รถไฟความเร็วสูงเครื่องมือเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทาง

จีนสร้างความฮือฮาอีกครั้ง เมื่อเปิดสะพานข้ามทะเลยาวที่สุดในโลก เชื่อมฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊า รวมระยะทาง 55 กิโลเมตร มูลค่าการก่อสร้างกว่า 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 652,000 ล้านบาท ครอบคลุมพื้นที่จีนตอนใต้ 11 เมือง รวมฮ่องกงและมาเก๊า ซึ่งมีประชากร 68 ล้านคน สามารถย่นระยะเวลาการเดินทางระหว่างเมืองจาก 3 ชั่วโมง เหลือเพียง 30 นาที


การก่อสร้างสะพานใช้เทคนิคการสร้างยากที่สุดในโลก โดยโครงสร้างของสะพานใช้เหล็กกล้าน้ำหนักกว่า 4 แสนตัน หรือมากกว่าเหล็กกล้าที่ใช้ก่อสร้างสะพานโกลเดน เกต ในนครซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา 4.5 เท่า สามารถต้านทานแผ่นดินไหวได้ถึงขนาด 8 แมกนิจูด พายุไต้ฝุ่น และแรงปะทะเรือสินค้าขนาดใหญ่

ส่วนของสะพานมีทั้งที่เป็นสะพานข้ามทะเล 30 กิโลเมตร อุโมงค์ใต้น้ำความยาว 6.7 กิโลเมตร เชื่อมต่อเกาะเทียม 2 เกาะ [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

สะพานแห่งนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสายไหมทางทะเล ตามนโยบายเส้นทางสายไหมใหม่หรือ Belt & Road ของประธานาธิบดี สี่จิ้นผิง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้



นอกจากนี้ จีนยังได้เชื่อมเส้นทางทางบกไปยังฮ่องกงด้วย โดยเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมาได้เปิดบริการเส้นทางรถไฟความเร็วสูง สายกว่างโจว-เสิ้นเจิ้น-ฮ่องกง เชื่อมฮ่องกงกับจีนแผ่นดินใหญ่ ใช้เวลาเดินทางจากฮ่องกงไปยังเมืองกว่างโจว ซึ่งเป็นเมืองหลักของมณฑลกวางตุ้งในเวลา 40 นาที และจากฮ่องกงไปยังเมืองเซินเจิ้นของจีนเพียง 19 นาที



ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา จีนพัฒนาเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงอย่างก้าวกระโดด โดยมีเส้นทางรถไฟความเร็วสูงทั่วประเทศรวมระยะทาง 22,000 กิโลเมตร ซึ่งมากที่สุดในโลกทั้งในด้านเครือข่ายเส้นทางรถไฟและระดับความเร็ว และยังใช้รถไฟความเร็วสูงเป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงความเจริญกับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกด้วย

รถไฟความเร็วสูงเข้ามาเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทางของคนจีนอย่างมาก โดยก่อนหน้านี้คนจีนส่วนใหญ่จะใช้บริการรถทัวร์หรืออาศัยรถยนต์กันกลับบ้านต่างจังหวัด ซึ่งต้องใช้เวลาการเดินทางยาวนาน แต่เมื่อจีนมีรถไฟความเร็วสูง ผู้คนก็หันมาใช้บริการรถไฟความเร็วสูง เพราะมีความปลอดภัย สะดวก และรวดเร็วกว่า นับว่าเป็นการประหยัดต้นทุนด้านเวลาและโลจิสติกส์ ปริมาณผู้ใช้งานจึงที่สูงขึ้นทุกปีนับตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา ส่งผลกระทบในทางบวกต่อเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมของจีนอย่างยิ่ง


คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

ประเทศไทยมีแผนก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงหลายเส้นทาง เช่น รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เมื่อรถไฟความเร็วสูงผ่านไปที่ใด จะเป็นตัวช่วยนำความเจริญไปยังเส้นทางนั้น ๆ ซึ่งหากมีการพัฒนาเมืองเล็ก ๆ ที่มีอยู่เดิม หรือสร้างเมืองใหม่ขึ้นตามเส้นทางที่รถไฟพาดผ่าน ก็เป็นแผนรองรับความเจริญที่เหมาะสม และจะยิ่งส่งเสริมให้ปริมาณผู้ใช้บริการรถไฟความเร็วสูงมากขึ้นด้วย


------------------------------------------
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่