จีนขอชัดเจนไฮสปีดเชื่อมไทย เล็งใช้ทางรถไฟขนสินค้า-น้ำมัน-ก๊าซ กระตุ้น17ล้านคนจากยูนนานเที่ยวเพิ่ม
ตัวแทนรถไฟจีนเข้าพบกระทรวงคมนาคมขอความชัดเจนเอ็มโอยู เดินหน้าร่วมมือเชื่อมต่อทางรถไฟจีนตอนใต้-ลาว-ไทย พร้อมใช้ขนสินค้า น้ำมัน ก๊าซ หนุนนักท่องเที่ยวจีนยูนนาน 17 ล้านคนเข้าไทย ส่วนไฮสปีดเทรนในลาวยังไม่เริ่ม พร้อมเจรจาขั้นสุดท้าย ได้ข้อสรุปชัดเจนต้องใช้เวลาก่อสร้างอีก 5 ปี
นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและหน่วยงานที่ดูแลด้านการรถไฟที่ใหญ่ที่สุดของจีนได้เขาหารือเพื่อชี้แจงกรณีเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรใหม่ โดยได้ถามถึงบันทึกความร่วมมือ (เอ็มโอยู) ระหว่างไทย-จีน เกี่ยวกับรถไฟจะยังเดินหน้าต่อไปหรือไม่ ซึ่งก็ยืนยันว่าจะยังเดินหน้าต่อไป โดยที่ผ่านมาหน่วยงานของจีนก็ได้นำบุคลากรของไทยไปฝึกอบรมความรู้ในเรื่องของระบบรางและรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) มาแล้ว 4-5 รุ่น นอกจากนี้ทางจีนยังสอบถามถึงการเชื่อมต่อรถไฟจากจีนมายังไทยจะยังมีอยู่หรือไม่ ก็ได้สร้างความมั่นใจว่ายังเป็นเหมือนเดิม
"ทางการจีนที่เข้าพบในครั้งนี้ถือเป็นคณะที่ 2 โดยมาทำความรู้จักภายหลังมีการปรับโครงสร้างใหม่ให้เป็นหน่วยงานที่ครอบคลุมในเรื่องของรถไฟแทนกระทรวงรถไฟที่ยุบไปแล้ว จึงได้ยืนยันในหลายเรื่องที่สอบถามเข้ามาเพื่อให้เกิดความมั่นใจมากขึ้น" นางสร้อยทิพย์กล่าว
นางสร้อยทิพย์กล่าวว่า ทางการจีนได้แจ้งความคืบหน้าการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงจากจีนตอนใต้เข้าลาว-เวียงจันทน์ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจารายละเอียดขั้นสุดท้ายยังไม่ได้ดำเนินการก่อสร้างแต่อย่างใด หากเจรจาสำเร็จทั้งหมดจะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 5 ปี คือ เส้นทางคุนหมิง-ลาว-เวียงจันทน์ ระยะทางประมาณ 400 กิโลเมตร ซึ่งสาเหตุที่ใช้ระยะเวลานาน เพราะต้องขุดเจาะอุโมงค์ถึง 200 กิโลเมตร
นางสร้อยทิพย์กล่าวว่า สำหรับสินค้าที่จีนต้องการขนส่งเมื่อการก่อสร้างจากลาวเชื่อมมายังไทยแล้วเสร็จ คือ สินค้า น้ำมัน ก๊าซ และอื่นๆ ที่สำคัญ คือ นักท่องเที่ยวจีนตอนใต้ เนื่องจากปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวภายในจีนเดินทางไปท่องเที่ยวจีนตอนใต้หรือมณฑลยูนนานประมาณ 17 ล้านคนต่อปี และในจำนวนนี้ก็ต้องการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทยด้วย จึงถือเป็นโอกาสที่ไทยจะดึงนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ให้เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทย หากการก่อสร้างเส้นทางรถไฟเชื่อมระหว่างจีน-ลาว-ไทยสำเร็จ
"หากพิจารณานักท่องเที่ยวจากจีนที่เดินทางไปท่องเที่ยวยังจีนตอนใต้แล้วจะเห็นว่ามีจำนวนมาก ถ้าเดินทางต่อมายังไทยสัก 10% รวมกับประชาชนจากยูนนานที่มีอยู่หลายล้านคนที่จะเดินทางมาท่องเที่ยวไทยด้วยรวมเฉลี่ยประมาณ 2-3 ล้านคนต่อปีก็ถือว่าน่าสนใจแล้ว" นางสร้อยทิพย์กล่าว
นางสร้อยทิพย์กล่าวว่า เรื่องของเอ็มโอยูระหว่างไทย-จีนเดิมถือว่ามีความสำคัญ โดยเป็นเรื่องระดับรัฐมนตรีกับผู้ปฏิบัติ หากให้เดินหน้าต่อไปก็สามารถหารือร่วมกันระหว่างไทย-ลาว เรื่องการทำสะพานข้ามแม่น้ำโขงที่หนองคายเพื่อเชื่อมต่อทางรถไฟไทยกับลาวได้ทันที โดยยืนยันว่าที่ผ่านมาการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวไม่ได้หยุดชะงัก ขณะนี้ไทยยังอยู่ระหว่างศึกษารถไฟทางคู่รางมาตรฐาน 1.435 เมตร จากหนองคาย-นครราชสีมา-มาบตาพุดด้วย หากต้องการให้รวดเร็วก็สามารถศึกษาออกแบบจากหนองคายลงมาก็ได้ จึงไม่มีปัญหาเรื่องของความล่าช้าและยังดำเนินงานไปตามปกติ
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1410429110#
ที่มา : นสพ.มติชน
รถไฟ จีน-ลาว-ไทย หากเกิดขึ้นจริง จะเกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ แล้วมันดี-ร้าย อย่างไร ครับ?
ตัวแทนรถไฟจีนเข้าพบกระทรวงคมนาคมขอความชัดเจนเอ็มโอยู เดินหน้าร่วมมือเชื่อมต่อทางรถไฟจีนตอนใต้-ลาว-ไทย พร้อมใช้ขนสินค้า น้ำมัน ก๊าซ หนุนนักท่องเที่ยวจีนยูนนาน 17 ล้านคนเข้าไทย ส่วนไฮสปีดเทรนในลาวยังไม่เริ่ม พร้อมเจรจาขั้นสุดท้าย ได้ข้อสรุปชัดเจนต้องใช้เวลาก่อสร้างอีก 5 ปี
นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและหน่วยงานที่ดูแลด้านการรถไฟที่ใหญ่ที่สุดของจีนได้เขาหารือเพื่อชี้แจงกรณีเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรใหม่ โดยได้ถามถึงบันทึกความร่วมมือ (เอ็มโอยู) ระหว่างไทย-จีน เกี่ยวกับรถไฟจะยังเดินหน้าต่อไปหรือไม่ ซึ่งก็ยืนยันว่าจะยังเดินหน้าต่อไป โดยที่ผ่านมาหน่วยงานของจีนก็ได้นำบุคลากรของไทยไปฝึกอบรมความรู้ในเรื่องของระบบรางและรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) มาแล้ว 4-5 รุ่น นอกจากนี้ทางจีนยังสอบถามถึงการเชื่อมต่อรถไฟจากจีนมายังไทยจะยังมีอยู่หรือไม่ ก็ได้สร้างความมั่นใจว่ายังเป็นเหมือนเดิม
"ทางการจีนที่เข้าพบในครั้งนี้ถือเป็นคณะที่ 2 โดยมาทำความรู้จักภายหลังมีการปรับโครงสร้างใหม่ให้เป็นหน่วยงานที่ครอบคลุมในเรื่องของรถไฟแทนกระทรวงรถไฟที่ยุบไปแล้ว จึงได้ยืนยันในหลายเรื่องที่สอบถามเข้ามาเพื่อให้เกิดความมั่นใจมากขึ้น" นางสร้อยทิพย์กล่าว
นางสร้อยทิพย์กล่าวว่า ทางการจีนได้แจ้งความคืบหน้าการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงจากจีนตอนใต้เข้าลาว-เวียงจันทน์ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจารายละเอียดขั้นสุดท้ายยังไม่ได้ดำเนินการก่อสร้างแต่อย่างใด หากเจรจาสำเร็จทั้งหมดจะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 5 ปี คือ เส้นทางคุนหมิง-ลาว-เวียงจันทน์ ระยะทางประมาณ 400 กิโลเมตร ซึ่งสาเหตุที่ใช้ระยะเวลานาน เพราะต้องขุดเจาะอุโมงค์ถึง 200 กิโลเมตร
นางสร้อยทิพย์กล่าวว่า สำหรับสินค้าที่จีนต้องการขนส่งเมื่อการก่อสร้างจากลาวเชื่อมมายังไทยแล้วเสร็จ คือ สินค้า น้ำมัน ก๊าซ และอื่นๆ ที่สำคัญ คือ นักท่องเที่ยวจีนตอนใต้ เนื่องจากปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวภายในจีนเดินทางไปท่องเที่ยวจีนตอนใต้หรือมณฑลยูนนานประมาณ 17 ล้านคนต่อปี และในจำนวนนี้ก็ต้องการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทยด้วย จึงถือเป็นโอกาสที่ไทยจะดึงนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ให้เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทย หากการก่อสร้างเส้นทางรถไฟเชื่อมระหว่างจีน-ลาว-ไทยสำเร็จ
"หากพิจารณานักท่องเที่ยวจากจีนที่เดินทางไปท่องเที่ยวยังจีนตอนใต้แล้วจะเห็นว่ามีจำนวนมาก ถ้าเดินทางต่อมายังไทยสัก 10% รวมกับประชาชนจากยูนนานที่มีอยู่หลายล้านคนที่จะเดินทางมาท่องเที่ยวไทยด้วยรวมเฉลี่ยประมาณ 2-3 ล้านคนต่อปีก็ถือว่าน่าสนใจแล้ว" นางสร้อยทิพย์กล่าว
นางสร้อยทิพย์กล่าวว่า เรื่องของเอ็มโอยูระหว่างไทย-จีนเดิมถือว่ามีความสำคัญ โดยเป็นเรื่องระดับรัฐมนตรีกับผู้ปฏิบัติ หากให้เดินหน้าต่อไปก็สามารถหารือร่วมกันระหว่างไทย-ลาว เรื่องการทำสะพานข้ามแม่น้ำโขงที่หนองคายเพื่อเชื่อมต่อทางรถไฟไทยกับลาวได้ทันที โดยยืนยันว่าที่ผ่านมาการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวไม่ได้หยุดชะงัก ขณะนี้ไทยยังอยู่ระหว่างศึกษารถไฟทางคู่รางมาตรฐาน 1.435 เมตร จากหนองคาย-นครราชสีมา-มาบตาพุดด้วย หากต้องการให้รวดเร็วก็สามารถศึกษาออกแบบจากหนองคายลงมาก็ได้ จึงไม่มีปัญหาเรื่องของความล่าช้าและยังดำเนินงานไปตามปกติ
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1410429110#
ที่มา : นสพ.มติชน