการท่องเที่ยว และเป็นสิ่งที่นำรายได้เข้ามาให้ผู้คนในท้องถิ่น เห็นได้ว่า หลังจากที่รถไฟเร็วสูง กุ้ยหยาง-กว่างโจว หนานหนิง-กว่างโจวเริ่มวิ่งเมื่อปลายเดือนธันวาคมปี 2014 กุ้ยโจวก็มีความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีอย่างเห็นได้ชัด โดยตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนพฤศจิกายนปี 2016 สัดส่วนของนักท่องเที่ยวที่ไปเยือนกุ้ยโจวเพิ่มขึ้นกว่าปีก่อนร้อยละ 41.51 ส่วนรายได้จากการท่องเที่ยวก็เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 43.53 เรียกได้ว่าเป็นการเติบโตแบบก้าวกระโดดเลยทีเดียว
นอกจากนี้ เมืองกุ้ยหลิน สถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของมณฑลกว่างซีก็ได้รับผลประโยชน์จากรถไฟความเร็วสูงเช่นกัน เพราะในปี 2015 กุ้ยหลินมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวมากถึง 45 ล้านคน โดยร้อยละ 75 ของนักท่องเที่ยวเดินทางมากับรถไฟความเร็วสูง ส่วนชนกลุ่มน้อยในยูนนานก็มีโอกาสได้นั่งรถไฟไปยังเมืองอื่นๆได้ง่ายขึ้น ในขณะเดียวกันก็นับเป็นการส่งเสริมให้คนอื่นมีโอกาสมาสัมผัสสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติที่สวยงาม ผักผลไม้ที่อร่อย และวัฒนธรรมของบรรดากลุ่มชาติพันธุ์ในยูนนานมากยิ่งขึ้น
ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ การเดินทางที่สะดวกทำให้มณฑล กว่างโจว กว่างซี และกุ้ยโจว มีความร่วมมือกันในด้านต่างๆมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านการท่องเที่ยว การลงทุน โดยเมื่อไม่นานมานี้ผู้ประกอบด้านการท่องเที่ยว อลูมิเนียม เฟอร์นิเจอร์ การเงิน ฯลฯ ใน13 เมืองที่อยู่ในเส้นทางรถไฟเร็วสูงได้สร้างความร่วมมือร่วมกันในฐานะพันธมิตร
นอกจากการท่องเที่ยวแล้วสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ การก่อตัวของเขตเศรษฐกิจรถไฟเร็วสูง เพราะหลังจากที่มีการเปิดใช้รถไฟเร็วสูง หนานหนิง-กว่างโจว และ กุ้ยหยาง-กว่างโจวแล้ว จึงเกิดเป็นเส้นทางรถไฟรูปตัว Y ที่วิ่งผ่านมณฑล กว่างโจว กว่างซี และกุ้ยโจว ทำให้ระยะเวลาในการเดินทางไปมาระหว่างกันลดสั้นลงอย่างมาก เกิดเป็น “เขตเศรษฐกิจ 4 ชั่วโมง” ที่กระตุ้นให้เกิดการลงทุนในด้านต่างๆ อีกมากมาย
สถิติ ชี้ให้เห็นว่า มีนักลงทุนสนใจมาลงทุนในกุ้ยโจวมากขึ้นชนิดที่ว่าหน้ามือเป็นหลังมือ โดยในปี 2016 หน่วยงานด้านการลงทุนของมณฑลกุ้ยโจวมีโครงการการลงทุนน้อยใหญ่ทั้งหมด 454 โครงการ รวมมูลค่าการลงทุน 1.2 ล้านล้านหยวน
ทั้งนี้ จีนกำลังเริ่มวางแผนการก่อสร้าง เครือข่ายรถไฟเร็วสูง“ขวาง 8 ตั้ง 8” ที่ตั้งเป้าว่าในปี 2020 จะมีเครือข่ายเส้นทางรถไฟทั่วประเทศทั้งหมด 1.5 แสนกิโลเมตร ซึ่งในจำนวนนี้เป็นรถไฟความเร็วสูง 3 หมื่นกิโลเมตร และจะต้องครอบคลุมในพื้นที่ร้อยละ 80 ของเมืองใหญ่ และจีนยังตั้งเป้าไว้ว่าภายในปี 2030 จะต้องมีทางรถไฟทั่วประเทศเป็นระยะทาง 2 แสน กิโลเมตร เป็นเส้นทางรถไฟความเร็วสูง 4.5 หมื่นกิโลเมตร